Share to:

 

โอเด็ง

โอเด็งที่จัดวางใส่ในชาม

โอเด็ง (ญี่ปุ่น: おでん) เป็นอาหารญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทนาเบโมโนะ[1] ได้จากการนำดาชิที่ได้จากคัตสึโอบูชิและคมบุ มาปรุงรสแล้วใส่เครื่องต่าง ๆ ลงไป[1] เครื่องที่ใส่ในโอเด็งประกอบไปด้วยซัตสึมาอาเงะ ฮัมเป็ง ชิกูวะ สึมิเระ คนเนียกุ หัวไชเท้า[2] หัวมัน[3] กัมโมโดกิ[4] เส้นเอ็นวัว ไข่ต้ม และอัตสึอาเงะ ประเภทของเครื่องโอเด็งและน้ำจิ้มที่ใช้อาจแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและครัวเรือน[5]

คำว่า โอเด็ง นั้นเดิมเป็นภาษาพูดของผู้หญิงหมายถึงเด็งงากุ[6] เด็งงากุ (田楽) เป็นอาหารที่ปรากฏมาตั้งแต่ในยุคมูโรมาจิ อาจแบ่งเป็นยากิเด็งงากุ (焼き田楽) ซึ่งนำเครื่องมาเสียบไม้ย่าง และนิโกมิเด็งงากุ (煮込み田楽) นำเครื่องมาต้ม เมื่อถึงยุคเอโดะ คำว่า โอเด็ง จึงเริ่มใช้เรียกนิโกมิเด็งงากุ ส่วน เด็งงากุ เฉย ๆ กลายเป็นคำที่ใช้เรียกยากิเด็งงากุ[7][8][9]

แม้ว่าจะวัตถุดิบที่ใช้จะต่างกันไป แต่สามารถทำการปรุงล่วงหน้าได้โดยการทำให้สุกก่อนหรือเอาน้ำมันออก จากนั้นจึงเติมเมล็ดโอเด็งชนิดต่าง ๆ ลงในซุปก่อนปรุง เมล็ดพืชและซอสจะแตกต่างกันไปหลากหลายขึ้นอยู่กับภูมิภาคและร้านค้าที่ทำ และอาจหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านดางาชิ, ยาไต, ร้านขายของเฉพาะ, ร้านสะดวกซื้อ รวมถึงอาจเป็นเมนูที่ค่อนข้างระดับสูงในร้านอาหารญี่ปุ่น สามารถเตรียมได้ที่บ้าน มีการบรรจุอยู่ในตำราอาหารในครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีการแนะนำในรายการทำอาหารทางโทรทัศน์และรายการท่องเที่ยวด้วย

รูปแบบการวางขาย

โอเด็งตามถิ่นต่าง ๆ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "おでん". 世界大百科事典. 平凡社.
  2. "おでん". 大辞泉. 小学館.
  3. "おでん". 日本国語大辞典. 小学館.
  4. "おでん". 日本大百科全書. 小学館.。ただし、同書の「鍋料理」の項目には、「食卓に鍋と熱源を備え、料理しながら食べる料理」とあって、その種類におでんは含まれていない。『日本国語大辞典』や『広辞苑』でも「おでん」の項目に「鍋料理」の文字は無い。
  5. 新井由己 (2005). 日本全国おでん物語. 生活情報センター. ISBN 978-4861261565.新井由己 (2005). 日本全国おでん物語. 生活情報センター. ISBN 978-4861261565.
  6. "女房言葉". 日本国語大辞典. 小学館.
  7. 丸善食品総合辞典 p.164
  8. "田楽". 新明解国語辞典 (7 ed.). 三省堂.
  9. "おでん". 新明解国語辞典 (7 ed.). 三省堂.
Kembali kehalaman sebelumnya