Share to:

 

ซี-130 เฮอร์คิวลิส

ซี-130 เฮอร์คิวลิส
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทอากาศยานขนส่งทางทหาร
ชาติกำเนิด สหรัฐอเมริกา
บริษัทผู้ผลิตล็อกฮีด
ล็อกฮีด มาร์ติน
สถานะอยู่ในการผลิต
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศสหรัฐ
กองนาวิกโยธินสหรัฐ
กองทัพอากาศอังกฤษ
ผู้ใช้รายอื่น
จำนวนที่ผลิต2,262 ลำในปีพ.ศ. 2549[1]
ประวัติ
เริ่มใช้งานธันวาคม พ.ศ. 2500
สายการผลิตซี-130เจ ซูเปอร์เฮอร์คิวลิส
เอซี-130 สเปกเตอร์/สปูคกี้
ล็อกฮีด ดีซี-130
ล็อกฮีด อีซี-130
ล็อกฮีด เอชซี-130
ล็อกฮีด แอลซี-130
ล็อกฮีด เอ็มซี-130
ล็อกฮีด ดับบลิวซี-130

ซี-130 เฮอร์คิวลิส (อังกฤษ: Lockheed C-130 Hercules) เป็นเครื่องบินลำเลียงใช้เครื่องยนต์เทอร์โบใบพัด 4 เครื่องยนต์ ได้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายและยาวนานที่สุด เครื่องเฮอร์คิวลิสบินครั้งแรกเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2497 เริ่มประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐ เมื่อพ.ศ. 2497 เฮอร์คิดลิสได้รับการพัฒนาตลอดมา และใช้กันในหลายประเทศ[2]

ในปี พ.ศ. 2511 เฮอร์คิวลิสได้เริ่มเข้าสู่การบินพาณิชย์โดยกำหนดสัญลักษณ์ใหม่สำหรับรุ่นใช้งานทางพลเรือนเป็น ล็อกฮีดแอล 100 เฮอร์คิวลิส ซึ่งมีลำตัวยาวกว่าเฮอร์คิวลิสทางการทหาร และต่อมาได้มีการพัฒนาเฮอร์คิวลิส เป็นเครื่องบินลำเลียงชั้นสูง ชื่อรุ่นว่า แอ็ดวานซ์ เฮอร์คิวลิส [2]

ตลอดการใช้งานของมันเครื่องตระกูลเฮอร์คิวลิสนั้นได้ทำหน้าที่ในกองทัพของหลายประเทศ ทั้งปฏิบัติการพลเรือนและช่วยเหลือมนุษย์ มันเป็นตระกูลที่มีการผลิตต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์เครื่องบินทางทหาร ในปีพ.ศ. 2550 ซี-130 ได้กลายมาเป็นเครื่องบินลำที่ห้า ต่อจากอิงลิช อิเลคทริก แคนเบอร์รา บี-52 สตราโตฟอร์เทรส ตูโปเลฟ ตู-95 และเคซี-135 สตราโตแทงค์เกอร์ ที่ถูกใช้ติดต่อกัน 50 ปีโดยกองทัพอากาศสหรัฐ ซี-130 ยังเป็นอากาศยานทางทหารเพียงแบบเดียวที่ยังคงทำการผลิตมา 50 ปีโดยลูกค้ารายเดิม จนได้พัฒนาเป็นซี-130เจ ซูเปอร์เฮอร์คิวลิส

ในประเทศไทย ซี-130 เป็นเครื่องบินของกองทัพอากาศเข้าประจำการในปี พ.ศ. 2523 ให้บริการสำหรับขนส่งข้าราชการของหน่วยงานรัฐ ที่ต้องไปราชการหรือปฏิบัติภารกิจตามหัวเมืองต่าง ๆ และภารกิจอื่นอีกมากมาย เช่น ภารกิจสำนักพระราชวัง ลงตรวจพื้นที่ที่ได้รับภัยพิบัติธรรมชาติ รับ-ส่งคณะ ครม. สับเปลี่ยนกำลังพล ลำเลียงผู้เสียชีวิต ฯลฯ มีชื่อเรียกอย่างติดตลกในหมู่นักข่าวว่า "หมูหิน" เนื่องจากรูปร่างในส่วนหัวเครื่องที่มีส่วนจมูกยื่นออกมาสีดำคล้ายหมู ส่วนลำตัวที่ดูอ้วนๆ และด้วยการที่มันสามารถปฏิบัติภารกิจหนักๆ ต่างๆ ได้อย่างมากมายเกินความคุ้มค่า[ต้องการอ้างอิง]

การพัฒนา

เบื้องหลังและความต้องการ

ในสงครามเกาหลีที่เริ่มขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2493 ได้แสดงให้เห็นว่ายานขนส่งจากสงครามโลกครั้งที่สอง อย่าง ซี-119 ฟลายอิ่งบ็อกซ์คาร์ ซี-47 สกายเทรน และซี-46 คอมมานโด เริ่มไม่เหมาะกับสงครามยุคใหม่ ดังนั้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 กองทัพอากาศสหรัฐจึงทำการประกาศหาเครื่องบินขนส่งแบบใหม่ต่อโบอิง ดักลาส แฟร์ไชลด์ ล็อกฮีด มาร์ติน เชส แอร์คราฟท์ นอร์ธ อเมริกัน นอร์ทธรอป และแอร์ลิฟท์ อิงค์ เครื่องบินขนส่งลำใหม่นี้จะสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 95 คน ทหาร 72 นายหรือพลร่ม 64 นาย โดยมีพิสัย 2,000 กิโลเมตร สามารถบินขึ้นจากลานบินสั้นๆ ได้ และสามารถบินได้โดยใช้เพียงเครื่องยนต์เดียว

แฟร์ไชลด์ นอร์ธ อเมริกัน มาร์ติน และนอร์ทธรอปได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วม ทำให้เหลืออีกห้าบริษัทพร้อมแบบทั้งสิบ ล็อกฮีดสองแบบ โบอิงหนึ่งแบบ เชสสามแบบ ดักลาสสามแบบ แอร์ลิฟท์หนึ่งแบบ การแข่งขันนั้นสูสีกันมากระหว่างล็อกฮีดสองแบบที่ขนาดเบากว่าและแบบของดักลาสที่มีสี่เครื่องยนต์

ทีมออกแบบของล็อกฮีดนำโดยวิลลิส ฮอร์คกินส์ เริ่มด้วยข้อเสนอ 130 หน้าสำหรับล็อกฮีด แอล-206 และแบบสองเครื่องยนต์กับอีกแบบที่ขนาดใหญ่กว่า[3] ฮอล ฮิบบาร์ด รองประธานล็อกและหัวหน้าวิศรกรของล็อกฮีด ได้เห็นข้อเสนอและส่งมันให้กับเคลลี่ จอห์นสัน ทั้งฮิบบาร์ดและจอห์สันได้เซ็นข้อเสนอและบริษัทก็ชนะสัญญาสำหรับการออกแบบโมเดล 82 ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2494[4]

การบินครั้งแรกของวายซี-130 เกิดขึ้นในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2497 วายซี-130 ที่บินโดยแสตนลีย์ เบลซ์และรอย วิมเมอร์ทำการบินนาน 61 นาทีไปยังฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด แจ็ค เรียลและดิกแสตนตันได้ทำหน้าที่เป็นวิศวกรการบิน เคลลี่ จอห์นสันได้บินเครื่องพี2วี เนปจูนของเชส[5]

การผลิต

หลังจากที่ต้นแบบทั้งสองสมบูรณ์ การผลิตก็เริ่มขึ้นในจอร์เจีย ที่ซึ่งมีซี-130 มากกว่า 2,300 ถูกสร้างขึ้น[6]

แบบแรกๆ ที่ทำการผลิตคือเอซี-130เอ ใช้เครื่องยนต์อัลลิสัน ที56-เอ-9 ที่มีสามใบพัด การส่งมอบเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2499 โดยต่อไปจนถึงการมาของซี-130บีในปีพ.ศ. 2502 บางรุ่นมีชื่อใหม่ว่าซี-130ดีหลังจากที่ทำการติดตั้งสกีเข้าไป รุ่นบีที่ใหม่กว่ามีแพนปีกที่เสริมการเร่งจาก 2,050 ปอนด์ต่อตารางนิ้วเป็น 3,000 ปอนต่อตารางนิ้ว เช่นเดียวกันกับการปรับเครื่องยนต์และใบพัดทั้งสี่ซึ่งเป็นมาตรฐานมาจนถึงรุ่นเจ

ซี-130เอ

ซี-130 ชุดแรกที่ทำการผลิตเรียกว่ารุ่นเอ ซึ่งส่งมอบให้กับฝูงบินขนส่งทหารที่ 463 ที่ฐานทัพอากาศอาร์ดมอร์รัฐโอกลาโฮมาและฝูงบินขนส่งทหารที่ 314 ที่ฐานทัพอากาศสจ๊วตรัฐเทนเนสซี ฝูงบินอีกหกฝูงถูกรวมเป็นกองบินที่ 332 ในยุโรปและกองบินที่ 315 ในตะวันออกไกล เครื่องบินลำอื่นถูกดัดแปลงเพื่องานข่าวกรองและส่งให้กับฐานทัพอากาศไร-แมง เยอรมนีได้ดัดแปลงอาร์ซี-130เอเพื่อทำงานถ่ายภาพทางอากาศ เครื่องบินที่ติดตั้งสกีถูกตั้งชื่อว่าซี-130ดี แต่มักจะเป็นรุ่นเอยกเว้นว่าจะมีการดัดแปลง ซี-130เอได้กลายมาเป็นทางเลือกให้กับการบัญชาการกำลังทางอากาศยุทธวิธี ด้วยการเพิ่มถังเชื้อเพลิงเข้าไปเพื่อให้มันทำหน้าที่เติมเชื้อเพลิงทางอากาศ รุ่นเอนั้นยังคงทำหน้าที่ของมันตลอดสงครามเวียดนาม ที่ซึ่งเครื่องบินทำงานให้กับสี่ฝูงบินที่ฐานทัพอากาศนาฮา โอกินาวาและอีกหนึ่งที่ฐานทัพอากาศทาชิกาวะ ญี่ปุ่นได้ใช้มันในปฏิบัติการพิเศษเหนือลาวและเวียดนามเหนือ รุ่นเอยังได้ทำหน้าที่ในกองทัพอากาศเวียดนามใต้ในช่วงท้ายของสงครามอีกด้วย และมันได้เข้าร่วมกับสามฝูงบิน ผู้ใช้งานรายสุดท้ายในโลกคือกองทัพอากาศฮอนดูรัสซึ่งยังคงใช้รุ่นเออยู่[ต้องการอ้างอิง]

ซี-130บี

รุ่นบีนั้นพัฒนาขึ้นมาเพื่อเติมเต็มรุ่นเอซึ่งถูกส่งมอบไปก่อนหน้า และมันมีจุดเด่นใหม่ๆ โดยเฉพาะความจุเชื้อเพลิงเพื่อทำหน้าที่เติมเชื้อเพลิง มีการใช้ใบพัดฮาร์ทเซลแบบสี่ใบพัดแทนที่แบบเก่าที่มีสามใบพัด รุ่นบีได้เข้ามาแทนที่รุ่นเอในฝูงบินขนส่งทหารที่ 314 และ 463 ในสงครามเวียดนามมีสี่ฝูงบินที่เข้าร่วมกับฝูงบินขนส่งทหารทางยุทธวิธีที่ 463 ที่ตั้งฐานอยู่ที่สนามบินคลาร์กและแมกแทนในฟิลิปปินส์ มันถูกใช้เพื่อการลำเลียงทางอากาศในเวียดนามใต้ ในปีพ.ศ. 2512 ได้มีภารกิจทิ้งระเบิดเอ็ม-121 ขนาด 4,534 กิโลกรัมเพื่อเคลียร์ทางให้กับเฮลิคอปเตอร์ เมื่อสงครามเวียดนามสิ้นสุดลงรุ่นบีของฝูงบินที่ 463 และรุ่นเอของฝูงบินที่ 374 ก็ถูกย้ายกลับไปยังสหรัฐซึ่งพวกมันส่วนมากถูกมอบให้กับกองกำลังสำรองทางอากาศและยามชายฝั่ง อีกบทบาทหนึ่งของรุ่นบีคือนาวิกโยธิน ซึ่งมันได้ทำหน้าที่แทนซี-119 หลังจากที่ซี-130ดีของกองทัพอากาศได้พิสูจน์ว่ามันมีประโยชน์ในแอนตาร์กติกา กองทัพเรือสหรัฐก็ได้ซื้อรุ่นบีจำนวนมากที่มีสกีโดยใช้ชื่อว่าแอลซี-130

แบบสอดแนมอิเลคทรอนิกของซี-130บีถูกเรียกว่าซี-130บี-2 มี 13 ลำที่ถูกดัดแปลงและใช้งานภายใต้โครงการซันแวลลีย์ พวกมันปฏิบัติการที่ฐานทัพอากาศโยโกตาในญี่ปุ่นเป็นหลัก ทั้งหมดถูกเปลี่ยนเป็นซี-130บีรุ่นมาตรฐานหลังจากที่เข้ามาแทนที่เครื่องบินลาดตระเวนแบบอื่น ซี-130บี-2 มีจุดเด่นที่ถังเชื้อเพลิงเพิ่มในปีกของมัน ซึ่งมีเสาอากาศข่าวกรองติดตั้งอยู่ กระเปาะนั้นมีขนาดใหญ่กว่าถังแบบมาตรฐานของรุ่นบีเล็กน้อย เครื่องบินส่วนใหญ่มีจุดเด่นที่เสาอากาศลู่บนลำตัวส่วนบน เช่นเดียวกับเสาอากาศแบบสายที่อยู่ระหว่างครีบกับลำตัวส่วนบนที่ไม่มีในซี-130 รุ่นอื่น การเรียกหมายเลขบนหางของเครื่องจะเปลี่ยนไปเรื่อยเพื่อทำให้เกิดการสับสนและปิดบังภารกิจที่แท้จริงของมัน

ซี-130อี

รุ่นอีที่มีพิสัยไกลขึ้นนั้นได้เข้าประจำการในปีพ.ศ. 2505 หลังจากที่พัฒนาเป็นพาหนะขนส่งระยะไกลให้กับกองทัพ โดยเฉพาะในรุ่นบี การตั้งชื่อใหม่มาจากการติดตั้งถังเชื้อเพลิงขนาด 1,360 แกลลอนใต้ปีกแต่ละข้าง และเครื่องยนต์ใบพัดอัลลิสัน ที-56-เอ-7เอที่ทรงพลังกว่าเดิม รุ่นอียังมีจุดเด่นที่โครงสร้างซึ่งได้รับการพัฒนา ระบบอิเลคทรอนิกอากาศ และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

ซี-130เอฟ เคซี-130เอฟ และซี-130จี

เคซี-130 เป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงที่มาจากซี-130เอฟที่สร้างมาเพื่อนาวิกโยธินสหรัฐในปีพ.ศ. 2501 โดยติดตั้งถังเชื้อเพลิงขนาด 3,600 แกลลอนที่ถอดออกได้ซึ่งอยู่ด้านในส่วนเก็บสินค้า ปีกทั้งสองมีท่อเติมเชื้อเพลิงที่จะส่งเชื้อเพลิงได้ 300 แกลลอนต่อนาทีให้กับอากาศยานได้สองลำพร้อมๆ กัน ซี-130จีได้มีการเพิ่มความแข็งแกร่งทางโครงสร้างเข้าไปเพื่อให้รับน้ำหนักได้มากขึ้น

ซี-130เอช

ซี-130เอชของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น

รุ่นเอชนั้นได้พัฒนาเครื่องยนต์ใบพัดอัลลิสัน ที56-เอ-15 ปีกด้านนอกที่ออกแบบใหม่ ระบบอิเลคทรอนิกอากาศใหม่ และยังมีการพัฒนาอื่นๆ อีกเล็กน้อย ต่อมารุ่นเอชมีการพัฒนาอายุการใช้งานและปีกส่วนกลางซึ่งแตกต่างจากเอชรุ่นเดิม รุ่นเอชยังคงถูกใช้อย่างกว้างขวางโดยกองทัพอากาศสหรัฐและประเทศอื่นๆ การส่งมอบครั้งแรกๆ เริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2507 โดยผลิตจนถึงปีพ.ศ. 2539 รุ่นเอชนั้นถูกพัฒนาเป็นรุ่นใหม่ในปีพ.ศ. 2517

ยามชายฝั่งสหรัฐใช้เอชซี-130เอชสำหรับการค้าหาและช่วยเหลือระยะไกล การสกัดกั้นการลักลอบขนส่งยา การลาดตระเวนหาผู้ลี้ภัยผิดกฎหมาย รักษาดินแดน และขนส่ง

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2535-2539 ซี-130เอชถูกเรียกว่าซี-130เอช3 โดยกองทัพอากาศสหรัฐ 3 นั้นหมายถึงการออกแบบครั้งที่สามของรุ่นเอช การพัฒนารวมทั้งห้องนักบิน เรดาร์เอพีเอ็น-241 ไฟมองกลางคืน และระบบอิเลคทรอนิกที่ให้พลังสะอาดกับส่วนประกอบใหม่ๆ ที่บอบบาง

ซี-130เค

เป็นรุ่นส่งออกให้กับสหราชอาณาจักร มันถูกเรียกว่าเฮอร์คิวลิส ซี.1 โดยกองทัพอากาศอังกฤษ มันเหมือนกับเฮอร์คิวลิสรุ่นดั้งเดิม

ซี-130 รุ่นอื่น

เอชซี-130บีของกองทัพอากาศสหรัฐที่เติมเชื้อเพลิงให้กับเอชเอช-60จี เพฟฮอว์ก

เอชซี-130พี/เอ็นเป็นแบบค้นหาและช่วยเหลือพิสัยไกลที่ใช้โดยกองทัพอากาศสหรัฐซึ่งพัฒนามาจากเอชซี-130พีรุ่นก่อนหน้า มันสามารถขนหน่วยกู้ภัยพลร่ม อุปกรณ์ช่วยชีวิต และเชื้อเพลิงสำหรับเติมให้กับเฮลิคอปเตอร์โจมตี เอชซี-130 มักถูกใช้เป็นเครื่องบินบัญชาการสำหรับภารกิจค้นหาและช่วยเหลือ ในรุ่นแรกๆ จะมีรอกที่ออกแบบมาเพื่อดึงคนขึ้นมาโดยใช้ลวดที่แขวนกับบอลลูนฮีเลียม ในภาพยนตร์เรื่องเดอะ กรีน เบเร่ต์สของจอห์น เวย์นได้แสดงให้เห็นเช่นกัน มันเรียกว่าระบบฟุลตันที่ต่อมาถูกนำออกเมื่อการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศให้กับเฮลิคอปเตอร์นั้นปลอดภัยกว่าและมีประโยชน์มากกว่า ในภาพยนตร์เรื่องเดอะ เพอร์เฟ็ค สตอร์มได้แสดงให้เห็นภารกิจค้นหาและช่วยเหลือที่มีการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศให้กับเอชเอช-60จีโดยเอชซี-130พี

ซี-130อาร์และซี-130ทีเป็นรุ่นของกองทัพเรือและนาวิกโยธินสหรัฐ ทั้งสองแบบติดตั้งถังเชื้อเพลิงไว้ใต้ปีก ของกองทัพเรือจะมีระบบอิเลคทรอนิกอากาศที่พัฒนาอีกเล็กน้อย ทั้งสองรุ่นใช้เครื่องยนต์อัลลิสัน ที-56-เอ-16 ของนาวิกโยธินใช้ชื่อเคซี-130อาร์หรือเคซี-130ทีเมื่อติดตั้งแท่นเติมเชื้อเพลิงและระบบมองกลางคืน

อาร์ซี-130 เป็นรุ่นสำหรับการสอดแนม มันถูกใช้โดยกองทัพอากาศอิหร่าน

ล็อกฮีด แอล-100 เป็นแบบของพลเรือน มันเหมือนกับรุ่นอีโดยปราศจากที่ติดตั้งถังเชื้อเพลิงหรืออุปกรณ์ทางทหาร แอล-100 มีสองรุ่น คือ แอล-100-20 ที่มีลำตัวขนาด 2.5 เมตร และแอล-100-30 ที่มีขนาด 4.6 เมตร แอล-100 นั้นไม่เป็นที่นิยมนักในตลาดแต่มักถูกใช้โดยสายการบินขนส่ง แอล-100 ยังถูกใช้โดยคูเวตและซาอุดิอาระเบีย

รุ่นในอนาคต

ในทศวรรษที่ 2513 ล็อกฮีดได้ยื่นข้อเสนอซี-130 ที่มีเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแทนเครื่องยนต์ใบพัด แต่กองทัพอากาศสหรัฐต้องการเครื่องบินที่มีการบินขึ้นที่แตกต่างซึ่งมีอยู่แล้วมากกว่า ในปีทศวรรษที่ 2523 ซี-130 มีแนวโน้มที่จะถูกแทนที่โดยโครงการยานขนส่งขึ้น-ลงในระยะสั้น โครงการถูกยกเลิกและซี-130 ก็ยังคงถูกผลิตต่อไป

ในทศวรรษที่ 2533 ซี-130เจ ซูเปอร์เฮอร์คิวลิสได้ถูกสร้างขึ้นโดยล็อกฮีด รุ่นนี้เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดและมีแค่ลำเดียวที่ผลิตออกมา ภายนอกนั้นเหมือนกับเฮอร์คิวลิสทั่วไป แต่รุ่นเจนั้นมีเครื่องยนต์ใบพัดแบบใหม่ ที่มีหกใบพัด ระบบอิเลคทรอนิกอากาศแบบดิจิตอล และระบบใหม่อื่นๆ

ประวัติการใช้งาน

เฮอร์คิวลิสที่กำลังปล่อยพลุที่เรียกว่าแองเจิล แฟลร์ส (Angel Flares ) เพราะรูปร่างของมัน

เฮอร์คิวลิสนั้นเป็นเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดและหนักที่สุดบนเรือบรรทุกเครื่องบิน[7] ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน พ.ศ. 2506 เคซี-130เอฟได้ลงจอดบนเรือยูเอสเอส ฟอร์เรสทัล[8] นักบินเจมส์ แฟลทลีย์ที่ 3 ได้รับรางวัลเหรียยกล้าหาญในการบินในการให้ความร่วมมือในครั้งนั้น การทดสอบประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่มันก็ยังความคิดที่เสี่ยงเกินไป ดังนั้นซี-2 เกรย์ฮาวด์จึงถูกใช้ทำหน้าที่แทน เฮอร์คิวลิสลำดังกล่าวถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์การบินทางทะเลที่ฟลอริดา

ในขณะที่ซี-130 ทำหน้าที่ลำเลียงและขนเสบียงรายวัน มันก็ยังเป็นส่วนหนึ่งในปฏิบัติการรุกที่มีชื่อเสียงเช่นกัน

เอซี-130 ยังได้ทำสถิติเป็นเครื่องบินที่บินนานที่สุด ตั้งแต่วันที่ 22-24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 เอซี-130ยูสองลำได้ทำการบิน 36 ชั่วโมงจากฐานบินในฟลอริดาไปยังเมืองเดกูในเกาหลีใต้ในขณะที่ทำการเติมเชื้อเพลิงไป 7 ครั้ง กันชิปได้ถูกใช้มาตั้งแต่สงครามเวียดนาม ยกเว้นการทิ้งระเบิดลิเบียในปีพ.ศ. 2529[9]

เอ็มซี-130 คอมแบททาลอนถูกใช้เพื่อการทิ้งระเบิดขนาดหนักที่สุดโลก บีแอลยู-82 และจีบียู-43/บี แบบแรกถูกใช้ในสงครามเวียดนามเพื่อเคลียร์ทางลงจอดให้กับเฮลิคอปเตอร์และกำจัดทุ่งกับระเบิด น้ำหนักและขนาดของอาวุธทำให้มันเป็นไปไม่ได้ที่จะบรรทุกมันบนเครื่องบินทิ้งระเบิด จีบียู-43/บีเป็นผู้สืบทอดจากบีแอลยู-82 และทำหน้าที่คล้ายกัน

ในสงครามอินเดีย-ปากีสถานเมื่อปีพ.ศ. 2508 กองทัพอากาศปากีสถานได้ดัดแปลงเครื่องบินมากมายสำหรับทิ้งระเบิดและโจมตีสะพานและกองทหาร ไม่มีเครื่องบินลำใดถูกยิงตกในการรบ แม้ว่าจะมีหนึ่งลำที่ได้รับความเสียหาย[10]

มันยังถูกใช้ในปฏิบัติการเอ็นเท็บบ์เมื่อปีพ.ศ. 2519 ซึ่งอิสราเอลได้ส่งหน่วยคอมมานโดเข้าทำการโจมตีและช่วยเหลือผู้โดยสาร 103 คนในเครื่องบินที่ถูกจี้โดยผู้ก่อการร้ายชาวปากีสถานกับชาวเยอรมันที่สถานบินเอ็นเท็บบ์ในอูกันดา ทีมช่วยเหลือประกอบด้วยทหาร 200 นาย รถจี๊บ และเมอร์ซิเดส-เบนซ์สีดำหนึ่งคัน ถูกขนส่งทางอากาศจากอิสราเอลไปยังเอ็นเท็บบ์โดยเฮอร์คิวลิสสี่ลำโดยปราศจากการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ

ในสงครามหมู่เกาะฟอล์คแลนด์ในปีพ.ศ. 2525 ซี-130 ของกองทัพอากาศอาร์เจนตินาได้เสี่ยงอันตรายด้วยการขนเสบียงทุกวันในตอนกลางคืนเพื่อหลบแนวปิดกั้น พวกมันยังทำการบินสำรวจในตอนกลางวันอีกด้วย มีหนึ่งลำที่ถูกยิงตก อาร์เจนตินายังมีเคซี-130 เพื่อเติมเชื้อเพลิงทางอากาศอีกด้วย และมันได้เติมเชื้อเพลิงให้กับ เอ-4 สกายฮอว์ค และดัซโซลท์-เบร์เกต์ ซูเปอร์ เอตังดาร์ท ซึ่งได้จมเรือของอังกฤษไป 6 ลำ อังกฤษได้ใช้เอซี-130 ของพวกเขาเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการลำเลียง

ในสงครามอ่าวเมื่อปีพ.ศ. 2534 ซี-130 เฮอร์คิวลิสถูกใช้โดยกองทัพอากาศ กองทัพเรือ และนาวิกโยธินสหรัฐ พร้อมกับกองทัพของออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ซาอุดิอาระเบีย เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร

ในสงครามอัฟกานิสถานเมื่อปีพ.ศ. 2544 ซี-130 ถูกใช้โดยออสเตรเลีย เบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ เกาหลีใต้ สเปน สหราชอาณาจักร และสหรัฐ

ในการบุกอิรักเมื่อปปีพ.ศ. 2546 เฮอร์คิวลิสถูกใช้โดยออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐ หลังจากการรุกซี-130 ก็ถูกใช้โดยกองกำลังนานาชาติในอิรักแทน

ซี-130 หนึ่งลำของกองทัพอากาศอังกฤษถูกยิงตกในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2548 เมื่ออิรักใช้ปืนต่อต้านอากาศยานซียู-23 ยิงมันในขณะทำการบินที่ระดับ 1,648 ฟุตหลังจากที่ส่งหน่วยเอสเอเอส[11]

ซี-130ที แฟตอัลเบิร์ตของสหรัฐ

ซี-130ที แฟตอัลเบิร์ตเป็นรุ่นพิเศษเพียงลำเดียวของทีมบินผาดโผนบลูแองเจิล แม้ว่ามันจะทำงานให้กับกองทัพเรือ แต่นาวิกโยธินก็ใช้มันด้วยเช่นกัน ในงานแสดงบางงานแฟตอัลเบิร์ตจะเข้าร่วมแสดงด้วยเพื่อเป็นการสาธิตความสามารถในเครื่องยนต์ไอพ่นของมัน

ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552 มีการรายงานว่าแผนที่จะพัฒนาซี-130 อาจถูกระงับไปเพื่อเพิ่มทุนให้กับเอฟ-35 และโครงการเครื่องบินเชื้อเพลิงรุ่นใหม่[12]

แบบต่างๆ

ของกองทัพ

ของพลเรือน

  • แอล-100 เทียบได้กับซี-130อี
  • แอล-100-20
  • แอล-100-30

ประเทศผู้ใช้งาน

ประเทศที่ใช้ซี-130 เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549

รายละเอียด ล็อกฮีด ซี-130 เฮอร์คิวลิส (รุ่นเดิม)

  • ลูกเรือ 5 นาย (นักบินสองนาย พลนำร่อง วิศวกรการบิน และพลลำเลียง)
  • ความจุ
    • ผู้โดยสาร 92 คน หรือ
    • ทหารพลร่ม 64 นาย หรือ
    • ผู้ได้รับบาดเจ็บพร้อมเปล 72 คนพร้อมแพทย์ 2 นาย หรือ
    • ฮัมวี 2-3 คัน หรือ
    • ยานเกราะทหารราบ เอ็ม113 1 คัน
  • น้ำหนักอาวุธ 20,000 กิโลกรัม
  • ความยาว 28.8 เมตร
  • ระยะระหว่างปลายปีกทั้งสอง 40.4 เมตร
  • ความสูง 11.6 เมตร
  • พื้นที่ปีก 162.1 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 34,400 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 70,300 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบใบพัดอัลลิสัน ที56-เอ-15 4เครื่องยนต์ ให้กำลังเครื่องละ 4,590 แรงม้า
  • ความเร็วสูงสุด 592 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • เพดานบินใช้งาน 28,000 ฟุต
  • อัตราการไต่ระดับ 1,830 ฟุตต่อนาที
  • พิสัย 3,800 กิโลเมตร

[2][16][17][18][19]

อ้างอิง

  1. Boyne, Walter J. (August 2004). "The Immortal Hercules" (PDF). Air Force Magazine. 87 (8). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-11-20. สืบค้นเมื่อ 2009-07-10.
  2. 2.0 2.1 2.2 อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979 ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522
  3. Rhodes, Jeff (2004). "Willis Hawkins and the Genesis of the Hercules". Code One Magazine. 19 (3). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-03-10. สืบค้นเมื่อ 2006-08-22.
  4. Boyne, Walter J. (1998). Beyond the Horizons: The Lockheed Story. New York: St. Martin's Press.
  5. Dabney, Joseph E. (2004). "A Mating of the Jeep, the Truck, and the Airplane" (PDF). Excerpted from HERK: Hero of the Skies in Lockheed Martin Service News. Lockheed Martin Air Mobility Support. 29 (2): 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-26. สืบค้นเมื่อ 2006-08-22.
  6. Olausson, Lars. Lockheed Hercules Production List 1954-2011 - 27th Edition, Såtenäs, Sweden, March 2009. Self-published. No ISBN, p. 129.
  7. "C-130 Hercules on Aircraft carrier". Defence Aviation. 2007-06-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-03. สืบค้นเมื่อ 2008-12-11.
  8. "USS Forrestal (CV 59)". navysite.de (Unofficial US Navy site). สืบค้นเมื่อ 2009-03-30.
  9. AFSOC Heritage เก็บถาวร 2014-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. US Air Force Special Operations Command. Retrieved: 31 July 2009.
  10. Saqib Shafi. "Pakistan Air Force - Yesterday and Today". Pakistan Military Consortium. PakDef Info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-02. สืบค้นเมื่อ 2006-08-21.
  11. "Anti-aircraft fire blamed for Iraq plane downing: report". ABC News Australia. 2005-05-17.
  12. Air Force Would Cancel Boeing C-130 Upgrade, 15 Other Programs
  13. King, Capt. Vince, Jr. (1 November 2006). "Compass Call continues to 'Jam' enemy". Air Force Link. United States Air Force. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-30.{{cite news}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  14. "Lockheed EC-130V Hercules". Military Analysis Network. Federation of American Scientists. 1998-02-10. สืบค้นเมื่อ 2009-01-03.
  15. Housman, Damian (2006-06-29). "Highly modified C-130 ready for war on terrorism". Air Force Link. United States Air Force. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-12. สืบค้นเมื่อ 2006-08-22.
  16. Frawley, Gerard. The International Directory of Military Aircraft, 2002/03, p. 108. Fyshwick, ACT, Australia: Aerospace Publications Pty Ltd, 2002. ISBN 1-875671-55-2.
  17. USAF C-130 Hercules fact sheet. USAF, September 2008.
  18. Donald, David, ed. "Lockheed C-130 Hercules". The Complete Encyclopedia of World Aircraft. Barnes & Nobel Books, 1997. ISBN 0-7607-0592-5.
  19. Eden, Paul. "Lockheed C-130 Hercules". Encyclopedia of Modern Military Aircraft. Amber Books, 2004. ISBN 1-904687-84-9.

ดูเพิ่ม

การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
อากาศยานที่เทียบเท่า

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya