Share to:

 

โทรคมนาคมในประเทศไทย

การสื่อสารโทรคมนาคมในประเทศไทย เริ่มขึ้นครั้งแรกด้วยการให้บริการโทรเลขเมื่อปี พ.ศ. 2418 โดยมีกรมโทรเลขเป็นผู้ดูแลการให้บริการ ในอดีต การพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์ในประเทศไทย อยู่ในการให้บริการโดยหน่วยงานของภาครัฐเท่านั้น จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ และโทรทัศน์ โดยเฉพาะหน่วยงานด้านการทหารที่ยังคงควบคุมคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์จำนวนมาก

ในช่วงปี พ.ศ. 2530 - 2540 เป็นช่วงการเปิดให้บริการโทรคมนาคมอย่างเสรีกับภาคประชาชน โดยมีหน่วยงานของรัฐ 3 หน่วยงานที่ดูแลกิจการโทรคมนาคมเป็นหลัก ได้แก่ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือทีโอที), การสื่อสารแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ กสท โทรคมนาคม) และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ อสมท) และแปรสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจในรูปแบบบริษัทมหาชนจำกัดในปี พ.ศ. 2546-2547 โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้คลื่นความถี่ทั้งหมดเป็น "ทรัพยากรการสื่อสารของชาติเพื่อสวัสดิการสาธารณะ" โดยกำหนดให้มีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระขึ้นซึ้งมีอำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่, ตรวจสอบ และควมคุมการติดต่อสื่อสารในประเทศไทยได้แก่ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงแห่งชาติ (กสช.) ในปี พ.ศ. 2541 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง กทช. ชุดแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2547

การจัดตั้ง กทช. ทำให้มีการโอนหน้าที่และทรัพย์สินของกรมไปรษณีย์โทรเลข ในการกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม มาเป็นของคณะกรรมการ กทช. รวมถึงในส่วนของกองงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ ในการกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรีอีกด้วย แต่ในขณะเดียวกันในส่วนของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงแห่งชาติในขณะนั้นไม่ได้รับการยอมรับเนื่องจากมีการโต้แย้งรวมถึงข้อพิพาทต่างๆทั้งในการกระบวนการสรรหาและการเมืองภายในภาคสื่อเอง

ภายหลังจากเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้มีการตัดสินใจควบรวมกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม โดยได้ยุบหน่วยงานทั้ง กทช. และ กสท. เดิม และตราพระราชบัญญัติองค์การจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และบังคับใช้ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งในพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุการจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการด้านโทรคมนาคม โดยกำหนดให้เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐ

ภารกิจแรกของคณะกรรมการ กสทช. คือการจัดประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมประเภทบริการ 3 จี ในปี พ.ศ. 2555 ที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดยมีการออกใบอนุญาตในช่วงคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิร์ตซ์ ทั้งหมด 3 ใบ ให้กับ เอไอเอส, ทรูมูฟ เอช และดีแทค

ในปี พ.ศ. 2556 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) หน่วยงานย่อยของ กสทช. ได้เปิดให้มีการประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิทัลภาคพื้นดินแห่งชาติจำนวน 42 ใบ และเปิดให้บริการได้ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน

แม้จะเกิดเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 แต่ด้วยพระราชบัญญัติ กสทช. ยังมีผลบังคับใช้จึงทำให้คณะกรรมการยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนได้มีการออกพระราชบัญญัติฉบับใหม่ในปี พ.ศ. 2560 โดยได้ยุบหน่วยงานย่อยของกสทช. ทั้งหมดให้เหลือเพียงหน่วยงาน กสทช. เพียงหน่วยงานเดียว อีกทั้งยังต้องให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจประเด็นตามๆ จากเดิมที่ให้อำนาจกสทช. ตัดสินใจเอง

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 รัฐบาลทหารได้ออกคำสังให้สถานีวิทยุชุมชนทั้งหมดต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง โดยจะมีการตรวจสอบก่อนได้รับใบอนุญาต โดยช่วงแรกได้ออกใบอนุญาตชั่วคราวให้ก่อนในช่วงเดือนกันยายนไปยังสถานีวิทยุที่ได้รับใบอนุญาตอยู่ก่อนหน้าแล้ว ซึ่งต้องลงนามในบันทึกข้อตกลงหลักเกณฑ์ต่างๆ ก่อนสามารถเผยแพร่การออกอากาศได้ ในระหว่างที่รอการตรวจสอบเพื่อออกใบอนุญาตฉบับใหม่ต่อไป

ผู้ประกอบการโทรคมนาคมเริ่มได้รับสัมปทานกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สำหรับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งรัฐบาลได้แก้ไขให้ยกเลิกระบบสัมปทานคลื่นความถี่ด้านโทรคมนาคม และสิ้นสุดเมื่อปี พ.ศ. 2558

สำหรับบริการหรือข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัมปทานจะแตกต่างกันไปในช่วง 1-15 ปี โดยสัญญาสัมปทานเกือบทั้งหมดเป็นสัญญาที่เขียนขึ้นตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายหรือ BTO โดยนักลงทุนเอกชนต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายที่จำเป็นทั้งหมด และโอนทรัพย์สินที่สร้างขึ้นไปยังเจ้าของสัมปทานหรือหน่วยงานของรัฐก่อนที่จำสามารถดำเนินการหรือให้บริการแก่ประชาชนได้

ปัจจุบันตลาดเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มีผู้ประกอบการหลัก 3 รายและมีอัตราการเติบโตสูงถึง 136% โดยปัจจุบันผู้ให้บริการเครือข่ายหลักๆ จะใช้เทคโนโลยีของกลุ่ม GSM และ 3GPP ได้แก่ GSM, EDGE, UTMS และ LTE ส่วนตลาดโทรทัศน์ในประเทศปัจจุบันแบ่งเป็นโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิม 6 ช่อง และโทรทัศน์ระบบดิจิทัลจำนวน 26 ช่อง

โทรศัพท์

ระบบโทรศัพท์พื้นฐาน

ปัจจุบันมีผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานเพียงรายเดียวได้แก่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยสถิติในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2557 มีผู้ใช้บริการจำนวน 5,687,038 เลขหมายลดลงจากปี พ.ศ. 2551[1]

ผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2424 โดยกระทรวงกลาโหม ต่อมาได้มีการโอนกิจการให้แก่กรมไปรษณีย์โทรเลข องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2497[2]

การให้บริการของโทรศัพท์พื้นฐานในอดีตนั้นค่อนข้างมีข้อจำกัดสูง อัตราการเติบโตของธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐานในปี พ.ศ. 2534 อยู่ที่ 3.3 เลขหมายต่อประชากร 100 คน ก่อนที่จะมีการเปิดให้บริษัทเอกชนรับสัมปทานเพื่อสร้างและใช้โทรศัพท์พื้นฐาน 2 รายได้แก่บริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบัน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)) สำหรับให้บริการในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล และบริษัท ไทย เทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) สำหรับให้บริการในต่างจังหวัด[3]

โทรศัพท์เคลื่อนที่

ในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2557 มีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยที่ 97.6 ล้านเลขหมาย คิดเป็นอัตราการเติบโตถึง 146% แบ่งเป็นผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน 84.8 ล้านเลขหมาย โดย 99% ของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้ผู้ให้บริการหลัก 3 ราย (รวมถึงผู้ให้บริการในเครือด้วย) ได้แก่ เอไอเอส มีสัดส่วนผู้ใช้บริการอยู่ที่ 46.52% รองลงมาได้แก่ ดีแทค 28.50% และทรูมูฟ เอช 24.26% ส่วนผู้ให้บริการรายอื่นรวมถึงรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ ทีโอที 0.57% และ กสท. โทรคมนาคม 0.15% รวมถึงผู้ประกอบการกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนโครงข่ายเสมือน (MVNO)

ในช่วงปี พ.ศ. 2520 - 2540 บริษัทเอกชนจะได้รับสัมปทานสำหรับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดย ทีโอที และ กสท. ก่อนที่จะเปลี่ยนผ่านการอนุญาตให้บริการจากระบบสัมปทานเป็นขอใบอนุญาตในปี พ.ศ. 2545 - 2546 ตามพระราชบัญญัติองค์การจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมฉบับที่ 1 และจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นเพื่อกำกับดูแลคลื่นความถี่ของชาติ[4] การจัดการที่สำเร็จครั้งแรกได้แก่การจัดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติโดยคณะกรรมการ กสทช. ในปี พ.ศ. 2555 โดยจัดสรรคลื่นความถี่ช่วง 2100 ความกว้าง 15 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 3 ใบอนุญาต โดยทั้งสามผู้ให้บริการรายใหญ่ได้ไปรายละ 1 ใบอนุญาต

ในปี พ.ศ. 2558 ที่ กสทช. ได้มีการจัดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจำนวน 2 ย่านความถี่ได้แก่คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ความกว้าง 15 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต และ คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ความกว้าง 2x10 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต โดยในเดือนพฤศจิกายน การประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ใช้เวลากว่า 33 ชั่วโมงในการประมูล โดยผู้ชนะคือ เอไอเอส และทรูมูฟ เอช และคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ใช้เวลากว่า 4 วัน 4 คืน โดยผู้ชนะได้แก่ ทรูมูฟเอช และ แจส โมบาย (กลุ่มบริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล)[5] แต่กลุ่มจัสมิน ไม่สามารถนำเงินมาชำระค่าใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ได้ จึงถูกยึดเงินประกัน และปรับเป็นเงินกว่า 199 ล้านบาท [6][7] โดยหลังจากทำการเปิดประมูลใหม่มีเพียง เอไอเอส ที่เข้ารับซองประมูล[8]

ในปี พ.ศ. 2561 ได้มีการจัดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจำนวน 2 ย่านความถี่ได้แก่คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ความกว้าง 2x5 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 9 ใบอนุญาต และ คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ความกว้าง 2x5 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 1 ใบอนุญาต โดยผลการเข้าประมูล เอไอเอส และ ดีแทค ที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ไปเพียงรายละ 1 ใบอนุญาต[9] และได้เปิดการประมูล คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ อีกครั้งในเดือนตุลาคม โดยดีแทคได้ตอบรับ และเข้าประมูลเพียงรายเดียว[10]

ในปี พ.ศ. 2562 ผู้ให้บริการหลักทั้ง 3 รายได้แก่ เอไอเอส, ทรูมูฟเอช และ ดีแทค ได้เข้ายื่นประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิร์ตซ์ ความกว้าง 2x10 Mhz ด้วยเงื่อนไขเรื่องการขอยืดการชำระค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซ์ ออกไปเป็นระยะเวลา 10 ปี[11]

ในปี พ.ศ. 2563 กสทช. ได้ประกาศจัดประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิร์ตซ์ ความกว้าง 2x5 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 3 ใบอนุญาต, คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ ความกว้าง 2x5 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 7 ใบอนุญาต, คลื่นความถี่ 2600 เมกะเฮิร์ตซ์ ความกว้าง 10 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 19 ใบอนุญาต และใบอนุญาตคลื่นความถี่ 26 จิกะเฮิร์ตซ์ ความกว้าง 100 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 27 ใบอนุญาต เพื่อรอบรับการขยายตัวทางโทรคมนาคมและ เตรียมความพร้อมให้กับเทคโนโลยี 5 จี โดยมีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมทั้ง 5 รายเข้าร่วมการประมูลในครั้งนี้ และได้จัดให้มีการประมูลขึ้นในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563[12] โดยผลการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่มีดังต่อไปนี้

  • ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิร์ตซ์ กสท โทรคมนาคม ผู้ให้บริการ My by CAT ชนะการประมูลจำนวน 2 ใบอนุญาต และ เอไอเอส ชนะการประมูล 1 ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ ไม่มีผู้เข้าร่วมการประมูลในครั้งนี้
  • ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2600 เมกะเฮิร์ตซ์ เอไอเอส ชนะการประมูลจำนวน 10 ใบอนุญาต และ ทรูมูฟเอช ชนะการประมูลจำนวน 9 ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 26 จิกะเฮิร์ตซ์ เอไอเอส ชนะการประมูลจำนวน 12 ใบอนุญาต, ทรูมูฟเอช จำนวน 8 ใบอนุญาต, ทีโอที จำนวน 4 ใบอนุญาต, ดีแทค จำนวน 2 ใบอนุญาต และเหลือว่างอีก 1 ใบอนุญาต

โดยเมื่อรวมเงินค่าประมูลใบอนุญาตทั้งหมดนั้น รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 100,193 ล้านบาท[13]

ในปี พ.ศ. 2564 บริษัท ทรู คอร์ปปอเรชั่น จำกัด ได้มีมติที่ประชุมคณะกรรมการ ศึกษาความเป็นไปได้ ของการควบรวมระหว่าง ทรู และ ดีแทค[14] ซึ่งมีเสียงคัดค้านจากหลายองค์กร อาทิมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค หรือบริษัทคู่แข่งอย่าง เอไอเอส แต่หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ที่ประชุม กสทช. ลงมติ "รับทราบ" การควบรวมระหว่าง DTAC และ True พร้อมกับระบุมาตรฐานควบคุมหลังควบรวมแล้วให้ลดราคาค่าบริการโดยเฉลี่ยลง การควบคุมต้นทุนที่ต้องมีการตรวจสอบ โดยทั้งสองบริษัทต้องให้บริการแยกแบรนด์กันไปอีก 3 ปี นอกจากนี้ทั้งสองบริษัทจะต้องไม่ลดจำนวนเสาสัญญาณ[15]

ภายหลังจากมติของ กสทช. ออก ในวันที่ 12 มกราคม 2566 บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) สองบริษัทแม่ของทรู และ ดีแทค ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในว่าคณะกรรมการของทั้งสองบริษัทฯ ได้มีมติให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นร่วม ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อพิจารณาและอนุมัติเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการควบบริษัท โดยได้เสนอชื่อในการจดทะเบียนบริษัทใหม่ที่ควบรวมคือ “บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)” โดยเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566

อีกทั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ทรู ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าบริษัทย่อย 2 บริษัทของตน คือ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตในการทำกิจการโทรคมนาคมภายใต้แบรนด์ ทรู และ ดีแทค ได้จดทะเบียนควบบริษัทต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผลของการควบบริษัททำให้ ดีแทค ไตรเน็ต สิ้นสภาพจากการเป็นนิติบุคคล เหลือไว้เพียง ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น เพียงบริษัทเดียวเท่านั้น

จากนั้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งให้ศาลปกครองชั้นต้นรับคำฟ้องในคดีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยื่นฟ้องขอเพิกถอนมติ กสทช. ที่เกี่ยวเนื่องกับการควบรวมธุรกิจระหว่าง ทรู และ ดีแทค[16]

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 กสทช. อนุมัติให้ โทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ เอ็นที โอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz จำนวน 5 MHz ให้กับ เอไอเอส ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่อนุญาตให้โอนคลื่นได้ ทั้งนี้การโอนคลื่นดังกล่าวต้องอยู่บนเงื่อนไขที่ เอดับบลิวเอ็น ต้องเปิดความจุ 20 % ของคลื่นจำนวน 5MHz ให้ MVNO (Mobile virtual network operator) ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเองสามารถ เช่าใช้งานได้ด้วย[17]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 กสทช. ได้เร่งให้ โทรคมนาคมแห่งชาติ เร่งประกาศแผนเยียวยาให้ลูกค้า ภายหลังจากเดือนสิงหาคม 2568 คลื่นความถี่ที่ถือครองอยู่ 4 ย่านความถี่ได้แก่ 850 เมกะเฮิร์ตซ์, 1500 เมกะเฮิร์ตซ์, 2100 เมกะเฮิร์ตซ์ และ 2300 เมกะเฮิร์ตซ์ จะสิ้นสุดการอนุญาตใช้งาน ภายในเดือนมกราคม 2568 และนำคลื่นคืนมายังสำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการประมูลต่อไป ทว่า การย้ายลูกค้าที่ใช้งานคลื่นเดิมไปยังคลื่น 700 MHz ที่ถือใบอนุญาตใช้ได้จนถึงปี 2579 ก็เป็นเรื่องยากและมีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากอุปกรณ์ไม่รองรับ อีกทั้งผู้ให้บริการโครงข่ายเสมือนที่นำความถี่ไปทำตลาดเฉพาะกลุ่มกว่า 7-8 บริษัท เริ่มมีการสะท้อนปัญหาต้นทุนที่สูงขึ้น[18]

ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบัน

      ใบอนุญาต (เปิดให้บริการ)
      การเช่าคลื่นความถี่จากผู้ถือใบอนุญาตรายอื่น
      สัมปทานคลื่นความถี่
      ยังไม่เปิดให้บริการ
ผู้ให้บริการ คลื่นความถี่ที่ให้บริการ เทคโนโลยี ผู้ใช้งาน การบริหารงาน/ผู้ถือหุ้น
700 MHz 850 MHz 900 MHz 1800 MHz 2100 MHz 2300 MHz 2600 MHz 26 GHz รวม
เอไอเอส 40 MHz
(2 x 20)(1)
20 MHz
(2 x 10)
40 MHz
(2 x 20)
30 MHz
(2 x 15)
100 MHz 1,200 MHz 1,460 MHz GSM , GPRS , EDGE (900 MHz)
UMTS , HSPA+ (2100 MHz)
LTE , LTE-U (900/1800/2100/2600 MHz)
5G NR (700/2600 MHz/26 GHz)
45.7 ล้านเลขหมาย
(ไตรมาส 2/2567)[19]
30 MHz(2)
(2 x 15)
ทรูมูฟ เอช 20 MHz
(2 x 10)
30 MHz(3)
(2 x 15)
20 MHz
(10 x 2)
30 MHz
(2 x 15)
30 MHz
(2 x 15)
90 MHz 800 MHz 1,020 MHz GSM , GPRS , EDGE (900 MHz)
UMTS , HSPA+ , DC-HSPA+ (850/2100 MHz)
LTE , LTE-A (700/900/1800/2100/2600 MHz)
5G NR (700/2600 MHz/26 GHz)
50.5 ล้านเลขหมาย
(ไตรมาส 2/2567)5[21]

บริหารงานโดย

  • บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC)


ผู้ถือหุ้นบริษัทแม่หลัก
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ดีแทค(5) 20 MHz
(2 x 10)
10 MHz
(2 x 5)
10 MHz
(2 x 5)
30 MHz
(2 x 15)
60 MHz(4) 200 MHz 330 MHz GSM , GPRS , EDGE (1800 MHz)
UMTS , HSPA+ (900/2100 MHz)
LTE (700/1800/2100/2300 MHz)
5G NR (700 Mhz/26 GHz)
มายบายเอ็นที
(มายบายแคทเดิม)
10 MHz
(2 x 5)(1)
30 MHz(3)
(2 x 15)
30 MHz(2)
(2 x 15)
60 MHz(4) 400 MHz 530 MHz UMTS , HSPA+ , DC-HSPA+ (850 MHz)
LTE , LTE-A (1800/2100 MHz)
2.5 ล้านเลขหมาย
(ปี พ.ศ. 2564)[23]
เอ็นที โมบายล์
(ทีโอทีเดิม)
UMTS, HSPA, HSPA+, DC-HSPA+ (2100 MHz)
LTE , LTE-U/LAA (2300 MHz)
1.8 แสนเลขหมาย
(ข้อมูลปี พ.ศ. 2564)[24]
หมายเหตุ
  • 1 บอร์ด กสทช. อนุมัติให้ NT โอนคลื่น 700 MHz ให้ AIS จำนวน 5 MHz โดยมีเงื่อนไขที่ ต้องเปิดความจุ 20 % ของคลื่นจำนวน 5MHz ที่ได้รับให้กับ ผู้ประกอบการที่ต้องการเปิดบริการโครงข่ายเสมือน (MVNO) เช่าใช้งานได้ด้วย[25]
  • 2 AIS ได้เช่าคลื่น 2100 ของโทรคมนาคมแห่งชาติ (สิ้นอายุสัญญาเช่า 2568)[26]
  • 3 TRUE ได้รับสัมปทานคลื่น 850 จากโทรคมนาคมแห่งชาติ (สิ้นอายุสัมปทาน 2568)
  • 4 DTAC ชนะในการเสนอเช่าคลื่น 2300 ของโทรคมนาคมแห่งชาติ (สิ้นอายุสัญญาเช่า 2568)[27]
  • 5 ภายหลังได้มีการควบรวมการบริหารงานของทรู-ดีแทค ทำให้ ดีแทค อยู่ภายใต้การบริหารงานเดียวกันกับทรู โดยบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC) โดยนับผู้ใช้บริการโครงข่ายของทั้ง 2 เครื่องข่ายร่วมกันโดยปริยาย[28]

นอกจากผู้ให้บริการหลักทั้ง 5 รายแล้ว ยังมีผู้ให้บริการบนโครงข่ายเสมือน (MVNO)[29] รวมถึงแบรนด์ย่อย (Sub Brand) ของผู้ให้บริการที่มีโครงข่ายแล้วดังนี้[30]

ผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการโครงข่ายหลัก ดำเนินการโดย หมายเหตุ
ประเภทการให้บริการแบบโครงข่ายเสมือน (MVNO)
iKooL บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
ซิมเพนกวิน (Penguin Sim) บริษัท เดอะ ไวท์สเปซ จำกัด
ฟีล (Feels) บริษัท ฟีล เทเลคอม คอร์ปอเรชั่น จำกัด
โอ โมไบล์ (O-Mobile) บริษัท โอ โมไบล์ จำกัด
เรดวัน (redONE) บริษัท เรดวัน เน็ตเวิร์ค (ประเทศไทย) จำกัด
เตโฟร์ (K4) บริษัท เคโฟร์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด
ประเภทการให้บริการโดยผู้ให้บริการโครงข่ายเอง (Sub Brand)
โกโม บาย เอไอเอส (GOMO by AIS) บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) แบรนด์ย่อยของ เอไอเอส
ฟิน โมบาย (FINN Mobile) บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC) แบรนด์ย่อยของ ทรู-ดีแทค

บริการ Mobile Virtual Network Aggregator (MVNA) / Mobile Virtual Network Enabler (MVNE)

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มอบใบอนุญาตประเภทที่ 1 ให้แก่บริษัท MVNO.SERVICE Co., Ltd.[31] ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรวมเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เสมือน (Mobile Virtual Network Aggregator - MVNA) และผู้สนับสนุนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เสมือน Mobile Virtual Network Enabler (MVNE)

ระบบหลัก

หมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานจะมีเลขจำนวน 9 หลัก ส่วนหมายเลขโทรศัพท์มือถือจะมีเลขจำนวน 10 หลัก โดยที่ทั้ง 2 ระบบขึ้นต้นด้วย "0"

วิทยุกระจายเสียง

  • เอเอ็ม : 204
  • เอฟเอ็ม : 334, คลื่นสั้น

ประเทศไทยมีวิทยุถูกใช้เป็นจำนวน 13.96 ล้านตัวในปี พ.ศ. 2540 จนปี พ.ศ. 2558 มีการคาดการณ์ว่ามีผู้ใช้งานวิทยุเป็นจำนวน 25 ล้านตัว

โทรทัศน์

ระบบโทรทัศน์ระดับชาติของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

ระบบแอนะล็อก

ปัจจุบันยุติออกอากาศทั้งหมดแล้ว โดยช่องสุดท้ายคือช่อง 3 ยุติเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563

ระบบดิจิทัล

การเปลี่ยนผ่านจากระบบแอนะล็อกไปยังระบบดิจิทัล เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2557 โดย กสทช. การประมูลจัดขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556[32] และเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557

อินเทอร์เน็ต

เคเบิลใต้น้ำ

ประเทศไทยมีสายเคเบิลใต้น้ำจำนวน 5 เส้น สำหรับเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตเข้า-ออกประเทศ มีจุดเชื่อมต่ออยู่ที่จังหวัดสตูล, เพชรบุรี และชลบุรี

  • SEA-ME-WE-3, SEA-ME-WE-4 เชื่อมต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สู่ตะวันออกกลางและยุโรปตะวันตก โดย SEA-ME-WE 4 เริ่มใช้งานในปี พ.ศ. 2549
  • Thailand-Indonesia-Singapore (TIS)  เริ่มใช้เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546
  • APCN เชื่อมโยงประเทศไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฮ่องกง, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เริ่มใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539
  • Thailand-Vietnam-Hong Kong (T-V-H) เริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
  • Flag Europe-Asia (FEA)  เริ่มใช้งานในช่วงปี พ.ศ. 2530 - 2540
  • Asia-America Gateway (AAG) เริ่มใช้งานในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552
  • Asia Pacific Gateway (APG) เป็นสายเคเบิลใต้น้ำเส้นใหม่เริ่มใช้งานเมื่อต้นปี พ.ศ. 2560

ดาวเทียม

ไทยคมเป็นชื่อของดาวเทียมสื่อสารที่ดำเนินการออกจากประเทศไทย และยังเป็นชื่อของ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็น บริษัท ที่เป็นเจ้าของและดำเนินการดาวเทียมไทยคมและธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมอื่น ๆ ในประเทศไทยและทั่วเอเชียแปซิฟิค

ชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการดาวเทียมไทยคม ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อเป็นสัญลักษณ์ความเชื่อมโยงระหว่างไทยกับเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่

บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (ปัจจุบัน บริษัท บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)) ได้ลงนามสัญญากับบริษัท ฮิวจ์สเปซคอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ในปี พ.ศ. 2534 มูลค่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อดำเนินการปล่อยโครงการดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของประเทศไทย ดาวเทียมไทยคมดวงแรกเปิดตัวเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีตัวรับสัญญาณระบบ ซี-แบนด์ 12 ช่องครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ประเทศญี่ปุ่นถึงประเทศสิงคโปร์

สภาพแวดล้อมด้านกฎหมายโทรคมนาคมในประเทศไทย

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)  [33]

พระราชบัญญัติองค์การจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ในฐานะหน่วงงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมและการกระจายเสียงแห่งเดียวในประเทศไทย

พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอุสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทยโดยกำหนดให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แบ่งเป็นประเภทตามใบอนุญาตการสื่อสารโทรคมนาคมออกเป็นสามประเภทได้แก่

  • ใบอนุญาตด้านโทรคมนาคมสำหรับผู้ให้บริการที่ไม่มีโครงข่ายโทรคมนาคม เป็นของตนเอง
  • ใบอนุญาตด้านโทรคมนาคมสำหรับผู้ให้บริการที่มีหรือไม่มีโครงข่ายโทรคมนาคม เป็นของตนเอง ให้บริการแบบเฉพาะกลุ่มหรือแบบสาธารณะ
  • ใบอนุญาตด้านโทรคมนาคมสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายที่ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป

พระราชบัญญัติได้รับการเปลี่ยนในปี พ.ศ. 2549 ภายใต้รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นจำนวนมากในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยได้

เดิมทีในปี พ.ศ. 2544 ชาวต่างชาติไม่ได้รับอนุญาตให้ยื่นขอใบอนุญาตประเภทสองหรือสามประเภทภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการต่างประเทศ (FBA)[34]

ผู้ที่ยื่นขอใบอนุญาตประเภทที่สองและสามจะต้องเป็นบริษัทที่มีกรรมการบริษัทผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นอย่างน้อย 3 ใน 4 ของคณะกรรมการบริษัท และไม่รวมกันไม่น้อยกว่า 75% อำนาจในการลงนามต่างๆหรือผู้ยื่นคำของต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น

แต่จากการเปลี่ยนพระราชบัญญัติ ในปี พ.ศ. 2549 ได้ยกเลิกข้อกำหนดเพิ่มเติมทั้งหมดของผู้ขอใบอนุญาตประเภทสองและประเภทสามโดยระบุว่าชาวต่างชาติสามารถถือครองได้ถึง 49% ในผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมประเภทที่สองหรือประเภทที่สาม ไม่มีข้อจำกัด เกี่ยวกับสัดส่วนหรือจำนวนผู้ถือหุ้นที่เป็นชาวต่างชาติ และผู้มีอำนาจลงนามสามารถเป็นชาวต่างชาติได้

ค่าธรรมเนียมในการออกใบอนุญาตด้านโทรคมนาคมประกอบด้วยค่าธรรมเนียมสามอย่างคือค่าอนุญาตให้มีใบอนุญาต ค่าต่ออายุและค่าธรรมเนียมรายปี

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 กสทช. ได้ออกใบอนุญาตด้านโทรคมนาคมจำนวน 186 ใบอนุญาตประกอบไปด้วย[35]

  • ประเภทที่ 1 จำนวน 144 ใบอนุญาต
  • ประเภทที่ 2 สำหรับผู้ให้บริการที่ไม่มีโครงข่ายโทรคมนาคม เป็นของตนเอง จำนวน 7 ใบอนุญาต
  • ประเภทที่ 2 สำหรับผู้ให้บริการที่มีโครงข่ายโทรคมนาคม เป็นของตนเอง จำนวน 10 ใบอนุญาต
  • ประเภทที่ 3 จำนวน 25 ใบอนุญาต

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 กสทช. ได้รับการขออนุญาตประกอบการกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนโครงข่ายเสมือน (MVNO) จำนวน 43 ราย[36] แต่เปิดให้บริการเพียง 9 รายเท่านั้น

อ้างอิง

  1. รายงานผลการปฏิบัติงาน กสทช. ประจำปี ๒๕๕๖ [Annual Report on the Operation of the NBTC 2013] (PDF). National Broadcasting and Telecommunications Commission. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-09-03. สืบค้นเมื่อ 2014-08-29.
  2. "From Past to Present" (PDF). TOT Public Company Limited. สืบค้นเมื่อ 2014-08-29.
  3. Hossain, Liaquat (1996). "Telecommunications Network Development: Organisational and Societal Challenges for Thailand" (PDF). International Journal of the Computer, the Internet and Management. 4 (1). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-09-03. สืบค้นเมื่อ 2014-08-29.
  4. "Unofficial translation: Act on Organization to Assign Radio Frequency and to Regulate the Broadcasting and Telecommunications Services B.E. 2553 (2010)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-09-03. สืบค้นเมื่อ 2018-01-22.
  5. "หรือจะต้องประมูลคลื่น 900 MHz กันอีกรอบ?". www.kao-it.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-05. สืบค้นเมื่อ 2018-01-22.
  6. "พิชญ์ โพธารามิก อธิบายเหตุผลที่ JAS ทิ้งคลื่น 900MHz เพราะธนาคารกรุงเทพเปลี่ยนเงื่อนไข". blognone.
  7. "JAS แจ้งต่อผู้ถือหุ้นและตลท. ระบุโดนปรับ 199.42 ล้านบาท จะจ่ายให้ตามกำหนด". blognone.
  8. "AIS คว้าใบอนุญาตคลื่น 900MHz รอบใหม่ไปเรียบร้อย เคาะครั้งเดียวที่มูลค่า 75,654 ล้านบาท".
  9. "จัดไปแบบเงียบๆ AIS, dtac ได้คลื่น 1800 ไปคนละชุดจาก 9 ชุด มูลค่ารวม 2.5 หมื่นล้านบาท".
  10. "ดีแทคคว้าคลื่น 900MHz แล้วด้วยมูลค่ากว่า 3.8 หมื่นล้านบาท".
  11. "3 ค่ายมือถือ เข้าขอรับใบอนุญาตจัดสรรคลื่น 700MHz แล้ว".
  12. "ประมูลคลื่น 5G มีบริษัทยื่นเอกสาร 5 ราย มาครบทั้ง AIS, dtac, TrueMove H, TOT และ CAT".
  13. "กสทช. สรุปผลการประมูล 5G AIS กวาดทุกความถี่ ส่วน dtac ได้คลื่นน้อยที่สุด".
  14. "เป็นทางการแล้ว True เสนอควบรวม dtac เป็นบริษัทเดียว มูลค่า 1.38 แสนล้านบาท | Blognone". www.blognone.com (ภาษาอังกฤษ).
  15. "กสทช. "รับทราบ" DTAC ควบรวม True ประธานลงสองเสียง ต้องแยกแบรนด์ไปอีก 3 ปี | Blognone". www.blognone.com (ภาษาอังกฤษ).
  16. "ศาลปกครองสูงสุด รับคำฟ้องถอนมติควบรวมทรู-ดีแทค". Thai PBS.
  17. ฐานเศรษฐกิจ (2023-08-24). "บอร์ด กสทช. อนุมัติให้ NT โอนคลื่น 700 MHz ให้ AIS จำนวน 5 MHz". thansettakij.
  18. "ลูกค้ามือถือ 'my' ส่อซิมดับปี 68 หลังเอ็นทีหมดสัมปทานคลื่น 4 ความถี่รวด". bangkokbiznews. 2024-10-03.
  19. "AIS รายงานผลประกอบการไตรมาส 2/2567 ผู้ใช้งาน 45.7 ล้านเลขหมาย | Blognone". www.blognone.com (ภาษาอังกฤษ).
  20. "ผู้ถือหุ้น 10 รายแรก". SET.
  21. "ทรู คอร์ปอเรชั่น รายงานผลประกอบการไตรมาส 2/2567 เติบโตทั้งกำไรสุทธิและ EBITDA | Blognone". www.blognone.com (ภาษาอังกฤษ).
  22. "ผู้ถือหุ้น 10 รายแรก". SET.
  23. "NT ยังแกร่ง รวมจุดแข็งควบรวม TOT+CAT พร้อมสู้ในตลาดสีเลือด ย้ำผูกขาดยาก เพราะมี OTT เป็นพี่ใหญ่ เสนอโซลูชันสมาร์ทซิตี้ต่อยอด 5G". ผู้จัดการออนไลน์.
  24. "NT ยังแกร่ง รวมจุดแข็งควบรวม TOT+CAT พร้อมสู้ในตลาดสีเลือด ย้ำผูกขาดยาก เพราะมี OTT เป็นพี่ใหญ่ เสนอโซลูชันสมาร์ทซิตี้ต่อยอด 5G". ผู้จัดการออนไลน์.
  25. ก้อง (2023-09-12). "เอไอเอสคว้าคลื่น 700 MHz จาก NT มูลค่า 14,866 ล้านบาท".
  26. "AIS ร่วมกับ TOT ให้ลูกค้าใช้สัญญาณได้ทั้งสองเครือข่าย เปลี่ยนตัวอักษรเป็น AIS-T". blognone.
  27. "เซ็นแล้ว TOT จับมือดีแทค ใช้คลื่น 2300 ให้บริการ 4G LTE-TDD". blognone.
  28. "True แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ควบรวมบริษัทย่อย TUC กับ DTN แบรนด์ดีแทคให้บริการตามปกติ".
  29. "กฎหมาย บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบไม่มีโครงข่าย(MVNO)".
  30. "รายงานอัตราค่าบริการโทรคมนาคม ไตรมาสที่ 1/2564 (หน้าที่ 13)" (PDF). สำนักงาน กสทช.
  31. "บริษัทร่วมทุนใหม่ เตรียมปฏิวัติวงการบริการโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย". www.mvno.services (ภาษาอังกฤษ). 27 November 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-12-04.
  32. "Digital TV licences fetch B50bn". Bangkok Post. 2013-12-27. สืบค้นเมื่อ 2014-08-29.
  33. "National Broadcasting and Telecommunications Commission เก็บถาวร 2015-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". www.nbtc.go.th.
  34. "Foreign Business Act of 1999". Thailand Board of Investment (BOI)
  35. "Thailand's MVNO market[ลิงก์เสีย]" Yozzo.com
  36. ""Yozzo.com | And then there was 43 MVNO licenses in Thailand
Kembali kehalaman sebelumnya