พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 20 มกราคม พ.ศ. 2506) ชื่อเล่น ต้อย เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 ของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย 4 สมัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย ประวัติพิเชษฐ์ เกิดวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2506 เป็นบุตรของนายเพชร และนางสมนา เชื้อเมืองพาน มีน้องชาย 1 คน สำเร็จการศึกษาเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต สาขาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้[1] วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอุตสาหกรรม วิทยาลัยบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สมรสกับนางสาวธัญพิชชา ตรีวิชาพรรณ (หลังสมรสเปลี่ยนชื่อเป็น นางสาวพิชชา เชื้อเมืองพาน) มีบุตร 1 คน นางสาวพิชชา เชื้อเมืองพาน จบการศึกษาปริญญาโท บริหารธุรกิจระหว่างประเทศ MIB ที่ Queensland University of Technology ประเทศออสเตรเลีย ตระกูล ตรีวิชาพรรณ ประกอบกิจการโรงงานผลิตเครื่องประดับทองคำ ค้าเพชรพลอยแท้และเครื่องประดับเงิน ย่านเจริญกรุงกว่า 60 ปี โดยคุณปู่เป็นชาวจีน พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน เคยดำรงตำแหน่งนายกองค์กรนักศึกษาแม่โจ้ และ เคยดำรงตำแหน่ง นายกองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยภาคเหนือ และมีบทบาทในการนำผู้ชุมนุมเข้ากรุงเทพ เพื่อออกมาต้าน นาย สนธิ ลิ้มทองกุล[2] งานการเมืองอดีตเคยดำรงตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 2 สมัย และเคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อมา พ.ศ. 2544 ลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 77 พรรคไทยรักไทย ไม่ได้รับเลือกตั้งในคราวแรก แต่ต่อมาได้รับเลื่อนขึ้นมาแทนพลเอกเชษฐา ฐานะจาโร ที่ลาออกในปี พ.ศ. 2546[3] ต่อมาปี พ.ศ. 2550 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดเชียงราย พรรคพลังประชาชน ได้รับการเลือกตั้ง และปี พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในนามพรรคเพื่อไทย อนึ่งในปี พ.ศ. 2553 เกิดกรณีหวิดวางมวยกับนายปลอดประสพ สุรัสวดี เนื่องจากนายปลอดประสพแถลงแผนปรองดองโดยไม่ผ่านที่ประชุมพรรค แต่ได้มีการปรับความเข้าใจกันในภายหลัง[4] ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เขาเข้าร่วมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ชุมนุมที่สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน ในการประชุมครั้งแรกของสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ ได้เสนอชื่อพิเชษฐ์ให้เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 โดยไม่มีผู้เสนอชื่ออื่นเพิ่มเติม เขาจึงได้เป็นรองประธานสภาฯ คนที่ 2 ตามข้อบังคับการประชุมสภา ข้อ 6 วรรค 3[5][6] ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2567 พิเชษฐ์ยื่นหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อลาออกจากการเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 เพื่อที่จะขยับไปเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 แทนปดิพัทธ์ สันติภาดา ที่พ้นจาก สส. จากการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี และในวันรุ่งขึ้น พรรคเพื่อไทยมีมติตามที่ระบุข้างต้น ส่วนรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 เป็นของ ภราดร ปริศนานันทกุล จากพรรคภูมิใจไทย[7] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|