ขุนพลรัฐจ๊กก๊ก (เสียชีวิต ค.ศ. 234)
อุยเอี๋ยน (เว่ย์ เหยียน) |
---|
魏延 |
|
|
มหาขุนพลโจมตีตะวันออก (征西大將軍 เจิงซีต้าเจียงจฺวิน) |
---|
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 231 (231) – ค.ศ. 234 (234) |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
---|
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
---|
ที่ปรึกษาการทหารทัพหน้า (前軍師 เฉียนจฺวินชือ) |
---|
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 231 (231) – ค.ศ. 234 (234) |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
---|
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
---|
ข้าหลวงมณฑลเลียงจิ๋ว (涼州刺史 เหลียงโจฺวชื่อฉื่อ) (แต่ในนาม) |
---|
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 227 (227) – ค.ศ. ? (?) |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
---|
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
---|
ขุนพลพิทักษ์ภาคเหนือ (鎮北將軍 เจิ้นเป่ย์เจียงจฺวิน) |
---|
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 221 (221) – ค.ศ. ? (?) |
กษัตริย์ | เล่าปี่ / เล่าเสี้ยน |
---|
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
---|
ขุนพลพิทักษ์แดนไกล (鎮遠將軍 เจิ้นยฺเหวี่ยนเจียงจฺวิน) |
---|
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 219 (219) – ค.ศ. 221 (221) |
กษัตริย์ | เล่าปี่ |
---|
เจ้าเมืองฮันต๋ง (漢中太守 ฮั่นจงไท่โฉฺ่ว) (รักษาการ) |
---|
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 219 (219) – ค.ศ. ? (?) |
กษัตริย์ | เล่าปี่ / เล่าเสี้ยน |
---|
ขุนพลรักษาค่ายใหญ่ (牙門將軍 หยานเหมินเจียงจฺวิน) |
---|
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 214 (214) – ค.ศ. ? (?) |
|
ข้อมูลส่วนบุคคล |
---|
เกิด | ไม่ทราบ นครหนานหยาง มณฑลเหอหนาน |
---|
เสียชีวิต | ค.ศ. 234 มณฑลเสฉวน |
---|
บุตร | บุตรชายอย่างน้อย 1 คน |
---|
อาชีพ | ขุนพล, นัการเมือง |
---|
ชื่อรอง | เหวินฉาง (文長) |
---|
บรรดาศักดิ์ | หนานเจิ้งโหฺว (南鄭侯) |
---|
|
อุยเอี๋ยน (เสียชีวิต ป. ตุลาคม ค.ศ. 234[a]) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เว่ย์ เหยียน (จีน: 魏延; พินอิน: Wèi Yán; การออกเสียงⓘ) ชื่อรอง เหวินฉาง (จีน: 文長; พินอิน: Wéncháng) เป็นขุนพลและนักการเมืองชาวจีนของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน เดิมเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของขุนศึกเล่าปี่ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก อุยเอี๋ยนได้รับการเลื่อนยศแล้วขึ้นเป็นขุนพลเมื่อเล่าปี่เข้ายึดครองมณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) ในปี ค.ศ. 214 ผลงานการรบในยุทธการทำให้อุยเอี๋ยนกลายเป็นบุคคลสำคัญในกองทัพของเล่าปี่ในเวลาไม่นาน ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองของเมืองฮันต๋งและเป็นผู้บัญชาการพื้นที่ในปี ค.ศ. 219 ในระหว่างปี ค.ศ. 228 ถึง ค.ศ. 234 อุยเอี๋ยนเข้าร่วมในการยกทัพบุกขึ้นเหนือที่นำโดยจูกัดเหลียงผู้สำเร็จราชการแห่งจ๊กก๊กเพื่อต้านวุยก๊กอันเป็นรัฐอริ หลังจูกัดเหลียงเสียชีวิตเมื่อราวเดือนกันยายน ค.ศ. 234 อุยเอี๋ยนก็ถูกสังหารโดยม้าต้ายขุนพลจ๊กก๊กอีกคนหนึ่งในข้อหากบฏ
ประวัติช่วงต้น
อุยเอี๋ยนเป็นชาวเมืองงีหยง (義陽郡 อี้หยางจฺวิ้น) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของนครหนานหยางทางใต้ของมณฑลเหอหนานและบางส่วนมณฑลหูเป่ย์ในปัจจุบัน อุยเอี๋ยนเริ่มรับราชการในฐานะทหารเดินเท้าภายใต้ขุนศึกเล่าปี่ อาจเป็นในช่วงปี ค.ศ. 209 ถึง ค.ศ. 211 เมื่อเล่าปี่อยู่ทางใต้ของมณฑลเกงจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลหูเป่ย์และมณฑลหูหนานในปัจจุบัน) ราวปี ค.ศ. 212 อุยเอี๋ยนติดตามเล่าปี่ไปยังมณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) และรับใช้เล่าปี่ในฐานะนายทหารคนสนิทในสงครามกับเล่าเจี้ยงเจ้ามณฑลเอ๊กจิ๋ว (益州牧 อี้โจวมู่) ฮองตงและอุยเอี๋ยนมีผลงานในการรบหลายครั้งระหว่างการยึดอำเภอก๋งฮาน[3] อุยเอี๋ยนจึงได้รับการเลื่อนยศเป็นขุนพลเต็มตัว
เจ้าเมืองฮันต๋ง
การบุกขึ้นเหนือ
ยุทธการที่ทุ่งราบอู่จ้าง
เสียชีวิต
วิเคราะห์ลักษณะ
วิเคราะห์แผนจูงอก๊ก
สิ่งสืบเนื่อง
ในนิยายสามก๊ก
ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กในศตวรรษที่ 14 อุยเอี๋ยนปรากฏบทบาทครั้งแรกที่เมืองเกงจิ๋ว เมื่อเล่าปี่ได้อพยพราษฎรจากซินเอี๋ยและอ้วนเสียข้ามน้ำมาจากการตามล่าของโจโฉขอให้ชาวบ้านอยู่ในเมืองด้วย พวกทหารและเสนาธิการจะแยกไปทันที แต่ชัวมอที่บังคับเล่าจ๋องอยู่ไม่ยอมเปิดประตูให้ อุยเอี๋ยนซึ่งเป็นทหารเกงจิ๋วกลับนำทหารส่วนหนึ่งมาเปิดประตูให้เล่าปี่ยกเข้าเมือง แต่บุนเพ่งแม่ทัพคนหนึ่งของเกงจิ๋วได้ออกมาขัดขวาง พร้อมด่าว่า เจ้าจะเป็นกบฏหรือ อุยเอี๋ยนกับบุนเพ่งจึงได้สู้กัน เล่าปี่อนาถใจที่เห็นทั้งคู่มาสู้กันเอง จึงยกทัพแยกไป
อุยเอี๋ยนมาสวามิภักดิ์เล่าปี่อีกครั้ง เมื่อครั้งที่ ฮองตง รบกับ กวนอู ตัวฮองตงแกล้งยิงเกาทัณฑ์พลาดเพื่อทดแทนบุญคุณกวนอู แต่กลับทำให้เจ้าเมืองคิดว่า ฮองตง เอาใจออกห่างจึงสังให้ประหารฮองตง ทำให้อุยเอี๋ยนไม่พอใจ นำพาทหารจับเจ้าเมืองฆ่า แล้วสวามิภักดิ์ต่อเล่าปี่ ซึ่งการมาสวามิภักดิ์ครั้งนี้ ทำให้ขงเบ้งไม่พอใจสั่งประหารอุยเอี๋ยน เพราะขงเบ้งคิดว่า "เป็นบ่าวกินข้าวนาย แต่ฆ่านาย เลี้ยงไว้จะเป็นภัย" แต่เล่าปี่ได้ห้ามไว้เพราะต้องการจะได้คนมีฝีมือมาใช้งาน แม้อุยเอี๋ยนจะมีฝีมือในการรบแต่ก็ไม่เคยเป็นที่วางใจเลยของขงเบ้ง ทั้งคู่มักโต้เถียงกันประจำในทางวางกลยุทธ์ และขงเบ้งมักให้หน้าที่อุยเอี๋ยนเป็นรองขุนพลคนอื่น ๆ เสมอ ๆ โดยเฉพาะตอนที่ยกทัพลงใต้ปราบเบ้งเฮ็ก ยังความไม่พอใจแก่อุยเอี๋ยนมาก แต่ยังไม่กล้าทำอะไรเพราะเกรงในสติปัญญาและบารมีของขงเบ้ง
เมื่อถึงคราวขงเบ้งทำพิธีต่อชะตาอายุตนเอง ในคืนวันที่ 7 พิธีจวนจะสำเร็จแล้ว หากตะเกียงไฟไม่ดับไปเสียก่อน สุมาอี้ได้ใช้ให้กองสอดแนมแสร้งทำว่าจะโจมตี ก็เป็นอุยเอี๋ยนที่วิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามารายงานในกระโจม เป็นเหตุให้ลมพัดตะเกียงดับทันที เกียงอุยโมโหอุยเอี๋ยนมาก ชักกระบี่จะสังหารทันที แต่ขงเบ้งห้ามไว้ โดยบอกว่า เป็นชะตาข้าพเจ้าเอง ไม่เกี่ยวกับอุยเอี๋ยนหรอก ก่อนขงเบ้งจะตาย ได้สั่งเสียไว้หลายอย่าง และกล่าวกับหลายบุคคลว่า เมื่อเราตายไปแล้ว อุยเอี๋ยนจะเป็นกบฏ และได้วางแผนให้ที่จะกำจัดอุยเอี๋ยน โดยขณะที่ทัพจ๊กยกกลับเสฉวนนั้น เกียงอุยบอกว่า ขงเบ้งให้อุยเอี๋ยนเป็นกองหลัง ยังความไม่พอใจแก่อุยเอี๋ยนมาก จึงประกาศไม่เข้าร่วมกับทัพจ๊กอีกต่อไป โดยมีม้าต้ายแสร้งทำเป็นแนวร่วมด้วย อุยเอี๋ยนนำกำลังทหารทั้งหมดมาล้อม หมายจะตีเมืองฮันต๋ง เมื่อถึงเมืองก็พบ เกียงอุย และเต่งหงีเฝ้าเมืองอยู่ ทั้งสองได้อ่านจดหมายที่ขงเบ้งทิ้งไว้ก่อนตายและได้บอกกับอุยเอี๋ยนว่า "หากเจ้าเงยหน้าขึ้นฟ้าแล้วตะโกนว่า ผู้ใครกล้าฆ่าข้า 3 รอบ แล้วเจ้าไม่ตายก็ถือว่าเจ้าเป็นคนที่แน่จริง เราจะเปิดประตูยกเมืองให้แก่เจ้าทันที" เมื่อได้ทีอุยเอี๋ยนแหงนหน้าตะโกนขึ้นฟ้าด้วยความคะนอง 3 ครั้งว่า "ผู้ใดจะฆ่าข้า" ทันใดนั้น ม้าต้ายก็ที่ขี่ม้าขนาบข้างอุยเอี๋ยนตามแผนของขงเบ้งและตะโกนจากด้านข้างของอุยเอี๋ยนว่า "ข้าผู้มีฝีมือนี้ล่ะ ฆ่าเจ้า" อุยเอี๋ยนได้ยินแล้วก็ตกใจทำอะไรไม่ถูก ถูกม้าต้ายฟันคอขาดทันที
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
- ↑ ชีวประวัติจูกัดเหลียงในจดหมายเหตุสามก๊กระบุว่าอุยเอี๋ยนเสียชีวิตในเดือน 8 ของศักราชเจี้ยนซิง (ค.ศ. 223-237) ปีที่ 12 ในรัชสมัยของจักรพรรดิเล่าเสี้ยน เดือนนี้เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 11 กันยายนถึง 10 ตุลาคม ค.ศ. 234 ในปฏิทินจูเลียน[1] เนื่องจากอุยเอี๋ยนเสียชีวิตหลังจากจูกัดเหลียงไม่นาน วันที่อุยเอี๋ยนเสียชีวิตจึงควรจะอยู่ราวเดือนตุลาคม ค.ศ. 234
อ้างอิง
- ↑ ([建興]十二年 ... 其年八月,亮疾病,卒于軍...。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 35
- ↑ 黄其军. 三国史话 (ภาษาจีน). DeepLogic. p. 63. สืบค้นเมื่อ 17 January 2022.
刘备派遣黄忠、魏延等分统军队平定广汉郡,立下战功。214 年,魏延随刘备攻克益州重镇雒城,并与诸葛亮、张飞等人一起包围并占领了成都。镇守汉中扬威名。219 年,刘备在沔阳自称汉中王,定都于成都,主力回撤后必须留大将镇守汉中。
|
---|
จักรพรรดิ | |
---|
จักรพรรดินี | |
---|
เจ้าชายและราชนิกูลชาย | |
---|
ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน | |
---|
ข้าราชการฝ่ายพลเรือน | |
---|
ข้าราชการฝ่ายทหาร | |
---|
สตรีที่มีชื่อเสียง | |
---|
บุคคลที่มีชื่อเสียงคนอื่น ๆ | |
---|