Share to:

 

ยิ่งพันธ์ มนะสิการ

ยิ่งพันธ์ มนะสิการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2541
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ชวลิต ยงใจยุทธ
ชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
ถัดไปสุวิทย์ คุณกิตติ
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้าอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ
ถัดไปเกษม สุวรรณกุล
เลขาธิการพรรคประชากรไทย
ดำรงตำแหน่ง
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2541
ก่อนหน้าโกศล ไกรฤกษ์
ถัดไปชัยสิทธิ์ ภูวภิรมย์ขวัญ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480
อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย
เสียชีวิต22 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (66 ปี)
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์กรุงเทพมหานคร
พรรคการเมืองประชากรไทย (2522–2542)
ชาติพัฒนา (2542–2543)
ไทยรักไทย (2543–2546)
คู่สมรสมยุรา มนะสิการ

ยิ่งพันธ์ มนะสิการ (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 – 22 ธันวาคม พ.ศ. 2546) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก และอดีตนายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร

ประวัติ

นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 ที่ตำบลหินลาด อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก เป็นบุตรของบุญชง กับแสง มนะสิการ[1] สำเร็จการศึกษาจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางมยุรา มนะสิการ อดีต ส.ส.พิษณุโลก 2 สมัย มีบุตร-ธิดา 3 คน

การทำงาน

นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิษณุโลก พรรคประชากรไทย และเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2534[2] และเป็นเลขาธิการพรรคประชากรไทย ซึ่งนายยิ่งพันธ์ มนะสิการ เป็น 1 ใน 12 ส.ส. กลุ่มงูเห่า ที่ให้การสนับสนุนนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี จนได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม[3] ในรัฐบาล 3 คณะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2541 ซึ่งในการดำรงตำแหน่งดังกล่าว เขาถูกกล่าวหาว่ามีความเกี่ยวโยงกับการทุจริตที่ดินคลองด่าน[4] เป็นเหตุให้นายวัฒนา อัศวเหม ถูกศาลตัดสินจำคุก และเขาถูกกรมควบคุมมลพิษ ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการที่เขาเป็นผู้เสนอโครงการต่อคณะรัฐมนตรี เอื้อประโยชน์ให้มีการดำเนินการให้ราชการได้รับความเสียหาย รวมมูลค่าความเสียหายที่ต้องชดใช้ 4,770 ล้านบาท[5]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้ย้ายมาลงสมัครในนามพรรคไทยรักไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง แพ้ให้กับนายพิทักษ์ สันติวงศ์เดชา จากพรรคประชาธิปัตย์[6] ต่อมาได้ลงเลือกตั้งซ่อมเขต 6 แต่ก็แพ้ให้กับนายจุติ ไกรฤกษ์ ทำให้ในการจัดตั้งรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงได้รับตำแหน่งเป็นเพียง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย [7]

ถึงแก่อนิจกรรม

ยิ่งพันธ์ มนะสิการ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2546 สิริอายุ 66 ปี[8] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2547 ณ วัดธรรมจักร อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-17.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  4. "เปิดกลุ่มนักการเมือง-ข้าราชการ 'เอื้อทุจริตบำบัดน้ำเสียคลองด่าน'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2010-08-17.
  5. ฟ้องกราวรูดหมื่น ล.จาก ไทยรัฐ
  6. "ผลการเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดพิษณุโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-08. สืบค้นเมื่อ 2010-08-17.
  7. "การแต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย (นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-28.
  8. "อดีตนักการเมืองดัง "ยิ่งพันธ์" เสียชีวิต". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-01-08. สืบค้นเมื่อ 2004-01-08.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
ก่อนหน้า ยิ่งพันธ์ มนะสิการ ถัดไป
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
(18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2541)
สุวิทย์ คุณกิตติ
อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
(14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534)
เกษม สุวรรณกุล
Kembali kehalaman sebelumnya