Share to:

 

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระนเรศรวรฤทธิ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร
ดำรงตำแหน่ง1 เมษายน พ.ศ. 2455 — 28 มิถุนายน พ.ศ. 2466[1]
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
ถัดไปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สมุหมนตรี
ดำรงตำแหน่ง16 ธันวาคม พ.ศ. 2453
- 10 สิงหาคม พ.ศ. 2468[2]
อัครราชทูตสยามประจำกรุงลอนดอน
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2426 — 2430[3]
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าหม่อมเจ้าปฤษฏางค์ ชุมสาย
ถัดไปพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค)
อัครราชทูตสยามประจำอเมริกา
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2427[4]
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าหม่อมเจ้าปฤษฏางค์ ชุมสาย
ถัดไปพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค)
ประสูติ7 พฤษภาคม พ.ศ. 2398
สิ้นพระชนม์10 สิงหาคม พ.ศ. 2468 (70 ปี)
หม่อมหม่อมสุภาพ
หม่อมแช่ม
หม่อมเจิม
พระบุตร20 พระองค์
ราชสกุลกฤดากร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดากลิ่น พระสนมเอก
ลายพระอภิไธย

มหาอำมาตย์เอก มหาเสวกเอก[5] พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ (7 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 – 10 สิงหาคม พ.ศ. 2468) อดีตสมุหมนตรี องคมนตรี เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 17 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลิ่น พระสนมเอก

พระประวัติ

พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร ขณะทรงพระเยาว์ บันทึกภาพโดย จอห์น ทอมสัน เมื่อ พ.ศ. 2408

ประสูติ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร ประสูติเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 โดยประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลิ่น พระสนมเอก ธิดาพระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) บุตรของเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี)

รับราชการ

ทรงว่าราชการกรมพระนครบาล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะนั้นเรียกชื่อว่า "คอมมิตตี กรมพระนครบาล" ทรงเป็นผู้ปรับปรุงและจัดระเบียบกิจการตำรวจกรมกองตระเวน ตามแบบอย่างของสิงคโปร์ หลังจากได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสสิงคโปร์ เมื่อ ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) ต่อมาได้พัฒนามาเป็นกิจการตำรวจไทย ในปี พ.ศ. 2417 และทรงเป็นเสนาบดีกรมพระนครบาล[6] เมื่อปี พ.ศ. 2429

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ตั้งองคมนตรีสภา (เดิมคือ ปรีวีเคาน์ซิล) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เป็นองคมนตรี[7]ในครั้งนั้นด้วย และทรงเป็นองคมนตรี[8]ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดพระชนมายุ และยังทรงเป็นรัฐมนตรีสภา เมื่อปี พ.ศ. 2437[9]

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2418[10] ต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2442 ทรงรับราชการเป็นสมุหมนตรี เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร และเสนาบดีที่ปรึกษา[11] เป็นต้น

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2454 มีพระนามเต็มว่า

"พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ มหิศวรราชรวิวงศ์ สิทธิประสงค์กฤดาธิการ สุทธสันดานสีตลหฤทัย มไหศวริยราชนิติธาดา สุปรีชาสรรพกิจโกศล วิมลสุจริตจริยานุวัตร พุทธาทิรัตนสรณารักษ์ อุดมศักดิ์บพิตร"[12]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ประทับที่วังถนนพระอาทิตย์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักพระราชทานบนที่ดินมรดกของพระองค์ ต่อมาเมื่อทรงเจริญพระชันษาครบ 5 รอบใน พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชทรัพย์สำหรับทรงสร้างตำหนักหลังใหม่ ชื่อ "วังมะลิวัลย์" ส่วนเจ้าจอมมารดากลิ่นยังคงพำนักอยู่ที่ตำหนักเดิม

สิ้นพระชนม์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ประทับที่วังมะลิวัลย์จนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2468[13] พระชันษาได้ 70 ปี ใกล้เคียงกับที่เจ้าจอมมารดากลิ่นถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2468 และได้ประดิษฐานพระโกศพระศพ และโกศศพไว้เคียงกันที่ท้องพระโรงของวังมะลิวัลย์ มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

พระโอรสและพระธิดา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลกฤดากร มีหม่อม 3 ท่าน ได้แก่

  1. หม่อมสุภาพ (สกุลเดิม: สังขทัย)
  2. หม่อมแช่ม
  3. หม่อมเจิม

โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 20 พระองค์/องค์ เป็นชาย 14 พระองค์/องค์ และหญิง 5 องค์

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
1. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2417 1 กันยายน พ.ศ. 2417 มิได้สมรส
2. หม่อมเจ้าอรุณศักดิ์ ไม่ทราบ พ.ศ. 2417 ไม่ทราบปี มิได้สมรส
3. หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
(พ.ศ. 2455: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร)
ที่ 1 ในหม่อมสุภาพ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2418 5 ตุลาคม พ.ศ. 2471 หม่อมปรุง
หม่อมเชื่อม (อภัยวงศ์)
4. หม่อมเจ้าบวรเดช
(พ.ศ. 2472: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช)
ที่ 2 ในหม่อมสุภาพ 26 มีนาคม พ.ศ. 2420 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 หม่อมทิพวัน (เจ้าทิพวัน ณ เชียงใหม่)
หม่อมศรีนวล (เจ้าศรีนวล ณ เชียงใหม่)
หม่อมเจ้าหญิงผจงรจิตร์ กฤดากร
5. หม่อมเจ้าเสรฐศิริ ที่ 3 ในหม่อมสุภาพ 26 มีนาคม พ.ศ. 2423 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 หม่อมสนิท (สังขทัย)
หม่อมพ้อง (คชเสนี)
หม่อมผอบ (ทิพย์เวส)
หม่อมเจ้าหญิงสุรีย์ประภา (รพีพัฒน์)
6. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบ ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี มิได้สมรส
7. หม่อมเจ้าสิทธิพร

(ท่านชายจ้อน)

ที่ 4 ในหม่อมสุภาพ 10 เมษายน พ.ศ. 2426 22 มิถุนายน พ.ศ. 2514 หม่อมทิพ
หม่อมละมุน (วูวงศ์)
หม่อมศรีพรหมา (เจ้าศรีพรหมา ณ น่าน)
8. หม่อมเจ้าอมรทัต
(ท่านชายป่อง)
ที่ 5 ในหม่อมสุภาพ 29 เมษายน พ.ศ. 2429 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 หม่อมพร้อยสุพิณ (บุนนาค)
หม่อมอู๊ด (ชิตพงษ์ศรี)
9. หม่อมเจ้าขจรจรัสฤทธิ์ ที่ 6 ในหม่อมสุภาพ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2430 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 มิได้สมรส
10. หม่อมเจ้าหญิงวรรณวิไลย
(ท่านหญิงใหญ่)
ที่ 1 ในหม่อมแช่ม 1 สิงหาคม พ.ศ. 2431 20 ธันวาคม พ.ศ. 2476 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
11. หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์
(ท่านชายโป๊ะ)
ที่ 7 ในหม่อมสุภาพ 16 มกราคม พ.ศ. 2432 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 หม่อมเจ้าหญิงสุรีย์ประภา (รพีพัฒน์)
12. หม่อมเจ้า (ปุ๋ย) ไม่ทราบ ตุลาคม พ.ศ. 2436 20 ธันวาคม พ.ศ. 2439 มิได้สมรส
13. หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม ที่ 2 ในหม่อมแช่ม 20 กันยายน พ.ศ. 2438 20 มิถุนายน พ.ศ. 2510 หม่อมเจ้าหญิงรัสสาทิศ (สวัสดิวัตน์)
14. หม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ ที่ 1 ในหม่อมเจิม 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2441 10 ธันวาคม พ.ศ. 2483 หม่อมหลวงหญิงแส (สนิทวงศ์)
15. หม่อมเจ้าเพิ่มผล ไม่ทราบ สิงหาคม พ.ศ. 2441 29 ธันวาคม พ.ศ. 2441 มิได้สมรส
16. หม่อมเจ้าหญิงลีลาศหงษ์ (ท่านหญิงเล็ก) ที่ 3 ในหม่อมแช่ม 15 เมษายน พ.ศ. 2442 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล
17. หม่อมเจ้าหญิง (เล็ก) ไม่ทราบ ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี มิได้สมรส
18. หม่อมเจ้าหญิงผจงรจิตร์ ที่ 2 ในหม่อมเจิม 30 เมษายน พ.ศ. 2446 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
19. หม่อมเจ้าชิดชนก ที่ 4 ในหม่อมแช่ม 23 ตุลาคม พ.ศ. 2447 10 มีนาคม พ.ศ. 2541 หม่อมเจ้าหญิงฤดีวรวรรณ (วรวรรณ)
หม่อมหลวงหญิงต่อ (ชุมสาย)
20. หม่อมเจ้าดิลกฤทธิ์ ที่ 3 ในหม่อมเจิม 18 กันยายน พ.ศ. 2451 18 มิถุนายน พ.ศ. 2500 หม่อมราชวงศ์หญิงจันทรรัตน์ (เทวกุล)

พระนัดดา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ มีพระนัดดารวม 37 องค์/คน ดังนี้

  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร มีพระโอรสธิดา 5 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์บุญระบือ กฤดากร
    • หม่อมราชวงศ์บรรลือศักดิ์ กฤดากร
    • หม่อมราชวงศ์สมัครสมาน กฤดากร ทั้ง 3 นี้ในหม่อมปรุง
    • หม่อมราชวงศ์เจริญศักดิ์ กฤดากร
    • หม่อมราชวงศ์หญิงถนอมศักดิ์ กฤดากร ทั้ง 2 นี้ในหม่อมเชื่อม
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช มีพระโอรสธิดา 5 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิง (ไม่มีนาม) กฤดากร ในหม่อมทิพวัน
    • หม่อมราชวงศ์จิรเดช กฤดากร ในหม่อมศรีนวล
    • หม่อมราชวงศ์หญิงภรณี รอสส์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงอัจฉริยา คงสิริ
    • หม่อมราชวงศ์หญิงวิภาสิริ วุฒินันท์ ทั้ง 3 นี้ในหม่อมเจ้าหญิงผจงรจิตร์
  • หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร มีโอรสธิดา 8 คน ได้แก่
    • หม่อมกฤดากรราชเสนา (หม่อมราชวงศ์เทียมพันธ์ กฤดากร)
    • หม่อมราชวงศ์ทันพงศ์ กฤดากร
    • หม่อมราชวงศ์ทรงพัฒน์ กฤดากร
    • หม่อมราชวงศ์ทัดเผ่า กฤดากร
    • หม่อมราชวงศ์เถาพงศ์ กฤดากร
    • หม่อมราชวงศ์หญิงวงศ์สิริ ลาภเกษร ทั้ง 6 นี้ในหม่อมสนิท
    • หม่อมราชวงศ์อ๊อด กฤดากร ในหม่อมผอบ
    • หม่อมราชวงศ์หญิงประภาสิริ กฤดากร ในหม่อมเจ้าหญิงสุรีย์ประภา
  • หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงไพเราะ อาภากร
    • หม่อมราชวงศ์หญิงเพลินจิต บุรณศิริ
    • หม่อมราชวงศ์พงศ์อมร กฤดากร ทั้ง 3 นี้ในหม่อมพร้อยสุพิณ
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสุทัศนีย์ กฤดากร ในหม่อมอู๊ด

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร (7 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2418)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศรวรฤทธิ์ (พ.ศ. 2418 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442)[14]
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)[15]
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - 10 สิงหาคม พ.ศ. 2468)[16]

พระยศ

นายพันโท นายกองตรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์
รับใช้กรมทหารมหาดเล็ก
กองเสือป่า
ชั้นยศ นายพันโท
นายกองตรี

พระยศพลเรือน

  • มหาอำมาตย์เอก[17]
  • มหาเสวกเอก

พระยศทหาร

  • นายพันโท

พระยศเสือป่า

  • นายหมู่ใหญ่
  • นายกองตรี[18]
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระนเรศวรฤทธิ์
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. ดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร
  2. ดำรงตำแหน่ง สมุหมนตรี
  3. "List of Thai Ambassadors in UK". สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "List of Thai Ambassadors to the U.S." สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-08. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศพระราชทานยศแก่ข้าราชการในกระทรวงวัง เล่ม 29 หน้า 1405 วันที่ 22 กันยายน 2455
  6. ดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกรมพระนครบาล
  7. ราชกิจจานุเบกษา,การประชุมองคมนตรี
  8. ดำรงตำแหน่ง องคมนตรี
  9. ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีสภา
  10. ประวัติศาสตร์การสถาปนาพระยศเจ้านายสมัย ร.5-ร.9 พ.ศ. 2413
  11. ดำรงตำแหน่ง สมุหมนตรีเสนาบดี
  12. เฉลิมพระยศเจ้านาย เล่ม 2 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพฯ, 2538), หน้า 43.
  13. ข่างสิ้นพระชนม์
  14. ""เสด็จอานเรศ" -"วุฒิไชยเฉลิมลาภ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-28. สืบค้นเมื่อ 2021-05-23.
  15. ประกาศเลื่อนแลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์
  16. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ เลื่อนแลตั้งกรมแลตั้งเจ้าพระยา เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 28 หน้า 1728 11 พฤศจิกายน 2454
  17. พระราชทานยศ
  18. "พระราชทานยศเสือป่า" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-24.
  19. 19.0 19.1 ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา, ตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยาม, พระนคร, โสภณพิพรรฒธนากร, 2468
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ถวายบังคมพระบรมรูปและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๓๖๘, ๑๙ พฤศจิกายน ๑๑๒
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๔๘, ๒๑ พฤศจิกายน ๑๒๘
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๒, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
  23. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีพระราชทานตราเครื่องราชอิสริยยศ, เล่ม ๓ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๓๘๖, ๑๕ มีนาคม ๑๒๔๘
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๖๕, ๒ กรกฎาคม ๑๓๐
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๙ หน้า ๔๓๕, ๒๔ ธันวาคม ๑๑๒
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๔๖๕, ๒ ตุลาคม ๑๒๓
  27. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๔๔๕, ๔ ตุลาคม ๑๒๒
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๔, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
  30. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๙, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๓, ๒ณ ๕ กันยายน ๑๑๗
  32. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๙ ตอนที่ ๕ หน้า ๑๒, ๑ พฤษภาคม ๑๑๑
  33. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๒๗๒, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๓
  34. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เฮนรีดีไลออนกรุงบรันสวิก, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕, ๑๐ เมษายน ๑๒๙
Kembali kehalaman sebelumnya