Share to:

 

กัลยา โสภณพนิช

กัลยา โสภณพนิช
กัลยา ใน พ.ศ. 2553
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
(1 ปี 168 วัน)
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าวุฒิพงศ์ ฉายแสง
ถัดไปวีระชัย วีระเมธีกุล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(4 ปี 53 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีว่าการตรีนุช เทียนทอง
ก่อนหน้าอุดม คชินทร
ถัดไปสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 กันยายน พ.ศ. 2483 (84 ปี)
จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2533–ปัจจุบัน)
คู่สมรสโชติ โสภณพนิช
บุตร4 คน

คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช (เกิด 21 กันยายน พ.ศ. 2483) เป็นนักวิชาการ นักธุรกิจ และนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรองหัวหน้าตามภารกิจพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ

กัลยา เกิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2483 ที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตร นายยิ้ม พงศ์พูนสุขศรี นางมุ้ยฮวง แซ่เล้ง สมรสกับโชติ โสภณพนิช บุตรชายชิน โสภณพนิช ผู้ก่อตั้งธนาคารกรุงเทพ เมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2513 มีบุตรธิดาด้วยกัน 4 คน ได้แก่ นางโชติยา ฮาลูยา, นายชลิต โสภณพนิช, นางสาวสุภณา โสภณพนิช และนางกิติยา โสภณพนิช

การศึกษา

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนวัดใหม่ มัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนสีคิ้วสวัสดิ์ผดุงวิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนสตรีวรนารถ เทเวศร ์ จบมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนกวิทยาศาสตร์ จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท รุ่นที่ 21 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2508 และได้ทุนโคลัมโบ ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท และได้รับทุนต่อเนื่องในระดับปริญญาเอก ที่อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน ในเครือมหาวิทยาลัยลอนดอน (Imperial College of Science and Technology, University of London) ประเทศอังกฤษ จนสำเร็จการศึกษาปริญญาเอกด้าน ฟิสิกส์นิวเคลียร์พลังงานสูง (High Energy Nuclear Physics) เมื่อปี พ.ศ. 2513[2][3]

การทำงาน

ทำงานเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2513 หัวหน้าภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ในปี พ.ศ. 2521 เป็นกรรมการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2526 ทำงานเป็นกรรมการและเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค ขึ้นในปี พ.ศ. 2529 เป็นกรรมการและเลขานุการ โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปี พ.ศ. 2521 เป็นผู้ก่อตั้งและประธานศูนย์ฝึกเด็กที่มีปัญหาทางสมอง “ ประภาคารปัญญา ” มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นผู้ก่อตั้งและกรรมการเลขาธิการ มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ ในปี พ.ศ. 2524 ต่อมาเมื่อ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก็ได้เป็นนายกสมาคมโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (เป็นนายกสมาคมหญิงคนแรก) และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 จนถึงปัจจุบัน เป็นกรรมการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตและคณะกรรมการสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า[4]

งานการเมือง

กัลยา โสภณพนิช เป็นที่รู้จักกันกว้างขวางขึ้น เมื่อลงรับสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อ ปี พ.ศ. 2543 ในนามผู้สมัครอิสระ ไม่สังกัดพรรคการเมือง ได้เบอร์ 4 แม้ไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ก็ได้รับความนิยมจากชาวกรุงเทพมหานครพอสมควร ได้คะแนนมาเป็นลำดับที่ 5 ต่อมาเธอได้เข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ ลงสมัครเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 และพ.ศ. 2548 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 8 (สวนหลวง ประเวศ บางนา พระโขนง) สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ชนะการเลือกตั้ง และเป็นรัฐมนตรีเงาว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[5] ต่อจากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ภายหลังได้มีการปรับคณะรัฐมนตรีในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 ทำให้ ดร.คุณหญิงกัลยา ถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี [6]

และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 กัลยาได้ลงสมัคร ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 7[7] และได้รับเลือกตั้งอีกสมัย รวมถึงในปี พ.ศ. 2562 อีกด้วย[8]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 กัลยาได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 4 [9]

กัลยา โสภณพนิช เคยดำรงตำแหน่งกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[10] และเป็นประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ด้วย ปัจจุบัน คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

กัลยา โสภณพนิช เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งระบบบัญชีรายชื่อและระบบแบ่งเขต จำนวน 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เป็น สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 21 ระบบบัญชีรายชื่อ
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 เป็น สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 22 ระบบบัญชีรายชื่อ
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เป็น สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 ระบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เป็น สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 ระบบบัญชีรายชื่อ
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เป็น สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 ระบบบัญชีรายชื่อ

การดำรงตำแหน่งที่สำคัญ

ด้านการศึกษา

อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรรมการและเลขานุการโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรรมการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2525 - 2528), กรรมการบริหาร "ศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์" กองแผนงานทบวงมหาวิทยาลัย, กรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), กรรมการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ด้านสิ่งแวดล้อม

กัลยา โสภณพนิช เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี กระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม (ปี พ.ศ. 2528 - 2541), ผู้ร่วมก่อตั้ง และเป็นเลขาธิการมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์, ประธานชมรมป้องกันควันพิษ (ปี พ.ศ. 2533 - 2535), กรรมการสิ่งแวดล้อมเหมืองแร่ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน (ปี พ.ศ. 2535 - 2540), กรรมการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (สสท.) และกรรมการอำนวยการโครงการ "รุ่งอรุณ" ของกระทรวงศึกษาธิการ สนับสนุนโดยสำนักงานพลังงานแห่งชาติ (สพช.)

ด้านสังคม

ประธานศูนย์ฝึกอบรม "ประภาคารปัญญา" มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อน ในพระบรมราชินูปถัมภ์, รองประธานมูลนิธิแม่บ้านอาสา, กรรมการและเหรัญญิกมูลนิธิ C.C.F.เพื่อเด็กยากจน, ประธานคณะกรรมการจัดหา และส่งเสริมผู้ให้โลหิตแห่งสภากาชาดไทย และกรรมการมูลนิธิแพลนอินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
  2. กัลยา โสภณพนิช
  3. ดร. คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช[ลิงก์เสีย]
  4. "อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ เป็นกรรมการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-18. สืบค้นเมื่อ 2012-04-05.
  5. "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๗๒ ง หน้า ๒, ๘ มิถุนายน ๒๕๕๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๔๙ ก หน้า ๓๙, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๔
  8. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ". ราชกิจจานุเบกษา. 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
  9. "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  10. คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค เก็บถาวร 2018-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ สืบค้นวันที่ 16 มีนาคม 2561
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเตรื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๕, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๐
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๔, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๖๒, เล่ม ๑๔๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๙, ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐๗ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๒ ตุลาคม ๒๕๒๑

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า กัลยา โสภณพนิช ถัดไป
วุฒิพงศ์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(20 ธันวาคม 2551 – 6 มิถุนายน 2553)
วีระชัย วีระเมธีกุล
Kembali kehalaman sebelumnya