วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เดิมเรียกว่าวัดกลางนา ต่อมายกสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร[1] ประวัติเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างขึ้นให้คล้ายคลึงกับกรุงศรีอยุธยามากที่สุด วัดที่ตั้งอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ ตลอดจนเปลี่ยนชื่อวัดให้เหมาะสม โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดกลางนาเป็นวัดตองปุ และให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ เช่นเดียวกับวัดตองปุที่กรุงศรีอยุธยา เพื่อเทิดเกียรติทหารชาวรามัญในกองทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับพม่าในสงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ. 2328 สงครามที่ท่าดินแดงและสามสบ เมื่อ พ.ศ. 2329 และสงครามที่นครลำปางป่าซาง เมื่อ พ.ศ. 2330 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดตองปุแล้วถวายเป็นพระอารามหลวงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดชนะสงคราม เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงมีชัยชนะต่อพม่าในการรบทั้ง 3 ครั้ง วัดชนะสงครามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงเริ่มดำเนินการก่อสร้างที่บรรจุพระอัฐิเจ้านายฝ่ายกรมพระราชวังบวรสถานมงคลที่เฉลียงพระอุโบสถด้านหลังตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงพระราชอุทิศพระราชทรัพย์ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ดำเนินการ แต่การก่อสร้างมาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ราชบัณฑิตยสภาก่อสร้าง ขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นนายกราชบัณฑิตยสภาและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงก่อสร้างจนเสร็จสิ้น ได้มีพิธีอัญเชิญพระอัฐิจากพระราชวังบวรสถานมงคลไปประดิษฐานใน พ.ศ. 2470 ปูชนียวัตถุ
ถาวรวัตถุ
พระปริตรามัญโบราณประเพณีเก่าแก่ของไทยประการหนึ่ง ที่มีความสำคัญ และมีความหมายยิ่ง ต่อองค์พระมหากษัตริย์โดยตรง หากแต่ไม่ค่อยได้มีผู้ใดรู้จักเท่าใดนัก เนื่องจากเป็นพิธีที่ปฏิบัติกัน เฉพาะในหอศาสตราคม พระบรมมหาราชวัง และเป็นพิธีที่จัดทำขึ้นเฉพาะส่วนพระองค์เท่านั้น พิธีนี้มีความหมายอย่างยิ่งต่อพระราชกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากเป็นพิธีที่สวดเพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ทูลเกล้าฯ ถวาย ส่วนหนึ่งสำหรับจัดเป็นน้ำสรงพระพักตร์ และน้ำโสรจสรง อีกส่วนหนึ่ง เพื่อประพรมพระที่นั่งองค์สำคัญ ในเขตพระราชฐานชั้นใน นอกจากนี้ พิธีดังกล่าว ยังมีลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งคือ จะนิมนต์เฉพาะพระสงฆ์มอญเข้ามาสวดบทสวดพระปริตรมอญเท่านั้น ความสำคัญของพิธีสวดพระปริตรรามัญ เพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ ในพระบรมมหาราชวังนั้น ปรากฏตามพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "ในพระราชนิเวศน์เวียงวัง ของพระเจ้าแผ่นดินสยาม ตามแบบแผนบุรพประเพณีสืบมา พระสงฆ์รามัญ ได้สวดพระปริตรตามแบบอย่างข้างรามัญ ถวายน้ำพระพุทธมนต์และน้ำสรงพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน และเป็นน้ำสำหรับสรงพระพักตร์ ประพรมเป็นทักษิณาวัฏรอบขอบ ในจังหวัดพระราชมหามณเฑียรนี้ทุกวัน เป็นการพระราชพิธีมีสำหรับบรมราชตระกูลสืบมาแต่โบราณ พระสงฆ์อื่น ๆ แม้นมีฐานันดรยศปรากฏด้วยเกียรติคุณ คือ เรียนรู้พระคัมภีร์ที่เป็นพระราชาคณะเปรียญ หรือที่เป็นอาจารย์บอกภาวนาวิธี หรือพระสงฆ์ที่รู้ประกอบวิทยามนต์ดล เป็นที่นับถือของคนเป็นอันมากก็ดี ก็ไม่มีราชบัญญัติ ที่จะได้รับวาระผลัดเปลี่ยนมาสวดพระปริตรถวายน้ำพระพุทธมนต์เลย เหตุอันนี้ได้ทรงพระราชดำริว่า ชะรอยจะมีเหตุวิเศษอย่างหนึ่งแต่โบราณรัชกาล เป็นมหัศจรรย์อยู่อย่างไรแน่แท้ เพราะว่าปกติธรรมดาคนชาวภาษาใด ประเทศใด ก็ย่อมนับถือพระสงฆ์และแพทย์หมอต่าง ๆ ตามประเทศ ตามภาษาของตัว ในการสวดและการบุญต่าง ๆ แลการปริตรรักษาตนรักษาไข้ แต่การซึ่งมีนิยมเฉพาะให้พระสงฆ์รามัญพวกเดียว ประจำสวดปริตรอย่างรามัญ ในพระราชวังนี้ จะมีความยืนยันมา ในพระราชพงศาวดาร หรือจดหมายเหตุการต่อมาเป็นแน่นอนก็ไม่มี ” อนึ่ง เมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินประทับแรมราตรี ณ ตำบลใดเป็นทางไกล คือเสด็จไปการสงคราม หรือแทรกโพนช้างในแผ่นดินก่อน ๆ พระสงฆ์รามัญสวดพระปริตรนี้ ก็ต้องตามเสด็จพระราชดำเนินด้วยทุกครั้ง เมื่อครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้า เสด็จไปประทับอยู่กรุงลพบุรี 8 เดือน ในฤดูแล้งทุกปี ก็ได้อาราธนาพระสงฆ์รามัญวัดตองปุให้ตามเสด็จขึ้นไปตั้งอารามชื่อวัดตองปุ อยู่สวดพระปริตรถวายพระพุทธมนต์ทุกวัน อารามนั้นก็มีปรากฏจนทุกวันนี้ แลน้ำพระพุทธมนต์พระปริตรนี้ ย่อมเป็นที่เห็นว่ามีอำนาจป้องกันอุปัทวันตรายต่าง ๆ ได้จริง ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ดำรงสิริ รัตนราไชยสวริยาธิปัตย์ เถลิงถวัลยราช ณ กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์มหินทราอยุธยานี้ ก็ได้ทรงถือน้ำพระพุทธมนต์ประปริตรที่พระสงฆ์รามัญสวดถวายนั้น เป็นน้ำสรงพระพักตร์และน้ำสรงมาทุกพระองค์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้นิพนธ์อธิบายเพิ่มเติม ถึงราชประเพณีดังกล่าวในหนังสือ "ตำนานพระปริต" โดยแสดงให้เห็นว่า แม้ปกติจะมีการแต่งตั้งตำแหน่งพระครูปริตไทย 4 รูป และพระครูปริตมอญ 4 รูป สำหรับสวดทำน้ำพระพุทธมนต์ในงานพระราชพิธีโดยทั่วไปแล้วนั้น แต่สำหรับพิธีสวดทำน้ำพระพุทธมนต์ที่หอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวังนั้นมีเฉพาะพระครูปริตมอญเท่านั้นเข้ามาสวดทุกวัน ดังความว่า "แต่การสวดพระปริตทำน้ำพระพุทธมนตร์ ถือเป็นการสำคัญในราชประเพณีอย่างหนึ่ง มีตำแหน่งพระครูพระปริตไทย 4 รูป พระครูพระปริตมอญ 4 รูป สำหรับสวดทำน้ำพระพุทธมนตร์ ในบรรดางานพระราชพิธีซึ่งมีสรงมุรธาภิเษก พระราชาคณะไทยรูป 1 มอญรูป 1 กับพระครูพระปริต 8 รูปนั้นสวดทำน้ำพระพุทธมนตร์สำหรับสรงมุรธาภิเษกทุกงาน และโดยปกติพระครูพระปริตมอญต้องเข้ามาสวดทำน้ำพระพุทธมนตร์ที่หอศาสตราคม ทุกวัน น้ำมนตร์พระปริตนั้น ส่วนหนึ่งแบ่งส่งไปสำหรับเป็นน้ำสรงพระพักตร์และโสรจสรง อีกส่วนหนึ่งในบาตร 2 ใบให้สังฆการีถือตามพระครูพระปริต 2 รูป เข้าไปเดินประพรมด้วยกำหญ้าคาที่ในพระราชวังเวลาบ่าย 14 นาฬิกา ทุกวันเป็นนิตย์มาแต่โบราณ ” เมื่อมีการสวดพระปริตรเป็นพิธีหลวง จึงได้ทรงแต่งตั้งพระครูพระปริตรประจำพระราชวัง สำหรับการสวดพระปริตร และสวดพระพุทธมนต์สำหรับทำน้ำมนต์ และสำหรับเสกทรายโดยเฉพาะ โดยมีพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ 4 รูป ซึ่งแต่เดิมจำพรรษาอยู่ตามวัดต่าง ๆ ที่สังกัดอยู่ในคณะรามัญนิกาย เช่น วัดบวรมงคล วัดราชคฤห์ วัดชนะสงคราม เป็นต้น ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนแปลง เป็นพระสงฆ์มอญจากวัดชนะสงครามเพียงอารามเดียว ทั้งนี้สาเหตุอาจเนื่องมาจากการจัดเวรหมุนเวียนพระแต่ละแห่งเกิดความไม่ สะดวก หรือเป็นเพราะหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีพระที่สวดพระปริตรรามัญหลบภัยสงครามไปอยู่ตามวัดในต่างจังหวัด จะเหลืออยู่ก็แต่ที่วัดชนะสงคราม จึงได้สวดวัดเดียวนับแต่นั้นมา ตำแหน่งพระครูปริตรรามัญทั้ง 4 รูป ได้แก่
ตำแหน่ง พระครูปริตรามัญทั้งหมดนี้ ปัจจุบันประจำอยู่ที่วัดชนะสงคราม รับหน้าที่เข้าไปสวดพระปริตรทำน้ำพระพุทธมนต์ ในพระบรมมหาราชวังที่หอศาสตราคมเรื่อยมา จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2489 ปรากฏว่า พระสงฆ์ที่สามารถสวดพระปริตรามัญได้นั้น มีน้อยรูปลง ไม่พอจะผลัดเปลี่ยนกัน พระครูราชสังวร (พิศ อายุวฑฺฒโก) ผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามในครั้งนั้น จึงได้มีหนังสือถึงกรมการศาสนา ขอลดวันสวดลงมา เหลือสวดเฉพาะวันธรรมสวนะเท่านั้น พิธีเริ่มแต่เวลา 13 นาฬิกา พระสงฆ์ 4 รูปพร้อมด้วยพระครูปริตรผู้เป็นประธาน 1 รูป สวดพระปริตรอย่างภาษารามัญที่หอศาสตราคม เมื่อเสร็จราว 14 นาฬิกา มีเจ้าหน้าที่ถือบาตรน้ำมนต์นำพระ 2 รูป ไปประพรมน้ำพระพุทธมนต์รอบหมู่พระมหามณเฑียรเป็นเสร็จพิธี ในการสวดพระปริตรามัญที่หอศาสตราคม ในชั้นเดิม มีการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันระหว่างพระครูปริตทั้ง 4 รูป ในการไปสวดแต่ละวันโดยแบ่งกันรับผิดชอบตามวัน-เวลา ดังนี้
โดยที่พระครูปริตทั้ง 4 รูป จะทำหน้าที่เป็นประธานในการสวดแต่ละครั้ง ซึ่งจะมีพระมอญอีก 4 รูปมาสวดร่วมด้วย รวมเป็นสวด 5 รูปในแต่ละวัน ปัจจุบัน พระสงฆ์มอญมีจำนวนลดน้อยลงโดยลำดับ เช่นเดียวกับพระสงฆ์ไทย สืบเนื่องจากสาเหตุหลายประการ แม้แต่ในวัดชนะสงคราม ซึ่งเป็นพระอารามหลวงที่พระสงฆ์มอญ มีบทบาทโดยตรงกับราชประเพณีสำคัญดังกล่าว ก็กำลังประสบสภาพการณ์เช่นเดียวกัน[2] ลำดับเจ้าอาวาส
การศึกษาพระปริยัติธรรมวัดชนะสงครามเป็นวัดที่ประสบความสำเร็จสูงมากในการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม มีพระภิกษุสามเณรสอบเปรียญธรรมได้ปีละจำนวนมาก แม้แต่สามเณรผู้สอบได้เปรียญ 9 ประโยคและได้รับพระราชทานอุปสมบทในพระบรมราชานุเคราะห์ก็มีมากกว่าวัดอื่น ๆ หลายวัด วัดชนะสงครามยังคงให้ ความสำคัญแก่การศึกษาปริยัติธรรมโดยเฉพาะสายภาษาบาลีอย่างคงเส้นคงวา มีชาวพุทธผู้ชำนาญภาษาบาลีจำนวนมาก เคยศึกษาที่วัดชนะสงคราม มาก่อน อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
13°45′38″N 100°29′44″E / 13.760431°N 100.495597°E
|