Share to:

 

ชัวมอ

ชัวมอ
蔡瑁
ภาพชัวมอจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI
นายพลแห่งฉางฉุ่ย (長水校尉)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
ผู้ดูแลอาชา (司馬)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
ฉงซื่อจงหลาง
(從事中郎)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
ขุนพลพิทักษ์ทักษิณ
(鎭南將軍)
(ภายใต้เล่าเปียว)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 192 (192) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
ซงหยง มณฑลหูเป่ย์
เสียชีวิตไม่ทราบ
บุพการี
  • Cai Feng (บิดา)
ความสัมพันธ์
อาชีพขุนพล
ชื่อรองเต๋อกุย (德珪)
ตำแหน่งฮั่นหยางถิงโหว
(漢陽亭侯)

ชัวมอ (อักษรโรมัน: Cai Mao; จีน: 蔡瑁) ชื่อรอง เต๋อกุย (德珪) เป็นนายทหารรับใช้ภายใต้เล่าเปียวและโจโฉ ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[1]

ชีวิต

ชัวมอมาจากตระกูลชัวในซงหยงเมืองเอกของมณฑลเกงจิ๋ว (ครอบคลุมมณฑลหูเป่ย์ และหูหนาน ในปัจจุบัน) พ่อของเขาคือ Cai Feng อาของเขา (น้องสาวของ Cai Feng) แต่งงานกับเตียวอุ๋น ซึ่งดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ (太尉) ในรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ ชัวมอมีพี่สาวสองคน คนหนึ่งแต่งงานกับอุยสิง่าน[a] ในขณะที่อีกคนแต่งงานกับเล่าเปียว ชัวมอยังมีญาติที่มีชื่อเสียงอีกสองคน: Cai Zan (蔡瓚) ชื่อรอง เหมากุย (茂珪) ซึ่งรับราชการเป็น เหม่ยเซียง (郿相):และ Cai Yan (蔡琰)[b] ชื่อรอง เหวินกุย (文珪) ซึ่งรับราชการเป็นเจ้าเมืองปา (巴郡太守) ตระกูลชัวถูกโจรปล้นและสังหารหมู่ในศักราชหย่งเจียของราชวงศ์จิ้นตะวันตก

ชัวมอเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นคนหยิ่งจองหอง เขาทำหน้าที่เป็นนายทหารภายใต้พี่เขยของเขาคือเล่าเปียว เจ้ามณฑลเกงจิ๋ว ในปี ค.ศ. 190 เมื่อ เล่าเปียวเริ่มดำรงตำแหน่งเจ้ามณฑลเกงจิ๋วเป็นครั้งแรก ชัวมอพร้อมด้วยเก๊งเหลียง และเก๊งอวดได้ช่วยเล่าเปียวในการปราบกบฏในท้องถิ่นและรวมอำนาจไว้ที่เล่าเปียว ต่อมา ชัวมอดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง (太守) ของเมืองต่าง ๆ ในเกงจิ๋ว ในปี ค.ศ. 192 หลังจากที่เล่าเปียวได้รับการแต่งตั้งให้เป็นขุนพลพิทักษ์ทักษิณ (鎭南將軍) จากราชสำนักฮั่น เขาได้แต่งตั้งชัวมอเป็นเสนาธิการทางทหารของเขา

เล่าเปียวมีบุตรชายสองคน - เล่ากี๋ และ เล่าจ๋อง - ซึ่งเกิดกับภรรยาคนแรกของเขา เล่าจ๋องคนน้องแต่งงานกับหลานสาวของพี่สาวของชัวมอคือชัวฮูหยิน ดังนั้นตระกูลชัวจึงโปรดปรานเขาและต้องการให้เขาสืบทอดตำแหน่งเจ้ามณฑลเกงจิ๋วต่อจากเล่าเปียวในอนาคตแม้ว่าเล่ากี๋จะเป็นบุตรชายคนโตและผู้สืบทอดโดยชอบธรรมก็ตาม ในปี ค.ศ. 208 ชัวมอและหลานชายของเล่าเปียวคือเตียวอุ๋น (張允) วางแผนทำร้ายเล่ากี๋ เมื่อเล่ากี๋ได้ยินเรื่องนี้ เขาก็หาข้ออ้างที่จะออกจากซงหยง ไปเป็นเจ้าเมืองกังแฮ หลังจากการเสียชีวิตของเล่าเปียวในปีนั้น เล่าจ๋องก็กลายเป็นเจ้ามณฑลเกงจิ๋วคนใหม่โดยได้รับการสนับสนุนจากตระกูลชัว

ปลายปี ค.ศ. 208 เมื่อโจโฉซึ่งควบคุมราชสำนักฮั่นและจักรพรรดิหุ่นเชิดคือพระเจ้าเหี้ยนเต้ นำกองทัพมุ่งหน้าลงใต้เพื่อโจมตีเกงจิ๋ว ชัวมอ, เก๊งอวด, เตียวอุ๋น และขุนนางคนอื่น ๆ ได้พยายามเกลี้ยกล่อมเล่าจ๋องให้ยอมจำนนต่อโจโฉ เนื่องจากชัวมอรู้จักกับโจโฉตั้งแต่สมัยยังเด็ก[1] จึงทำให้โจโฉปฏิบัติต่อเขาเป็นอย่างดีและไปเยี่ยมบ้านของเขาด้วยซ้ำ จากนั้นเป็นต้นมา ชัวมอก็ได้รับราชการภายใต้โจโฉ

ในสามก๊ก

ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊ก ชัวมอเป็นวายร้ายรองคู่กับหลานชายของเล่าเปียวคือเตียวอุ๋น (張允) ทั้งสองคนได้รับการกล่าวขานว่ามีทักษะและมีประสบการณ์ในการทำสงครามทางเรือสูง โดยเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังทางเรือของเกงจิ๋ว ในนวนิยาย ชัวมอยังเป็นน้าชายของเล่าจ๋องบุตรชายคนเล็กของเล่าเปียว เนื่องจากแม่ของเล่าจ๋องคือชัวฮูหยิน (พี่สาวของชัวมอ) ในปี ค.ศ. 208 หลังจากเล่าเปียวเสียชีวิต ชัวมอ, ชัวฮูหยิน และเตียวอุ๋น ขัดความปรารถนาสุดท้ายของเขาโดยสนับสนุนเล่าจ๋องเป็นเจ้ามณฑลเกงจิ๋วคนใหม่ ในปลายปีเดียวกัน ชัวมอเรียกร้องให้เล่าจ๋องยอมจำนนต่อ โจโฉซึ่งนำกองทัพขนาดใหญ่มุ่งหน้าลงใต้เพื่อบุกเกงจิ๋ว โจโฉยอมรับการยอมจำนนและปล่อยให้ชัวมอและเตียวอุ๋นนำทัพเรือต่อไป

ในช่วงแรกของยุทธนาวีที่ผาแดงในฤดูหนาวปี ค.ศ. 208-209 ชัวมอและเตียวอุ๋นนำทัพเรือของโจโฉเข้าต่อสู้กับทัพเรือของซุนกวน (孫权) ซึ่งนำโดยจิวยี่ (周瑜) หลังจากพ่ายแพ้ในการต่อสู้ครั้งแรก ชัวมอและเตียวอุ๋นแนะนำให้โจโฉเชื่อมเรือประจัญบานทั้งหมดของเขาด้วยโซ่เหล็กเพื่อลดโอกาสที่ทหารจะเมาเรือขณะล่องเรือในแม่น้ำ เมื่อจิวยี่ได้ยินเรื่องนี้ เขาก็ใช้อุบายหลอกเจียวก้าน (蒋干) ซึ่งเป็นเพื่อนของจิวยี่และที่ปรึกษาของโจโฉให้เชื่อว่าชัวมอและเตียวอุ๋นกำลังวางแผนที่จะทรยศต่อโจโฉและแปรพักตร์ไปอยู่ฝ่ายซุนกวน เจียวก้านกลับมาหาโจโฉพร้อมจดหมายปลอมที่จิวยี่ทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานว่าชัวมอและเตียวอุ๋น "ทรยศ" โจโฉโกรธและหลงอุบายของจิวยี่จึงสั่งประหารชีวิตชัวมอและเตียวอุ๋น แม้ว่าเขาจะสำนึกในความผิดพลาดในภายหลัง แต่ก็สายเกินไป

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 de Crespigny (2007), p. 28.

หมายเหตุ

  1. อุยสิง่านและภรรยาให้กำเนิด บุตรสาว, ซึ่งแต่งงานกับจูกัดเหลียง.
  2. อย่าสับสนกับซัวเอี๋ยมซึ่งมีชื่อรองว่าเหวินจี
Kembali kehalaman sebelumnya