Share to:

 

มนัญญา ไทยเศรษฐ์

มนัญญา ไทยเศรษฐ์
มนัญญา ใน พ.ศ. 2562
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(4 ปี 53 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีว่าการเฉลิมชัย ศรีอ่อน
ก่อนหน้าวิวัฒน์ ศัลยกำธร
ถัดไปอนุชา นาคาศัย
ไชยา พรหมา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 สิงหาคม พ.ศ. 2505 (62 ปี)
อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองภูมิใจไทย (2561–2567)
คู่สมรสอนุชา ซักเซ็ค
บุตรเจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์
ปารีณา ซักเซ็ค
กฤษฎา ซักเซ็ค
ปารีชา ซักเซ็ค
อามาจีนา ซักเซ็ค
บุพการี
  • เดชา ไทยเศรษฐ์ (บิดา)
  • ปาลี้ ไทยเศรษฐ์ (มารดา)
ญาติชาดา ไทยเศรษฐ์ (พี่ชาย)
ศิษย์เก่าโรงเรียนอุทัยวิทยาคม
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ชื่อเล่นแหม่ม

มนัญญา ไทยเศรษฐ์ (เกิด 7 สิงหาคม พ.ศ. 2505) ชื่อเล่น แหม่ม เป็นนักการเมืองชาวไทย ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ชาดา ไทยเศรษฐ์)[1] และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ประวัติ

มนัญญา ไทยเศรษฐ์ เป็นลูกสาวของเดชา กับปาลี้ ไทยเศรษฐ์[2] และเป็นน้องสาวของชาดา ไทยเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีหลายสมัย มีบุตรชายคือ เจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี มนัญญาเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนอุทัยวิทยาคม ต่อมาเข้าเรียนที่คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และปริญญาตรีอีกแห่งหนึ่งที่คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มนัญญาสมรสกับอนุชา ซักเซ็ค มีบุตร 5 คน ซึ่งเจเศรษฐ์บุตรคนโตของทั้งสอง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 และ 2566[3]

การเมือง

มนัญญา ไทยเศรษฐ์ เป็นนักการเมืองท้องถิ่น เคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี จนกระทั่งลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2562[4] ต่อมาวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[5] สัดส่วนของพรรคภูมิใจไทย[6] ดูแลรับผิดชอบงานของกรมวิชาการเกษตร และมีนโยบายในการห้ามใช้สารคลอร์ไพริฟอส และพาราควอต ในภาคการเกษตรของประเทศไทย[7]ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เธอลาออกจากสมาชิกพรรคภูมิใจไทยเพื่อดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี [8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะทำงานเครือข่ายขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับภาค" รุ่นที่ 1 ภาคใต้". กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-03. สืบค้นเมื่อ 2024-04-03.
  2. "แหม่ม มนัญญา" หญิงแกร่งแห่งดอนหมื่นแสน
  3. “มนัญญา ไทยเศรษฐ์” ในมุมคุณแม่ลูก 5 วิพากษ์จุดอ่อน-จุดแข็ง “ชาดา”
  4. น้องสาว ‘ชาดา ไทยเศรษฐ์’ ลาออกนายกเทศมนตรีอุทัยฯ คาดเตรียมนั่งเก้าอี้ รมต.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๗๖ ง หน้า ๒, ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒
  6. แหม่ม-มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรี “อกสามศอก” ของจริง
  7. "มนัญญา" ยัน หากยังนั่งเก้าอี้ รมช.เกษตรฯ อยู่ ไม่มีการใช้ 2 สารพิษ
  8. ”ลาออกภท. ตั้งแต่เดือนกพ. ปัดกระแสข่าว ตีจากบ้านใหญ่อุทัยธานี
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
Kembali kehalaman sebelumnya