Share to:

 

เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทย
กรุงเทพมหานคร ศูนย์กลางพาณิชย์ของไทย
อันดับทางเศรษฐกิจ20 (PPP) (IMF, 2561)
25 (ราคาตลาด) (IMF, 2561)
สกุลเงินบาท
ปีงบประมาณ1 ตุลาคม – 30 กันยายน
ภาคีการค้าWTO, APEC, IOR-ARC, ASEAN
สถิติ
จีดีพี
  • ลดลง $509.200 พันล้าน (nominal, 2020 est.)[1]
  • ลดลง $1.261 ล้านล้าน (PPP, 2020 est.)[2]
จีดีพีเติบโต
  • 4.2% (2018) 2.4% (2019e)
  • −5.0% (2020e) 4.1% (2021e)[3]
จีดีพีต่อหัว
  • ลดลง $7,379 (nominal, 2020 est.)[1]
  • ลดลง $18,275 (PPP, 2020 est.)[1]
ภาคจีดีพี
เงินเฟ้อ (CPI)ทั่วไป −1.1% (2020 est.)[2]
ประชากรยากจน
  • Negative increase 9.9% (2018)[5]
  • Negative increase 8.6% on less than $5.50/day (2018)[6]
จีนีpositive decrease 36.4 medium (2018)[7]
แรงงาน
  • เพิ่มขึ้น 38,917,441 คน (2019)[8]
  • เพิ่มขึ้น 67.3% employment rate (2018)[9]
ว่างงานSteady 1.1% (2020 est.)[2]
อุตสาหกรรมหลักยานยนต์และชิ้นส่วน (11%), บริการทางการเงิน (9%), เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ (8%), การท่องเที่ยว (6%), ปูนซีเมนต์, auto manufacturing, อุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเบา, เครื่องใช้ในครัวเรือน, คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน, เฟอร์นิเจอร์, พลาสติก, สิ่งทอและเสื้อผ้า, การแปรรูปเกษตร, เครื่องดื่ม, ยาสูบ
อันดับความคล่องในการทำธุรกิจเพิ่มขึ้น 21st (very easy, 2020)[10]
การค้า
มูลค่าส่งออก$236.69 พันล้าน (2017)[11][12][13]
สินค้าส่งออกคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน (23%), เครื่องใช้ไฟฟ้า (19%), อาหารและไม้ (14%), ผลิตภัณฑ์เคมีและพลาสติก (14%), ยานยนต์และชิ้นส่วน (12%), หินและแก้ว (7%), สิ่งทอ, เสื้อผ้า และ เฟอร์นิเจอร์ (4%)
ประเทศส่งออกหลัก
  • สหรัฐอเมริกา 11.4%
  • จีน 11%
  • สหภาพยุโรป 10.3%
  • ญี่ปุ่น 9.6%
  • ฮ่องกง 5.3%
  • อื่น ๆ 52.4%
  • (2016)[14]
มูลค่านำเข้า$222.76 billion (2017)[11][12][13]
สินค้านำเข้าสินค้าทุน และ สินค้าขั้นกลาง, วัตถุดิบ, เครื่องอุปโภคบริโภค, น้ำมันดิบ
ประเทศนำเข้าหลัก
  • จีน 21.6%
  • ญี่ปุ่น 15.8%
  • สหภาพยุโรป 9.3%
  • สหรัฐอเมริกา 6.2%
  • มาเลเซีย 5.6%
  • อื่น ๆ 41.5%
  • (2016)[14]
FDI$205.5 พันล้าน (2017 est.)[15]
หนี้ต่างประเทศ$163.402.95 billion (Q1 2019)[16]
การคลังรัฐบาล
หนี้สาธารณะ60.81% (เมษายน 2565)[17]
รายรับTHB 2.829 ล้านล้าน (ปีงบประมาณ 2564)[18]
รายจ่ายTHB 3.012 ล้านล้าน (ปีงบประมาณ 2564)[19]
ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจNone
  • Fitch:[20]
  • A- (Local Currency IDR)
  • BBB+ (Foreign Currency IDR)
  • A- (Country Ceiling)
  • Outlook: Stable
  • Japan Credit Rating Agency:[21]
  • A (Local Currency IDR)
  • A- (Foreign Currency IDR)
  • A+ (Country Ceiling)
  • Outlook: Stable
ทุนสำรองUS$266.09 พันล้าน (net amount, June 2020)[22]
แหล่งข้อมูลหลัก: CIA World Fact Book
หน่วยทั้งหมด หากไม่ระบุ ถือว่าเป็นดอลลาร์สหรัฐ

เศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจกำลังพัฒนาแบบผสมและเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่[23] เมื่อปี 2561 มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในรูปตัวเงิน (ราคาตลาด) เป็นอันดับที่ 25 ของโลก มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (พีพีพี) เป็นอันดับที่ 20 ของโลก นับว่าใหญ่สุดเป็นอันดับสองของอาเซียน มีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 1.1%[24]

ภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นภาคหลักในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย โดยภาคอุตสาหกรรมเป็นสัดส่วน 39.2% ของจีดีพี ภาคเกษตรกรรมเป็นสัดส่วน 8.4% ของจีดีพี น้อยกว่าภาคการขนส่งและการค้า ตลอดจนการสื่อสาร ซึ่งเป็นสัดส่วน 13.4% และ 9.8% ของจีดีพีตามลำดับ ภาคก่อสร้างและเหมืองแร่เป็นสัดส่วน 4.3% ของจีดีพี ภาคอื่น (ซึ่งรวมภาคการเงิน การศึกษา โรงแรมและร้านอาหาร) เป็นสัดส่วน 24.9% ของจีดีพี[4] โทรคมนาคมและการค้าบริการกำลังกำเนิดเป็นศูนย์กลางการขยายอุตสาหกรรมและการแข่งขันทางเศรษฐกิจ[25][26]

ในปี 2551 ประเทศไทยส่งข้าวออกคิดเป็นประมาณ 33% ของการค้าข้าวทั่วโลก[27] ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางรายใหญ่ที่สุดของโลก[28] และเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่อันดับ 5 ของโลก[29] ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับที่ 21 ของโลก และมีมูลค่าการนำเข้าเป็นอันดับที่ 25 ของโลก ประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออสเตรเลีย ฮ่องกงและเกาหลีใต้[30]

ธนาคารโลกรับรองประเทศไทยว่าเป็น "นิยายความสำเร็จการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่ง" (one of the great development success stories) จากตัวชี้วัดทางสังคมและการพัฒนา[31] แม้รายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ต่อหัวต่ำ คือ 5,210 ดอลล่าร์สหรัฐ[32] และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) อยู่ที่อันดับที่ 89 แต่ประชากรที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนลดลงจาก 65.26% ในปี 2531 เหลือ 8.6% ในปี 2559 ตามเส้นฐานความยากจนใหม่ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)[33] ในไตรมาสแรกของปี 2556 อัตราว่างงานของไทยอยู่ที่ 0.7% ซึ่งน้อยเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากประเทศกัมพูชา โมนาโกและกาตาร์[34]

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ค่าแรงขั้นต่ำทางการทุกจังหวัดเป็น 300 บาท[35] ความเหลื่อมล้ำของรายได้ในประเทศไทยถือว่าสูงสุดประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครัวเรือนที่รวยที่สุด 20% มีรายได้ครัวเรือนเกินครึ่ง ดัชนีจีนีของรายได้ครัวเรือนอยู่ที่ 0.51 ครอบครัวรายได้น้อยและยากจนกระจุกอยู่ในภาคเกษตรกรรมอย่างมาก[36]

ประวัติ

การเติบโตของเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ปี 2504–2558

ในช่วงสงครามเวียดนาม (2508–2518) เงินช่วยเหลือจากสหรัฐหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทย มีการพัฒนาชนบทอย่างกว้างขวาง มีการลงทุนจากเอกชนต่างประเทศในโครงสร้างพื้นฐานและมีการขยายอุดมศึกษาเพื่อสร้างนักวิชาการเพื่อรองรับเศรษฐกิจดังกล่าว ในช่วงนี้เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว คือ ประมาณปีละ 7% ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนไปเป็นแบบอุตสาหกรรม ประเทศไทยมีการกลายเป็นเมือง ความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองและชนบทสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเติบโตของประชากรอย่างก้าวกระโดด[37]: 22–4 

ระหว่างปี พ.ศ. 2529–2539 เป็นยุคของการเปิดเสรีครั้งใหญ่และการเติบโตแบบเศรษฐกิจฟองสบู่ เป็นช่วงที่เศรษฐกิจทุนนิยมโลกปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลสำคัญ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงเมื่อเทียบเงินเยนญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ โยกย้ายการลงทุนมาไทยและเอเชียอาคเนย์เพิ่มมากขึ้น การส่งออกของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลที่มาจากนักธุรกิจ ข้าราชการ และชนชั้นกลางก็เปิดเสรีทางการเงิน การค้า การลงทุนเพิ่มขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตสูงเฉลี่ยราวร้อยละ 8 - 10 ต่อปี[38]

อย่างไรก็ตาม หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ประชากรหลายล้านคนตกงาน และจนกระทั่ง พ.ศ. 2544 ที่ประเทศไทยสามารถควบคุมค่าเงินและเศรษฐกิจได้อีกครั้งหนึ่ง

หลังปี 2560

ปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกประมาณ 70-75% ของจีดีพี[39] ส่วนใหญ่ฐานการผลิตเพื่อการส่งออกของไทยมาจากนักลงทุนต่างชาติเป็นหลัก[40] จากสาเหตุดังกล่าวรัฐบาลจึงมักมีแนวคิดให้ค่าแรงในประเทศนั้นต่ำที่สุดและให้ราคาสินค้าในประเทศนั้นต่ำที่สุดเพื่อให้ราคาสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศมีราคาต่ำเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง[41]

ในปี พ.ศ. 2563 รายงานของธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะหดตัวลงร้อยละ 8.9 ซึ่งเป็นการ ลดลงมากที่สุดในบรรดา 9 ประเทศที่จัดอันดับ เนื่องจากการระบาดของโควิด-19[42] เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแถลงว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทยในปี 2563 ลดลงร้อยละ 6.1 ต่ำสุดในรอบ 22 ปี[43] ด้านประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ระบุว่าวิกฤตดังกล่าวทำให้ประเทศขาดแคลนแรงงานข้ามชาติอย่างหนัก[44]ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565 ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานหนี้ครัวเรือนต่ออัตราจีดีพีว่าอยู่ที่ระดับ 90.1 % สูงกว่า 90 % เป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปี[45]ใน วันที่ 20 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานหนี้ครัวเรือนต่ออัตราจีดีพีว่าอยู่ที่ระดับ 91.3 %[46]

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำรวจหนี้ครัวเรือนไทยประจำปี พ.ศ. 2567 พบว่ามีภาระหนี้สินเฉลี่ย 606,378 บาท/ครัวเรือน [47]

การวางแผนเศรษฐกิจ

นโยบายการเงินและการคลัง

ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 ประเทศไทยถือครองทุนสำรองระหว่างประเทศ 171,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ มากเป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รองจากประเทศสิงคโปร์) ประเทศไทยยังมีปริมาณการค้าต่างประเทศมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากสิงคโปร์[48]

เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 ธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจาก 44% ของจีดีพีในปีงบประมาณ 2554 เป็น 60% ของจีดีพีในปีงบประมาณ 2556 และจะเริ่มมีหนี้สาธารณะสูงกว่ากรอบวินัยการคลังในปีงบประมาณ 2557 กระทั่งถึง 70% ของจีดีพีในปีงบประมาณ 2559 เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินว่าโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอาจต้องใช้เงินสูงถึง 442,000 ล้านบาท[49] ต่อมาในปีงบประมาณ 2564 กระทรวงการคลังคาดว่าหนี้สาธารณะจะอยู่ที่ 9.3 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 57 ของจีดีพี[50]

ภาค

เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง

ในปี พ.ศ. 2528 ประเทศไทยได้กำหนดให้พื้นที่ของประเทศ 25% เป็นป่าเพื่อการอนุรักษ์และอีก 15% เพื่อการผลิตไม้อย่างเป็นทางการ ป่าเพื่อการอนุรักษ์ถูกจัดตั้งสำหรับการรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและการพักผ่อน ในขณะที่ป่าเพื่อการผลิตเปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมป่าไม้สามารถใช้ประโยชน์ได้ ระหว่าง พ.ศ. 2535 และ 2544 การส่งออกท่อนซุงและไม้แปรรูปเพิ่มขึ้นจาก 50,000 ลูกบาศก์เมตรเป็น 2 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

การระบาดของไข้หวัดนกในประเทศทำให้ภาคเกษตรกรรมหดตัวระหว่างปี พ.ศ. 2547 ประกอบกับคลื่นสึนามิซึ่งถล่มภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันหลังจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ได้สร้างความเสียหายแก่อุตสาหกรรมประมงในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2548-2549 ภาคเกษตรกรรมมีจีดีพีลดลงถึง 10%[51]

ในปี พ.ศ. 2558 มีเกษตรกรไทย จำนวน 25.07 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 38.14 ของประชากรทั้งประเทศ[52]

ในปี พ.ศ. 2559 เกษตรกรรม การปศุสัตว์ การป่าไม้ และการประมงสร้างรายได้ให้กับประเทศคิดเป็นเพียง 8.33% ของจีดีพี ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลกและเป็นผู้ส่งออกกุ้งหลัก พืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ มะพร้าว ข้าวโพด ยางพารา ถั่วเหลือง อ้อยและมันสำปะหลัง[53]ปัจจุบัน ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ เป็นประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ

ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารทะเลอันดับ 3 ของโลก อุตสาหกรรมประมงจ้างงานกว่า 3 แสนคน[54] ในปี พ.ศ. 2552 การประมงทำมูลค่าร้อยละ 1.6 ของจีดีพี

ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ดร. พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการกำลังประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบสำหรับการแปรรูปและส่งออก เนื่องจากทางการไทยได้แก้ไขระเบียบหรือกฎหมายต่าง ๆ ของภาคประมงตามระเบียบของต่างประเทศ[55]ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562 รัฐบาลประสบความสำเร็จในการพัฒนาสิทธิมนุษยชนด้านการประมง โดยคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ให้ ใบเขียว กับประเทศไทย เพื่อยืนยันว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม โดย พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย

การทำเหมืองแร่และถ่านหิน

แร่ธาตุหลักที่พบในประเทศไทย รวมไปถึง ฟลูออไรต์ ยิปซัม ตะกั่ว ลิกไนต์ แก๊สธรรมชาติ แทนทาลัม ดีบุกและทังสเตน อุตสาหกรรมเหมืองดีบุกได้ลดลงอย่างรุนแรงหลังจาก พ.ศ. 2528 ประเทศไทยจึงกลายมาเป็นประเทศผู้นำเข้าดีบุกตั้งแต่นั้นมา ในปี พ.ศ. 2551 แร่ธาตุที่ประเทศไทยส่งออกมากที่สุด คือ ยิปซัม

ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกยิปซัมรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากแคนาดา ถึงแม้ว่านโยบายของรัฐบาลจะจำกัดการส่งออกยิปซัมเพื่อป้องกันการตัดราคาก็ตาม ในปี พ.ศ. 2546 ประเทศไทยมีผลผลิตแร่ธาตุมากกว่า 40 ชนิด ซึ่งสร้างรายได้ให้กับประเทศปีละประมาณ 740 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม มากกว่า 80% ของแร่ธาตุนี้บริโภคภายในประเทศ

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 เพื่อที่จะกระตุ้นการลงทุนของต่างชาติในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ รัฐบาลได้ผ่อนปรนข้อจำกัดอันเข้มงวดในการทำเหมืองโดยบริษัทต่างชาติ[51]

ในปี พ.ศ. 2552 การทำเหมืองแร่และเหมืองหินทำมูลค่าร้อยละ 2.3 ของจีดีพี[56]

ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีการทำเหมืองถ่านหินทั่วประเทศ จำนวน 341 โรงงาน[57]

อุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมการผลิต

สำนักงานเศรษฐกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม แบ่ง ประเภทภาคอุตสาหกรรมและการผลิตไว้ 18 สาขา ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ อุตสาหกรรมเซรามิก อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไม้ อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ อุตสาหกรรมอาหาร[58]

ในปี พ.ศ. 2550 อุตสาหกรรมสร้างรายได้ถึง 43.9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ แต่มีแรงงานทำงานอยู่เพียง 14% ของแรงงานทั้งหมด สัดส่วนดังกล่าวตรงกันข้ามกับสัดส่วนของภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมในประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 3.4% ต่อปีระหว่าง พ.ศ. 2538-2548 ภาคย่อยที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรม คือ การผลิต ซึ่งสร้างรายได้คิดเป็น 34.5% ของจีดีพี ในปี พ.ศ. 2547

ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในตลาดสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ในปี พ.ศ. 2547 ประมาณการผลิตรถยนต์แตะระดับที่ 930,000 คัน มากกว่าสองเท่าของประมาณการผลิตในปี พ.ศ. 2544 ค่ายผู้ผลิตรถยนต์หลักที่ดำเนินการในประเทศ ได้แก่ โตโยต้าและฟอร์ด การขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ได้ทำให้ปริมาณการผลิตเหล็กกล้าในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตามประเทศไทยไม่สามารถผลิตรถยนต์ในประเทศเพื่อคนไทยใช้ได้เลย[59] อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเผชิญกับการแข่งขันจากมาเลเซียและสิงคโปร์ ในขณะที่อุตสาหกรรมสิ่งทอเผชิญการแข่งขันจากจีนและเวียดนาม [51]ในปี พ.ศ. 2552 การทำยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ครัวเรือน ทำรายได้ร้อยละ 14.0 ของจีดีพี

สถิติอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ของไทย[ต้องการอ้างอิง]
ปี ยอดผลิค ผลิตเพื่อ มูลค่าส่งออก
สำเร็จรูป
(ล้านบาท)
ส่งออก
สำเร็จรูป
ต่อจีดีพี
จำหน่าย
ในประเทศ
ส่งออก
ต่างประเทศ
2548 เพิ่มขึ้น 1,125,316 690,409 434,907 203,025.36 2.86%
2549 เพิ่มขึ้น 1,188,044 646,838 541,206 240,764.09 3.07%
2550 เพิ่มขึ้น 1,287,379 598,287 689,092 306,595.20 3.88%
2551 เพิ่มขึ้น 1,394,029 610,317 783,712 351,326.97 3.87%
2552 ลดลง 999,378 447,318 552,060 251,342.99 2.79%
2553 เพิ่มขึ้น 1,645,304 750,614 894,690 404,659.37 4.00%
2554 ลดลง1,457,795 723,845 733,950 343,383.92 3.26%
2555 เพิ่มขึ้น 2,453,717 1,432,052 1,021,665 490,134.74 4.31%
2556 เพิ่มขึ้น 2,457,086 1,335,783 1,121,303 512,186.40 4.30%
2557 ลดลง 1,880,007 757,853 1,122,154 527,423.43 4.02%
2558 เพิ่มขึ้น 1,913,002 712,028 1,200,974 592,550 4.41%
2559 เพิ่มขึ้น 1,944,417 776,843 1,167,574 631,845
2560 เพิ่มขึ้น 1,988,823 862,391 1,126,432 603,037
2561 เพิ่มขึ้น 2,167,694 1,041,739 1,140,640 948,397.83

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ในปี พ.ศ. 2552 ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีแรงงานคิดเป็นร้อยละ 20 ของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมของไทย มีมูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 3.4 ของจีดีพี[60]

วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม

ในปี พ.ศ. 2557 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs มีจำนวนคิดเป็นร้อยละ 99.7 ของจำนวนวิสาหกิจทั่วประเทศ ก่อให้เกิดการจ้างงานร้อยละ 80.3 ของการจ้างงานทั้งหมด และสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศคิดเป็นร้อยละ 39.6 ของจีดีพี [61]อยู่ในการควบคุมของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

พลังงาน

ในปี พ.ศ. 2547 ปริมาณการบริโภคพลังงานทั้งหมดของประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 3,400 ล้านล้านบีทียู ซึ่งคิดเป็นราว 0.7% ของปริมาณการบริโภคพลังงานของทั้งโลก ประเทศไทยเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันและแก๊สธรรมชาติรายสำคัญ แต่รัฐบาลกำลังสนับสนุนการใช้เอธานอลเพื่อลดการนำเข้าปิโตรเลียมและสารเติมแต่งน้ำมัน เมทิล เทอร์เทียรี บิวทิล อีเธอร์ (MTBE)

ในปี พ.ศ. 2548 ปริมาณการใช้น้ำมันต่อวันอยู่ที่ 133,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เกินกว่าปริมาณการผลิตภายในประเทศที่ 48,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โรงกลั่นน้ำมันสี่แห่งของไทยมีความสามารถทำงานได้ 111,780 ลิตรต่อวัน รัฐบาลไทยกำลังพิจารณาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการขนส่งน้ำมันในภูมิภาค รองรับความต้องการของจีนตอนกลางและตอนใต้ ในปี พ.ศ. 2547 ปริมาณการบริโภคแก๊สธรรมชาติอยู่ที่ 2.99 × 1010 ลูกบาศก์เมตร เกินกว่าปริมาณการผลิตภายในประเทศที่ 2.2 × 1010 ลูกบาศก์เมตร

ในปี พ.ศ. 2547 อีกเช่นกัน ปริมาณการบริโภคถ่านหินที่ประมาณกันไว้อยู่ที่ 30.4 ล้านตันขนาดเล็ก เกินกว่าปริมาณการผลิตภายในประเทศที่ 22.1 ล้านตันขนาดเล็ก ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ปริมาณน้ำมันสำรองที่มีการพิสูจน์อยู่ที่ 46 ล้านลูกบาศก์เมตร และปริมาณแก๊สธรรมชาติสำรองอยู่ที่ 420 ลูกบาศก์กิโลกรัม ในปี พ.ศ. 2546 ปริมาณถ่านหินสำรองหมุนเวียอยู่ที่ 1,492.5 ล้านตันขนาดเล็ก[51]

ในปี พ.ศ. 2548 ประเทศไทยบริโภคไฟฟ้าอย่างน้อย 117,700 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง การบริโภคไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 4.7% ในปี พ.ศ. 2549 เป็น 133,000 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง

บริการ

ในปี พ.ศ. 2550 ภาคบริการ ซึ่งมีขอบเขตตั้งแต่การท่องเที่ยวไปจนถึงธนาคารและการเงิน สร้างมูลค่าคิดเป็น 44.7% ของจีดีพีและมีสัดส่วน 37% ของกำลังแรงงาน[51]ในปี พ.ศ. 2557 ภาคบริการ ซึ่งมีขอบเขตตั้งแต่การท่องเที่ยวไปจนถึงธนาคารและการเงิน สร้างมูลค่าคิดเป็น 52% ของจีดีพีและมีสัดส่วน 49% ของกำลังแรงงาน[62] ปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทยเปิดเผยว่า ในปี พ.ศ. 2560 อัตราการเจริญเติบโตของสินเชื่อ มีอัตราเจริญเติบโตที่ 4.6%[63]

การศึกษา

บริษัท เอสไอเอสบี จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการธุรกิจ “โรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์” รวม 5 แห่งทั่วประเทศได้เข้าทำการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ใน ปี พ.ศ. 2561[64]คนจีนส่วนหนึ่งย้ายเข้ามาประเทศไทยเพื่อนำลูกเข้ามาเรียนโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย[65]

การท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวทำรายได้ให้กับประเทศเป็นสัดส่วนสูงกว่าประเทศอื่นใดในทวีปเอเชียในปี พ.ศ. 2559 ทำรายได้ 2.51 ล้านล้านบาท คิดเป็น 17.7% ของจีดีพี[66]

การเพิ่มขึ้นอย่างมากของนักท่องเที่ยวจากชาติในทวีปเอเชียด้วยกันได้สร้างรายได้อย่างมากให้กับประเทศไทย ถึงแม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย ในปี พ.ศ. 2561 นักท่องเที่ยวราว 38.27[67] ล้านคนเดินทางเข้ามาในประเทศไทยโดยนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนเดินทางมาประเทศไทยมากที่สุด รองลงมาคือประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศมาเลเซีย ด้านนักท่องเที่ยวที่นำรายได้เข้าประเทศมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศรัสเซีย และ ประเทศมาเลเซีย[68] ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานดอนเมือง ทำการบินระหว่าง บริสเบน รัฐควีนส์แลนด์ ทวีปออสเตรเลีย กับ กรุงเทพมหานคร อีกครั้ง

วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ที่กำลังฟื้นตัว การกลับมาเติบโตของเศรษฐกิจจีน วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศ และการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีผลกระทบน้อยกว่าที่กังวลล่วงหน้า ได้เปลี่ยนแปลงมุมมองของการท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2553 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลง 16% ในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2552 แต่ในช่วงสี่เดือนสุดท้ายของปี นักท่องเที่ยวต่างประเทศได้กลับมาจนทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างประเทศของ พ.ศ. 2552 จึงอยู่ที่ 14 ล้านคน ลดลงเพียง 4% เมื่อเทียบกับตัวเลขของปี พ.ศ. 2551

การโรงแรม

การโรงแรมในประเทศไทย เริ่มขึ้นมาตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ รัชกาลที่ 4 ซึ่งประชาชนมีการไปมาหาสู่กัน ชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนที่เข้ามาที่สยามประเทศในเวลานั้นก็จะไปพักตามศาลาวัด ต่อมาเมื่อคณะทูตซึ่งมี หม่อมราโชไทย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) กลับจากยุโรป ได้นำแนวความคิดของการสร้างโรงแรมมาพัฒนา จนกระทั่งเมื่อหนังสือพิมพ์รายปีของ หมอบรัดเลย์ (D.B. Bradley) หลายฉบับได้กล่าวถึงการเปิดโรงแรมในประเทศ

  • ฉบับปี พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) ได้มีข้อความประกาศเปิดโรงแรมเป็นครั้งแรกในประเทศไทย คือ ยูเนี่ยนโฮเต็ล (Union Hotel) และ บอร์ดดิ้งโฮเต็ล (Boarding Hotel)
  • ฉบับปี พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864) ข้อความประกาศชื่อโรงแรม ยูเนี่ยน โฮเต็ล (Union Hotel) , โอเรียนเต็ล (Oriental) , ฟิชเชอร์ โฮเต็ล (Fisher's Hotel)
  • ฉบับปี พ.ศ. 2408 (ค.ศ. 1865) ข้อความประกาศชื่อโรงแรม ยูเนี่ยน โฮเต็ล (Union Hotel) และ โอเรียนเต็ล (Oriental)
  • ฉบับปี พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) ข้อความประกาศชื่อโรงแรม ยูเนี่ยนโฮเต็ล (Union Hotel)

จนมาถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ รัชกาลที่ 5 มีการปรับปรุงโรงแรมครั้งใหญ่ให้มีความสะดวกสบายและหรูหรามากขึ้นกว่าเดิม มีการนำไฟฟ้าเข้าไปใช้ในโรงแรมเป็นครั้งแรกที่ โรงแรมโอเรียนเต็ล มีการเปิดห้องอาหารภายในโรงแรมแบบเต็มระบบและในรัชสมัยนี้เองธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยก็รุ่งเรืองขึ้น มีการเปิดโรงแรมต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น ในปี พ.ศ. 2413 (ค.ศ. 1870) มีโรงแรมเปิดใหม่คือ Falck's German, Hamburg, Marien, Siam และในปี พ.ศ. 2414 (ค.ศ. 1871) Carter's, Norfolk แต่โรงแรมทั้งหมดที่กล่าวไป สร้างขึ้นและบริหารงานโดยชาวต่างชาติทั้งสิ้น

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2465 พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ผู้บัญาชาการการรถไฟในสมัยนั้น ได้สร้างขึ้นมีชื่อว่า "โรงแรมรถไฟหัวหิน" เป็นโรงแรมที่สร้างขึ้นใกล้กับสถานีรถไฟหัวหิน เป็นโรงแรมแรกที่สร้างขึ้นโดยคนไทย มีคนไทยเป็นผู้บริหารงานและเป็นโรงแรมที่เป็นโรงแรมริมชายหาด เปิดบริการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2466 ปัจจุบันเป็นโรงแรมในเครือเซ็นทารา[69]

วิดีโอเกม

เศรษฐกิจเงา

ประเทศไทยมีจำนวนโสเภณีกว่า 1 แสนถึง 2 แสนคนธุรกิจอาบอบนวดที่ขายบริการทางเพศร่วมด้วยทำรายได้ให้กับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2550 ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ระบุในภาคนิพนธ์ว่า ประเทศไทยมีรายได้จากธุรกิจอาบอบนวดและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบริการทางเพศราว 2.05 ของ จีดีพีในปีนั้น[70]

ในปี พ.ศ. 2560 เจริญ สิริวัฒนภักดี เป็นบุคคลที่รวยที่สุดในประเทศไทยจากธุรกิจขายสุรา เศรษฐกิจเงาในประเทศไทยหลายธุรกิจถูกระบุว่าไม่ผิดกฎหมายและสามารถดำเนินการได้อย่างจำกัดภายใต้กฎหมายของประเทศไทย อย่างไรก็ตามภายใต้กฎหมายปรับภาษีเหล้า บุหรี่ที่ประกาศใช้ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 ผลประกอบการจริงของโรงงานยาสูบในรอบครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2561 มีกำไร 588 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 87.54%[71]

ในปี พ.ศ. 2561 พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ระบุว่ามีผู้ประกอบการ 81 แห่งทั่วประเทศ[72] แม้การค้าประเวณีในประเทศไทยขายบริการทางเพศผิดกฎหมายในประเทศไทย[73] แต่การเป็นเจ้าของธุรกิจเหล่านี้ไม่ผิดกฎหมาย นอกจากนั้นธุรกิจการพนันในประเทศกัมพูชาที่มีเจ้าของเป็นคนไทยยังทำรายได้เข้าประเทศ[74]

แรงงาน

ประเทศไทยมีแรงงานทำงานอยู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ประเทศเกาหลีใต้[75] ประเทศอิสราเอล[76] ในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2561 กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน รายงานว่ามีแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ 154,251 คน จำนวนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ประเทศไต้หวัน อิสราเอล เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์[77]

เช่นเดียวกับในภูมิภาคกำลังพัฒนาอื่น ๆ[78] แรงงานนอกระบบประกอบขึ้นเป็นกว่าครึ่งของแรงงานในไทย[79] แรงงานนอกระบบมีรายได้ต่ำกว่าแรงงานในระบบถึง 56.7 เปอร์เซ็นต์[80] และแรงงานนอกระบบเพศชายโดยทั่วไปจะมีรายได้มากกว่าแรงงานนอกระบบเพศหญิง[80]

ในปี พ.ศ. 2560 แรงงานไทยในต่างประเทศส่งเงินกลับประเทศ 125,688 ล้านบาท[81] ในขณะที่มูลค่าการส่งออกตลอดปีเท่ากลับ 8,006,265 ล้านบาท[82] คิดเป็นร้อยละ 1.57 ของมูลค่าการส่งออก

โทรคมนาคม

เขตเศรษฐกิจพิเศษ

เขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย ปัจจุบันใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2564 โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

การค้าระหว่างประเทศ

อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยรายปี

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 "World Economic Outlook Database, October 2019". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 21 October 2019.
  2. 2.0 2.1 2.2 "World Economic Outlook Database, April 2020". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
  3. "Global Economic Prospects, June 2020". openknowledge.worldbank.org. World Bank. p. 74. สืบค้นเมื่อ 10 June 2020.
  4. 4.0 4.1 "Thailand at a glance". Bank of Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2013. สืบค้นเมื่อ 9 April 2013.
  5. "Poverty headcount ratio at national poverty lines (% of population) - Thailand". data.worldbank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
  6. "Poverty headcount ratio at $5.50 a day (2011 PPP) (% of population) – Thailand". data.worldbank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
  7. "GINI index (World Bank estimate)". data.worldbank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
  8. "Labor force, total - Thailand". data.worldbank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 21 December 2019.
  9. "Employment to population ratio, 15+, total (%) (national estimate) - Thailand". data.worldbank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 21 December 2019.
  10. "Thailand Board Investment Says Six-Spot Surge to 21st Rank in World Bank Ease Of Doing Business Index Rewards Thailand's efforts". www.prnewswire.com.
  11. 11.0 11.1 "Thai Export Grows 9.9% In 2017". Thailand Business News. 2018. สืบค้นเมื่อ 29 January 2018.
  12. 12.0 12.1 "Exports rise 9.9% to six-year high". Bangkok Post. 2018. สืบค้นเมื่อ 29 January 2018.
  13. 13.0 13.1 "สรุปผลส่งออกไทยปี"60 โต 9.9%". Prachachat. 2018. สืบค้นเมื่อ 29 January 2018.
  14. 14.0 14.1 "Trade Profiles – WTO Statistics Database". World Trade Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2018. สืบค้นเมื่อ 20 August 2018.
  15. "COUNTRY COMPARISON :: STOCK OF DIRECT FOREIGN INVESTMENT – AT HOME". The World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-11. สืบค้นเมื่อ 29 January 2018.
  16. "External debt (US$)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-02. สืบค้นเมื่อ 2 July 2019.
  17. "Public debt outstanding". สืบค้นเมื่อ 20 June 2022.
  18. ผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2564. กระทรวงการคลัง .
  19. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ จำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจและรายจ่าย. กระทรวงการคลัง
  20. "Fitch Upgrades Thailand to 'BBB+'; Outlook Stable". FitchRatings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2014. สืบค้นเมื่อ 12 March 2013.
  21. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-29. สืบค้นเมื่อ 2021-04-30.
  22. "International Reserves". Bank of Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-15. สืบค้นเมื่อ 21 July 2020.
  23. อภิชาติ คุณวัฒน์บัณฑิต.“ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติของประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561.[ลิงก์เสีย]
  24. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Bank of Thailand CPI
  25. โทรคมนาคมและการค้าบริการกำลังกำเนิดเป็นศูนย์กลางการขยายอุตสาหกรรมและการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
  26. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-13. สืบค้นเมื่อ 2014-09-04.
  27. Thailand. IRRI. สืบค้น 4-9-2557. (อังกฤษ)
  28. Thailand Leads World in Rubber Production and Advance R&D เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Bank of Thailand. สืบค้น 4-9-2557.
  29. เอกลักษณ์ประจำชาติของไทย. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. สืบค้น 9-12-2553.
  30. ระบบรายงานข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของไทย เก็บถาวร 2014-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 4-9-2557.
  31. "Thailand". World Bank. สืบค้นเมื่อ 17 July 2012.
  32. GNI per capita, Atlas method (current US$)
  33. "ตารางที่ 1.2 สัดส่วนคนจน เมื่อวัดด้านรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค จำแนกตามภาคและพื้นที่ ปี พ.ศ. 2531-2559". Office of the National Economic and Social Development Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-25. สืบค้นเมื่อ 21 Aug 2018.
  34. "Unemployment Rate". CIA - The World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-12. สืบค้นเมื่อ 17 July 2012.
  35. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ เก็บถาวร 2012-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 3-9-2557.
  36. Bird, Kelly; Hattel, Kelly; Sasaki, Eiichi; Attapich, Luxmon. (2011). Poverty, Income Inequality, and Microfinance in Thailand[ลิงก์เสีย]. Asian Development Bank. สืบค้น 4-9-2557.
  37. เกษตรศิริ, ชาญวิทย์ (2551). ประวัติศาสตร์การเมืองไทยสยาม พ.ศ. 2475–2500. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ISBN 978-974-372-972-0.
  38. "วิชาเศรษฐกิจไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-03-29. สืบค้นเมื่อ 2018-05-04.
  39. บทวิเคราะห์: GDPไทยและความไม่สมดุลที่ซุกซ่อน(2): ร่างงบปี58ตอบโจทย์หรือไม่?
  40. Re-design เศรษฐกิจไทยต้องเติบโตอย่างยั่งยืน
  41. มนุษย์เศรษฐกิจ 2.0
  42. "ธ.โลกประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้ ถดถอยมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน". BBC ไทย. 29 September 2020. สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  43. สภาพัฒน์ชี้ เศรษฐกิจไทยปี’63 ติดลบ 6.1% ต่ำสุดในรอบ 22 ปี
  44. "ชัยชาญ เจริญสุข” ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือฯป้ายแดง
  45. ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยหนี้สินครัวเรือนไทย ไตรมาส 4/64 แตะ 14.58 ล้านล้าน คิดเป็น 90.1% ต่อ GDP
  46. รอดูวันที่ "หนี้ครัวเรือนไทย" จะระเบิด
  47. อึ้ง! คนไทยมีหนี้ท่วมครัวเรือนละ 6 แสนบาท "บัตรเครดิต"สูงสุด
  48. "World Trade Developments" (PDF). World Trade Organization. สืบค้นเมื่อ 12 March 2013.
  49. ตะลึงหนี้สาธารณะท่วม แบงก์ชาติผ่าแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจ.
  50. "กู้สนั่นเมือง3ล้านล้านบาท หนี้ประเทศพุ่ง9ล้านล้าน". โพสต์ทูเดย์ (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  51. 51.0 51.1 51.2 51.3 51.4 Thailand country profile. Library of Congress Federal Research Division (July 2007). This article incorporates text from this source, which is in the public domain.
  52. "เกษตรกรไทย จำนวน 25.07 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 38.14 ของประชากรทั้งประเทศ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-20. สืบค้นเมื่อ 2018-12-13.
  53. Wasps to Fight Thai Cassava Plague
  54. แรงงานเมียนมาเล่าสภาพการทำงานบนเรือประมงไทย ขณะ ยูเอ็นลงพื้นที่สำรวจสภาพการทำงานของแรงงานข้ามชาติ
  55. ไทยวิกฤติหนักขาดวัตถุดิบแปรรูป เรือประมงจอดสนิทไม่จับปลา
  56. การทำเหมืองแร่และเหมืองหินทำมูลค่าร้อยละ 2.3 ของจีดีพี[ลิงก์เสีย]
  57. "การทำเหมืองถ่านหิน ทั่วประเทศ จำนวน 341 โรงงาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-21. สืบค้นเมื่อ 2018-12-03.
  58. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-12. สืบค้นเมื่อ 2018-12-10.
  59. ชี้ไทยอย่าฝันผลิตรถยนต์เอง
  60. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-12. สืบค้นเมื่อ 2018-12-07.
  61. "วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-25. สืบค้นเมื่อ 2018-12-06.
  62. "ภาคบริการ ซึ่งมีขอบเขตตั้งแต่การท่องเที่ยวไปจนถึงธนาคารและการเงิน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2018-12-03.
  63. คุยกับ “ปรีดี ดาวฉาย” เรื่องของธนาคารไทยและเรื่องร้อน ๆ อย่างการยกเลิกค่าธรรมเนียม
  64. หุ้นโรงเรียนแห่งแรก
  65. กระแสพ่อแม่จีนซื้อการศึกษาพร้อมบ้านในไทย ทำภาคอสังหาฯไทยคึกคัก
  66. ปี 59 ทำเงินเข้าไทยกระเป๋าตุง! รัฐปลื้มตัวเลขท่องเที่ยวสวยหรู
  67. เที่ยวไทยทะลุ41ล้าน ประเมินปี'62ต่างชาติทะลักเพิ่มทุกตลาด
  68. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-21. สืบค้นเมื่อ 2018-12-07.
  69. "โซฟิเทลเซ็นทาราแกรด์นรีสอร์ทและวิลล่า หัวหิน'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-31. สืบค้นเมื่อ 2012-03-21.
  70. “ชูวิทย์” แฉผ่านภาคนิพนธ์ กองทุนหมู่บ้าน “แม้ว” เน่า ผลักผู้หญิงขายตัว!
  71. 6 เดือน หลังปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ โรงงานยาสูบรายได้หาย-กำไรหด เกษตรกร 5 หมื่นราย ถูกตัดโควตา – ขายใบยา
  72. คำต่อคำ 'สมยศ' แจงปมยืมเงินเสี่ยกำพล300ล. เรื่องหุ้นผมนิยมมาก อาชีพตำรวจแค่ไซด์ไลน์
  73. ผู้ค้าบริการทางเพศไทย ไปทำอะไรใน 'งานเอดส์โลก' ที่เนเธอร์แลนด์?
  74. 10กาสิโนหรูเขมรบิ๊กฝั่งไทยร่วมหุ้น
  75. สนทนากับ "ผีน้อย": ประสบการณ์คนงานไทยผิดกฎหมายในเกาหลีใต้
  76. แรงงานไทยในอิสราเอล: ชะตากรรม 25,000 ชีวิตในลิขิตนายจ้าง
  77. "กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 2018-11-30.
  78. Charmes, J. (2016). "The informal economy: Definitions, Size, Contribution, Characteristics and Trends". Research, Network and Support Facility (RNSF). โรม.
  79. สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2018), การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2559 (PDF), ISSN 1905-8373, สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2022
  80. 80.0 80.1 Vivatsurakit, T.; Vechbanyongratana, J. (2020). "Returns to education among the informally employed in Thailand". Asian-Pacific Economic Literature. 34 (1): 26–43. doi:10.1111/apel.12284. ISSN 0818-9935.
  81. เปิดตัวเลขแรงงานไทยในต่างแดน มีจำนวนเท่าไร อยู่ที่ไหน และนำรายได้กลับประเทศเท่าไร
  82. "มูลค่าส่งออกและนำเข้าสินค้าทั้งหมดรายเดือน ตั้งแต่ปี 2558 ถึง 2560". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-21. สืบค้นเมื่อ 2018-12-03.
  83. ธนาคารโลก. "GDP growth (annual %) World Bank national accounts data, and OECD National Accounts data files.." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG?end=2017&locations=TH&start=1989 2564. สืบค้น 28 เมษายน 2566.

แหล่งข้อมูลอื่น


Kembali kehalaman sebelumnya