น้ำมันมะกอก (อังกฤษ : Olive oil ) เป็นน้ำมัน ที่สกัดจากผลมะกอกออลิฟ (ในวงศ์มะลิ )
ซึ่งเป็นผลไม้เพาะปลูกตั้งแต่โบราณของบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน
น้ำมันสกัดจากผลไม้ ทั้งลูก
ใช้เพื่อทำอาหาร ไม่ว่าจะผัด ทอด หรือเพื่อทำน้ำสลัด
ยังใช้ทำเครื่องสำอาง ยา สบู่ น้ำมันตะเกียง และเพื่อกิจทางศาสนาบางอย่างอีกด้วย
มีหลักฐาน จำกัดว่ามีผลดีต่อสุขภาพ
เป็นพืช หลักอย่างหนึ่งใน 3 อย่างของอาหารเมดิเตอร์เรเนียน
ส่วนอีกสองอย่างก็คือข้าวสาลี และองุ่น
มนุษย์ได้ปลูกต้นมะกอกรอบ ๆ บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนตั้งแต่ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปัจจุบันสเปน เป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันมะกอกมากที่สุด ตามมาด้วยกรีซ
แต่การบริโภคต่อคนมากที่สุดในกรีซ ตามมาด้วยสเปน อิตาลี และโมร็อกโก
การบริโภคในเอเชียใต้ อเมริกาเหนือ และยุโรปเหนือ น้อยกว่ามาก แต่ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
องค์ประกอบน้ำมันจะขึ้นอยู่กับพันธุ์ปลูก เขตความสูง ช่วงเก็บเกี่ยว และกระบวนการสกัด
โดยมากเป็นกรดโอเลอิก (มากถึง 83%) และมีกรดไขมัน อื่น ๆ น้อยกว่ารวมทั้งกรดลิโนเลอิก (อาจถึง 21%) และกรดปาลมิติก (อาจถึง 20%)
น้ำมันคุณภาพดีสุดจะได้จากการสกัด "รอบแรก" ที่ขึ้นป้ายว่า extra virgin (เอ็กซ์ตร้าเวอร์จิน) ควรมีกรดไขมันอิสระไม่เกิน 0.8% และมีรสชาติดี
ประวัติ
การเพาะปลูกยุคต้น ๆ
โรงสกัดน้ำมันมะกอกกรีกโบราณ ในไอโอเนีย (ปัจจุบันประเทศตุรกี )
ต้นมะกอกเป็นพืชประจำถิ่นของบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน
มนุษย์ยุคหินใหม่ อย่างช้าก็ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้เก็บเกี่ยวผลมะกอกธรรมชาติ[ 2]
เป็นต้นไม้จากอานาโตเลีย [ 3]
หรือจากกรีซโบราณ
ไม่ชัดเจนว่าต้นมะกอกได้เริ่มปรับเป็นไม้เลี้ยง ที่ไหนในอานาโตเลีย ในลิแวนต์ [ 2]
หรือที่อื่นในเมโสโปเตเมีย ซึ่งเป็นส่วนของเขตพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์
หลักฐานทางโบราณคดี แสดงว่า มะกอกได้สกัดเป็นน้ำมันอย่างช้าก็ 6,000 ปีก่อน ค.ศ. (เขต Galilee ปัจจุบันส่วนของประเทศอิสราเอล )[ 4]
โดยพบในชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ 4,500 ปีก่อน ค.ศ. ทางภาคใต้ของเมืองไฮฟา (ปัจจุบันอยู่ใต้น้ำ)[ 5]
จนถึง 1,500 ก่อน ค.ศ. ชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีการเพาะปลูกมากที่สุด
หลักฐานแสดงว่า ต้นมะกอกได้ปลูกในเกาะครีต อย่างช้าก็ 2,500 ปีก่อน ค.ศ.
ไห (amphora) ใส่น้ำมันมะกอกเก่าแก่สุดที่พบมาจาก 3,500 ปีก่อน ค.ศ. (ต้นยุคอารยธรรมไมนอส ) แม้การผลิตจะเชื่อว่าเริ่มก่อน 4,000 ปีก่อน ค.ศ.
และต้นไม้ก็ได้ปรับมาเพาะปลูกอย่างแน่นอนภายใน 1,500 ปีก่อน ค.ศ. ปลายยุคอารยธรรมไมนอสที่ครีต และน่าจะเริ่มตั้งแต่ต้นยุค[ 6]
การเพาะปลูกต้นไม้ได้ทำอย่างเข้มข้นในยุค post-palatial ของอารยธรรม (1500-1200 ปีก่อน ค.ศ. ) และมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจ ของเกาะเช่นกับที่มีทั่วบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน
งานศึกษาทางพันธุกรรม ปี 2000 และ 2006 แสดงว่า สปีชีส์ พืชที่ปลูกในปัจจุบันมาจากกลุ่มประชากรธรรมชาติหลายกลุ่ม แต่ก็ยังไม่รู้ประวัติอย่างละเอียดของการปรับมาเป็นไม้เลี้ยง[ 7] [ 8]
ประวัติและการค้า
เครื่องสกัดน้ำมันโบราณ (ในพิพิธภัณฑ์โบราณคดีใต้น้ำของประเทศตุรกี)
เครื่องบดมะกอก/สกัดน้ำมันที่พบในเมืองปอมเปอี (ค.ศ. 79)
การผลิตน้ำมัน (The Manufacture of Oil) เป็นภาพพิมพ์แกะลายยุคคริสต์ศตวรรษที่ 16
ทั้งต้นมะกอกและการผลิตน้ำมันในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกพบในบันทึกประวัติศาสตร์ของนครรัฐ โบราณคือ Ebla (2600-2240 ปีก่อน ค.ศ. ) ซึ่งอยู่ที่ชายเมืองอะเลปโป ประเทศซีเรีย
บันทึกซึ่งมาจาก 2400 ปีก่อน ค.ศ. ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับพระราชอาณาจักร
เป็นแผ่นจารึกดินเหนียวที่ยังมีสภาพดีเพราะได้เผาไฟที่เป็นเหตุทำลายพระราชวังเอง
บันทึกต่อมาที่กล่าวถึงน้ำมันอยู่ในคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งระบุว่าเขียนเสร็จเมื่อ 450 ปีก่อน ค.ศ. [ 9]
อียิปต์โบราณ ซึ่งสืบขัตติยวงศ์มาตั้งแต่ก่อน 2000 ปีก่อน ค.ศ. ได้นำเข้าน้ำมันมะกอกจากครีต ซีเรีย และ Canaan โดยเป็นสิ่งสำคัญทั้งทางการค้า และทรัพย์สมบัติ
น้ำมันมะกอกที่เหลือในเหยือกอายุ 4,000 ปีได้พบที่สุสานในเกาะกรีกคือ Naxos Island ในทะเลอีเจียน
ผู้ถูกเนรเทศชาวอิยิปต์ที่ใช้ชีวิตในเขต Canaan ภาคเหนือราว 1960 ปีก่อน ค.ศ. คือ Sinuhe ได้บันทึกถึงต้นมะกอกที่มีเป็นจำนวนมาก[ 10]
นอกจากอาหาร น้ำมันมะกอกยังใช้ทำพิธีกรรม ทางศาสนา เป็นยา เป็นเชื้อเพลิง ในตะเกียงน้ำมัน ทำสบู่ และเพื่อรักษาผิว
คนไมนอสได้ใช้น้ำมันในพิธีทางศาสนา
และได้กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์หลักของอารยธรรมไมนอส โดยเชื่อว่าเป็นเครื่องบ่งความร่ำรวย
อารยธรรมไมซีนี (กรีซยุคไมซีนี 1600-1100 ปีก่อน ค.ศ. ) ส่งออกน้ำมันมะกอกเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่ใช้ในการหลายอย่าง[ 11] การปลูกต้นมะกอกได้กระจายไปถึงเมืองต่าง ๆ ในคาบสมุทรไอบีเรีย และอารยธรรมอีทรัสคัน ก่อนหน้า 800 ปีก่อน ค.ศ. อาศัยการค้ากับอารยธรรมฟินิเชีย และเมืองคาร์เธจ แล้วคนเผ่าเคลต์ จึงกระจายต้นไม้ไปไปยังบริเวณกอล ภาคใต้ในช่วง 700 ปีก่อน ค.ศ.
คัมภีร์ฮีบรูได้กล่าวถึงการสกัดน้ำมันแรกสุดในช่วงที่โมเสส นำคนอิสราเอล อพยพออกจากอิยิปต์ ซึ่งอ้างว่าเป็นช่วง 1300 ปีก่อน ค.ศ. [ 12]
ในช่วงนี้ น้ำมันได้โดยใช้มือบีบผลแล้วใส่ในภาชนะพิเศษใต้การรักษาการณ์ของบาทหลวงศาสนา
โรงสกัดทางการค้าทำเพื่อจุดประสงค์ไม่ใช่ทางศาสนาเริ่มต้นใน 1,000 ปีก่อน ค.ศ. ในเขตลิแวนต์ ซึ่งปัจจุบันรวมประเทศเลบานอน อิสราเอล และเขตปาเลสไตน์
ได้พบเครื่องสกัดน้ำมันกว่า 100 เครื่องในเมือง Tel Miqne ซึ่งเป็นเมืองโบราณหนึ่งในห้าเมืองของชาว Philistines ที่คัมภีร์ไบเบิล กล่าวถึง
ซึ่งคาดว่าสามารถผลิตน้ำมันระหว่าง 1,000-3,000 ตันต่อฤดูปลูกพืช[ต้องการอ้างอิง ]
มีเครื่องสกัดโบราณที่ยังมีอยู่ในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก โดยบางเครื่องที่สร้างขึ้นในยุคโรมัน ก็ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน[ 13]
น้ำมันมะกอกสามัญในอาหารกรีกโบราณและอาหารโรมัน
ตามเฮอรอโดทัส พลูทาร์ก ออวิด และนักเขียนอื่น ๆ นครเอเธนส์ ได้ชื่อเพราะชาวเอเธนส์เชื่อว่า น้ำมันมะกอกเป็นสิ่งจำเป็น
และนิยมของขวัญจากเทพธิดาอะธีนา (จากต้นมะกอก) ยิ่งกว่าของขวัญจากเทพเจ้าโพไซดอน (เป็นน้ำซับ เกลือที่ไหลออกมาจากหน้าผา)
คนสปาร์ตา และคนกรีกอื่น ๆ ได้ใช้น้ำมันนวดตัวเมื่อออกกำลังกายในยิมเนเซียม
เริ่มตั้งแต่ 7 ทศวรรษก่อน ค.ศ. การใช้น้ำมันเป็นเครื่องสำอางก็ได้กระจายไปทั่วนครรัฐต่าง ๆ ของชาวกรีซโบราณ พร้อมกับการเล่นกีฬาเปลือยกาย และดำรงอยู่เกือบพันปีแม้น้ำมันจะมีราคาสูง[ 14] [ 15]
น้ำมันมะกอกยังนิยมใช้เป็นยาคุมกำเนิด อีกด้วย
หนังสือ ประวัติของสัตว์ ของแอริสตอเติล ได้แนะนำให้ใช้น้ำมันมะกอกผสมกับส่วนประกอบอีกอย่างหนึ่งไม่ว่าจะเป็นน้ำมันซีดาร์ น้ำมันตะกั่ว หรือน้ำมันกำยาน โดยทาที่ปากมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ [ 16]
ต้นมะกอกได้ปลูกไปทั่วบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนในช่วงสาธารณรัฐโรมัน และจักรวรรดิโรมัน
ตามนักประวัติศาสตร์ พลินีผู้อาวุโส (ค.ศ. 23-79) อิตาลีมี "น้ำมันมะกอกที่เยี่ยมในราคาที่ย่อมเยา" เป็นของ "เยี่ยมที่สุดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน"
ความสำคัญและความโบราณของน้ำมันมะกอกมองเห็นได้จากคำภาษาอังกฤษว่า oil ซึ่งได้จากคำภาษาแอโกล-ฝรั่งเศส olive oil (ค.ศ. 1175), จากภาษาฝรั่งเศสโบราณ/เก่า oile (คำฝรั่งเศสปัจจุบัน huile), จากภาษาละติน "oleum" ซึ่งแปลว่า "น้ำมัน, น้ำมันมะกอก" และจากคำภาษากรีกว่า elaion ซึ่งแปลว่า ต้นมะกอก[ 17] [ 18]
ซึ่งอาจเป็นคำยืมจากภาษาฟินิเชีย (ซึ่งเป็นภาษากลุ่ม Semitic) ว่า el'yon แปลว่า "ดีกว่า" ซึ่งน่าจะเพื่อให้การยอมรับเมื่อเปรียบเทียบกับไขมันพืชและสัตว์อื่น ๆ ที่มีในยุคนั้น[ต้องการอ้างอิง ]
นักวิชาการชื่อดังผู้เขียนเรื่องอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้เสนอว่า[ 19]
คำละติน (oleum) ที่ได้ยืมมาจากคำกรีก (elaion) เป็นตัวบ่งต้นมะกอกที่ผลิตน้ำมันได้ดีกว่า เป็นไม้ที่มีในอิตาลีอยู่แล้วเมื่อภาษาละตินกำลังพัฒนาขึ้น โดยพ่อค้าเกาะยูบีอา เป็นคนเอามา การอาศัยของคนกลุ่มนี้ในเขตเลเฌียม (Latium) โบราณซึ่งอยู่ในส่วนกลางของอิตาลีตะวันตกที่ต่อมากลายเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมัน มีหลักฐานเป็นเครื่องปั้นดินเผา ลักษณะพิเศษเริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษที่ 8
พันธุ์ต่าง ๆ
มีมะกอกที่นำมาปลูกหลายพันธุ์ แต่ละอย่างมีรสชาติ เนื้อน้ำมัน และอายุคุณภาพต่าง ๆ กันทำให้ใช้การได้ดีไม่เหมือนกัน เช่นใช้ทานโดยตรงกับขนมปังหรือสลัด ใช้อ้อม ๆ เมื่อปรุง/ประกอบอาหาร หรือใช้ทางอุตสาหกรรมเช่นเป็นอาหารสัตว์ หรือทางวิศวกรรม อื่น ๆ[ 20]
ผลมะกอกจะเปลี่ยนสีจากเขียวไปเป็นม่วงแล้วไปเป็นดำตามความดิบสุกของผล
น้ำมันจะมีรสชาติต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับความดิบสุกเมื่อเก็บผล[ 20]
การผลิต
การผลิตน้ำมันมะกอก (Virgin, เวอร์จิน) ปี 2016/17
ประเทศ
ผลผลิต (ตัน )
สเปน
1,290,600
ตุรกี
208,000
กรีซ
195,000
อิตาลี
182,300
โมร็อกโก
110,000
ซีเรีย
110,000
ตูนิเซีย
100,000
โลก
2,586,500
อ้างอิงสภามะกอกโลก (International Olive Council)[ 21]
การกระจายตัวของต้นมะกอกทั่วบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน[ 22]
ในช่วงปี 2016/17 การผลิตน้ำมันมะกอก (virgin, เวอร์จิน) อยู่ที่ 2,586,500 ตัน โดยลดลง 18.6% จากปี 2015/16[ 21]
สเปน ผลิต 1,290,600 ตันเป็นอัตราร้อยละ 50 ของทั่วโลก
ผู้ผลิตมากที่สุดต่อมา 6 ประเทศ คือ ตุรกี กรีซ อิตาลี โมร็อกโก ซีเรีย และตูนิเซีย รวมกันผลิตเพียง 70% ของที่สเปนผลิต
ในสหภาพยุโรป องค์กรสถิติ Eurostat รายงานปี 2007 ว่า มีไร่ 1.9 ล้านไร่ที่ปลูกมะกอก
อุตสาหกรรมนี้มีลักษณะเฉพาะคือเป็นผู้ผลิตเล็ก ๆ แต่มีจำนวนมาก
ผู้ผลิตใหญ่ที่สุดอยู่ในแคว้นอันดาลูซิอา ในสเปน (เฉลี่ย 8 เฮกตาร์ /ราย), เขต Alentejo ในโปรตุเกส (7.5 เฮกตาร์/ราย) และที่เล็กสุดอยู่ในประเทศไซปรัส (0.5 เฮกตาร์/ราย), แคว้นปุลยา ในอิตาลี และครีต (1.7 เฮกตาร์/ราย)[ 23] [ 24]
น้ำมันมะกอก 75% ของสเปนมาจากแคว้นอันดาลูซิอา โดยเฉพาะจังหวัดฮาเอน (Jaén province) ซึ่งผลิตน้ำมัน 70% ของประเทศ[ 25]
โรงงานสกัดน้ำมัน (เรียกว่า almazara ในภาษาสเปน) ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในเมือง Villacarrillo ในจังหวัดฮาเอน ซึ่งแปรรูปมะกอกได้ถึง 2,500 ตันต่อวัน[ 25]
ตุรกี เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดนอกสหภาพยุโรป ได้ผลผลิต 208,000 ตันในปี 2016/17 จากพื้นที่ 174,594 เฮกตาร์[ 26]
กรีซ เป็นผู้ผลิตรายใหญ่เป็นอันดับ 3
ในปี 2009 มีไร่มะกอก 531,000 ไร่ในพื้นที่ 730,000 เฮกตาร์
มีต้นมะกอก 132 ล้านต้นที่ให้น้ำมัน 310,000-350,000 ตัน [ 27]
อิตาลี ผลิตน้ำมัน 182,300 ตันในปี 2016/17 หรือ 7.6% ของทั้งโลก[ 21]
การผลิตจะได้ไม่เท่ากันแต่ละปี โดยผู้ผลิตหลัก ๆ อยู่ในแคว้นปุลยา และคาลาเบรีย
มีน้ำมันคุณภาพดีสุด (เอ็กซ์ตร้าเวอร์จิน) ที่ได้รับการป้องกันพิเศษ (เป็นผลิตภัณฑ์ PDO และ PGI ) ที่มาจากเขตนี้หลายยี่ห้อ
มี "ที่ราบต้นมะกอก" (Plain of Olive Trees) ในแคว้นปุลยา (ในหมู่บ้าน Carovigno, Ostuni และ Fasano) ที่มีต้นมะกอกเก่าแก่ถึง 3,000 ปี
จึงมีการเสนอให้เพิ่มเขตนี้เป็นมรดกโลก[ 28]
น้ำมันคุณภาพดีสุด (เอ็กซ์ตร้าเวอร์จิน) ยังผลิตในแคว้นตอสคานา [ 29]
ในเมืองต่าง ๆ รวมทั้งลุกกา ฟลอเรนซ์ และซีเอนา ซึ่งรวมเป็นสมาคมที่เรียกว่า "Città dell'Olio" (เมืองน้ำมัน)[ 30]
อิตาลีนำเข้าน้ำมันมะกอก 65% ที่สเปนส่งออก[ 31]
และมีบริษัทอิตาลีที่ผสมน้ำมันนำเข้ากับน้ำมันอื่น ๆ (เช่น ถั่วเหลือง) แล้วฉ้อฉลขายเป็นน้ำมันมะกอกแท้ "ทำในอิตาลี"[ 32] [ 33] [ 34]
เป็นการฉ้อฉลที่คณะกรรมาธิการยุโรป พยายามแก้โดยให้รางวัล 5 ล้านยูโร (ประมาณ 216 ล้านบาท) เพื่อหาวิธีพิสูจน์ว่าเป็นของแท้ที่ดีกว่า[ 35] [ 36]
ตูนิเซียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับสี่นอกสหภาพยุโรปคือผลิต 100,000 ตันในปี 2016/17 โดย 73% ส่งออกไปยังยุโรป[ 37]
เพราะเป็นเขตแห้งแล้ง จึงไม่จำเป็นต้องใช้สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ [ 38]
แม้น้ำมันมะกอกที่ขายในออสเตรเลียโดยมาก (ประมาณ 60-70%) จะมาจากยุโรป แต่ก็มีผู้ผลิตรายย่อยในประเทศด้วย
โดยส่วนหนึ่งผลิตแต่น้ำมันพิเศษที่ทำเป็นจำนวนน้อย แต่ก็มีบริษัตเกษตรที่ทำไร่ซึ่งมีต้นมะกอกอย่างน้อยล้านต้นและผลิตน้ำมันเพื่อบริโภคทั่วไป
น้ำมันที่ผลิตในประเทศ 11% ส่งออกโดยมากไปยังเอเชีย[ 39] [ 40]
ในอเมริกาเหนือ น้ำมันจากอิตาลีและสเปนมีชื่อเสียงที่สุด โดยน้ำมันคุณภาพดีที่สุด (เอ็กซ์ตร้าเวอร์จิน) จะมาจากอิตาลี สเปน โปรตุเกส และกรีซ ซึ่งได้ราคาดีที่สุดและมักใส่ในบรรจุภัณฑ์หรู
น้ำมันที่นำเข้าสหรัฐ โดยมากมาจากอิตาลี สเปน และตุรกี
สหรัฐเองก็ผลิตน้ำมันมะกอกในรัฐแคลิฟอร์เนีย ฮาวาย เท็กซัส จอร์เจีย และออริกอน ด้วย[ 41]
การใช้
น้ำส้มสายชู และน้ำมันมะกอกที่ใช้เติมอาหารบนโต๊ะ
ลูกมะกอกในน้ำมันมะกอก
การปรุงอาหาร
น้ำมันมะกอกเป็นน้ำมันประกอบอาหาร ที่สำคัญในประเทศรอบ ๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพืชหลักอย่างหนึ่งใน 3 อย่างของอาหารเมดิเตอร์เรเนียน สองอย่างที่เหลือคือข้าวสาลี (ทำเป็นพาสตา ขนมปัง และแป้งรูปกลมนึ่งคือ couscous) และองุ่น ซึ่งใช้เป็นอาหารว่าง และทำไวน์ [ 42]
น้ำมันมะกอกคุณภาพดีสุด (เอ็กซ์ตร้าเวอร์จิน) โดยมากใช้เป็นหรือทำน้ำสลัด
และก็ใช้ในอาหารที่ทานเย็นอีกด้วย
เพราะถ้าไม่อุ่นไม่หุง รสชาติน้ำมันจะจัดกว่า
แต่ก็ใช้ทอดได้เหมือนกัน
ถ้าอุ่นน้ำมันมะกอกคุณภาพดีสุด (เอ็กซ์ตร้าเวอร์จิน) เหนือ 210-216 °C (410-421 °F)
โดยขึ้นอยู่กับปริมาณกรดไขมันอิสระ อนุภาคส่วนที่ไม่ได้กลั่นอาจไหม้
ซึ่งทำให้รสชาติแย่ลง
อนึ่ง ผู้บริโภค โดยมากไม่ชอบรสชาติจัดของน้ำมันมะกอกคุณภาพดีสุดเมื่อใช้ทอด
ส่วนน้ำมันที่กลั่นแล้วสามารถใช้ทอดได้ เพราะมีจุดก่อควันที่สูงกว่าและมีรสอ่อนกว่า[ 43]
น้ำมันมะกอกคุณภาพดีสุด (เอ็กซ์ตร้าเวอร์จิน) มีจุดก่อควันราว 165-190°C เทียบกับน้ำมันกลั่น (refined light Olive Oil) ซึ่งมีจุดก่อควันอาจถึง 240°C[ 44]
การเลือกน้ำมันมะกอกที่สกัดเย็น อาจต้องพิถีพิถันคล้ายกับการเลือกไวน์
เพราะรสชาติอาจต่างกันมากและน้ำมันอย่างหนึ่งอาจดีกับอาหารจานหนึ่ง ๆ มากกว่า
น้ำมันสด ๆ ที่ได้ในเขตที่ผลิตน้ำมัน อาจมีรสชาติต่างอย่างสังเกตได้เทียบกับน้ำมันเก่ากว่าในที่อื่น ๆ
เพราะเมื่อเวลาผ่านไป คุณภาพจะแย่ลงจนกายเป็นของเก่า
น้ำมันอายุปีหนึ่งอาจจะยังมีรสชาติดีอยู่แต่ก็หอมน้อยกว่าน้ำมันสด ๆ
และเมื่ออายุเกินปี น้ำมันจะใช้ทำอาหารดีกว่าใช้ทานสด ๆ
น้ำมันมะกอกจะมีรสชาติขึ้นอยู่กับมะกอกที่ใช้ผลิต และความสุกดิบของมะกอก เช่น มะกอกที่สุดน้อยกว่าจะให้รสขมและเผ็ดกว่า ที่สุกกว่าจะให้รสหวานกว่า
เพื่อการศาสนา
เพื่อบำรุงผิว
น้ำมันมะกอกมีประวัติใช้เพื่อบำรุง/รักษาผิวแบบพื้นบ้านเป็นเวลานาน
คนอิยิปต์โบราณใช้น้ำมันพร้อม ๆ กับขี้ผึ้งเป็นเครื่องรักษาความสะอาด ให้ความชื้น และต้านแบคทีเรียตั้งแต่สมัยฟาโรห์ [ 45]
ในกรีซโบราณ น้ำมันใช้สำหรับนวดตัวเพื่อป้องกันการบาดเจ็บในกีฬาและบรรเทาความล้าของกล้ามเนื้อ[ 46]
ในปี 2000 ญี่ปุ่นเป็นผู้นำเข้ามากสุดในเอเชีย (13,000 ตันต่อปี) เพราะผู้บริโภคเชื่อว่าการทานและการทาผิวดีต่อผิวหนังและสุขภาพ[ 47]
น้ำมันยังนิยมใช้นวดเด็กทารก และเด็กหัดเดิน แต่ก็มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ถึงประสิทธิผลที่จำกัด
งานวิเคราะห์น้ำมันมะกอกเทียบกับน้ำมันแร่พบว่า เมื่อใช้นวดทารก น้ำมันมะกอกจัดว่าปลอดภัยโดยเป็นทางเลือกการใช้น้ำมันทานตะวัน น้ำมันเมล็ดองุ่น และน้ำมันมะพร้าว
ซึ่งจริงเป็นพิเศษเมื่อผสมกับน้ำมันที่ข้นน้อยกว่าเช่น น้ำมันทานตะวัน เพราะ "ยิ่งสามารถลดระดับกรดไขมันอิสระที่ต่ำอยู่แล้วในน้ำมันมะกอก"[ 48]
งานศึกษาอีกงานหนึ่งพบว่า การใช้น้ำมันมะกอกทาผิวลดความเสี่ยงผิวหนังอักเสบสำหรับทารกเมื่อเทียบกับครีมทาผิวให้ชื้น[ 49]
แต่งานอีกงานหนึ่งในผู้ใหญ่ก็พบว่า การทาผิวด้วยน้ำมันมะกอก "ทำความเสียหายแก่ผิวอันเป็นตัวป้องกันอย่างสำคัญ" เมื่อเทียบกับน้ำมันทานตะวัน และทำให้ผิวหนังอักเสบเหตุภูมิแพ้ (atopic dermatitis) แย่ลง
นักวิจัยได้สรุปว่า เนื่องจากมีผลลบต่อผู้ใหญ่ จึงไม่แนะนำให้ใช้น้ำมันมะกอกรักษาผิวหนังแห้งหรือเพื่อนวดทารก[ 50]
การทาผิวด้วยน้ำมันมะกอกไม่ได้ป้องกัน หรือลดผิวแตกเป็นลาย (stretch mark, striae)[ 51]
อื่น ๆ
น้ำมันมะกอกสามารถใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่น ธรรมชาติที่ปลอดภัย เช่นใช้หล่อลื่นเครื่องใช้ในครัว (เช่น เครื่องบด เครื่องปั่น อุปกรณ์ทำครัว เป็นต้น)
สามารถใช้ให้แสงสว่างโดยเป็นน้ำมันตะเกียง เป็นส่วนประกอบของสบู่ และผงซักฟอก [ 52]
เครื่องสำอางบางอย่างก็มีน้ำมันมะกอกเป็นส่วนประกอบด้วย[ 53]
และสามารถใช้แทนน้ำมันเครื่อง[ 54] [ 55] [ 56]
น้ำมันมะกอกได้ใช้เป็นทั้งตัวทำละลาย และลิแกนด์ เพื่อสังเคราะห์ quantum dot ที่ทำจาก cadmium selenide[ 57]
กฎหมายควบคุม
ตึกของสภามะกอกนานาชาติ (IOC )
สภามะกอกนานาชาติ (IOC ) เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลของรัฐที่ผลิตมะกอกและผลิตภัณฑ์จากมะกอก เช่น น้ำมันมะกอก
องค์กรดูแลการผลิตกว่า 95% ทั่วโลกและมีอิทธิพลมากต่อการผลิตที่เหลือ
สหภาพยุโรป อนุญาตให้แสดงป้าย protected designation of origin (PDO) ที่ต่าง ๆ กันสำหรับน้ำมันมะกอก[ 58]
สหรัฐ ไม่ได้เป็นสมาชิกของ IOC จึงไม่ได้อยู่ใต้กฎบังคับขององค์กร แต่ในปี 2010 กระทรวงเกษตรสหรัฐ ได้ออกมาตรฐานจัดเกรดของน้ำมันมะกอกที่ให้ทำโดยสมัครใจ ซึ่งคล้ายกับกฎของ IOC มาก โดยต่างกันบ้างเพื่อให้เหมาะกับลักษณะของมะกอกที่ปลูกในสหรัฐ[ 59]
อนึ่ง กฎกรมศุลกากรสหรัฐเกี่ยวกับ "ประเทศแหล่งผลิต" ระบุว่า ถ้าประเทศที่ไม่ใช่แหล่งผลิตปรากฏบนป้ายบรรจุภัณฑ์ ประเทศที่เป็นแหล่งผลิตจริง ๆ ก็ต้องแสดงบนป้ายข้างเดียวกันเช่นกัน โดยมีขนาดอักษรพอ ๆ กันเพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด[ 60] [ 61]
อย่างไรก็ดี ยี่ห้อหลัก ๆ โดยมากในสหรัฐก็ยังแสดงข้อความ "นำเข้าจากอิตาลี" ที่ป้ายข้างหน้าเป็นอักษรใหญ่ และแสดงแหล่งผลิตอื่น ๆ ที่ป้ายข้างหลังเป็นอักษรเล็ก[ 62]
และ "จริง ๆ แล้ว น้ำมันมะกอกที่ขึ้นป้ายว่าเป็นของ 'อิตาลี' มาจากตุรกี ตูนิเซีย โมร็อกโก และกรีซ"[ 63]
ทำให้ไม่ชัดเจนว่า น้ำมันอัตราส่วน แค่ไหนมาจากอิตาลีจริง ๆ
ขวดน้ำมันมะกอกจากอิตาลี
การผลิตในระดับอุตสาหกรรม
การผลิตเริ่มจากการบดอัดผลมะกอกให้เละ
และกวนผสมช้า ๆ เพื่อให้หยาดไขมันรวมตัวกันใหญ่ขึ้น
แล้วแยกไขมันออกจากส่วนที่เป็นน้ำและเนื้อ ด้วย press (วิธีตั้งแต่โบราณ) หรือเครื่องหมุนเหวี่ยง (วิธีปัจจุบัน)
หลังจากสกัดเช่นนี้ ส่วนเนื้อ ๆ ที่เหลือ ซึ่งเรียกว่า pomace (กาก) ก็ยังเหลือน้ำมันเล็กน้อย
เพื่อระบุคุณสมบัติทางรสชาติต่าง ๆ จะให้คณะกรรมการที่ได้รับการฝึกชิมดูโดยไม่ให้รู้ว่ากำลังชิมอะไร
คุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ใช้ระบุลักษณะของน้ำมันก็คือ[ 64]
อัตราร้อยละของกรดโอเลอิก อิสระตามน้ำหนัก
ถ้าวัดเป็นตัวเลข มันเป็นค่าไตรกลีเซอไรด์ ของน้ำมันที่แยกสลายด้วยน้ำ (hydrolysis) คือเมื่อน้ำมันเสื่อมลง กรดไขมันก็จะหลุดจากไตรกลีเซอไรด์กลายเป็นอิสระมากขึ้น ซึ่งเพิ่มความเหม็นหืนเนื่องกับน้ำ[ต้องการอ้างอิง ]
ค่าวัดความเสื่อมอีกอย่างหนึ่งก็คือค่าเปอร์ออกไซด์ (peroxide)[ 65]
ซึ่งวัดระดับการถูกออกซิไดส์เพราะอนุมูลอิสระ ซึ่งก็ทำให้เหม็นหืนเนื่องกับกระบวนการออกซิเดชัน
กรดฟีนอลิก ที่มีในน้ำมันยังเพิ่มรสชาติความเป็นกรดโดยเป็นกลิ่นและรส[ 66]
น้ำมันมะกอกมีเกรดต่าง ๆ รวมทั้ง
Virgin (แรกสุด, เวอร์จิน) หมายถึงน้ำมันที่ผลิดด้วยวิธีการทางกลเท่านั้น โดยไม่ใช้สารเคมี ซึ่งก็ยังแบ่งออกเป็นเกรดย่อย ๆ อีกรวมทั้ง Extra virgin (เอ็กซ์ตร้าเวอร์จิน), Virgin , Ordinary virgin และ Lampante virgin ขึ้นอยู่กับคุณภาพ (ดูรายการต่อ ๆ ไป)
Lampante virgin oil หมายถึงน้ำมันที่ผลิดด้วยวิธีการทางกลแต่ไม่เหมาะให้มนุษย์บริโภคถ้าไม่กลั่นเพิ่ม “lampante” เป็นคุณนามของคำว่า “lampa” ซึ่งเป็นคำภาษาอิตาลีหมายถึง ตะเกียง เพราะดั้งเดิมน้ำมันเกรดนี้ใช้ในตะเกียงน้ำมัน แต่ก็สามารถใช้ในทางอุตสาหกรรมอื่น ๆ หรือกลั่นเพิ่มเพื่อใช้บริโภค[ 67]
กลั่น (refined) หมายถึงน้ำมันที่มาจากน้ำมันไม่ว่าจะเกรดไหนโดยการกลั่น โดยไม่เปลี่ยนโครงสร้างกลีเซอไรด์ดั้งเดิม การกลั่นอาจกำจัดสี กลิ่น และรสจากน้ำมัน จนเหลือแต่น้ำมันบริสุทธิ์ที่ไร้รสชาติ ไร้สี และไร้กลิ่น และมีกรดไขมันอิสระต่ำมาก ๆ ดังนั้น น้ำมันที่ขายเป็นเกรดเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิน หรือเวอร์จิน ไม่ควรมีน้ำมันกลั่น[ 67]
Crude olive pomace oil (น้ำมันกากมะกอกดิบ) เป็นน้ำมันที่ได้จากกาก (ที่เหลือจากการการสกัดน้ำมันในเกรดเวอร์จิน) ด้วยตัวทำละลาย หรือด้วยวิธีทางกลอื่น โดยไม่ผสมน้ำมันที่ได้จากกระบวนการ re-esterification หรือผสมน้ำมันอื่น ๆ น้ำมันกากมะกอกดิบสามารถกลั่นเพิ่มเป็น น้ำมันกากมะกอกกลั่น (Refined olive pomace oil) และถ้าผสมกับน้ำมันแรกสุดเพื่อให้ได้รสชาติ ก็จะเรียกว่า น้ำมันกากมะกอก (Olive pomace oil)[ 67]
สภามะกอกนานาชาติ
ในประเทศที่ใช้มาตรฐานของสภามะกอกนานาชาติ (IOC )[ 68]
หรือในออสเตรเลีย หรือในสหรัฐที่ผู้ผลิตสมัครใจถือตามมาตรฐานของกระทรวงเกษตร
น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิน เป็นน้ำมันเกรดสูงสุดที่ได้จากการสกัดทางกลโดยไม่ใช้ตัวทำละลายหรือการกลั่น[ 67] [ 69] ไม่มีกรดไขมันอิสระเกิน 0.8% มีรสชาติที่ดีกว่า มีรสของผลไม้บ้าง และไม่ให้กลิ่นหรือความรู้สึกทางประสาทสัมผัส ที่บกพร่องอื่น ๆ[ 70] ประเทศผลิตปกติผลิตน้ำมันเอ็กซ์ตร้าเวอร์จินน้อยกว่า 10% ยกเว้นประเทศบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน (กรีก 80%, อิตาลี 65%, สเปน 50%)[ 70]
น้ำมันมะกอกเวอร์จิน เป็นเกรดรองลงมา มีกรดไขมันอิสระอาจถึง 1.5% มีรสชาติดี แต่อาจให้กลิ่นหรือความรู้สึกทางประสาทสัมผัสที่บกพร่องอื่น ๆ
น้ำมันมะกอกกลั่น เป็นน้ำมันที่กลั่นโดยใช้ถ่านหรือตัวกรองทางเคมีหรือทางกลอื่น ๆ โดยไม่เปลี่ยนโครงสร้างกลีเซอไรด์ของน้ำมัน มีกรดไขมันอิสระเป็นกรดโอเลอิก ไม่เกิน 0.3% โดยมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ตรงกับเกรดนี้ ได้มาจากการกลั่นน้ำมันเวอร์จินเพื่อกำจัดกรดไขมันอิสระหรือความบกพร่องทางรสชาติ/ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสต่าง ๆ น้ำมันที่ขึ้นป้ายว่าเป็น น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ (Pure olive oil) หรือ น้ำมันมะกอก (Olive oil) ปกติจะเป็นน้ำมันกลั่นผสมกับน้ำมันเวอร์จินให้ได้รสชาติดีขึ้น
น้ำมันกากมะกอก เป็นน้ำมันกากมะกอกกลั่น บ่อยครั้งผสมกับน้ำมันเวอร์จิน ใช้บริโภคได้ แต่ไม่ควรเรียกเฉย ๆ ว่า น้ำมันมะกอก มีรสจืดกว่าเทียบกับน้ำมันเวอร์จิน นักกินจึงไม่นิยม แต่ก็มีองค์ประกอบทางไขมันเหมือนกับน้ำมันมะกอกธรรมดา ทำให้มีประโยชน์ทางสุขภาพ และยังมีจุดก่อควันสูงกว่า ดังนั้นจึงมักนิยมใช้ในร้านอาหารและในบ้านสำหรับบางประเทศ
สหรัฐ
เพราะสหรัฐไม่ได้เป็นสมาชิก เกรดการค้าของ IOC จึงไร้ความหมายในประเทศ แต่เริ่มในปี 2010 กระทรวงเกษตรสหรัฐได้ตั้งมาตรฐานเกรดน้ำมันมะกอกและน้ำมันกากมะกอก ซึ่งคล้ายกับของ IOC มาก[ 71] [ 72]
แต่เกรดเหล่านี้ให้แสดงโดยสมัครใจ คือไม่บังคับ
แต่กระทรวงเกษตรสามารถออกใบรับรองให้โดยต้องเสียค่าธรรมเนียม[ 72]
น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จินสหรัฐ (U.S. Extra Virgin Olive Oil) สำหรับน้ำมันที่มีรสและกลิ่นดีเยี่ยม มีกรดไขมันอิสระไม่เกิน 0.8%
น้ำมันมะกอกเวอร์จินสหรัฐ (U.S. Extra Olive Oil) สำหรับน้ำมันที่มีรสและกลิ่นดีพอควร และมีกรดไขมันอิสระไม่เกิน 2%
น้ำมันมะกอกเวอร์จินสหรัฐไม่เหมาะเพื่อให้มนุษย์บริโภคโดยไม่แปรรูปยิ่งขึ้น (U.S. Virgin Olive Oil Not Fit For Human Consumption Without Further Processing) เป็นน้ำมันเวอร์จินที่สกัดในเชิงกล มีรสชาติและกลิ่นไม่ดี คล้ายกับเกรด lampante ของ IOC
น้ำมันมะกอกสหรัฐ (U.S. Olive Oil) เป็นน้ำมันเวอร์จินผสมกับน้ำมันกลั่น
น้ำมันมะกอกกลั่นสหรัฐ (U.S. Refined Olive Oil) เป็นน้ำมันกลั่นที่มีข้อจำกัดในการแปรรูป
คำที่ขึ้นป้าย
ฉลากสินค้าในอิตาลีสำหรับน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิน
ชื่อต่าง ๆ แสดงระดับการแปรรูปและคุณภาพของน้ำมัน
น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิน มีเกรดสูงสุด ตามด้วยน้ำมันมะกอกเวอร์จิน คำว่า เวอร์จิน หมายถึงการบดผลมะกอกเพื่อสกัดเอาน้ำมัน โดยไม่ได้ใช้ความร้อนหรือสารเคมี และน้ำมันเป็นของบริสุทธิ์ที่ไม่ได้กลั่น น้ำมันเวอร์จินมีโพลีฟีนอล (polyphenol) ในระดับสูงสุด เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่สัมพันธ์กับสุขภาพที่ดีกว่า[ 73]
น้ำมันมะกอก บางครั้งหมายถึง "ทำจากน้ำมันมะกอกกลั่นและเวอร์จิน" คือเป็นน้ำมันผสม[ 67] ชื่อเพิ่มว่า Pure , Classic , Light และ Extra-Light อาจใช้ในประเทศที่ไม่ได้บริโภคน้ำมันตั้งแต่ดั้งเดิม เป็นตัวระบุความบริสุทธิ์และรสชาติตั้งแต่จัดจนถึงอ่อนของน้ำมัน แต่ตรงข้ามกับความเชื่อปกติของผู้บริโภค น้ำมันเหล่านี้ไม่ได้มีแคลอรี น้อยกว่าน้ำมันเอ็กซ์ตร้าเวอร์จินดังที่ชื่อเหมือนจะบ่ง[ 74]
สกัดเย็น (Cold pressed, Cold extraction) หมายถึง "น้ำมันไม่ได้อุ่นเกินอุณหภูมิหนึ่ง ๆ (ปกติ 27 องศาเซลเซียส (80 องศาฟาเรนไฮต์)) เมื่อแปรรูป ดังนั้น จึงรักษาสารอาหารได้มากกว่าและเสื่อมน้อยกว่า"[ 75] ในยุโรปคำว่า Cold Extraction ต่างกับ Cold Pressed คือ คำแรกหมายถึงการใช้เครื่องหมุนเหวี่ยง เพื่อสกัดน้ำมัน เป็นวิธีการปัจจุบันเพื่อให้ได้น้ำมันมากสุด เทียบกับคำที่สองซึ่งหมายถึงการใช้แรงบีบอัดในการสกัดน้ำมันเท่านั้น แต่ในที่อื่น ๆ ทั่วโลกรวมทั้งออสเตรเลีย ผู้ผลิตที่ใช้เครื่องหมุนเหวี่ยงก็ยังขึ้นป้ายผลิตภัณฑ์ว่า สกัดเย็น (Cold Pressed)
สกัดเย็นแรก (First cold pressed) หมายความว่า ผลมะกอกจะบีบอัดเพียงครั้งเดียว คือ "บีบอัดเป็นครั้งแรก" (first press) ส่วนคำว่า เย็น หมายถึงพิสัยอุณหภูมิของผลเมื่อบดให้เละ[ 76] คือแคว้นคาลาเบรีย ประเทศอิตาลี จะเก็บผลในเดือนตุลาคม ส่วนเขตอื่น ๆ รวมทั้งแคว้นตอสคานา และแคว้นลีกูเรียจะเก็บผลในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งพื้นโดยเฉพาะช่วงกลางคืนจะเย็นเกินกว่าจะแปรรูปได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ใช้ความร้อน ดังนั้น เมื่อบดอัดผล ปกติจะให้ความร้อนสูงกว่าภูมิอากาศ ซึ่งอาจให้ในระหว่าง 10-15 °C เพื่อให้สกัดน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้แรงกลเท่านั้น ส่วนมะกอกในเขตที่อบอุ่นกว่าอื่น ๆ เช่น อิตาลีใต้หรือแอฟริกาเหนืออาจบดให้เละในอุณหภูมิที่สูงกว่าแม้จะไม่ได้เพิ่มความร้อน แม้การรักษาอุณหภูมิให้ต่ำสุด (ทั่วไปต่ำกว่า 25 °C) เมื่อบดอัดผลเพื่อสกัดน้ำมันเวอร์จินจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็ไม่มีนิยามที่ใช้อย่างสากลของคำว่า สกัดเย็น (cold pressed) นอกจากนั้น ก็ไม่มีการบดอัดเป็นครั้งที่สองเพื่อสกัดน้ำมันเวอร์จินจริง ๆ ดังนั้น คำว่า สกัดแรก (first press) จึงหมายเพียงว่า น้ำมันได้จากการบดอัด (press) เทียบกับได้โดยวิธีอื่น ๆ
PDO (Protected designation of origin) และ PGI (Protected geographical indication) หมายถึงน้ำมันมะกอกที่มี "คุณสมบัติและคุณภาพพิเศษที่ได้จากแหล่งกำเนิดและจากวิธีการผลิต"[ 77]
ป้ายอาจระบุว่า น้ำมันบรรจุขวดหรือเข้าบรรจุภัณฑ์ในประเทศหนึ่ง ๆ ซึ่งไม่ไได้หมายความว่าน้ำมันผลิตในที่นั้น โดยอาจระบุแหล่งผลิตบนป้ายในที่อื่น ๆ และอาจเป็นน้ำมันผสมจากประเทศหลายประเทศ[ 62]
องค์การอาหารและยาสหรัฐ อนุญาตให้อ้างบนป้ายว่า "หลักฐานวิทยาศาสตร์ที่จำกัดและสรุปไม่ได้แสดงนัยว่า การทานน้ำมันมะกอกประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ (23 กรัม) ต่อวันอาจลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ "[ 78]
การปลอมปน
มีการกล่าวหาโดยเฉพาะในประเทศอิตาลีและสเปนว่า การควบคุมการผลิตบางครั้งย่อหย่อนหรือไม่ตรงไปตรงมา[ 79]
อ้างว่า ผู้ส่งออกหลัก ๆ ปลอมปนน้ำมันมะกอกเป็นปกติจนกระทั่งว่า น้ำมันแค่ 40% ที่ขายในเกรดเอ็กซ์ตร้าเวอร์จินในอิตาลีมีคุณสมบัติเช่นนั้นจริง ๆ[ 80]
ในบางกรณี น้ำมันโคลซา (colza oil) ที่ได้จากผักกาดก้านขาว แล้วเติมสีและรสจะขึ้นป้ายขายเป็นน้ำมันมะกอก[ 81]
การฉ้อฉลที่ทำอย่างกว้างขวางเช่นนี้ทำให้รัฐบาลอิตาลีออกกฎหมายบรรจุภัณฑ์ใหม่ในปี 2007 ซึ่งบังคับให้น้ำมันมะกอกอิตาลีทุกขวดต้องระบุไร่และโรงสกัดที่เป็นแหล่งผลิต และระบุองค์ประกอบน้ำมันให้ชัดเจนถ้าเป็นน้ำมันผสม[ 82]
แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2008 เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรป (EU) เข้าโต้กับกฎหมายใหม่นี้โดยอ้างว่า ตามกฎของ EU การขึ้นป้ายเช่นนี้ควรทำโดยสมัครใจไม่ใช่บังคับ[ 81]
คือ น้ำมันสามารถระบุว่ามาจากอิตาลีถ้ามีน้ำมันอิตาลีเพียงเล็กน้อย[ 82]
ส่วนน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จินมีข้อบังคับที่เข้มกว่า ซึ่งเช็คข้อบกพร่องของความรู้สึกทางประสาทสัมผัสรวมทั้งเหม็นหืน เหม็นชื้น เหม็นอับ รสเหมือนไวน์/น้ำสมสายชู และตกตะกอนขุ่น ซึ่งอาจเกิดเพราะเหตุต่าง ๆ ที่สามัญก็คือ
ผลมะกอกมีโรคหรือช้ำ
เก็บเกี่ยวไม่ดี คือผลมะกอกถูกดิน[ 83]
ในเดือนมีนาคม 2008 เจ้าหน้าที่ตำรวจอิตาลี 400 นายได้ดำเนินการ "ปฏิบัติการน้ำมันทอง" ซึ่งได้จับผู้ต้องสงสัย 23 คนและยึดของจากไร่ 85 ไร่ หลังจากสืบพบการฉ้อฉลขนาดใหญ่ที่เปลี่ยนป้ายน้ำมันจากประเทศเมดิเตอร์เรเนียนอื่น ๆ ว่า เป็นของอิตาลี[ 84]
ในเดือนเมษายน 2008 ในปฏิบัติการอีกงานหนึ่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจอิตาลีได้เข้ายึดโรงสกัดน้ำมันมะกอก 7 แห่ง จับผู้ต้องสงสัย 40 คนในจังหวัด 7 จังหวัดทางภาคเหนือและใต้
ในฐานใส่คลอโรฟิลล์ ในน้ำมันทานตะวัน และถั่วเหลือง แล้วขายเป็นน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จินโดยขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เจ้าหน้าที่ได้ยึดน้ำมันปลอม 25,000 ลิตร เป็นการกันไม่ให้ส่งออกนอกประเทศ[ 85]
ในปี 2011 อัยการ ในเมืองฟลอเรนซ์ ร่วมมือกับกรมป่าไม้ฟ้องคดีอาญามีจำเลยเป็นผู้จัดการ/เจ้าหน้าที่บริษัท Carapelli สองท่านในฐานะปลอมแปลงเอกสารและฉ้อฉลเรื่องอาหาร Carapelli เป็นยี่ห้อน้ำมันของบริษัทแปรรูปน้ำมันมะกอกข้ามชาติของประเทศสเปนคือ Deoleo (ชื่อเดิม Grupo SOS)
ส่วนทนายบริษัทระบุว่า ไม่รู้สึกกังวลในเรื่องนี้เพราะ "คดีมีมูลฐานจากความไม่เรียบร้อยอย่างหนึ่งในเอกสาร"[ 86]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2012 เจ้าหน้าที่ตำรวจสเปนอ้างว่าได้สืบพบการหลอกลวงข้ามประเทศ เป็นการนำน้ำมันปาล์ม น้ำมันอาโวคาโด น้ำมันทานตะวัน และน้ำมันที่ถูกกว่าอื่น ๆ มาหลอกขายว่าเป็นน้ำมันมะกอก
เจ้าหน้าที่กล่าวว่า น้ำมันได้ผสมที่โรงงานผลิตไบโอดีเซลเพื่ออุตสาหกรรมแล้วปลอมปนเพื่อปกปิดตัวบ่งชี้ที่อาจแสดงว่าน้ำมันคืออะไรจริง ๆ
แต่ตามเจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์พลเรือน น้ำมันไม่ได้เป็นพิษและไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ
เจ้าหน้าที่ตำรวจและสรรพากร (ส่วนของปฏิบัติการ Operation Lucerna) ได้จับผู้ต้องสงสัย 19 คนหลังจากสืบคดีเป็นปี[ 87]
การใช้ป้ายเล็ก ๆ เพื่อระบุแหล่งกำเนิดน้ำมันผสม เป็นวิธีการเลี่ยงกฎหมายของผู้ผลิตน้ำมันปลอมหรือน้ำมันผสม[ 88]
นักข่าวอเมริกันทอม มูลเล่อร์ (Tom Mueller) ได้ตรวจสอบธุรกิจน้ำมันมะกอกในเรื่องอาชญากรรมและการปลอมปนโดยได้ตีพิมพ์บทความในนิตยสาร New Yorker [ 89]
แล้วตามด้วยหนังสือปี 2011
ต่อมาปี 2016 นักข่าวบิล วิทเทเกอร์ จึงได้นำเสนอข่าวในรายการของซีบีเอ็ส ซึ่งรวมการสัมภาษณ์กับนายมูลเล่อร์และกับเจ้าหน้าที่อิตาลี[ 90] [ 91]
และรายงานว่า ในเดือนก่อนเพียงเดือนเดียว มีการขายน้ำมันมะกอกปลอมในอิตาลีถึง 5,000 ตัน โดยกลุ่มมาเฟีย มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก
นายมูลเล่อร์ระบุประเด็นว่า ผลกำไรของน้ำมันมะกอกปลอมนั้นมากถึง 3 เท่าของยาเสพติด ที่ผิดกฎหมายคือโคเคน
และกล่าวว่า น้ำมันมะกอกที่ขายครึ่งหนึ่งในอิตาลีเป็นของปลอม เทียบกับ 75-80% ที่ขายในสหรัฐ โดยอ้างว่า เมื่อซื้อตัวอย่างน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิน 3 ตัวอย่างจากซูเปอร์มาร์เก็ต สหรัฐมาตรวจสอบ
พบว่า ตัวอย่าง 2 ตัวอย่างไม่มีคุณภาพตามมาตรฐาน และตัวอย่างหนึ่งซึ่งเป็นยี่ห้อขายดีที่สุดยี่ห้อหนึ่งในสหรัฐ กลับมีคุณภาพแย่มาก
ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2017 เจ้าหน้าที่รัฐขององค์กร Carabinieri แห่งอิตาลีได้จัผู้ต้องสงสัย 33 รายซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มมาเฟีย 'Ndrangheta ฐานส่งออกน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จินปลอมไปยังสหรัฐ
เพราะจริง ๆ เป็นเพียงน้ำมันกากมะกอกที่ไม่แพง[ 92]
ปีหนึ่งก่อนหน้านั้น โปรแกรมข่าวอเมริกันคือ 60 Minutes ได้เตือนว่า ธุรกิจน้ำมันมะกอกได้กลายเป็นเรื่องทุจริตเพราะมาเฟีย และธุรกิจเกษตรเนื่องกับมาเฟียเช่นนี้มีรายได้ ต่อปีถึง 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 565,000 ล้านบาท)
นักสืบขององค์กร Carabinieri ให้สัมภาษณ์ว่า "การฉ้อฉลเรื่องน้ำมันมะกอกได้มีมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว" แต่ปัจจุบัน "ง่ายมากที่ผู้ร้ายจะขายน้ำมันปลอมปน หรือผสมน้ำมันมะกอกคุณภาพแย่กว่ากับน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิน"[ 93]
อีกไม่กี่อาทิตย์ต่อมา นิตยสารฟอบส์ ก็ได้รายงานว่า "มีรายงานที่เชื่อถือได้ว่า น้ำมันมะกอกอิตาลี 80% ที่มีขายในตลาดเป็นของปลอม" และ "การฉ้อฉลเรื่องน้ำมันมะกอกกำลังถูกเปิดโปงในอิตาลีภาคใต้ (รวมแคว้นปุลยา อุมเบรีย และคัมปาเนีย )"[ 94]
การบริโภคทั่วโลก
กรีซมีการบริโภคน้ำมันมะกอกต่อประชากรสูงสุดในโลกคือ 24 ลิตรต่อคนต่อปี[ 95] ,
สเปนและอิตาลี 14 ลิตร,
ตูนิเซีย โปรตุเกส ซีเรีย จอร์แดน และเลบานอน ราว ๆ 8 ลิตร,
ยุโรปเหนือและอเมริกาเหนือบริโภคน้อยกว่ามากราว ๆ 0.7 ลิตร อย่างไรก็ดี การบริโภคภายนอกพื้นที่ที่ปลูกก็ได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ตลาดโลก
ประเทศผลิตและผู้บริโภคหลัก ๆ ก็คือ
ประเทศ
ผลผลิตเป็นตัน (2016/2017)[ 21]
ผลผลิตเป็น % (2016/2017)
การบริโภค (2016/2017)[ 21]
การปริโภคต่อประชากรต่อปี (กก.)[ 96]
โลก
2,586,500
100%
100%
0.43
สเปน
1,290,600
49.9%
16.7%
13.62
ตุรกี
208,000
8.1%
5.5%
1.2
กรีซ
195,000
7.5%
3.9%
23.7
อิตาลี
182,300
7.1%
16.1%
12.35
โมร็อกโก
110,000
4.2%
4.4%
11.1
ซีเรีย
110,000
4.2%
3.6%
7
ตูนิเซีย
100,000
3.9%
0.8%
5
โปรตุเกส
69,400
2.7%
2.6%
7.1
แอลจีเรีย
63,000
2.4%
2.5%
1.8
อื่น ๆ
258,200
10%
43.9%
1.18
การสกัด
เครื่องสกัดน้ำมันมะกอกในประเทศอิสราเอล
เครื่องบดมะกอก
น้ำมันมะกอกผลิตโดยบดมะกอกให้เละแล้วสกัดน้ำมันทางกลหรือทางเคมี
มะกอกเขียวปกติจะทำให้ได้น้ำมันรสขม มะกอกที่สุกเกินอาจทำให้น้ำมันเหม็นหืน ดังนั้น สำหรับน้ำมันเอ็กซ์ตร้าเวอร์จินอย่างดี จะต้องระมัดระวังใช้แต่มะกอกที่สุกดีเท่านั้น
กระบวนการสกัดโดยทั่วไปก็คือ
มะกอกจะบดให้เละด้วยโม่หินขนาดใหญ่ (ใช้ตั้งแต่โบราณ) หรือใช้เครื่องบดเป็นถังเหล็กกลม (วิธีปัจจุบัน)
ถ้าบดด้วยโม่หิน มะกอกที่บดจะอยู่ใต้หินเป็นช่วง 30-40 นาที การใช้เวลาน้อยกว่านี้ จะทำให้ได้มะกอกที่เละเปียกซึ่งให้น้ำมันน้อยกว่าและมีรสชาติดิบกว่า ส่วนการใช้เวลามากกว่านี้อาจเพิ่มออกซิเดชันแล้วลดรสชาติ หลังจากบดมะกอกจนเละ ก็จะเทกระจายบนจานที่ทำด้วยใยซึ่งวางซ้อน ๆ กันเป็นตั้ง ๆ แล้วก็จะนำเข้าไปในเครื่องบีบ/คั้น ซึ่งเมื่อบีบที่จานเป็นตั้ง ๆ ก็จะแยกส่วนที่เป็นของเหลวจากกากมะกอก แต่ของเหลวก็ยังมีน้ำเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่โบราณน้ำจะแยกออกจากน้ำมันโดยใช้แรงโน้มถ่วง (เพราะน้ำมัน จะหนาแน่น น้อยกว่าน้ำ ) แต่การแยกที่ใช้เวลานานเช่นนี้ปัจจุบันทำด้วยเครื่องหมุนเหวี่ยง ซึ่งเร็วกว่าและแยกน้ำมันได้มากกว่า โดยเครื่องจะมีช่องทางออกสำหรับน้ำที่หนักกว่าและมีช่องอีกทางหนึ่งสำหรับน้ำมัน น้ำมันที่เหลือน้ำมากจะเสื่อมเร็วอาศัยจุลชีพที่อยู่ในน้ำ แต่ในโรงสกัดเล็ก ๆ การแยกจากกันเช่นนี้จะไม่บริบูรณ์ ดังนั้น อาจจะเจอน้ำที่ก้นขวดซึ่งประกอบด้วยอนุภาคอินทรีย์
ถ้าใช้เครื่องบดเป็นถังเหล็กกลม การบดจะใช้เวลา 20 นาที หลังจากบดแล้ว มะกอกบดที่ได้ก็จะกวนช้า ๆ อีก 20-30 นาที ในถังโดยเฉพาะ (เป็นกระบวนการ malaxation) ที่หยาดน้ำมันเล็ก ๆ จะรวมกันเป็นหยดใหญ่ขึ้น ซึ่งทำให้แยกออกได้ง่ายขึ้น ต่อจากนั้นก็จะนำมะกอกบดเข้าเครื่องหมุนเหวี่ยงแรกเป็นการบีบมะกอก แล้วเข้าเครื่องหมุนเหวี่ยงที่สองเพื่อแยกน้ำออกจากน้ำมันเหมือนกับที่อธิบายมาแล้ว น้ำมันที่ผลิตโดยใช้เพียงแค่เครื่องกลเช่นนี้เรียกว่า น้ำมันเวอร์จิน ส่วนน้ำมันเอ็กซ์ตร้าเวอร์จินเป็นน้ำมันที่มีกฎเกณฑ์เข้มขึ้นเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีและความรู้สึกที่ให้กับผู้ทาน (มีกรดไขมันอิสระน้อย ไม่มีข้อบกพร่องทางประสาทสัมผัส) ส่วนน้ำมันเกรดสูงยิ่งกว่านั้นขึ้นอยู่กับการได้ภูมิอากาศที่เหมาะสม เช่นถ้าแห้งแล้งในช่วงออกดอก ก็จะได้น้ำมันเกรดต่ำกว่า ให้สังเกตว่า ต้นมะกอกจะให้ผลดีประมาณทุก ๆ 2 ปี ดังนั้น จึงได้ผลดีปีเว้นปี โดยปีในระหว่างจะได้ผลน้อยกว่า แต่คุณภาพน้ำมันก็ยังขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศอยู่ดี
บางครั้ง น้ำมันที่ได้จะกรองเพื่อกำจัดตะกอนที่เหลือเพราะตะกอนอาจลดอายุคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยน้ำมันที่ไม่ได้กรองอาจมีรสต่างกัน น้ำมันสดที่ไม่ได้กรองปกติจะมีสีขุ่นนิด ๆ รูปแบบน้ำมันนี้เคยนิยมกับผู้ผลิตรายย่อยเท่านั้น แต่ปัจจุบันกลายเป็นของนิยมโดยทั่วไป เพราะความต้องการผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปน้อยกว่า
กากมะกอดที่เหลือยังมีน้ำมันส่วนน้อย (5-10%) ที่ไม่สามารถสกัดได้ด้วยการบดอัดยิ่งขึ้น แต่สกัดได้ด้วยตัวทำละลาย
ซึ่งจะทำในโรงงานเคมีโดยเฉพาะ ไม่ใช่ในโรงโม่น้ำมัน
โดยผลผลิตที่ได้จะไม่ใช่เกรด "เวอร์จิน" แต่เป็นน้ำมันกาก (pomace oil)[ 97]
การจัดการของเสียจากการผลิตน้ำมันเป็นปัญหาเพราะมีเกิน 30 ล้านลูกบาศก์เมตร ต่อปีในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งไม่เสื่อมเองทางชีวภาพและไม่สามารถแปรรูปโดยระบบบำบัดน้ำตามปกติ[ 98]
ป้ายว่า สกัดเย็น (cold-extraction) บนบรรจุภัณฑ์ของน้ำมันเวอร์จินระบุว่า การบดขยี้มะกอกแล้วกวนได้ทำที่อุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส (77 องศาฟาเรนไฮต์)
เพราะอุณหภูมิที่สูงกว่านี้จะเสี่ยงทำลายคุณภาพของน้ำมัน (รวมทั้งเนื้อน้ำมัน รสชาติ และกลิ่น)[ 97]
องค์ประกอบ
โครงสร้างเคมีโดยทั่วไปของน้ำมันมะกอกโดย R1 , R2 และ R3 เป็นหมู่ alkyl (ประมาณ 20%) หรือหมู่ alkenyl (ประมาณ 80%)
น้ำมันมะกอกโดยหลักประกอบด้วยเอสเทอร์ไตรกลีเซอไรด์ผสมของกรดโอเลอิก กรดปาลมิติก และกรดไขมันอื่น ๆ รวมทั้ง squalene ในปริมาณน้อย (ถึง 0.7%) และ sterol (เป็น phytosterol และ tocosterol ประมาณ 0.2%)
แต่จะขึ้นอยู่กับพันธุ์ปลูก เขตเพาะปลูก ความสูงของไร่ ฤดูที่เก็บเกี่ยว และกระบวนการสกัด
องค์ประกอบเป็นฟีนอล
น้ำมันมะกอกมีฟีนอล เช่น เอสเทอร์ของ tyrosol, hydroxytyrosol, oleocanthal และ oleuropein[ 66] [ 101]
ซึ่งทำให้น้ำมันเอ็กซ์ตร้าเวอร์จินมีรสขม ฉุน และมีกลิ่นเฉพาะ[ 102]
น้ำมันมะกอกเป็นแหล่งของสารประกอบฟีนอลอย่างน้อย 30 ชนิด รวมทั้ง elenolic acid ซึ่งเป็นตัวบ่งความสุกของมะกอก[ 66] [ 103]
ส่วน oleuropein พร้อมกับสารประกอบที่สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดอื่น ๆ รวมทั้ง 10-hydroxyoleuropein , ligstroside และ 10-hydroxyligstroside เป็นเอสเทอร์แบบ tyrosol ของ elenolic acid
องค์ประกอบที่เป็นฟีนอลอื่น ๆ รวมทั้ง flavonoid, lignan และ pinoresinol[ 104] [ 105]
สารอาหาร
ตามกระทรวงเกษตรสหรัฐ น้ำมันมะกอกหนึ่งช้อนโต๊ะ (13.5 ก.) มีคุณค่าทางอาหารดังต่อไปนี้[ 106]
ผลที่อาจมีต่อสุขภาพ
การบริโภคน้ำมันมะกอกเชื่อว่ามีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด [ 107]
งานศึกษาทางวิทยาการระบาด แสดงว่า อัตราส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว ที่สูงกว่าในอาหารอาจสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ [ 108]
มีหลักฐานเบื้องต้นว่า การทานน้ำมันมะกอกเป็นประจำอาจลดความเสี่ยงตายเพราะเหตุทั้งหมดและเพราะโรคเรื้อรังหลายอย่าง[ 107] [ 109]
อาศัยการทบทวนวรรณกรรมวิทยาศาสตร์อย่างละเอียดในปี 2011
องค์กรความปลอดภัยอาหารยุโรป (EFSA ) จึงได้อนุมัติข้ออ้างทางสุขภาพของน้ำมันมะกอกว่า โพลีฟีนอลในน้ำมันช่วยป้องกันกระบวนการออกซิเดชันของลิพิด ในเลือด[ 110]
และมีบทบาทในการรักษาระดับคอเลสเตอรอล LDL ในเลือดเมื่อทานกรดโอเลอิกแทนไขมันอิ่มตัวในอาหาร[ 111] [ 112]
แต่ความสัมพันธ์แบบเป็นเหตุผลระหว่างการบริโภคน้ำมันมะกอกกับการรักษาความเข้มข้นในเลือดที่เป็นปกติ (วัดเมื่ออดอาหาร) ของไตรกลีเซอไรด์ , ของคอเลสเตอรอลแบบ HDL และของกลูโคส ก็ยังไม่มีหลักฐานพอ[ 113]
งานวิเคราะห์อภิมาน ปี 2011 สรุปว่า การทานน้ำมันมะกอกอาจมีผลป้องกันการเกิดมะเร็งทุกอย่าง แต่ก็ไม่ได้ระบุว่า ผลดีที่ได้มาจากกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยวหรือมาจากโพลีฟีนอล[ 114]
งานวิเคราะห์อภิมานปี 2018 ซึ่งตรวจการทดลองทางคลินิก 26 งาน รายงานว่า โพลีฟีนอลในระดับสูงของน้ำมันมะกอกปรับปรุงค่าคอเลสเตอรอลรวม, HDL, malondialdehyde และ LDL ที่รวมตัวกับออกซิเจนแล้ว (oxidized) เทียบกับน้ำมันมะกอกที่มีโพลีฟีนอลน้อย[ 115]
งานวิเคราะห์อภิมานปี 2014 สรุปว่า การทานน้ำมันมะกอกเพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงต่อการตายเพราะเหตุทั้งหมด ต่อปัญหาหัวใจร่วมหลอดเลือดและโรคหลอดลม เทียบกับการทานกรดไขมันอิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยวจากสัตว์ผสมกับพืชที่ไม่มีผลซึ่งมีนัยสำคัญ[ 116]
ตั้งแต่ปลาย ๆ ปี 2004 ในสหรัฐ ผู้ผลิตน้ำมันมะกอกสามารถแสดงบนบรรจุภัณท์ข้ออ้างทางสุขภาพที่จำกัดดังต่อไปนี้[ 117] [ 118]
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จำกัดและไม่สามารถสรุปได้แสดงนัยว่า การทานน้ำมันมะกอกประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ (23 กรัม) ทุกวันอาจลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเพราะมีไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว
เพื่อให้ได้ประโยชน์เช่นนี้ ให้แทนไขมันอิ่มตัวด้วยน้ำมันมะกอกในปริมาณเดียวกันโดยไม่เพิ่มแคลอรี่รวมที่ทานต่อวัน...
อ้างอิง
↑ "United States Department of Agriculture: "Grading Manual for Olive Oil and Olive-Pomace Oil" " . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-10-31. สืบค้นเมื่อ 2013-06-25 .
↑ 2.0 2.1 Davidson, s.v. Olives
↑ "International Olive Council" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-10-26. สืบค้นเมื่อ 2011-10-05 .
↑ Schuster, Ruth (2014-12-17). "8,000-year old olive oil found in Galilee, earliest known in world" . Haaretz. สืบค้นเมื่อ 2014-12-17 .
↑ Galili, Ehud; Stanley, Daniel Jean; Sharvit, Jacob; Weinstein-Evron, Mina (December 1997). "Evidence for Earliest Olive-Oil Production in Submerged Settlements off the Carmel Coast, Israel". Journal of Archaeological Science . 24 (12): 1141–1150. doi :10.1006/jasc.1997.0193 .
↑ Riley, FR (2002). "Olive Oil Production on Bronze Age Crete: Nutritional properties, Processing methods, and Storage life of Minoan olive oil". Oxford Journal of Archaeology . 21 (1): 63–75.
↑
Besnarda, Guillaume; Bervillé, André (February 2000). "Multiple origins for Mediterranean olive (Olea europaea L. ssp. europaea ) based upon mitochondrial DNA polymorphisms". Comptes Rendus de l'Académie des Sciences—Series III—Sciences de la Vie . 323 (2): 173–181.
↑
Breton, Catherine; Tersac, Michel; Bervillé, André (November 2006). "Genetic diversity and gene flow between the wild olive (oleaster, Olea europaea L.) and the olive: several Plio-Pleistocene refuge zones in the Mediterranean basin suggested by simple sequence repeats analysis" . Journal of Biogeography . 33 (11): 1916.
↑ Brown, Nathaniel R (2011-06-11). "By the Rivers of Babylon: The Near Eastern Background and Influence on the Power Structures Ancient Israel and Judah" (PDF) . history.ucsc.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF ) เมื่อ 2014-08-10. สืบค้นเมื่อ 2014-07-30 .
↑ Gardiner, Alan H. (1916). Notes on the Story of Sinuhe . Paris: Librairie Honoré Champion.
↑ Castleden, Rodney (2005). The Mycenaeans . London and New York: Routledge. p. 107. ISBN 978-0-415-36336-5 . Huge quantities of olive oil were produced and it must have been a major source of wealth. The simple fact that southern Greece is far more suitable climatically for olive production may explain why the Mycenaean civilization made far greater advances in the south than in the north. The oil had a variety of uses, in cooking, as a dressing, as soap, as lamp oil, and as a base for manufacturing unguents.
↑ Skinner, Andrew C (2000). "Autumn, Olives, and the Atonement" . rsc.byu.edu. สืบค้นเมื่อ 2014-07-30 .
↑ Blásquez, JM (1992). "The Latest Work on the Export of Baetican Olive Oil to Rome and the Army" (PDF) . ceipac.ub.edu. สืบค้นเมื่อ 2014-07-30 .
↑
Scanlon, Thomas F (2005). Verstraete, BC; Provençal, V (บ.ก.). The Dispersion of Pederasty and the Athletic Revolution in sixth-century BC Greece . Same-Sex Desire and Love in Greco-Roman Antiquity and in the Classical Tradition of the West . Harrington Park Press.
↑
Kennell, Nigel M (2001). Joyal, Mark (บ.ก.). Most Necessary for the Bodies of Men: Olive Oil and its By-products in the Later Greek Gymnasium . In Altum: Seventy-Five Years of Classical Studies in Newfoundland . pp. 119–33.
↑ Himes, Norman E. (1963). The Medical History of Contraception . Gamut Press. p. 86-7.
↑
"Olive - Define Olive at Dictionary.com" . Dictionary.com .
↑
"Oil - Define Oil at Dictionary.com" . Dictionary.com .
↑ Fox, Travelling Heroes in the Epic Age of Homer , 2008:127.
↑ 20.0 20.1 Sturzenberger, Nicole (2007). "Olive Processing Waste Management: Summary" (PDF) . oliveoil.ucdavis.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF ) เมื่อ 2014-08-08. สืบค้นเมื่อ 2014-07-30 .
↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 "World Olive Oil Figures" . International Olive Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-12-06. สืบค้นเมื่อ 2018-12-26 .
↑ Oteros, J (2014). "Better prediction of Mediterranean olive production using pollen-based models" . Agronomy for Sustainable Development . 34 (3): 685–694. doi :10.1007/s13593-013-0198-x .
↑
"Economic Analysis of the Oil Sector" (PDF) . สืบค้นเมื่อ 2018-10-30 .
↑
"Economic Analysis of the Oil Sector" (PDF) . European Commission, Directorate-General for Agriculture and Rural Development. July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF ) เมื่อ 2017-08-29. สืบค้นเมื่อ 2018-12-26 .
↑ 25.0 25.1 Vivante, Lucy (2011). "Gruppo Pieralisi Powers World's Largest Olive Oil Mill in Jaén" . Olive Oil Times. สืบค้นเมื่อ 2015-11-09 .
↑ "Zeytinyağı üretimi artışında zirve Türkiye'nin" . milliyet.com. 2018-07-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-07-14. สืบค้นเมื่อ 2018-12-26 . (ตุรกี)
↑ "Olive oil production" . Prosodol, International Olive Oil Council. 2009. สืบค้นเมื่อ 2018-06-28 .
↑ "Proposal to Include Apulia's 'Plain of Olive Trees' on Unesco List" . Olive Oil Times . 2015-02-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-07-30. สืบค้นเมื่อ 2018-07-30 .
↑ "Tuscan Extra Virgin Olive Oil: A Product of Excellence" . www.discovertuscany.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-07-30 .
↑ "Associazione Nazionale Città dell'Olio - Citta dell'olio" . สืบค้นเมื่อ 2018-07-30 .
↑ "La marca Italia se queda con el aceite español. Noticias de Economía" . El Confidencial (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2017-10-19 .
↑ elEconomista.es. "Italia 'destapa' un fraude del aceite de oliva español vendido como italiano - elEconomista.es" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-10-19. สืบค้นเมื่อ 2017-10-19 .
↑
"La estafa del aceite de oliva virgen italiano - Cocinillas" . Cocinillas (ภาษาสเปนแบบยุโรป). 2014-01-31. สืบค้นเมื่อ 2017-10-19 .
↑
Blechman, Nicholas (2014). "Extra virgin Suicide" . The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331 . สืบค้นเมื่อ 2017-10-19 .
↑
Commission, European. "Authentication of olive oil" . ec.europa.eu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-10-19 .
↑
"EU Offers €5m to Fight Olive Oil Fraud" . Olive Oil Times . 2014-01-20. สืบค้นเมื่อ 2017-10-19 .
↑ Putinja, Isobel (2015-07-10). "Tunisian Olive Oil Exports Reach Record High" . Olive Oil Times. สืบค้นเมื่อ 2018-01-06 .
↑ "Tunisia Seeks Renewal Through the Olive Tree" . Olive Oil Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-06-15. สืบค้นเมื่อ 2018-02-24 .
↑
Schwager, Sarah (2010-08-31). "Australia Charts Five-Year Course for Olive Oil Industry" . Olive Oil Times.
↑
Chidgey, Margaret (2017-12-18). "IOC flags big increase in consumption of Australian olive oil" . The Olive Review. สืบค้นเมื่อ 2018-05-18 .
↑ Ramin, F. Martin (2013-10-18). "The Best Olive Oils Made in the U.S." Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2014-05-22 .
↑ Essid, Mohamed Yassine (2012). Chapter 2. History of Mediterranean Food . MediTerra: The Mediterranean Diet for Sustainable Regional Development . Presses de Sciences Po. pp. 51–69. ISBN 978-2724612486 .
↑ "Olive oil: Refined olive oils " . Australian Competition & Consumer Commission. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-09-18.
↑ Achitoff-Gray, Niki. "Cooking Fats 101: What's a Smoke Point and Why Does it Matter?: Smoke Point Index " . www.seriouseats.com . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-11-16.
↑ Grossman, A. J. (2007-09-27). "Behind a Mysterious Balm, a Self-Made Pharaoh" . The New York Times . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-08-25. สืบค้นเมื่อ 2013-04-05 .
↑ Nomikos, NN; Nomikos, GN; Kores, DS (2010). "The use of deep friction massage with olive oil as a means of prevention and treatment of sports injuries in ancient times" . Arch Med Sci . 6 (5): 642–5. doi :10.5114/aoms.2010.17074 . PMC 3298328 . PMID 22419918 .
↑ Shoji, K. (2013-02-26). "The Japanese woman's perpetual quest for perfect skin" . The New York Times . สืบค้นเมื่อ 2013-04-05 .
↑ Carpenter, P.; Richards, K. (2011). "Olive versus mineral oil". Community Practitioner : The Journal of the Community Practitioners' & Health Visitors' Association . 84 (2): 40–42. PMID 21388045 .
↑ Kiechl-Kohlendorfer, U.; Berger, C.; Inzinger, R. (2008). "The Effect of Daily Treatment with an Olive Oil/Lanolin Emollient on Skin Integrity in Preterm Infants: A Randomized Controlled Trial". Pediatric Dermatology . 25 (2): 174–178. doi :10.1111/j.1525-1470.2008.00627.x . PMID 18429773 .
↑ Danby, S. G.; Alenezi, T.; Sultan, A.; Lavender, T.; Chittock, J.; Brown, K.; Cork, M. J. (2013). "Effect of Olive and Sunflower Seed Oil on the Adult Skin Barrier: Implications for Neonatal Skin Care". Pediatric Dermatology . 30 (1): 42–50. doi :10.1111/j.1525-1470.2012.01865.x . PMID 22995032 .
↑ Moore, J; Kelsberg, G; Safranek, S (December 2012). "Clinical Inquiry: Do any topical agents help prevent or reduce stretch marks?". J Fam Pract . 61 (12): 757–8. PMID 23313995 .
↑ "Soap Making from Scratch Workshop" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2013-11-23 .
↑ "The olive essence" . สืบค้นเมื่อ 2013-11-23 .
↑
"Castile Olive Oil Soap, Spain, 2000 BCE" . smith.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-07-19. สืบค้นเมื่อ 2014-07-30 .
↑
"Synthesis of Soap from Olive Oil" (PDF) . webpages.uidaho.edu. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF ) เมื่อ 2018-07-19. สืบค้นเมื่อ 2014-07-30 .
↑
"California olive oil is worth the splurge" . ucanr.edu (Division of Agriculture and Natural Resources). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-07-19. สืบค้นเมื่อ 2014-07-30 .
↑ Sapra, Sameer; Rogach, Andrey L; Feldmann, Jochen (2006). "Phosphine-free synthesis of monodisperse CdSe nanocrystals in olive oil" . Journal of Materials Chemistry . 16 (33): 3391–3395. doi :10.1039/B607022A .
↑ "Olive Oil Times" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-02-05. สืบค้นเมื่อ 2014-09-13 .
↑ "New U.S. Olive Oil Standards in Effect Today" . Olive Oil Times . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-02-06. สืบค้นเมื่อ 2014-09-13 .
↑ Durant, John (2000-09-05). "U.S. Customs Department, Director Commercial Rulings Division - Country of origin marking of imported olive oil; 19 CFR 134.46; "imported by" language" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ 2019-01-04 .
↑
"Reference to HQ 560944 ruling of the Customs and Border Protection (CBP) on April 27, 1999 blending of Spanish olive oil with Italian olive oil in Italy does not result in a substantial transformation of the Spanish product " . United States International Trade Commission Rulings . 2006-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-02-11.
↑ 62.0 62.1 McGee, Dennis. "Deceptive Olive Oil Labels on Major Brands (includes photos)" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-11-18. สืบค้นเมื่อ 2008-11-09 .
↑ Francis, Raymond (1998). "The Olive Oil Scandal" (PDF) . beyondhealth.com . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF ) เมื่อ 2010-12-27. สืบค้นเมื่อ 2019-01-04 .
↑ Grossi, Marco; Lecce, Giuseppe Di; Toschi, Tullia Gallina; Ricco, Bruno (September 2014). "Fast and Accurate Determination of Olive Oil Acidity by Electrochemical Impedance Spectroscopy" (Submitted manuscript) . IEEE Sensors Journal . 14 (9): 2947–2954. doi :10.1109/JSEN.2014.2321323 .
↑ Grossi, Marco; Di Lecce, Giuseppe; Arru, Marco; Gallina Toschi, Tullia; Riccò, Bruno (February 2015). "An opto-electronic system for in-situ determination of peroxide value and total phenol content in olive oil" (Submitted manuscript) . Journal of Food Engineering . 146 : 1–7. doi :10.1016/j.jfoodeng.2014.08.015 .
↑ 66.0 66.1 66.2 Bendini, A; Cerretani, L; Carrasco-Pancorbo, A; Gómez-Caravaca, AM; Segura-Carretero, A; Fernández-Gutiérrez, A; Lercker, G (2007). "Phenolic molecules in virgin olive oils: a survey of their sensory properties, health effects, antioxidant activity and analytical methods. An overview of the last decade" . Molecules . 12 (8): 1679–719. doi :10.3390/12081679 . PMID 17960082 .
↑ 67.0 67.1 67.2 67.3 67.4 "The 101 of olive oil designations and definitions" . Australian Olive Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-08-12. สืบค้นเมื่อ 2015-03-15 .
↑ "Designations and definitions of olive oils" . International Olive Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-12-03. สืบค้นเมื่อ 2012-12-01 .
↑ "What is extra virgin olive oil?" . Olive Oil Times. 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-08-28. สืบค้นเมื่อ 2018-02-08 .
↑ 70.0 70.1 "Olive Oil Production" . Prosodol. สืบค้นเมื่อ 2016-11-27 .
↑ "Olive Oil and Olive-Pomace Oil Grades and Standards" . United States Department of Agriculture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-11-11. สืบค้นเมื่อ 2018-12-26 .
↑ 72.0 72.1 "United States Standard for Grades of Olive Oil and Olive-Pomace Oil" (PDF) . United States Department of Agriculture. 2010-04-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF ) เมื่อ 2017-05-16. สืบค้นเมื่อ 2018-12-26 .
↑ "Bone density scan ... Olive oil ... Bursitis". Women's Health Advisor . 14 (7): 8. 2010.
↑ Bogle, Deborah; Mueller, Tom (2012-05-12). "Losing our Virginity". The Advertiser . Adelaide, South Australia. pp. 11–14. {{cite news }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ "Health Diaries" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-05-28. สืบค้นเมื่อ 2014-09-13 .
↑ "California Olive Ranch" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-11-17. สืบค้นเมื่อ 2014-09-13 .
↑ Προϊόντα Προστατευόμενης Ονομασίας Προέλευσης και Προστατευόμενης Γεωγραφικής Ένδειξης [Protected Designation of Origin and Protected Geographical Indication] (ภาษากรีก). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ กรกฎาคม 21, 2011. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 9, 2011 .
↑ Drummond, Linda, Sunday Telegraph (Australia), October 17, 2010 Sunday, Features; p. 10.
↑ "Report SCUSI, LEI E' VERGINE?" . rai.it . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-11-12.
↑ Mueller, Tom (2007-08-13). "Slippery Business" . The New Yorker .
↑ 81.0 81.1 "EUbusiness.com" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-03-09.
↑ 82.0 82.1 Moore, Malcolm (2007-05-07). "Murky Italian olive oil to be pored over" . The Daily Telegraph . London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-11-15. สืบค้นเมื่อ 2010-05-20 .
↑ "草刈りは定期的に" . Novaoliva.com. 2013-02-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-11-17. สืบค้นเมื่อ 2013-05-21 .
↑ Moore, Malcolm (2008-03-05). "Italian police crack down on olive oil fraud" . The Daily Telegraph . London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-11-15. สืบค้นเมื่อ 2010-05-20 .
↑ Pisa, Nick (2008-04-22). "Forty arrested in new 'fake' olive oil scam" . The Scotsman . Edinburgh.
↑ "Investigations Into Deodorized Olive Oils" . Olive Oil Times . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-11-07. สืบค้นเมื่อ 2014-09-13 .
↑ "Spanish Police Say Palm, Avocado, Sunflower Was Passed Off as Olive Oil" . Olive Oil Times . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-02-06.
↑ Nadeau, Barbie Latza (2015-11-14). "Has the Italian Mafia Sold You Fake Extra Virgin Olive Oil?" . The Daily Beast .
↑ Mueller, Tom (2007-08-13). "Slippery Business" . The New Yorker . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-12-12. สืบค้นเมื่อ 2016-01-28 .
↑ Whitaker, Bill. (3 January 2016). "Agromafia" . 60 Minutes. Retrieved 3 January 2016. 10-minute video
↑ "Mafia Control of Olive Oil the Topic of '60 Minutes' Report" . Olive Oil Times . 2016-01-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-11-09. สืบค้นเมื่อ 2016-01-28 . . Summary of CBS video
↑ "Italy Arrests 33 Accused of Olive Oil Fraud" . Olive Oil times . 2017-02-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-09-20.
↑ "Don't fall victim to olive oil fraud" . cbs news . 2016-01-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-10-16.
↑ "The Olive Oil Scam: If 80% Is Fake, Why Do You Keep Buying It?" . Forbes . 2016-02-10.
↑ "Olive Oil Consumption" . About Olive Oil . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-11. สืบค้นเมื่อ 2015-07-10 .
↑ "California and World Olive Oil Statistics" (PDF) . UC Davis . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2009-03-27. (Current link เก็บถาวร 2014-05-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , Archive link to old address )
↑ 97.0 97.1 Williamson, Daniel (2010-09-09). "Olive Pomace Oil: Not What You Might Think" . Olive Oil Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-11-04.
↑ Hansen, Catherine (2014-08-13). "Environmental Impact of Olive Oil Processing Wastes" . EcoMENA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-03-07. สืบค้นเมื่อ 2017-04-05 .
↑ 99.0 99.1 99.2 99.3 99.4
"Olive Oil : Chemical Characteristics" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-11-16.
↑ 100.0 100.1
Beltran (2004). "Influence of Harvest Date and Crop Yield on the Fatty Acid Composition of Virgin Olive Oils from Cv. Picual" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF ) เมื่อ 2018-06-12.
↑ "The phenolic compounds of olive oil: structure, biological activity and beneficial effects on human health" . สืบค้นเมื่อ 2014-09-13 .
↑ Genovese, A; Caporaso, N; Villani, V; Paduano, A; Sacchi, R (2015). "Olive oil phenolic compounds affect the release of aroma compounds". Food Chem . 181 : 284–94. doi :10.1016/j.foodchem.2015.02.097 . PMID 25794752 .
↑ Lozano-Sánchez J; Castro-Puyana M; Mendiola JA; Segura-Carretero A; Cifuentes A; Ibáñez E (2014). "Recovering bioactive compounds from olive oil filter cake by advanced extraction techniques" . Int J Mol Sci . 15 (9): 16270–83. doi :10.3390/ijms150916270 . PMC 4200768 . PMID 25226536 .
↑
Owen, RW; Giacosa, A; Hull, WE; Haubner, R; Spiegelhalder, B; Bartsch, H (2000). "The antioxidant/anticancer potential of phenolic compounds isolated from olive oil". European Journal of Cancer . 36 (10): 1235–1247. doi :10.1016/S0959-8049(00)00103-9 . PMID 10882862 .
↑
Owen, RW; Mier, W; Giacosa, A; Hull, WE; Spiegelhalder, B; Bartsch, H (2000). "Identification of lignans as major components in the phenolic fraction of olive oil" . Clinical Chemistry . 46 (7): 976–988.
↑ "NDL/FNIC Food Composition Database Home Page" . Nal.usda.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-03-03. สืบค้นเมื่อ 2013-05-21 .
↑ 107.0 107.1 Schwingshackl, L; Hoffmann, G (2014). "Monounsaturated fatty acids, olive oil and health status: A systematic review and meta-analysis of cohort studies" . Lipids in Health and Disease . 13 : 154. doi :10.1186/1476-511X-13-154 . PMC 4198773 . PMID 25274026 .
↑ Keys, A; Menotti A; Karvonen MJ; และคณะ (December 1986). "The diet and 15-year death rate in the seven countries study" . Am. J. Epidemiol . 124 (6): 903–15. PMID 3776973 .
↑ Buckland, G; González, CA (Apr 2015). "The role of olive oil in disease prevention: a focus on the recent epidemiological evidence from cohort studies and dietary intervention trials" . Br J Nutr (Review). 113 Suppl 2: S94-101. doi :10.1017/S0007114514003936 . PMID 26148926 .
↑ European Food Safety Authority (2011). "Scientific Opinion on the substantiation of health claims related to polyphenols in olive". EFSA Journal . 9 (4): 2033. doi :10.2903/j.efsa.2011.2033 .
↑
European Food Safety Authority (2011). "Scientific Opinion on the substantiation of health claims related to oleic acid intended to replace saturated fatty acids (SFAs) in foods or diets". EFSA Journal . 9 (4): 2043. doi :10.2903/j.efsa.2011.2043 .
↑
"Commission Regulation (EU) No 432/2012 of 16 May 2012 establishing a list of permitted health claims made on foods, other than those referring to the reduction of disease risk and to children's development and health. Text with EEA relevance" . Official Journal of the European Union . สืบค้นเมื่อ 2016-08-31 .
↑ Scientific Committee/Scientific Panel of the European Food Safety Authority (2011). "Scientific Opinion on the substantiation of health claims related to olive oil and maintenance of normal blood LDL-cholesterol concentrations (ID 1316, 1332), maintenance of normal (fasting) blood concentrations of triglycerides (ID 1316, 1332), maintenance of normal blood HDL cholesterol concentrations (ID 1316, 1332) and maintenance of normal blood glucose concentrations (ID 4244) pursuant to Article 13(1) of Regulation (EC) No 1924/2006". EFSA Journal . 9 (4): 2044 [19 pp]. doi :10.2903/j.efsa.2011.2044 .
↑ Psaltopoulou, T; Kosti, RI; Haidopoulos, D; Dimopoulos, M; Panagiotakos, DB (2011). "Olive oil intake is inversely related to cancer prevalence: a systematic review and a meta-analysis of 13,800 patients and 23,340 controls in 19 observational studies" . Lipids Health Dis . 10 : 127. doi :10.1186/1476-511X-10-127 . PMC 3199852 . PMID 21801436 .
↑ George, Elena S.; Marshall, Skye; Mayr, Hannah L.; Trakman, Gina L.; Tatucu-Babet, Oana A.; Lassemillante, Annie-Claude M.; Bramley, Andrea; Reddy, Anjana J.; Forsyth, Adrienne (2018-04-30). "The effect of high-polyphenol extra virgin olive oil on cardiovascular risk factors: a systematic review and meta-analysis". Critical Reviews in Food Science and Nutrition : 1–138. doi :10.1080/10408398.2018.1470491 . ISSN 1549-7852 . PMID 29708409 .
↑ Schwingshackl, L; Hoffmann, G (2014-10-01). "Monounsaturated fatty acids, olive oil and health status: a systematic review and meta-analysis of cohort studies" . Lipids Health Dis (Review). 13 : 154. doi :10.1186/1476-511X-13-154 . PMC 4198773 . PMID 25274026 .
↑
"FDA Allows Qualified Health Claim to Decrease Risk of Coronary Heart Disease" . US Food and Drug Administration. November 2004. สืบค้นเมื่อ 2013-04-05 .
↑
Brackett, RE (November 2004). "Letter Responding to Health Claim Petition dated August 28, 2003: Monounsaturated Fatty Acids from Olive Oil and Coronary Heart Disease (Docket No 2003Q-0559)" . US Food and Drug Administration. สืบค้นเมื่อ 2013-04-05 .
แหล่งข้อมูลอื่น
Caruso, Tiziano / Magnano di San Lio, Eugenio (eds.). La Sicilia dell'olio , Giuseppe Maimone Editore, Catania, 2008,
Davidson, Alan. The Oxford Companion to Food , Oxford, 1999.
Mueller, Tom. Extra Virginity - The Sublime and Scandalous World of Olive Oil , Atlantic Books, London, 2012.
Pagnol, Jean. L'Olivier , Aubanel, 1975.
Palumbo, Mary; Linda J. Harris (December 2011) "Microbiological Food Safety of Olive Oil: A Review of the Literature" (PDF), University of California, Davis
Preedy, V.R. / Watson, R.R. (eds.). Olives and Olive Oil in Health and Disease Prevention , Academic Press, 2010.
Rosenblum, Mort. Olives: The Life and Lore of a Noble Fruit , North Point Press, 1996.
CODEX STAN 33-1981 Standard for Olive Oils and Olive Pomace Oils