ภาษีอากรในประเทศไทยภาษีอากรในประเทศไทย อาจเกี่ยวข้องกับการจ่ายภาษีให้แก่ราชการสองระดับ ได้แก่ ราชการส่วนกลาง (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และ กรมศุลกากร) และราชการส่วนท้องถิ่น รายได้ภาษีหลักของรัฐบาลมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในปีงบประมาณ 2558 สำนักงานเศรษฐกิจการคลังประมาณการรายได้จากภาษีอากร 2.15 ล้านล้านบาท ภาพรวมกรมสรรพากร กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเป็นหน่วยงานของกระทรวงการคลังซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บภาษี รายได้ของรัฐได้มาจากภาษีอากรเกินร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งหมด กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีอากรคิดเป็นร้อยละ 70 ของรายได้จากสามกรมที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร สัดส่วนของภาษีทางอ้อมต่อรายได้ทั้งหมดของรัฐค่อย ๆ ลดลงจากร้อยละ 62 ในพุทธทศวรรษ 2530 เหลือประมาณร้อยละ 50 ในปี 2557 ส่วนสัดส่วนของภาษีทางตรงต่อรายได้ทั้งหมดของรัฐเพิ่มขึ้นจากต่ำกว่าร้อยละ 30 ในช่วงเดียวกันเป็นประมาณร้อยละ 40 ในปี 2557 เมื่อแบ่งภาษีออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วยภาษีอากรจากทุน ภาษีอากรจากแรงงาน ภาษีอากรจากการบริโภค และภาษีอื่น ๆ พบว่าระหว่างปี 2533–2557 ภาษีอากรจากการบริโภคคิดเป็นร้อยละ 62.3 ของรายได้ภาษี ส่วนภาษีอากรจากทุนเพิ่มขึ้น 10 เท่าจาก 64,000 ล้านบาทเป็น 740,000 ล้านบาทในช่วงเดียวกัน รายได้ภาษีทางอ้อมมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่ำกว่ารายได้ภาษีทางตรง คือ ร้อยละ 4.67 ต่อปีเทียบกับร้อยละ 8.35 ต่อปี ทั้งนี้ รายได้จากภาษีศุลกากรขาเข้าลดลงร้อยละ 2.7 ต่อปีระหว่างปี 2537 ถึง 2552 ซึ่งเป็นผลมาจากข้อตกลงการค้าที่มีต่อองค์การการค้าโลก, เขตการค้าเสรีอาเซียน และความตกลงการค้าเสรีอื่น[1]: 441 สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีแหล่งที่มาของรายได้จาก 3 แหล่งสำคัญคือ (ก) รายได้ที่ท้องถิ่นจัดหาเอง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย และภาษีบำรุงท้องที่จากยาสูบ นํ้ามันและโรงแรม (ข) รายได้ที่ได้จากการจัดสรรภาษีที่รัฐบาลเก็บให้หรือแบ่งให้ท้องถิ่น และ (ค) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ทั้งนี้ รายได้ที่ท้องถิ่นจัดหาเองนั้นยังคิดได้เพียงร้อยละ 9–11 ของรายได้รวม อปท.[1]: 442 ภาษีเงินได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นภาษีอากรที่จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กิจการร่วมค้า มูลนิธิ และอื่น ๆ มีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 23 ในกรอบบัญชีปี 2555 และร้อยละ 20 ในปี 2556 บุคคลธรรมดาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคือภาษีที่เก็บจากบุคคลทั่วไปหรือจากหน่วยงานที่มีลักษณะพิเศษ ประเทศไทยจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามแหล่งเงินได้และหลักถิ่นที่อยู่ ประเภทของเงินพึงได้ของบุคคลธรรมดา เช่น เงินได้เนื่องจากการทำงาน เงินได้จากการลงทุนในสินทรัพย์ เงินได้จากการให้เช่า และอื่น ๆ โดยมีข้อยกเว้นบางประการ มีอัตราภาษีที่กำหนดแบบอัตราก้าวหน้า ระหว่างปี 2532 ถึง 2557 ประเทศไทยมีการเปลี่ยนโครงสร้างอัตราภาษีแล้ว 3 ครั้ง และเริ่มมีการยกเว้นการจัดเก็บภาษีแก่บุคคลที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 50,000 บาทต่อปีในปี 2542 ก่อนเพิ่มขึ้นเป็น 80,000 บาทในปี 2546 และไม่เกิน 150,000 บาทในปี 2551[2]: 12–13 ภาษีจากการบริโภคภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเป็นภาษีทางอ้อมชนิดหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าและบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนการผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ ปัจจุบันจัดเก็บในอัตราร้อยล3 ทั้งนี้ เป็นการเก็บตามประมวลรัษฎากรร้อยละ 6.3 และตามกฎหมายขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 0.3 (1/9 ของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่กรมสรรพากรจัดเก็บตามประมวลรัษฎากร)[2]: 16 ข้อมูลของกรมสรรพากรระบุว่าในปี 2551 จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 503,000 ล้านบาท และมีการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 173,990 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.56 ของรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มในปีนั้น[1]: 464 ประมวลรัษฎากรยกเว้นกิจการบางประเภทที่ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น กิจการที่ขายพืชผลทางการเกษตร การขายสัตว์และผลพลอยได้ของสัตว์ การขายปุ๋ย การขายอาหารสัตว์ การขายยาหรือเคมีภัณฑ์สำหรับพืชหรือสัตว์ การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือตำราเรียน การให้บริการขนส่ง การให้บริการรักษาพยาบาล เป็นต้น รวมทั้งผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี[1]: 449 ยกเว้นการนำเข้าสินค้าบางประเภท เช่น พืชผลทางการเกษตรซึ่งรวมถึงวัตถุพลอยได้จากพืช การนำเข้าปุ๋ย อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ นค้าจากต่างประเทศที่นำเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมการส่งออก เป็นต้น[1]: 449 กิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 เช่น สินค้าส่งออกที่ผลิตในเขตปลอดอากร การขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการในเขตปลอดอากรหรือเขตอุตสาหกรรมส่งออก หรือระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนด้วยกันหรือระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการในเขตปลอดอากร เป็นต้น[1]: 449 การศึกษาของ TDRI พบว่า อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงนั้นเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 7 และลดลงตามรายได้ของผู้ประกอบการโดยต่ำสุดคิดเป็นอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4[1]: 449 นอกจากนี้พบว่ากลุ่มสินค้าส่วนใหญ่มีโครงสร้างอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มแท้จริงมีอัตราลักษณะถดถอย[1]: 450 แม้ว่าโครงสร้างภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีลักษณะก้าวหน้าเมื่อพิจารณาตามรายจ่ายครัวเรือน แต่การศึกษาหนึ่งพบว่า เมื่อพิจารณาภาระภาษีมูลค่าเพิ่มตามรายได้กลับพบว่าโครงสร้างภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นแบบถดถอย เนื่องจากผู้ประกอบการที่ผลักภาระภาษีให้ผู้บริโภคทั้งหมดทำให้ภาระภาษีของครัวเรือนที่มีรายได้น้อยที่สุดเพิ่มขึ้น[1]: 455 ภาษีสรรพสามิตภาษีสรรพสามิตเก็บจากการบริโภคสินค้าและบริการและอาจรวมถึงวัตถุดิบหรือสินค้าที่อยู่ในกระบวนการผลิต มีการเรียกเก็บจากสินค้า 15 ชนิด ประกอบด้วย นํ้ามันและผลิตภัณฑ์นํ้ามัน เครื่องดื่ม เครื่องไฟฟ้า (เฉพาะเครื่องปรับอากาศและโคมระย้าที่ทำจากแก้วคริสตัล) แก้วและเครื่องแก้ว รถยนต์ เรือยอชต์และยานพาหนะทางนํ้าที่ใช้เพื่อความสำราญ ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง พรมและสิ่งทอปูพื้นทำด้วยขนสัตว์ หินอ่อนและหินแกรนิต (ปัจจุบันยกเว้นภาษี) รถจักรยานยนต์ แบตเตอรี่และถ่านไฟฉาย สถานบริการ สุรา ยาสูบและไพ่[1]: 480 เนื่องจากภาษีสรรพสามิตมีลักษณะเป็นภาษีฝังใน (inclusive tax) ทำให้อัตราภาษีแท้จริงสูงกว่าอัตราที่ประกาศ เช่น วิสกี้นำเข้าเสียภาษีแท้จริงร้อยละ 123[1]: 480 รายได้จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล น้ำมันและยาสูบคิดเป็นร้อยละ 70–80 ของภาษีสรรพสามิตที่เก็บได้[1]: 482 ทั้งสามเป็นสินค้าที่ผู้ประกอบการสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้บริโภคได้มาก เช่น ภาระภาษีของน้ำมันดีเซลตกที่ผู้บริโภคร้อยละ 95–96[1]: 489–90 โครงสร้างภาษีสรรพสามิตมีลักษณะถดถอยชัดเจนเมื่อใช้รายได้ครัวเรือนเป็นเกณฑ์[1]: 484 เลิกใช้ภาษีการขายเป็นภาษีที่เลิกใช้แล้วตั้งแต่ปี 2535 พบว่ามีข้อบกพร่อง ได้แก่ ความซ้ำซ้อนของภาษีและความบิดเบือนทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลเสียต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมและการส่งออก ภาษีการค้าหมดไปในที่สุดในปี 2547[2]: 16 อ้างอิง
|