อำมาตย์เอก พระราชธรรมนิเทศ นามเดิม เพียร ราชธรรมนิเทศ (สกุลเดิม ไตติลานนท์; 31 ธันวาคม พ.ศ. 2434 – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2508) อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย 1 สมัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี 2 สมัย
พระราชธรรมนิเทศ ลาออกจากบรรดาศักดิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2485[1]
ประวัติ
พระราชธรรมนิเทศ (เพียร ราชธรรมนิเทศ) เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2434 ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของนายเปลี่ยน และนางจัน ไตติลานนท์ เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดทรงธรรม พระประแดง และโรงเรียนฝึกหัดครู บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ
รับราชการ
ต่อมาได้รับราชการเป็น ผู้บังคับการโรงเรียนราชวิทยาลัย และเป็นเลขานุการประจำพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในสมัยรัชกาลที่ 7 เคยเป็นรองอธิบดีกรมโฆษณาการ และอธิบดีกรมธรรมการ[2]
งานการเมือง
พระราชธรรมนิเทศเป็นผู้มีบทบาทด้านการเมืองในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เคยเป็นคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมไทย ที่แก้ไขปรับปรุงภาษาไทย และชำระปทานุกรมแห่งราชบัณฑิตยสถาน ในการปรับปรุงอักษรไทย เมื่อ ปี พ.ศ. 2485 ให้เหลือเพียง 31 ตัว โดยมี พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)เป็นประธาน จนได้ชื่อว่าเป็น 1 ใน 4 ปุโรหิตประจำตัวของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม คือ ยง เถียร เพียร นวล อันได้แก่ ยง (พระยาอนุมานราชธน) เถียร (หลวงวิเชียรแพทยาคม) เพียร (พระราชธรรมนิเทศ) นวล (หลวงสารานุประพันธ์)[3]
พระราชธรรมนิเทศได้รับการเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2491 และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมา รวม 2 สมัย อีกทั้งยังได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร 1 สมัย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พระราชธรรมนิเทศ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 จังหวัดปทุมธานี
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จังหวัดปทุมธานี
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
พระราชธรรมนิเทศ ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย[4] คือ
- ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 6
ยศและบรรดาศักดิ์
- – หุ้มแพร
- 8 พฤศจิกายน 2458 – นายหมู่ตรี[5]
- 10 พฤศจิกายน 2458 – หลวงอภิบาลบุริมศักดิ์ ถือศักดินา 400[6]
- 27 กุมภาพันธ์ 2458 – นายหมู่เอก[7]
- 21 สิงหาคม 2460 – จ่า[8]
- 26 กุมภาพันธ์ 2461 – นายหมวดเอก[9]
- 2 พฤศจิกายน 2462 – พระราชธรรมนิเทศ ถือศักดินา 600[10]
- 28 ธันวาคม 2463 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์[11]
- 1 มกราคม 2463 – รองหัวหมื่น[12]
- – เสวกเอก
- 18 มิถุนายน 2469 – อำมาตย์เอก[13]
ตำแหน่ง
- – ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
- 8 มีนาคม 2459 – รักษาราชการแทนอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง[14]
- – อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
- 26 มีนาคม 2460 – ปลัดกรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์[15]
อนิจกรรม
พระราชธรรมนิเทศ ป่วยเป็นความดันโลหิตสูง ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2499 ได้เข้ารับการรักษาพยาบาล ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แล้วกลับมารักษาตัวที่บ้าน ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ด้วยโรคปอดบวม รวมอายุได้ 73 ปี 8 เดือน[16] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2509 ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
อ้างอิง
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์
- ↑ คนไทยผู้ถ่ายทอดหัวใจฝรั่ง จากไทยรัฐออนไลน์. 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556.
- ↑ ครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ (11) : เพลงเกี่ยวกับวัฒนธรรม เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ manager.co.th
- ↑ การเมืองไทย เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ kpi100.playwebagency.com
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ ประกาศกรมบัญชาการสภาจางวางมหาดเล็ก
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระราชธรรมนิเทศ (เพียร ราชธรรมนิเทศ) ป.ช., ป.ม.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๔ ง หน้า ๕๖๕๓, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๙๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๑๗๐๑, ๒๕ เมษายน ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2022-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๑๗, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๙, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน (หน้า 2612)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๗, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๗๒๑, ๒๓ มีนาคม ๒๔๗๓
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า 3491)
|
---|
ประธาน | | |
---|
รองประธานคนที่ 1 | |
---|
รองประธานคนที่ 2 | |
---|
(ในวงเล็บ) หมายถึง สมัยดำรงตำแหน่งของบุคคลนั้น (กรณีมากกว่า 1 สมัย) |