Share to:

 

ประเทศบูร์กินาฟาโซ

บูร์กินาฟาโซ

Burkina Faso (ฝรั่งเศส)
ตราแผ่นดินของบูร์กินาฟาโซ
ตราแผ่นดิน
คำขวัญUnité - Progrès - Justice
(ฝรั่งเศส: "เอกภาพ - ความก้าวหน้า - ยุติธรรม")
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
วากาดูกู
12°22′N 1°32′W / 12.367°N 1.533°W / 12.367; -1.533
ภาษาราชการภาษาฝรั่งเศส
ภาษามอโอเรและภาษาดียูรา (บัมบารา)
เดมะนิมBurkinabé (รวมทั้ง Burkinabè และ Burkinabe)
การปกครองรัฐบาลชั่วคราวแบบรัฐเดี่ยวภายใต้คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง
อิบราฮิม ตราโอเร่ (Interim)
• นายกรัฐมนตรี
Apollinaire Joachim Kyélem de Tambèla
ประวัติศาสตร์
11 ธันวาคม พ.ศ. 2501
• เอกราชจากประเทศฝรั่งเศส
5 สิงหาคม พ.ศ. 2503
3 มกราคม พ.ศ. 2509
28 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
23–24 มกราคม 2022
พื้นที่
• รวม
274,200 ตารางกิโลเมตร (105,900 ตารางไมล์) (73)
ร้อยละ 0.146
ประชากร
• 2553 ประมาณ
15,730,977 คน[1] (อันดับที่ 61)
• สำมะโนประชากร 2549
14,017,262 คน
57.4 ต่อตารางกิโลเมตร (148.7 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 145)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2020 (ประมาณ)
• รวม
$45.339 พันล้าน
$2,207[2]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2020 (ประมาณ)
• รวม
$16.226 พันล้าน
$792[2]
จีนี (2020)Steady 38.9[3]
ปานกลาง
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.452[4]
ต่ำ · 182
สกุลเงินฟรังก์ซีเอฟเอแอฟริกาตะวันตก[5] (XOF)
เขตเวลาUTC+0
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
ไม่ใช้
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์226
โดเมนบนสุด.bf
  1. ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลโดยประมาณสำหรับปี พ.ศ. 2548 จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2548

บูร์กินาฟาโซ (ฝรั่งเศส: Burkina Faso) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกซึ่งเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้านคือ ทางเหนือติดกับประเทศมาลี ตะวันออกติดกับประเทศไนเจอร์ ตะวันออกเฉียงใต้ติดกับประเทศเบนิน ทิศใต้ติดกับประเทศโตโกและประเทศกานา ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับประเทศโกตดิวัวร์ (หรือไอเวอรีโคสต์)

บูร์กินาฟาโซมีชื่อเดิมว่าสาธารณรัฐอัปเปอร์วอลตา และเปลี่ยนชื่อเป็นบูร์กินาฟาโซในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2527

ประวัติศาสตร์

ดินแดนนี้เคยเป็นถิ่นฐานของชาวมอสซีตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 1600 - 1800 ต่อมาถูกปกครองโดยมาลีและจักรวรรดิซองไฮ ฝรั่งเศสเข้ามาปกครองมาลีเมื่อ พ.ศ. 2439 โดยดินแดนบูร์กินาฟาโซ (หรือชื่อเดิม อัปเปอร์วอลตา) ยังรวมอยู่ในมาลี ต่อมาแยกตัวออกเมื่อ พ.ศ. 2490 โดยยังอยู่ในอาณานิคมแอฟริกาตะวันตกของฝรั่งเศส

บูร์กินาฟาโซได้รับสิทธิในการปกครองตนเองภายใต้อาณัติของฝรั่งเศสในเดือนธันวาคม 2501 และได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ในวันที่ 5 สิงหาคม 2503 โดยมีนาย Mauric Yameogo หัวหน้าพรรค the Union Democratique Valtaique (UDV) ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรก และได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากชนเผ่า Mossi ซึ่งเป็นชนเผ่าที่มีจำนวนร้อยละ 50 ของจำนวนประชากรของประเทศ

การที่ประธานาธิบดี Yameogo ปกครองประเทศด้วยระบบเผด็จการทหารมาตลอด โดยรวบอำนาจทั้งหมดอยู่ในมือและห้ามมิให้มีพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ประกอบกับเศรษฐกิจของบูร์กินาฟาโซอยู่ในภาวะที่ตกต่ำและเสื่อมถอยเป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้ประชาชนแสดงความไม่พอใจและก่อความวุ่นวานจนทำให้เกิดการจลาจลขึ้นทั่วประเทศ เป็นผลให้คณะนายทหารภายใต้การของ พ.ท. Sangoule Lamizana ทำการรัฐประหารได้สำเร็จ เมื่อเดือนมกราคม 2509 พ.ท. Lamizana ซึ่งตั้งตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดีได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้มาตรการรัดเข็มขัด เป็นผลให้ภาวะเศรษฐกิจของบูร์กินาฟาโซดีขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดี Lamizana ประกาศใช้รัฐธรรมนูญอีกครั้งในปี 2520 และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2521 และเปิดโอกาสให้พลเรือนเข้าไปมีส่วนร่วมในรัฐบาลมากขึ้น ด้วยการแต่งตั้งนาย Gerard Ouedraogo เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2527 คณะนายทหารภายใต้การนำของร้อยเอก ธอมาส ซ็องการา ทำรัฐประหารยึดอำนาจได้สำเร็จ ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนชื่อจาก อัปเปอร์วอลตา เป็น บูร์กินาฟาโซ ซึ่งแปลว่า ประเทศของผู้มีความซื่อสัตย์ (Country of the Upright People)

อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีซ็องการา ถูกลอบสังหารในปี 2530 เป็นผลให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายจนกระทั่ง ร้อยเอก Blaise Campaoré ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2530 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญอีกครั้งในปี 2534 รวมทั้งอนุญาตให้มีระบบหลายพรรคการเมืองอีกครั้ง และให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ร้อยเอก Campaoré ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนธันวาคม 2534 โดยในขณะนั้นกำหนดให้มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 7 ปี พร้อมทั้งให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติ ซึ่งมีจำนวน 107 คนในปี 2535 และต่อมา ประธานาธิบดี Compaoré ได้รับเลือกตั้งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกเป็นสมัยที่ 2 ในปี 2541

ในภาพรวมในอดีตที่ผ่านมา บูร์กินาฟาโซต้องประสบกับความขัดแย้งทางการเมือง และระบบการปกครองหลายรูปแบบ นับแต่ได้รับเอกราชเมื่อปี 2503 อันเป็นสาเหตุหลักที่ฉุดรั้งการพัฒนาประเทศ การปฏิวัติเมื่อปี 2530 ได้ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในระยะสิบปีที่ผ่านมา การเมืองภายในบูร์กินาฟาโซอยู่ในห้วงเวลาที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ จากการที่มีหลายพรรคการเมืองเข้าร่วมในกิจกรรมทางการเมือง โดยมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามระบอบรัฐสภา สภาวะดังกล่าวได้ปูพื้นฐานให้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจตามมา โดยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การเมือง

บูร์กินาฟาโซเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมแอฟริกาตะวันตกของฝรั่งเศส ได้รับสิทธิในการปกครองตนเองภายใต้อาณัติของฝรั่งเศสในเดือนธันวาคม 2501 และได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ในวันที่ 5 สิงหาคม 2503 โดยมีนาย Maurice Yameogo หัวหน้าพรรค the Union Democratique Valtaique (UDV) ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรก และได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากชนเผ่า Mossi ซึ่งเป็นชนเผ่าที่มีจำนวนร้อยละ 50 ของจำนวนประชากรของประเทศ

การที่ประธานาธิบดี Yameogo ปกครองประเทศด้วยระบบเผด็จการทหารมาตลอด โดยรวบอำนาจทั้งหมดอยู่ในมือและห้ามมิให้มีพรรคการเมืองฝ่ายค้าน กอปรกับเศรษฐกิจของบูร์กินาฟาโซอยู่ในภาวะที่ตกต่ำและเสื่อมถอยเป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้ประชาชนแสดงความไม่พอใจและก่อความวุ่นวานจนทำให้เกิดการจลาจลขึ้นทั่วประเทศ เป็นผลให้คณะนายทหารภายใต้การของ พ.ท. Sangoule Lamizana ทำการรัฐประหารได้สำเร็จ เมื่อเดือนมกราคม 2509 พ.ท. Lamizana ซึ่งตั้งตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดีได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้มาตรการรัดเข็มขัด เป็นผลให้ภาวะเศรษฐกิจของบูร์กินาฟาโซดีขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดี Lamizana ประกาศใช้รัฐธรรมนูญอีกครั้งในปี 2520 และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2521 และเปิดโอกาสให้พลเรือนเข้าไปมีส่วนร่วมในรัฐบาลมากขึ้น ด้วยการแต่งตั้งนาย Gerard Ouedraogo เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2527 คณะนายทหารภายใต้การนำของร้อยเอก Thomas Sankara ทำรัฐประหารยึดอำนาจได้สำเร็จ ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนชื่อเป็นจาก Upper Volta เป็น Burkina Faso ซึ่งแปลว่า ประเทศของผู้มีความซื่อสัตย์ (Country of the Upright People)

อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดี Sankara ถูกลอบสังหารในปี 2530 เป็นผลให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายจนกระทั่ง ร้อยเอก Blaise Campaoré ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2530 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญอีกครั้งในปี 2534 รวมทั้งอนุญาตให้มีระบบหลายพรรคการเมืองอีกครั้ง และให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ร้อยเอก Campaoré ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนธันวาคม 2534 โดยในขณะนั้นกำหนดให้มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 7 ปี พร้อมทั้งให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติ ซึ่งมีจำนวน 107 คนในปี 2535 และต่อมา ประธานาธิบดี Compaoré ได้รับเลือกตั้งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกเป็นสมัยที่ 2 ในปี 2541

ในภาพรวมในอดีตที่ผ่านมา บูร์กินาฟาโซต้องประสบกับความขัดแย้งทางการเมือง และระบบการปกครองหลายรูปแบบ นับแต่ได้รับเอกราชเมื่อปี 2503 อันเป็นสาเหตุหลักที่ฉุดรั้งการพัฒนาประเทศ การปฏิวัติเมื่อปี 2530 ได้ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในระยะสิบปีที่ผ่านมา การเมืองภายในบูร์กินาฟาโซอยู่ในห้วงเวลาที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ จากการที่มีหลายพรรคการเมืองเข้าร่วมในกิจกรรมทางการเมือง โดยมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามระบอบรัฐสภา สภาวะดังกล่าวได้ปูพื้นฐานให้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจตามมา โดยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เสถียรภาพทางการเมืองมีปัจจัยหลัก ดังนี้

  • ตัวแปรทางการเมืองมีไม่มาก
  • จิตสำนึกในการเคารพกฎระเบียบและการยอมรับการดำเนินนโยบายของรัฐบาล
  • การเสริมสร้างอำนาจความเป็นผู้นำของประธานาธิบดี Blaise Compaore

การเปิดโอกาสให้นักการเมืองรุ่นใหม่ได้เข้ามีบทบาททางการเมืองมากขึ้นภายหลังการปฏิวัติเมื่อปี 2526 เป็นผลดีต่อระบบการเมืองในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ ทั้งยังผลักดันให้นักการเมืองรุ่นเก่าที่มีบทบาทในอดีตต้องกลับกลายเป็นฝ่ายค้าน กลไกในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ มีส่วนส่งเสริมความปรองดองในบูร์กินาฟาโซเป็นอย่างมาก ภายหลังประธานาธิบดี Thomas Sankara ถูกลอบสังหารในปี 2530 การเจรจาระหว่างกลุ่มชนเผ่าMossi และ Fulani สามารถดับชนวนความขัดแย้งก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ไม่สงบอันนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมือง ทั้งนี้ ประธานาธิบดี Compaore ซึ่งสืบทอดอำนาจต่อจากประธานาธิบดี Sankara ก็ได้อาศัยฐานคะแนนเสียงสนับสนุนจากเครือข่ายกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อเดือนพฤษภาคม 2540 พรรคสภาประชาธิปไตยและการพัฒนา (Congres pour la Democratie et le Progres – CDP) ของประธานาธิบดี Compaore สามารถกวาดที่นั่งในสภาได้ทั้งหมด 101 ที่นั่งจากที่นั่งทั้งหมด 111 ที่นั่ง อย่างไรก็ตาม พรรค CDP เป็นพรรคเดียวที่ส่งผู้สมัครในทุกเขตเลือกตั้ง ในระยะยาวแล้ว ความเป็นปึกแผ่นของพรรค CDP และอำนาจของประธานาธิบดี Compaore ขึ้นอยู่กับการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในปัจจุบันการที่รัฐบาลมีเสียงข้างมากอย่างท่วมท้น จะทำให้การดำเนินนโยบายต่าง ๆ เป็นไปอย่างราบรื่นและส่งผลให้มีความต่อเนื่องยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ประธานาธิบดี Compaore จะต้องคงดุลยภาพทางสังคมระหว่างกลุ่มชนเผ่าพันธ์ต่าง ๆ เช่นในปัจจุบัน เพื่อมิให้เกิดความขัดแย้งอันอาจนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองได้ คาดว่าในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่อไปในช่วงปลายปี 2541 ประธานาธิบดี Compaore จะลงสมัครรับเลือกตั้งอีกวาระหนึ่ง ซึ่งการมีเครือข่ายฐานคะแนนเสียงสนับสนุนที่กว้างขวางจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง การเลือกตั้งประธานาธิบดีบูร์กินาฟาโซ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2541

  • เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2541 ได้มีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีบูร์กินาฟาโซ ซึ่งผลการเลือกตั้งปรากฏว่า ประธานาธิบดี Blaise Compaore (จากพรรค CDP) ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีเป็นสมัยที่สอง โดยประธานาธิบดี Blaise Compaore ได้รับคะแนนเสียง 1,996,151 เสียง หรือคิดเป็นร้อยละ 87.53 จากจำนวนผู้ไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ชนะคู่แข่งคือนาย Ram Ouedraogo (พรรคอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือ Parti des Verts) ซึ่งได้ 160,593 เสียงและนาย Frederic Guirma (พรรคแนวร่วมต่อต้านสมัชชาประชาธิปไตยแอฟริกา หรือ Front de Refus-Rassemblement democratique African) ซึ่งได้ 133,552 เสียง
  • พรรคฝ่ายค้าน 9 พรรคได้รวมตัวกันก่อตั้งแนวร่วมในนามกลุ่ม 14 กุมภาพันธ์ ก่อตั้งในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2541) คว่ำบาตรการเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยอ้างว่าประธานาธิบดี Compaore ใช้อำนาจและกลไกรัฐเป็นเครื่องมือในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเลือกตั้งอิสระ (Commission Electorale Nationale Independante – CENI) ที่ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะบาทหลวง Bonsdawende Samuel Yameogo ประธาน CENI นั้น เป็นคนสนิทของประธานาธิบดี Compaore ฝ่ายค้านจึงเห็นว่า CENI มีความเอนเอียงทางการเมืองและมิใช่องค์กรอิสระที่ปราศจากการแทรกแซงของรัฐอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ผู้สังเกตการณ์นานาชาติซึ่งรวมทั้งองค์การระหว่างประเทศและภูมิภาคจำนวนหนึ่งกล่าวว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้เสรีและเป็นธรรม และการที่พรรค CDP ของประธานาธิบดี Compaore มีเสียงข้างมากในสภา ทำให้มีการคาดการณ์ว่า ประธานาธิบดี Compaore จะสามารถบริหารบ้านเมืองได้อย่างปลอดโปร่งในระหว่างที่อยู่ในตำแหน่ง

หลังการก่อการกำเริบในบูร์กินาฟาโซ พ.ศ. 2557 ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้น และมีกำหนดจัดการเลือกตั้ง วันที่ 11 ตุลาคม 2558[6] แต่ในวันที่ 16 กันยายน 2558 ได้เกิดการรัฐประหาร นำโดยนายพลกิลแบร์ต เดียนเดเร มีการจับกุมประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีเฉพาะกาล[7] ต่อมานายพลเดียนเดเรได้ขึ้นเป็นประธานสภาแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย[8] หลังจากถูกกดดันจากองค์กรหลายฝ่าย ในวันที่ 24 กันยายน 2558 คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองได้ยอมลงจากอำนาจ โดยผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเฉพาะกาลคือ มิเชล คาฟานโด[9] ต่อมามีการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2558 โดยผู้ที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่คือ รอช มาร์ก คริสติยอง กาโบเร[10]

ภูมิอากาศ

บูร์กินาฟาโซมีภูมิอากาศร้อนและแห้งแล้ง จะมีฝนตกชุกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม โดยเฉพาะทางภาคใต้ของประเทศ ในขณะที่ทางตอนเหนือ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย จะมีฝนไม่มากนัก ส่วนฤดูแล้ง จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม อุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 14–35 องศาเซลเซียส

การเมืองในปัจจุบัน

  • ระบอบการเมืองสาธารณรัฐ (ภายใต้การควบคุมของทหาร)
  • ประมุขของรัฐประธานาธิบดี Blaise Compaore (ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่สองเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2541)
  • หัวหน้ารัฐบาลนาย Paramanga Ernest YONLI (ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเศรษฐกิจและการคลัง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543) นาย Youssouf OUEDRAOGO ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  • รัฐสภา ประกอบด้วย 2 สภา ได้แก่ สภานิติบัญญัติ มีสมาชิก 111 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี สภาที่ปรึกษา มีสมาชิก 176 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี

เศรษฐกิจ

บูร์กินาฟาโซเป็นประเทศยากจนลำดับต้นๆ ตามการจัดลำดับของสหประชาชาติ ประสบปัญหาขาดแคลนอาหารเนื่องจากภัยแล้ง ความเสื่อมของดินซึ่งกำลังแปรสภาพเป็นทะเลทราย (desertification) การขาดแคลนน้ำ ไม่มีทางออกทางทะเล นอกจากนี้ ยังเผชิญกับปัญหาด้านความมั่นคงมนุษย์ (human security) เช่นอัตราความไม่รู้หนังสือของประชาชนที่มีสูงถึงร้อยละ 70 และประชากรมีอายุเฉลี่ยเพียง 44 ปี เนื่องจากประสบปัญหาโรคระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเอดส์และมาลาเรีย รัฐบาลจึงให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาสังคมโดยเน้นด้านการศึกษาและการ สาธารณสุขขั้นพื้นฐาน

บูร์กินาฟาโซมีทรัพยากรธรรมชาติประเภทแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ แหล่งแร่ธาตุในบูร์กินาฟาโซครอบคลุมพื้นที่ 22% ของพื้นที่ ประเทศทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าวมิได้เป็นไปอย่างเต็มที่ เนื่องจากยังไม่มีการพัฒนากิจการเหมืองแร่อย่างจริงจัง การสำรวจแหล่งแร่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นและส่วนใหญ่ยังมิได้มีการขุดเจาะ

บูร์กินาฟาโซเป็นประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพึ่งพา โดยต้องอาศัยความช่วยเหลือจากต่างประเทศมาโดยตลอด นอกจากนี้ บูร์กินาฟาโซยังได้รับผลกระทบจากการลดค่าเงินฟรังก์เซฟา (Franc CFA) ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก เมื่อปี พ.ศ. 2537 ภายใต้นโยบายการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจตามคำแนะนำของกองทุนการเงินระหว่าง ประเทศและธนาคารโลก ซึ่งมีผลทำให้บูร์กินาฟาโซต้องขาดดุลการชำระ เงินเป็นจำนวนมากในการสั่งสินค้าเข้า อย่างไรก็ดี บูร์กินาฟาโซประสบความสำเร็จระดับหนึ่งในการดำเนินนโยบายปรับโครงสร้างทาง เศรษฐกิจ อันนำมาซึ่งความไว้วางใจจากกลุ่มประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือ ทำให้บูร์กินาฟาโซได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรเหล่านั้นในการปฏิรูป เศรษฐกิจเพื่อทำให้ระบบเศรษฐกิจและสินค้ามีความสามารถในการแข่งขันกับกลไก ราคาในตลาดโลกได้

รากฐานทางเศรษฐกิจของบูร์กินาฟาโซขึ้นอยู่กับการส่งออกสินค้าเกษตรและวัตถุ ดิบซึ่งมีจำนวนจำกัด อย่างไรก็ดี มูลค่าส่วนใหญ่ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติมาจากรายได้ด้านบริการ การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของบูร์กินาฟาโซ เป็นผลจากการลงทุนทั้งในภาครัฐและเอกชน กอปรกับเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ และการปฏิบัติตามแผนปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจซึ่งเริ่มใช้เมื่อห้าปีที่ แล้ว ตลอดจนการลดค่าเงินฟรังก์เซฟาเมื่อปี 2537 ได้ทำให้เงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาในประเทศมากขึ้น อย่างไรก็ตาม บูร์กินาฟาโซยังขาดความพร้อมในการรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในการลงทุน ดังนั้น นักลงทุนที่เข้าไปส่วนใหญ่จึงมุ่งไปที่โครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน อันเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาประเทศ โดยในระยะยาวรัฐบาลจะต้องเร่งลดการขาดดุลทางการค้า และหามาตรการรักษาระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ต่อเนื่อง เพื่อเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนมิใช่เป็นการเข้ามาตักตวงผลประโยชน์ในช่วงระยะสั้น ๆ ของนักลงทุนต่างชาติ ประธานาธิบดี Blaise Compaore ได้เคยกล่าวในระหว่างการพบปะกับนักลงทุนว่า บูร์กินาฟาโซมีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจอีกมาก แม้ฐานแรงงานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแรงงานที่ไร้ฝีมือ และจะรักษาเสถียรภาพทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยเพื่อสร้างบรรยากาศส่ง เสริมเศรษฐกิจและการลงทุนที่ดี ทั้งนี้ นาย Kadre Desore Ouedraogo นายกรัฐมนตรีได้ย้ำว่า การที่บูร์กินาฟาโซจะบรรลุเป้าหมายในการมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยไม่ ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ (Non-inflationary growth) จะต้องปฏิบัติตามนโยบายเศรษฐกิจอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการติดตามกระแสการเงินและการคลังอย่างใกล้ชิด การปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษี การจัดการหนี้ค้างชำระ การควบคุมการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร และในปีที่ผ่านมา เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันและดำเนินการในทิศทางที่ถูกต้อง บูร์กินาฟาโซได้ออกมาตรการรองรับการลงทุนโดยมีการทบทวน ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหลายฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ศุลกากร เหมืองแร่ และแรงงาน เพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ผู้ลงทุนมากขึ้น นอกจากนั้นกระบวนการยุติธรรมก็ได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาวะทางการ เมืองและเศรษฐกิจด้วย โดยเฉพาะการที่จะต้องรองรับระบบเศรษฐกิจที่มีความซับซ้อนมากขึ้น รวมทั้งการกระจายอำนาจการบริหารสู่ภูมิภาคเพื่อให้หน่วยงานราชการมีอำนาจ บริหารอิสระมากขึ้น

รัฐบาลได้พยายามอย่างเต็มที่ในการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับการพัฒนา เพื่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งได้เตรียมมาตรการจูงใจนักลงทุน และรองรับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน โดยเมื่อเดือนมีนาคม 2539 ได้มีการรับรองกฎระเบียบว่าด้วยการทำสัญญาระหว่าง คู่ค้า มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รัฐให้มีความรอบรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบการค้าภายใน และกระบวนการรับเงินทุนพัฒนาจากประเทศผู้ให้ นอกจากนี้ มีมาตรการตรวจสอบและควบคุมโครงการพัฒนาของภาครัฐ

อ้างอิง

  1. ["INSD Burkina Faso (ฝรั่งเศส)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-01. สืบค้นเมื่อ 2011-12-28. INSD Burkina Faso (ฝรั่งเศส)]
  2. 2.0 2.1 "Report for Selected Countries and Subjects".
  3. "Distribution of family income – Gini index". The World Factbook. CIA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-23. สืบค้นเมื่อ 1 September 2009.
  4. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  5. CFA Franc BCEAO. Codes: XOF / 952 ISO 4217 currency names and code elements เก็บถาวร 2012-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ISO. Retrieved 8 May 2009.
  6. "Burkina Faso to hold presidential vote in October – interim government". Reuters. 22 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 16 September 2015./
  7. Coup in Burkina Faso as military takes over country ahead of elections
  8. Military takeover of Burkina Faso declare themselves the ‘National Council for Democracy’
  9. Burkina Faso coup: Michel Kafando reinstated as president
  10. AFRICA/BURKINA FASO - Roch Marc Christian Kaboré elected Head of State in the first round.[ลิงก์เสีย]
Kembali kehalaman sebelumnya