โรงเรียนอุตรดิตถ์ |
---|
Uttaradit School |
|
ที่ตั้ง |
---|
|
|
ข้อมูล |
---|
ชื่ออื่น | อ.ต. (UTD) |
---|
ชื่อเดิม | โรงเรียนประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ |
---|
ประเภท | |
---|
คติพจน์ | บาลี: สุวิชาโน ภวํ โหติ (ผู้รู้ดี คือ ผู้เจริญ) |
---|
สถาปนา | พ.ศ. 2452 (อายุ 115 ปี) |
---|
เขตการศึกษา | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พิษณุโลก อุตรดิตถ์ |
---|
หน่วยงานกำกับ | |
---|
รหัส | 53012001 |
---|
ผู้อำนวยการ | นายสังวาร เอ็บมูล |
---|
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1–6 |
---|
จำนวนนักเรียน | 2,673 (ข้อมูล 10 มิถุนายน 2565)[1] |
---|
สี | น้ำเงิน–ชมพู |
---|
เพลง | มาร์ชโรงเรียนอุตรดิตถ์, เพลงธง |
---|
สัญลักษณ์ | มณฑปพระแท่นศิลาอาสน์ |
---|
ต้นไม้ | ต้นแคฝรั่ง |
---|
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
---|
โรงเรียนอุตรดิตถ์ (จังหวัดอุตรดิตถ์) |
โรงเรียนอุตรดิตถ์ เป็นโรงเรียนชายประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2452 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เดิมชื่อ "โรงเรียนประจำจังหวัดอุตรดิตถ์" ก่อนจะย้ายไปยังที่ตั้งโรงเรียนอนุบาลจังหวัดอุตรดิตถ์ และย้ายมายังที่ตั้งปัจจุบันในปี พ.ศ. 2484
โรงเรียนอุตรดิตถ์ เป็นสถานศึกษาที่เคยได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ปัจจุบันโรงเรียนแบ่งการเปิดการสอนเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย เปิดสอนแบบสหศึกษา[2]
ประวัติ
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสำคัญในการศึกษาของเด็กไทยทรงส่งเสริมให้การศึกษาแก่คนไทยอย่างทั่วถึง ให้โอกาสแก่ประชาชนได้มีโอกาสเรียนหนังสือที่ท้องถิ่น จึงได้จัดตั้งกระทรวงที่ดูแลงานด้านการศึกษา ศาสนา และพยาบาล คือ กระทรวงธรรมการ ใน พ.ศ. 2450 จึงมีการจัดตั้งก่อสร้างโรงเรียนขึ้นทั่วประเทศสยาม จังหวัดอุตรดิตถ์ได้ก่อตั้งโรงเรียนขึ้นในจังหวัดอุตรดิตถ์ และได้เห็นถึงความสำคัญของโรงเรียนในวัดต่าง ๆ มีศักยภาพในการสอนหนังสือ ดังนั้น วัดวังเตาหม้อ หรือ วัดท่าถนนในปัจจุบันจึงเป็นวัดหนึ่งที่ทางการเห็นว่าสมควรก่อตั้งให้เป็นโรงเรียนขึ้นและตั้งชื่อว่า โรงเรียนวัดท่าถนนวิทยาคม ตั้งแต่พุทธศักราช 2452 เป็นต้นมา
ต่อมา ปี พ.ศ. 2471 ย้ายไปตั้งอยู่ที่บริเวณปัจจุบันของโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2484 ย้ายมาตั้งอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน (เลขที่ 15 ถนนประชานิมิตร ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์) เดิมเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เมื่อปี พ.ศ. 2495 เปลี่ยนชื่อจาก โรงเรียนประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็น โรงเรียนอุตรดิตถ์
ปีการศึกษา 2528 เปิดโรงเรียนสาขา 1 แห่ง (ปัจจุบันยกเลิกแล้ว และตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาใหม่ ชื่อ โรงเรียนน้ำริดวิทยา)
พื้นที่ของสถานศึกษา
อาณาบริเวณของสถานศึกษา
โรงเรียนอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่เลขที่ 15 ถนน อินใจมี - ประชานิมิตร ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพื้นที่ตั้งอยู่ในที่ดินราชพัสดุ เขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ เนื้อที่ 19 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา และนอกจากแปลงที่ตั้งโรงเรียนแล้วยังมีที่ดินฝึกปฏิบัติการวิชาเกษตรกรรมนักเรียนโดยตั้งอยู่ ณ ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ดินสาธารณประโยชน์กระทรวงมหาดไทยมอบให้กรมสามัญศึกษา โรงเรียนอุตรดิตถ์ เป็นผู้ดูแล มีเนื้อที่ 63 ไร่ 2 งาน 29 ตารางวา ห่างจากแปลงที่ 1 ประมาณ 8 กิโลเมตร
อาคารสถานที่
- อาคาร 1
- อาคาร 2
- อาคาร 3
- อาคาร 4
- อาคาร 5
- อาคาร 9 (อาคารสุวิชาโน อนุสรณ์)
- โรงฝึกงาน 1 และห้องเรียนแทปเล็ต
- โรงฝึกงาน 2
- หอประชุมน้ำเงินชมพูและโรงอาหาร
- เรือนพยาบาลและเรือนเวชบุตร
- ศาลาธรรม (บรรหารมณีรัตน์)
- อาคารสมาคมศิษย์เก่า
- บ้านพักผู้อำนวยการ
- บ้านพักครู
- ห้องน้ำนักเรียน
- ป้อมยาม
- สนามมวย
- มณฑปหลวงพ่อเพชร
- ศาลพระพรหม
- ศาลาพีระมิด
- สนามฟุตบอล
- บ้านพักพนักงานบริการ
ประเภทห้องเรียน
ปัจจุบันโรงเรียนอุตรดิตถ์เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2564 โดยมีแผนการจัดชั้นเรียนระดับชั้นละ 12 ห้องเรียน รวม 72 ห้องเรียน โดยมีรายละเอียด ดังนี้[3]
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
แบ่งประเภทห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
- ประเภทห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม จำนวน 1 ห้อง
- ประเภทห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง
- ประเภทห้องเรียนพิเศษ Intensive English Program จำนวน 1 ห้อง
- ประเภทห้องเรียนปกติ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน 4 ห้อง
- ประเภทห้องเรียนปกติ รายวิชาเพิ่มเติม/ศิลป์-ทั่วไป จำนวน 5 ห้อง
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
แบ่งประเภทห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ออกเป็น 8 ประเภท ได้แก่
- ประเภทห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 ห้อง
- ประเภทห้องเรียนพิเศษ Intensive English Program จำนวน 1 ห้อง
- ประเภทห้องเรียนปกติ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน 4 ห้อง
- ประเภทห้องเรียนพิเศษ เน้นวิศวกรรม จำนวน 1 ห้อง
- ประเภทห้องเรียนพิเศษ ICT Talent จำนวน 1 ห้อง
- ประเภทห้องเรียนปกติ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ห้อง
- ประเภทห้องเรียนปกติ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ห้อง
- ประเภทห้องเรียนปกติ Leadership จำนวน 1 ห้อง
กิจกรรมและประเพณี
- กิจกรรมรับน้อง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ช่วงก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1
- กิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อมหาวิทยาลัย โดยรุ่นพี่ศิษย์เก่า ช่วงต้นภาคเรียนที่ 1 ณ หอประชุมน้ำเงินชมพู
- กีฬาสี ช่วงภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาหลังเลิกเรียน ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จัด ณ โรงเรียนอุตรดิตถ์
- กรีฑาสี ช่วงเดือนพฤศจิกายน จำนวน 3 วัน จัด ณ สนามกีฬาจังหวัดอุตรดิตถ์ (หมอนไม้)
- วันถ่ายรูปหมู่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ณ สนามหญ้าโรงเรียน
- งานสานสัมพันธ์น้องพี่สีน้ำเงินชมพู รุ่นน้องชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทำให้กับรุ่นพี่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และรุ่นน้องชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทำให้กับรุ่นพี่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ หลังวันถ่ายรูปหมู่ ณ สนามหญ้าโรงเรียน
- วันมอบดอกไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สอบติดรับตรงมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ หลังงานสานมันพันธ์น้องพี่สีน้ำเงินชมพู หน้าเสาธง
- วันปัจฉิมและมอบประกาศนียบัตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ณ หอประชุมน้ำเงินชมพูและหอประชุมพลศึกษา
บุคคลที่มีชื่อเสียงที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอุตรดิตถ์
- พลเรือเอก เฉิดชาย ถมยา - อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ
- พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง - อดีตรองนายกรัฐมนตรี , รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และอดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ
- พลเอก วิโรจน์ แสงสนิท - อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด , อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและกระทรวงคมนาคม
- พลเอกถนอม วัชรพุทธ - อดีตแม่ทัพภาคที่ 3
- เกรียง กีรติกร - อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย - อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์
- ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ - อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- พลเอกสำเริง ศิวาดำรงค์ - อดีตแม่ทัพภาคที่ 3
- ชัยพร รัตนนาคะ - อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน , อุตรดิตถ์ และจังหวัดอุดรธานี
- สุวัฒน์ พรมสุวรรณ - อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง , น่าน
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณกร สว่างเจริญ - อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสมเด็จเจ้าพระยา
- กนก ลิ้มตระกูล - อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์
- ดร.อรรจ์ สีหะอำไพ - นักวิชาการ ที่ปรึกษา และวิทยากรอิสระ
- พันตำรวจโท นที ทองสุขแก้ว - อดีตนักฟุตบอลชาวไทย
- สุรวุฑ ไหมกัน - นักแสดง นายแบบและนักร้อง
- ธีรภัทร ตรีวิมล - ศิลปินวง BAMM
- นเรศ ศรีภิรมย์ - อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนอุตรดิตถ์
- ษกะ ฌานรานนท์ - นักธุรกิจ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤดา ชุ่มจันทร์จิรา - อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
- ดร.ชลายุทธ์ ครุฑเมือง - อดีตศึกษานิเทศก์ อดีตรองคณบดีคณะครุศาสตร์ และอาจารย์คณะครุศาสตร์ มาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
- อนุรักษ์ เอื้ออนุวงศ์ - ผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยาอุตรดิตถ์
ระเบียงภาพ
-
หอพระประจำโรงเรียนอุตรดิตถ์บริเวณประตูทางเข้าทิศตะวันออก
-
ลานเสาธงหน้าอาคารเรียนในอดีต (ปีการศึกษา 2551)
-
อาคารเรียน
-
อาคารหอประชุมพละศึกษาในอดีต
-
อาคารสมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนอุตรดิตถ์และอนุสรณ์คุณครูประชุม ศรุติสุต (ครูต้นแบบ)
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
17°38′00″N 100°05′49″E / 17.633436°N 100.096968°E / 17.633436; 100.096968
โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ระดับมัธยมศึกษา |
---|
กรุงเทพมหานคร | |
---|
ภาคกลางตอนบน | |
---|
ภาคกลางตอนล่าง | |
---|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน | |
---|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง | |
---|
ภาคเหนือตอนบน | |
---|
ภาคเหนือตอนล่าง | |
---|
ภาคตะวันออก | |
---|
ภาคใต้ตอนบน | |
---|
ภาคใต้ตอนล่าง | |
---|
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ |
---|
|
|