ประสิทธิ์ จุลละเกศ
นายประสิทธิ์ จุลละเกศ (5 เมษายน พ.ศ. 2457 - 14 ธันวาคม พ.ศ. 2524) เป็นอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย[1] อดีตผู้พิพากษา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 2 สมัย อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ประวัตินายประสิทธิ์ จุลละเกศ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2457 ณ บ้านตำบลวชิระ อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนสุดท้องของพระยาอภัยโภคารักษ์ (ชื่น จุลละเกศ) มารดาชื่อ ลำพู อภัยโภคารักษ์ (สกุลเดิม พิศาลบุตร) ซึ่งเป็นธิดาคนโตของเจ้าสัวกิม พิศาลบุตร กับนางตึก พิศาลบุตร และหลานปู่ของพระยาพิศาลศุภผล (ชื่น พิศาลบุตร) สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นได้เข้าศึกษาวิชากฎหมายที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมซึ่งต่อมาได้โอนไปเป็นคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนสอบไล่ได้เป็น เนติบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2476 นายประสิทธิ์ จุลละเกศ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2524 และได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2525 การทำงานภายหลังสำเร็จการศึกษา นายประสิทธิ์ ได้รับราชการศาลยุติธรรมเช่นเดียวกับพระยาอิศรภักดีธรรมวิเทต กรรมการศาลฎีกา ญาติผู้พี่ข้างฝ่ายบิดา ระหว่างปี พ.ศ. 2480 ถึงปี พ.ศ. 2490 โดยเริ่มทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรม ก่อนที่จะเลื่อนตำแหน่งเป็น ผู้พิพากษาศาลแพ่ง จนต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัดพิจิตร และ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสงขลา ตามลำดับ งานการเมืองประสิทธิ์ เคยดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาลเมืองสงขลา ก่อนที่จะได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร รวม 2 สมัย และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมสหภาพรัฐสภา ณ กรุงริโอเดอแจไนโร ประเทศบราซิล เมื่อปี พ.ศ. 2501 ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อปี พ.ศ. 2511-2514 รวมทั้งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (จอมพล ถนอม กิตติขจร) รวม 2 ครั้ง[2] ประสิทธิ์ เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคธรรมสังคม[3] ในปี พ.ศ. 2517 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนายประสิทธิ์ จุลละเกศ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|