ประเทศกินี-บิสเซา
กินี-บิสเซา[5] (อังกฤษ: Guinea-Bissau) หรือ กีแน-บีเซา[5] (โปรตุเกส: Guiné-Bissau, ออกเสียง: [ɡiˈnɛ βiˈsaw]; ฟูลา: 𞤘𞤭𞤲𞤫 𞤄𞤭𞤧𞤢𞥄𞤱𞤮 Gine-Bisaawo; มันดินกา: ߖߌߣߍ ߺ ߓߌߛߊߥߏ߫ Gine-Bisawo) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐกินี-บิสเซา (อังกฤษ: Republic of Guinea-Bissau) หรือ สาธารณรัฐกีแน-บีเซา (โปรตุเกส: República da Guiné-Bissau) เป็นประเทศอยู่ในแอฟริกาตะวันตก เมืองหลวงชื่อว่าบิสเซา มีเนื้อที่โดยประมาณ 36,125 ตารางกิโลเมตร (13,948 ตารางไมล์) กับประชากรโดยประมาณ 1,815,698[6] มีพรมแดนทิศเหนือติดกับเซเนกัล ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับกินี[7] ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก กินี-บิสเซายังมีเกาะเล็ก ๆ นอกแผ่นดินใหญ่อีกประมาณ 25 เกาะอีกด้วย ประวัติศาสตร์กินี-บิสเซาเคยเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสอยู่นานถึง 5 ศตวรรษ จากนั้นความตื่นตัวทางการเมืองเพื่อเรียกร้องเอกราชคืนจากโปรตุเกสได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 โดยกลุ่ม African Party for the Independence of Guinea-Bissau and the Islands of Cape Verde (PAIGC) โดยมีนายอามิลการ์ กาบราล เป็นผู้นำชักชวนให้ประชาชนต่อต้านการปกครองและเรียกร้องเอกราชคืนจากโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 จนได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2517 โดยมีนายลูอีซ กาบราล พี่ชายของนายอามิลการ์เป็นประธานาธิบดีคนแรก และกลุ่ม PAIGC ได้กลายเป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีการจัดตั้งสภาประชาชน และสภาคณะปฏิวัติประกอบด้วยสมาชิก 11 คน ทำหน้าที่ปกครองประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ อ้างอิง
บทความนี้รวมเอางานสาธารณสมบัติจากเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
รัฐบาล
การค้า สื่อข่าว การท่องเที่ยว
สุขภาพ
ข้อมูล GIS
|