Share to:

 

โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล"

โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล"
ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา 82110

ข้อมูล
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
คติพจน์กยิราเจ กริยาเถนํ
(ถ้าจะทำอะไรให้ทำจริง ๆ)
สถาปนาพ.ศ. 2443 (122 ปี)
เขตการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14
ผู้บริหารนายพรศักดิ์ ทวีรส
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6
สี   เขียว-ขาว
เว็บไซต์sena.ac.th

โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" (อักษรย่อ ส.น.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่[ต้องการอ้างอิง] ในอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ 1-6 ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2443

ประวัติ

โรงเรียน "ราษฎร์บำรุง"

โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2443 โดยท่านเจ้าคุณมหานายก ผู้ตรวจการคณะสงฆ์ได้จัดตั้งขึ้นเป็นทำนองโรงเรียนวัด อาศัยศาลาโรงธรรมของวัดใหม่กำแพง (ในปัจจุบัน คือ วัดเสนานุชรังสรรค์ ) เป็นตัวโรงเรียนครั้น พ.ศ. 2449 พระราชเมธี ผู้ตรวจการคณะสงฆ์มาตรวจเห็นว่ามีเด็กเข้ามาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก 80 - 90 คน ควรจะจัดให้เป็นตัวโรงเรียนหลวงขึ้นได้ จึงจัดหาครูให้คนหนึ่งให้นามโรงเรียนว่า "ราษฎร์บำรุง" ดำรงอยู่ในอุปการะของพระครูอุดมปัญญา (น่วม) เจ้าคณะเมืองตะกั่วป่า เป็นผู้สอดส่องดูแลการสอน การปกครอง ความเป็นอยู่ของครูและนักเรียนตลอดมา ส่วนครูได้รับเงินเดือนของรัฐบาลส่วนท้องถิ่น การจัดสอนมีชั้นมูล 1, 2, 3 ตามลำดับ โรงเรียนหลังนี้ได้ทำการสอนมาจนถึง พ.ศ. 2452 รวมเวลา 10 ปี ผู้ที่เป็นครูใหญ่โรงเรียนหลังนี้ คือ

  1. พระภิกษุเจี้ยง
  2. สามเณรท่านหนึ่ง (ไม่มีการบันทึกเอาไว้)
  3. นายช้อย
  4. นายเวศ
  5. นายแปลก

ในสมัยที่นายแปลก ฯ เป็นตรูใหญ่นี้มีการบังคับบัญชาเข้มงวดกวดขันมากนักเรียนได้รับความรู้อย่างดีสมกับสมัยนั้น จึงทำให้โรงเรียนนี้ได้ทำการสอนจนถึง พ.ศ. 2452 รวมระยะเวลา 10 ปี

โรงเรียนประจำจังหวัดตะกั่วป่า "เสนานุกูล"

ในปี พ.ศ. 2449 พระเสนานุชิต (ฉิม) ผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่า (สมัยที่ตะกั่วป่ายังเป็นจังหวัด) เห็นว่ายุวชนใน ตำบลตลาดเหนือ ตลาดใต้ (ตำบลตะกั่วป่าในปัจจุบัน) กับตำบลใกล้เคียงมีจำนวนมาก ที่ยังไม่ได้รับการศึกษา เพราะสถานที่ศึกษามีน้อยไม่พอกับจำนวนเด็ก เห็นสมควรที่จะทะนุบำรุงโรงเรียนที่มีอยู่แล้วในวัดใหม่กำแพง (เสนานุชรังสรรค์) ให้เจริญขึ้น และให้ห้องเรียนมีพอกับจำนวนนักเรียน จึงได้ขอเรี่ยไรเงินจากเงินเดือนข้าราชการคนละ 1 เดือน ส่วนที่ยังขาดอยู่ให้พ่อค้า นายเหมืองแร่ช่วยกันออกจนพอ ได้เงินรวมทั้งสิ้น 5,000 บาทเศษ จึงได้สร้างโรงเรียนขึ้นตรงหน้าวัดเสนานุชรังสรรค์ ภายนอกกำแพงด้านตะวันออกของวัด การสร้างนั้นเกณฑ์ราษฎรตามตำบลใกล้เคียงให้หาตัวไม้ เครื่องประกอบและช่วยสร้าง จ้างนายช่างเป็นผู้อำนวยการสร้างตลอดเวลา แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2452 ย้ายนักเรียนมาเรียนเฉพาะชั้นมูล 1, 2 ,3 ส่วนชั้นเตรียมให้คงเรียนในที่เดิมไปก่อน แต่ครูใหญ่มีเฉพาะโรงเรียนหลังใหม่คนเดียว แล้วท่านจึงตั้งนามโรงเรียนให้พ้องกับนามของท่านและข้าราชการว่า โรงเรียนเสนานุกูล ซึ่งคำว่าเสนา คือ ข้าราชการ ดำรงอยู่ด้วยความอุปการะของผู้ว่าราชการจังหวัด และเจ้าคณะจังหวัดทางคณะสงฆ์ ส่วนครูรับเงินเดือนของรัฐบาลซึ่งกระทรวงจัดเบิกจ่ายให้ การจัดสอนชั้นต้น มีชั้นมูล 1, 2, 3 แล้วจึงเลื่อนขึ้นเรียนชั้นประถมปีที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ สอนภาษาไทยตลอดทุกชั้น ครั้นต่อมาราว พ.ศ. 2456 ได้มีการเปลี่ยนแปลง คือ เอาชั้นมูล 1,2,3 เดิม เป็นชั้นประถม 1, 2 ,3 สอนภาษาไทย และชั้นประถมเปลี่ยนเป็นมัธยม 1, 2, 3 ตามลำดับมีการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นด้วยต่อมาในปี พ.ศ. 2465 ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา จึงเริ่มเก็บเงินค่าเล่าเรียนชั้นประถม 1 - 3 คนละ 2 บาทต่อปี มัธยมปีที่ 1 - 3 คนละ 4 บาท ต่อปี ส่วนชั้นประถมนั้นภายหลังเพิ่มชั้นประถมปีที่ 4 เป็นประโยคประถมบริบูรณ์ ในสมัยนี้การศึกษาเจริญขึ้น การเรียนการสอนก็ได้รับผลมากทั้งจัดเป็นโรงเรียนสหศึกษาด้วย จึงมีนักเรียนมากขึ้นตามลำดับ โรงเรียนหลังนี้เริ่ม พ.ศ. 2452 – 2475 รวม 22 ปี ครูใหญ่ที่สอนเฉพาะโรงเรียนหลังนี้ คือ

  1. นายเที่ยง ฯ (ส่งมาจากกระทรวง)
  2. พระใบฎีกา (แดง) เจ้าอาวาสวัดเสนานุชรังสรรค์
  3. รองอำมาตย์ตรี ทรัพย์ ยูวนวัฒน์ ป.ป.ส่งมาจากกระทรวง
  4. รองอำมาตย์ตรี ช่วง ปาลิพภัฏ ป.ป. ส่งมาจากกระทรวง
  5. รองอำมาตย์ตรี บุญมี อินทาปัจ (วรสิทธิ อินทาปัจ) ป.ม., ธ.บ. ส่งมาจากกระทรวง

โรงเรียนประจำอำเภอตะกั่วป่า "เสนานุกูล"

ต่อมาโรงเรียนหลังเดิมชำรุดทรุดโทรมมากจนเหลือความสามารถที่จะซ่อมแซมให้คงใช้ได้อีกต่อไป เพราะตัวโรงเรียนสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง

ในปี พ.ศ. 2475 พระนิพิฐนิติศาสน์ กับหลวงพิลาศวรรณสาร ข้าหลวงตรวจการศึกษาพร้อมด้วยหลวงกิติวาท ธรรมการมณฑลภูเก็ต ขุนมานพานุสาสน์ ธรรมการจังหวัดพังงา นายชื่น ไชยสิริ นายอำเภอตะกั่วป่า ต่างเห็นพ้องว่าโรงเรียนเก่าชำรุดทรุดโทรมมาก ควรจัดตั้งเสียใหม่ โดยขอที่ของวัดเสนาฯ ภายนอกกำแพง กระทรวงธรรมการเห็นชอบด้วย จึงอนุญาตงบประมาณ 7,650 บาท จึงได้เริ่มก่อสร้าง ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2477 เสร็จเรียบร้อย

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนประจำอำเภอตะกั่วป่า “เสนานุกูล” เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากโรงเรียนประจำอำเภอตะกั่วป่า "เสนานุกูล" เป็นโรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" โรงเรียนหลังนี้เริ่ม พ.ศ. 2477 – 2510 รวมระยะเวลา 33 ปี

โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล"

ในปี พ.ศ. 2509

โรงเรียนได้รับเข้าโครงการปรับปรุงโรงเรียนมัธยมในชนบท (คมช.) รุ่นที่ 3 และเนื่องจากสถานที่เดิมคับแคบ ขยายสร้างอาคารเพิ่มเติมไม่ได้ จึงได้ย้ายโรงเรียนไปสร้าง ณ สถานที่ใหม่ ตำบลบางนายสี เยื้องโรงพยาบาลตะกั่วป่า ซึ่งทางอำเภออนุญาตให้ใช้ที่สงวนของทางราชการ เนื้อที่ 50 ไร่ แล้วโอนอาคารเรียนเดิมให้แก่สำนักงานเทศบาลเมืองตะกั่วป่า ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 300,000 บาท อาคารอุตสาหกรรมศิลป์ 163,000 บาท และบ้านพักครู 1 หลัง 50,000 บาท ได้ย้ายมาทำการเรียนการสอน ณ สถานที่แห่งใหม่เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2510 และยังคงมีจำนวนนักเรียน 9 ห้องเรียน และโรงเรียนยังได้รับอุปกรณ์จากกรมวิสามัญและยูนิเซฟเป็นจำนวนมาก วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2510 นายช่วย สุขพันธุ์ ครูใหญ่ ครบเกษียณอายุราชการกรมวิสามัญ (ปัจจุบันกรมวิสามัญหรือกรมสามัญศึกษา ถูกยุบที่เรียบร้อย) ได้แต่งตั้งนายสุทิน ปิ่นแก้ว ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ต่อมา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2510

ในปี พ.ศ. 2511

โรงเรียนได้รับคัดเลือกเข้าโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสมแบบ 2 (คมส.2) และได้ขยาย เนื้อที่ออกเป็น 100 ไร่ โดยขอขยายออกทางด้านหลังซึ่งเป็นที่สงวนของทางราชการ ขอปรับตำแหน่งครูใหญ่เป็นอาจารย์ใหญ่ในปีนั้นด้วย

ในปี พ.ศ. 2512

ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา จำนวน 120,000 บาท ให้ก่อสร้างอาคารอาชีวเกษตร 1 หลัง สร้างเสร็จปี พ.ศ. 2513 และได้รับเงินงบประมาณ 500,000 บาทกับเงินบริจาคนายจุติ บุญสูง บริจาคสมทบจำนวน 500,000 บาท ก่อสร้างอาคารเรียนถาวร แบบ 212 จำนวน 1 หลัง 10 ห้องเรียน สร้างเสร็จ พ.ศ. 2513 และเปิดสอนสายอาชีวเกษตร ตามหลักสูตร คมส.2

ในปี พ.ศ. 2518, พ.ศ. 2521 และ พ.ศ. 2524

ในปี พ.ศ. 2518 เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ในปีพ.ศ. 2521เริ่มรับนักเรียนที่จบชั้นประถมปีที่ 6 เข้าเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น และในปีพ.ศ. 2524 เริ่มรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย[1]

ในปี พ.ศ. 2542

โรงเรียนได้รับคัดเลือกเข้าโครงการห้องเรียนสีเขียวของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้รับงบประมาณจำนวน 500,000 บาท โรงเรียนได้รับคัดเลือกเข้าโครงการ Resource Center เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่าย School Net ประเภทโรงเรียนพี่ข่ายและได้รับจัดสรรครุภัณฑ์ Resource Center 1 ห้อง (เครื่องคอมพิวเตอร์ 7 ชุด, เซิร์ฟเวอร์ 1 ชุดและสายเช่า 1 หมายเลข)

ในปี พ.ศ. 2543 – 2547

ได้รับงบประมาณจากโครงการเงินกู้ธนาคารโลก โครงการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ จำนวน 2,800,000 บาท และปรับปรุงอาคารเรียน 4 โดยใช้เงินงบประมาณของโรงเรียนและศิษย์เก่า 2505 ร่วมบริจาคสร้างห้องคณิตศาสตร์ 91,600 บาท งบปรับปรุงห้อง 200,000 บาท

ในปี พ.ศ. 2545

ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษาพ.ศ. 2545

ในปี พ.ศ. 2549

ผ่านการประเมินโรงเรียนต้นแบบ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน ได้รับมอบห้อง TOT โครงการ TOT IT SCHOOL จากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

ในปี พ.ศ. 2552

ได้เปิดหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษ Mini English Program และห้องเรียนพิเศษ วิทย์ - คณิต ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ในปี พ.ศ. 2553

ได้เปิดหลักสูตรโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล World Class Standard School

ในปี พ.ศ. 2554

ได้รับเงินบริจาคและสนับสนุนในการก่อสร้างอาคารหอสมุดวิทยบริการ ครบรอบ 111 ปี เป็นเงิน 4,500,000 บาท ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2555

ในปี พ.ศ. 2555

ได้รับงบประมาณ 17,226,500 บาท จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 319ล/39(พิเศษ) ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2556

ในปี พ.ศ. 2556

โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" ได้ผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนต้นแบบ "การพัฒนาคุณธรรมนำวิชาการตามหลักความดีพื้นฐานสากล" ในโครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนในฝันและโรงเรียนมาตรฐานสากล ปีการศึกษา 2556

ปัจจุบัน

ปัจจุบัน โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" ได้เปิดทำการสอนให้นักเรียน จำนวน 58 ห้องเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 30 ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอปลาย จำนวน 28 ห้องเรียน แบ่งเป็นห้องเรียนทั่วไป จำนวน 46 ห้องเรียน และห้องเรียนพิเศษ จำนวน 12 ห้องเรียน

ทำเนียบผู้บริหาร

โรงเรียน "ราษฎร์บำรุง"

ครูใหญ่

  1. พ.ศ. ไม่ปรากฏ : พระภิกษุเจี้ยง
  2. พ.ศ. 2443 - พ.ศ. 2452 : สามเณรท่านหนึ่ง (ไม่มีการบันทึกเอาไว้) นายช้อย
  3. พ.ศ. ไม่ปรากฏ : นายเวศ
  4. พ.ศ. ไม่ปรากฏ : นายแปลก

โรงเรียนประจำจังหวัดตะกั่วป่า "เสนานุกูล"

ครูใหญ่

  1. พ.ศ. 2452 - พ.ศ. 2455 : นายเที่ยง
  2. พ.ศ. 2455 : พระใบฎีกา (แดง)
  3. พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2469 : รองอำมาตย์ตรี ทรัพย์ ยูวนวัฒน์
  4. พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2470 : รองอำมาตย์ตรี ช่วง ปาลิพภัฏ
  5. พ.ศ. 2470 - พ.ศ. 2482 : รองอำมาตย์ตรี บุญมี อินทาปัจ (วรสิทธิ์ อินทาปัจ)

โรงเรียนประจำอำเภอตะกั่วป่า "เสนานุกูล"

ครูใหญ่

  1. พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2480 : รองอำมาตย์ตรี บุญมี อินทาปัจ (วรสิทธิ์ อินทาปัจ)
  2. พ.ศ. 2480 - พ.ศ. 2481 : นายประเทือง แพทย์ประสิทธิ์
  3. พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2482 : นายพะเนียด เลาหม่าเลศร (รักษาการ)
  4. พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2491 : นายช่วย สุขพันธ์

โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล"

ครูใหญ่

  1. พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2510 : นายช่วย สุขพันธ์

อาจารย์ใหญ่

  1. พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2522 : นายสุทิน ปิ่นแก้ว

ผู้อำนวยการ

  1. พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2531 : นายสุทิน ปิ่นแก้ว
  2. พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2531 : นายอารี ทวีผล
  3. พ.ศ. 2535 : นายประทีป ปิ่นแก้ว
  4. พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2541  : นายสุรพงษ์ สุขสง
  5. พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2546 : นายพัชรินทร์ ปลอดฤทธิ์
  6. พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2548 : นายประวิทย์ เจริญงาน
  7. พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2554 : นายสถิต ตรีบุรุษ
  8. พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2555 : นายกำจร อุทัยวจนพันธ์
  9. พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2560 : นายเลิศธิไกร ภิรมย์
  10. พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2563 : นางสาวอรสา เสรีวงษ์
  11. พ.ศ. 2564 - พ.ศ. 2566 : นางสาวปาจรีย์ สุวัตถิกุล
  12. พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน : นายพรศักดิ์ ทวีรส

ผู้บริหาร

  1. นางวรอิศรา พรหมภัทร ตำแหน่ง รอง ผอ.รร.
  2. น.ส.จรีรัตน์ สามารถ ตำแหน่ง รอง ผอ.รร.
  3. น.ส.วิภาพร นันทรักษ์ ตำแหน่ง รอง ผอ.รร.
  4. น.ส.ศิริวรรณ ขลิกคำ ตำแหน่ง รอง ผอ.รร.

อาคารเรียนในโรงเรียนตะกั่วป่า"ตะกั่วป่า"

  1. อาคาร 1 (อาคารจุติ บุญสูง)
  2. อาคาร 2 (ปัจจุบันถูกรื้อที่เรียบร้อย)
  3. อาคาร 3
  4. อาคาร 4
  5. อาคาร 5
  6. อาคาร To Me Number 1
  7. หอประชุมเสนานุวัติ
  8. หอประชุมใหม่
  9. อาคารปฏิบัติการอุตสาหกรรม
  10. อาคารปฏิบัติการคหกรรม
  11. หอสมุดวิทยบริการ
  12. อาคารสระว่ายน้ำ
  13. อาคารดนตรีไทยและนาฎศิลป์
  14. อาคารเกษตร
  15. อาคารธุรกิจ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya