ประเทศโตโก
โตโก (ฝรั่งเศส: Togo) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโตโก (ฝรั่งเศส: République togolaise) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก (เขตที่ราบสูงกินี) มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกานาทางทิศตะวันตก ทิศตะวันออกติดกับประเทศเบนินทิศเหนือติดกับประเทศบูร์กินาฟาโซ ทิศใต้จรดอ่าวกินี กรุงโลเมที่เป็นเมืองหลวงก็ติดกับอ่าวกินี ประวัติศาสตร์
โตโกเป็นดินแดนภายใต้การปกครองแบบอาณานิคมของเยอรมันตั้งแต่ พ.ศ. 2427 ต่อมาในปี 2457 ถูกปกครองโดยกลุ่มประเทศพันธมิตร และในปี พ.ศ. 2462 ถูกแบ่งสรรเป็นเขตในการปกครองของอังกฤษ (British Togoland) และของฝรั่งเศส (French Togo) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินแดนโตโกทั้งสองส่วนตกเป็นดินแดนภายใต้การอารักขาของสหประชาชาติ ดินแดนในส่วนการปกครองของอังกฤษหรือ British Togoland ได้รวมกับ Gold Coast และกลายเป็นประเทศกานา ส่วนดินแดนในส่วนการปกครองของฝรั่งเศสหรือ French Togo ได้รับสิทธิในการปกครองตนเองบางส่วนในปี พ.ศ. 2499 และเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2503 ก็เป็นประเทศเอกราชและมีนาย Sylvanus Olympio ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรก ภูมิศาสตร์ชายฝั่งของโตโกในอ่าวกินีมีความยาว 56 ก.ม. (35 ไมล์) และประกอบด้วยทะเลสาบที่มีหาดทราย ภูเขาที่สูงที่สุดของประเทศคือมงอากูที่ความสูง 986 เมตร (3,235 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล แม่น้ำที่ยาวที่สุดคือแม่น้ำโมโนที่มีความยาว 400 กม. (250 ไมล์) ชายฝั่งของโตโกมีลักษณะเป็นหนองน้ำและป่าชายเลน ประเทศนี้มีคะแนนเฉลี่ยดัชนีความสมบูรณ์ของภูมิทัศน์ป่าไม้ประจำปี 2019 อยู่ที่ 5.88/10 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 92 ทั่วโลกจาก 172 ประเทศ[6] การแบ่งเขตการปกครองโลเม เป็นเมืองหลวงของประเทศโตโก มีประชากรประมาณ 700,000 คน ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำกินี โลเมเป็นศูนย์กลางการปกครองและการอุตสาหกรรมของประเทศ ภายในเมืองมีท่าเรือ สินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศคือ กาแฟ, โกโก้, โกปรา และแก่นปาล์ม นอกจากนั้นยังมีโรงกลั่นน้ำมันอยู่อีกด้วย โตโกแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ภาค โดยแบ่งย่อยออกเป็น 30 จังหวัด ได้แก่ เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจของโตโกต้องพึ่งพาเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ และเป็นเกษตรกรรมที่มีผลิตผลเพียงพอเฉพาะบริโภคภายในประเทศ โดยแรงงานประมาณร้อยละ 65 อยู่ในภาคเกษตรกรรม โกโก้ กาแฟ และฝ้ายยังนำรายได้จากการส่งออกเข้าประเทศถึงร้อยละ 30 และโตโกเป็นประเทศที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ในเรื่องอาหาร หากการเก็บเกี่ยวเป็นไปตามฤดูกาล ในภาคอุตสาหกรรม การทำเหมืองฟอสเฟตยังเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุด แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากราคาฟอสเฟตโลกตกต่ำและมีการแข่งขันจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ โตโกยังเป็นศูนย์กลางทางด้านพาณิชย์และการค้าในภูมิภาคด้วย รัฐบาลโตโกได้พยายามดำเนินมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจ และจูงใจให้มีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น รวมทั้งการจัดเก็บรายได้ของรัฐให้สอดคล้องกับรายจ่ายโดยได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ความไม่สงบทางการเมือง รวมทั้งการนัดหยุดงานของภาครัฐและเอกชนในช่วงปี 2535 - 2536 ได้ส่งผลกระทบต่อโครงการปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมทั้งกิจกรรมเศรษฐกิจที่สำคัญด้านอื่น ๆ การลดค่าเงินถึงร้อยละ 50 เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2537 เป็นแรงกระตุ้นสำคัญในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจครั้งใหม่ประกอบกับการต่อสู้ทางการเมืองต่าง ๆ ได้เริ่มสงบลง ความคืบหน้าในการปฏิรูปเศรษฐกิจยังขึ้นอยู่กับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ยังดำเนินการอยู่ รวมทั้งความโปร่งใสของรัฐบาล โดยเฉพาะการจัดสรรเงินในเรื่องสวัสดิการสังคม การลดขนาดของกองทัพซึ่งรัฐบาลยังต้องพึ่งพาเพื่อความอยู่รอดของตนเอง อย่างไรก็ตาม การที่ขาดแคลนความช่วยเหลือประกอบกับราคาโกโก้ที่ตกต่ำลง ทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2541 ลดลงร้อยละ 1 แต่ก็กลับมาเช่นเดิมในปี 2542 หากบรรยากาศทางด้านการเมืองไม่เลวร้ายลง เป็นที่คาดว่าการเจริญเติบโตในปี 2543 - 2544 ควรจะสูงถึงร้อยละ 5 ศาสนาประชากรโตโกนับถือศาสนาคริสต์ 29% นับถือศาสนาอิสลาม 20%[7] ที่เหลือนับถือผีและความเชื่อดั้งเดิมรวมถึงคนที่ไม่มีศาสนา อ้างอิง
|