Share to:

 

สถานีศาลาแดง

ศาลาแดง
S2

Sala Daeng
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′42.63″N 100°32′2.88″E / 13.7285083°N 100.5341333°E / 13.7285083; 100.5341333
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ทางวิ่ง2
การเชื่อมต่อ สีลม
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีS2
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 ธันวาคม พ.ศ. 2542; 25 ปีก่อน (2542-12-05)
ผู้โดยสาร
25643,043,054
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
ราชดำริ สายสีลม ช่องนนทรี
มุ่งหน้า บางหว้า
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
สามย่าน
มุ่งหน้า หลักสอง
สายเฉลิมรัชมงคล
เชื่อมต่อที่ สีลม
ลุมพินี
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีศาลาแดง (อังกฤษ: Sala Daeng station; รหัส: S2) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสีลม ยกระดับเหนือถนนสีลมใกล้กับทางแยกศาลาแดง ในพื้นที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นจุดเชื่อมต่อกับสถานีสีลมของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ในเวลาเร่งด่วนจะเป็นสถานีที่มีผู้โดยสารใช้งานเป็นอันดับที่ 2 รองจากสถานีสยาม เนื่องจากเป็นสถานีที่ตั้งอยู่ใกล้กับอาคารสำนักงานจำนวนมาก

ที่ตั้ง

ถนนสีลม ด้านหน้าศูนย์การค้าสีลมคอมเพลกซ์ ใกล้กับทางแยกศาลาแดง (จุดบรรจบถนนพระรามที่ 4) ในพื้นที่แขวงสีลมและแขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

แผนผังสถานี

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 3 สายสีลม มุ่งหน้า บางหว้า (ช่องนนทรี)
ชานชาลา 4 สายสีลม มุ่งหน้า สนามกีฬาแห่งชาติ (ราชดำริ)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-5, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า,
เซ็นทรัล สีลมคอมเพล็กซ์ และ สีลมคอมเพล็กซ์, ธนิยะ พลาซ่า
ทางเดินเชื่อมไปยัง สีลม
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค, สีลม เอดจ์
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง,โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
, ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่สีลม, โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์

รูปแบบของสถานี

ประตูกั้นชานชาลาของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม สถานีศาลาแดง

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา รวมทั้งมีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง

ทางเข้า-ออก

ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ, สะพานเชื่อมต่ออาคาร และทางเดินใต้ทางวิ่งรถไฟฟ้า (skywalk) ได้แก่

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 หน้าอาคารสีบุญเรือง

เวลาให้บริการ

ปลายทาง ขบวนรถ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีลม[1]
ชานชาลาที่ 3
S12 บางหว้า เต็มระยะ 05.37 00.20
ชานชาลาที่ 4
W1 สนามกีฬาแห่งชาติ เต็มระยะ 05.49 00.09
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสุขุมวิท 23.54

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง

เหตุการณ์สำคัญ

ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 เวลา 20.00 น. เกิดการยิงเอ็ม 79 จำนวน 5 ลูก ในเหตุการณ์การเผชิญหน้าระหว่างแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน และกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อหลากสี ระเบิดยิงเข้าบริเวณสถานีศาลาแดงและธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสีลม โดยสถานีรถไฟฟ้าศาลาแดงเสียหายหลังคาเป็นรู ส่วนขบวนรถไฟฟ้าได้รับความเสียหายเครื่องปรับอากาศไม่ทำงาน จากสะเก็ดระเบิด[2] มีผู้บาดเจ็บ 87 ราย รักษาตัวในโรงพยาบาล 27 ราย อาการสาหัส 3 ราย เสียชีวิต 3 ราย

รถโดยสารประจำทาง

ถนนสีลม

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ผู้ให้บริการ ประเภทของรถที่ให้บริการ หมายเหตุ
15 (4-2) (2) BRT ราชพฤกษ์ บางลําภู 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.
21E (4-7E) Handicapped/disabled access (1) วัดคู่สร้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1..รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
76 (4-14) (3) รถโดยสารประจำทาง อู่แสมดำ ประตูน้ำ 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

505 (3) ปากเกร็ด สวนลุมพินี 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
514 (1-54) (1) รถโดยสารประจำทาง อู่มีนบุรี สีลม 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) 3.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน

รถเอกชน

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
77 (3-45) Handicapped/disabled access เซ็นทรัลพระราม 3 รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
115 (1-45) Handicapped/disabled access สวนสยาม บางรัก บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
163 (4-55) Handicapped/disabled access ศาลายา สนามกีฬาแห่งชาติ บจก.ไทยสมายล์บัส
167 (4-26) Handicapped/disabled access เคหะธนบุรี สวนลุมพินี รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
167 (4-26) รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า)
504 (1-18E) Handicapped/disabled access รังสิต บางรัก รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า)
3-52 Handicapped/disabled access เซ็นทรัลพระราม 3 การขนส่งระบบราง สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) บจก.ไทยสมายล์บัส เส้นทางรถวิ่งเป็นวงกลม
4-68 Handicapped/disabled access สวนผัก ถนนตก
  • ถนนสีลม รถขสมก. สาย 15 76 77 514 รถเอกชน สาย 167 504 547

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน

โรงแรม

  • ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค (กำลังก่อสร้าง) (โรงแรมดุสิตธานีเดิม)
  • โรงแรมคราวน์ พลาซา แบงค็อก ลุมพินี พาร์ค (โรงแรมแพน แปซิฟิก กรุงเทพเดิม)
  • โรงแรมสวิสลอดจ์
  • โรงแรมเซ็นเตอร์ พอยต์ สีลม
  • โรงแรมมณเฑียรกรุงเทพ
  • โรงแรมวอลล์สตรีท อินน์
  • โรงแรม โวโค กรุงเทพฯ สุรวงศ์ (ชื่อเดิม: โรงแรมตวันนากรุงเทพ)

อ้างอิง

  1. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
  2. รถไฟฟ้า-รถใต้ดินปรับเดินรถ
  3. "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย". www.chulalongkornhospital.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-18. สืบค้นเมื่อ 2016-04-02.
Kembali kehalaman sebelumnya