สุรพร ดนัยตั้งตระกูล
สุรพร ดนัยตั้งตระกูล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด อดีตกรรมการบริหาร พรรคพลังประชารัฐ ประวัติสุรพร ดนัยตั้งตระกูล เกิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีพี่ชายชื่อ สุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ดำรงตำแหน่งวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 การทำงานสุรพร ดนัยตั้งตระกูล เคยเป็นผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งอีกในการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 และเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 รวมถึงการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 ในสังกัดพรรคความหวังใหม่ แต่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 เขาแพ้ให้กับนายเอกภาพ พลซื่อ จากพรรคเสรีธรรม จากนั้นจึงลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2549 และได้รับเลือกตั้ง ต่อมาเขาได้ร่วมงานกับพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ใน พ.ศ. 2561 เขาได้ร่วมก่อตั้ง พรรคพลังประชารัฐ และดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค ในปี 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ลำดับที่ 25[2] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2565 ได้เลื่อนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ แทน สันติ กีระนันทน์ [3] การดำรงตำแหน่งทางการเมืองสุรพร ดนัยตั้งตระกูล เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2531 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในปี พ.ศ. 2538 กระทั่งในปี พ.ศ. 2539 จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[4] ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 เขาถูกปรับออกจากความเป็นรัฐมนตรี พร้อมรัฐมนตรีในกระทรวงศึกษาธิการทั้งคณะ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เขาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต่อมาเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง[5] และเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (พ้อง ชีวานันท์) ในปี พ.ศ. 2556[6] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|