พ.ศ. 2494
|
ตั้งโรงเรียน โดยอาศัยเรียนกับวัดแก่งคอย มีนายฉ่ำ ทองคำ ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่
|
พ.ศ. 2494
|
ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน จำนวนหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทเปิดอาคารใต้ถุนสูง 4 ห้องเรียน
ในที่ดิน 6 ไร่ ซึ่งพระพายัพพิริยกิจ ยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ กรมวิสามัญศึกษา (อาคารหลังที่ได้รับอนุมัติให้รื้อถอน พ.ศ. 2515)
|
พ.ศ. 2497
|
พระ พายัพพิริยกิจยกที่ดินให้ 12 ไร่ ติดถนนสุดบรรทัด และถนนอุไรรัตน์ ประชาชนบริจาคซื้อ อีกประมาณ 10 ไร่ 2 งาน จอมพล ป. พิบูลสงคราม บริจาคหนึ่งแสนบาทจัดสร้างอาคารขนาด 8
ห้องเรียน แบบ ป. มาลากุล ใต้ถุนสูง บ้านพักครู 4 หลัง บ้านพักภารโรง 1 หลัง ซึ่งต่อมาใช้เป็นอาคารเรียนของโรงเรียนแก่งคอยประชาศึกษา (โรงเรียนราษฎร์มูลนิธิ) ในความอุปการะของสมาคมวัฒนธรรมฝ่ายหญิงจังหวัดสระบุรี
|
พ.ศ. 2505
|
พระ พายัพพิริยกิจเสนอที่ดินติดถนนอุไรรัตน์ เขตติดต่อทางรถไฟให้ 12 ไร่ เพื่อแลกเปลี่ยนกับที่ดินจำนวน 6 ไร่ ของโรงเรียนแก่งคอยเดิม กรมวิสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณให้สองแสนบาท สมทบ แต่ไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ จึงคืนเงินให้กรมวิสามัญศึกษาไป
|
พ.ศ. 2509
|
จังหวัด ได้พิจารณากับกรมวิสามัญศึกษา เพื่อรวมกิจการระหว่างโรงเรียนแก่งคอย กับโรงเรียนแก่งคอย ประชาศึกษา (โรงเรียนรัฐบาลกับโรงเรียนราฎร์) และได้ย้ายมาเรียนรวมกัน ที่อาคารของ โรงเรียนแก่งคอยประชาศึกษา ซึ่งมีเนื้อที่ 22 ไร่ 2 งาน โฉนดหมายเลขที่ 2665 , 612 และ 546 รวม 3 ใบ เก็บที่สรรพากร จังหวัดสระบุรี
|
พ.ศ. 2511
|
กรม วิสามัญให้โรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสม แบบ2 (คมส.2) รุ่น 2 ได้งบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู สถานเพาะชำ โรงฝึกงานการช่างเกษตร ห้องสมุด และอาคารเรียนชีวเกษตร
|
พ.ศ. 2512
|
สร้างอาคารคหกรรม บ้านพักภารโรง ห้องประชุมและโรงอาหาร
|
พ.ศ. 2513
|
ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการปรับปรุงโรงเรียนมัธยมในชนบท (คมช.) รุ่น 7
|
พ.ศ. 2514
|
สร้างบ้านพักครู อาคารอุตสาหกรรมศิลป์
|
พ.ศ. 2515
|
สร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น 8 ห้องเรียน ได้รับการยกฐานะเป็นโรงเรียนชั้นเอกผู้บริหารปรับขยาย จากครูใหญ่เป็นอาจารย์ใหญ่
|
พ.ศ. 2516
|
ที่ดิน ของโรงเรียนจำนวน 22 ไร่ 2 งาน ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ รวมทั้งสิ่งก่อสร้างบนที่ดิน ทั้งหมด 19 รายการ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม หมายเลข 39681
|
พ.ศ. 2517
|
ก่อตั้งสมาคมครู-ผู้ปกครอง-ศิษย์เก่าโรงเรียนแก่งคอย จดทะเบียนเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2517
|
พ.ศ. 2519
|
สร้างบ้านพักครู 2 หลัง และต่อเติมอาคารเรียน 216 จำนวน 8 ห้องเรียน
|
พ.ศ. 2520
|
กระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติให้เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
|
พ.ศ. 2522
|
ได้รับรางวัลพระราชทานประจำปีการศึกษา 2522 เขตการศึกษา 6
|
พ.ศ. 2523
|
สร้างอาคารเรียน 3 ชั้นแบบ 318 จำนวน 1 หลัง
|
พ.ศ. 2525
|
ได้งบพัฒนาจังหวัดจากผู้แทนราษฎร สร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก
|
พ.ศ. 2527
|
สร้างโรงฝึกงานแบบ 102/27 จำนวน 1 หลัง
|
พ.ศ. 2528
|
สร้างโรงฝึกงานแบบ 102/27 จำนวน 1 หลัง
|
พ.ศ. 2529
|
สร้างอาคารเรียน แบบ 216 ล จำนวน 1 หลัง
|
พ.ศ. 2530
|
ได้รับการพิจารณาให้เป็นโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรรุ่นที่ 3 ของกรมวิชาการ
|
พ.ศ. 2532
|
สร้างหอประชุมเอนกประสงค์แบบ 100/27 จำนวน 1 หลัง
|
พ.ศ. 2535
|
สร้างอาคารเรียนแบบ 216 ล (ปรับปรุง 29) จำนวน 1 หลัง
|
พ.ศ. 2536
|
ได้รับประกาศนียบัตรเพื่อแสดงว่าโรงอาหารได้มาตรฐานการสุขาภิบาลอาหาร ระดับ ดีมาก ของกรมอนามัย
|
พ.ศ. 2537
|
ได้รับเกียรติบัตร โรงเรียนจัดบรรยากาศการเรียนรู้ดีเด่น (โรงเรียนขนาดใหญ่) ปีการศึกษา 2536 เขตการศึกษา 6
|
พ.ศ. 2539
|
ได้ รับเกียรติบัตร โรงเรียนจัดบรรยากาศการเรียนรู้ดีเด่น (โรงเรียนขนาดใหญ่) ปีการศึกษา 2538 เขตการศึกษา 6 ห้องสมุดโรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นห้องสมุดดีเด่นจังหวัดสระบุรี เข้าร่วมโครงการโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา
|
พ.ศ. 2540
|
ได้รับรางวัลชมเชยในการส่งโรงเรียนเข้าประกวดเพื่อขอรับรางวัลพระราชทาน
จากกระทรวงศึกษาธิการได้รับคัดเลือกเป็นห้องปฏิบัติการศิลปศึกษาดีเด่น เขตการศึกษา 6
|
พ.ศ. 2543
|
ร่วมกับสถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ (ในพระบรมราชูปถัมภ์)เปิดสอนนักศึกษา
ระดับอนุปริญญา และปริญญาตรี
|
พ.ศ. 2544
|
สร้างรั้วและป้ายชื่อโรงเรียน โดยการสนับสนุนจากสมาคมครู-ผู้ปกครอง-ศิษย์เก่าโรงเรียนแก่งคอย
|
พ.ศ. 2550
|
ได้รับการยอมรับว่าเป็นโรงเรียนยอดนิยม จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ)
|
พ.ศ. 2552
|
ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
|
พ.ศ. 2554
|
นายพชร จันทร์ศิริ ได้รับโล่เยาวชนดีเด่นระดับประเทศ จาก นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
|
พ.ศ. 2555
|
-ได้ รับรางวัลชนะเลิศ เหรียญทองอันดับ 1 ระดับประเทศ การแข่งขันชนะเลิศทำอาหารคาวหวาน เพื่อสุขภาพประเภทเส้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
- นายยุทธพงศ์ นิ่มดิษฐ์ ได้รับโล่เยาวชนดีเด่นระดับประเทศ จากนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นางสาวพรพิมล สดมี ได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับ 1 ระดับประเทศ กีฬาเทเบิลเทนนิส ประเภททีมหญิงในการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2555 "อุบลราชธานีเกมส์"
-ได้รับเกียรติบัตร สถานศึกษาพอเพียงที่เป็นแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอน และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
|
พ.ศ. 2556
|
-สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา วันพฤหัสที่ 20 มิถุนายน 2556
|
พ.ศ. 2557
|
นางสาวจงจิตร ชมภูผล ผู้อำนวยการโรงเรียนแก่งคอย ได้รับรางวัลผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ "การจัดสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมที่เอื้อต่อการเรียนรู้" ดีเด่นระดับภาค จากสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา แห่งประเทศไทย
|
พ.ศ. 2558
|
ได้รับรางวัลโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ดีเด่น จาก กระทรวงศึกษาธิการ รางวัลโรงเรียนสีขาว ในระดับดี จาก ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
|
พ.ศ. 2559
|
รางวัลบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพตามเกณฑ์ รางวัล SCQA โรงเรียนมาตราฐานสากล จาก สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
|
พ.ศ. 2560
|
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเปิดชมรม TO BE NUMBER ONE และศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ณ โรงเรียนแก่งคอย เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2560
|
พ.ศ. 2560
|
นายณัฐนันท์ ดนูพิทักษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนแก่งคอย เข้ารับพระราชทานป้ายสนองพระราชดำริ งานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560
|
พ.ศ. 2560
|
ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2560
|