เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ
อำนาจเจริญ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของตำบลบุ่ง ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการบริหาร สถานศึกษา สถานพยาบาลและสาธารณสุข ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดอำนาจเจริญ มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 25,964 คน[1] ประวัติเดิมเป็น สุขาภิบาลบุ่ง อยู่ในอำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดใหม่ คือ จังหวัดอำนาจเจริญ ด้วยผลของกฎหมายดังกล่าว จึงมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2537[2] มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538[ต้องการอ้างอิง] ที่ตั้งและอาณาเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญตั้งอยู่ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลบุ่งบางส่วน จำนวน 30 ชุมชน รวมพื้นที่ 38 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตดังนี้
ตราสัญลักษณ์เป็นดวงตราที่บรรจุอยู่ภายในวงกลม ด้านบนเป็นรูปเป็นรูปพระมงคลมิ่งเมืองประทับบนดอกบัว เปล่งรัศมีแห่งธรรม ซึ่งเป็นเครื่องหมายยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจของประชาชนในเขตเทศบาล โดยมีต้นตะเคียนหินพร้อมเทพพยดาปกปักรักษา ประชากรประชากรเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ มีประชากรรวมทั้งสิ้น 26,496 คน เป็นประชากรชาย 12,882 คน ประชากรหญิง 13,614 คน จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 18,999 คน เป็นชาย 9,147 คน เป็นหญิง 9,852 คน (ที่มา : งานทะเบียนราษฎร สำนักงานเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ (21 เมษายน พ.ศ. 2554)) มีผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99.48 ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล โดยมีวัด จำนวน 11 วัด ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.51 ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล โดยมีโบสถ์คริสต์ จำนวน 3 แห่ง และผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.01 ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล ชุมชนจำนวน 31 ชุมชน จำนวนบ้าน 9,590 หลังคาเรือน จำนวนประชากรรวม 26,179 เศรษฐกิจประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และปลูกผักสวนครัวอื่น ๆ โดยมีย่านชุมชน หนาแน่น อยู่ตรงบริเวณสี่แยกไฟแดง ถนนอรุณประเสริฐกับถนนชยางกูร เป็นย่านธุรกิจการค้า ค้าปลีก ค้าส่ง ตลาดสด โรงแรม ธนาคาร รายได้ต่อหัวของประชากร 29,474 บาทต่อคนต่อปี
วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นสำคัญ คือ ประเพณีฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เช่น งานบุญข้าวจี่ งานบุญเดือนสิบสอง ฯลฯ
โครงสร้างพื้นฐานสถานศึกษาสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ มีจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1 วัดเทพมงคล โรงเรียนเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ (พุทธอุทยาน) โรงเรียนสาธิตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเทพมงคล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดอนหวาย สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนอำนาจเจริญ โรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ โรงเรียนเมืองอำนาจเจริญ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 91 (บ้านโคกจั๊กจั่น) โรงเรียนบ้านโนนจาน โรงเรียนบ้านดอนแดง สถานศึกษาเอกชน จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเจริญวิทยา โรงเรียนอนุบาลนพเก้า โรงเรียนอนุบาลบ้านเสาวภาคย์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคอำนาจเจริญ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดสำราญนิเวศ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดอำนาจเจริญ สาธารณสุขโรงพยาบาลในเขตพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลอำนาจเจริญ ขนาด 270 เตียง และมีศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 3 แห่ง การคมนาคมภายในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ประกอบด้วยถนน จำนวน 114 สาย รวมความยาวได้ 103 กิโลเมตร โดยแยกเป็นถนนสายหลัก สายรอง ดังนี้[3]
ไฟฟ้าครัวเรือนที่มีการใช้ไฟฟ้า จำนวน 9,310 ครัวเรือน และมีไฟฟ้าใช้ครอบคลุม ทั้ง 30 ชุมชน ไฟฟ้าสาธารณะตามถนน ถนนสายหลักเมืองมีเกือบครบทุกสายเว้นแต่ถนนสายรอง และตามแยก ซอย ซึ่งยังขาดแคลนอีกหลายจุด การประปาจำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปามีจำนวนทั้งสิ้น 8,025 ครัวเรือน หน่วยงานเจ้าของกิจการประปา คือ การประปาส่วนภูมิภาค จังหวัดอำนาจเจริญ ผลิตน้ำประปาได้วันละ 10,560 ลูกบาศก์เมตร /วัน ปริมาณการใช้น้ำ 400 ลิตร/คน/วัน พื้นที่บริการจ่ายน้ำ 7 ตารางกิโลเมตร[4] การสื่อสาร
สถานที่สำคัญ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |