วิทยาลัยชุมชนระนอง
วิทยาลัยชุมชนระนอง เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในกลุ่มสถาบันวิทยาลัยชุมชน ในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทำการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับอนุปริญญา และจัดการศึกษาหลักสูตรฝึกอบรมให้กับประชาชนในชุมชนที่ต้องการเรียนรู้ในด้านสาขาอาชีพต่างๆ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน สร้างงาน สร้างอาชีพ เสริมรายได้กับประชาชนทั่วไปในชุมชน จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลในการกระจายการศึกษาสู่ท้องถิ่น ให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามหลักการ "การศึกษาสร้างชาติ สร้างคน สร้างาน" สืบเนื่องจากการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ประวัติวิทยาลัยชุมชนระนอง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2545 พร้อมกับวิทยาลัยชุมชนอีก 9 แห่งทั่วประเทศ โดยเปิดทำการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2545 เป็นปีแรก โดยการคัดเลือกศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดระนอง ให้ทำหน้าที่วิทยาลัยชุมชนควบคู่ไปกับภารกิจเดิม[1] และมีสถานศึกษาเครือข่ายอีก 3 แห่ง คือ วิทยาลัยเทคนิคระนอง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง และวิทยาลัยการอาชีพกระบุรี ในปี พ.ศ. 2546 วิทยาลัยชุมชนระนอง ได้ย้ายสถานที่ทำการมายัง อาคารพาณิชย์เลขที่ 7/20-21 ถนนผาดาด ตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง และในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2548 จึงได้ย้ายสำนักงานมายังสำนักงานถาวรบริเวณที่ดินของสำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (เดิม) เลขที่ 300/1 หมู่ 1 ถนนเพชรเกษม ตำบลบางริ้ว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง บนเนื้อที่ 7 ไร่ หน่วยจัดการศึกษาในระยะแรกวิทยาลัยชุมชนระนอง มีหน่วยจัดการศึกษา 6 แห่ง คือ วิทยาลัยการอาชีพกระบุรี โรงเรียนละอุ่นวิทยาคาร สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอละอุ่น โรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ โรงเรียนกะเปอร์วิทยา โรงเรียนบ้านภูเขาทอง ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงสถานที่จัดการศึกษา เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการทางการศึกษาได้มากขึ้น โดยในอำเภอกระบุรี จากวิทยาลัยการอาชีพกระบุรี เป็นโรงเรียนกระบุรีวิทยา อำเภอละอุ่น จากโรงเรียนละอุ่นวิทยาคาร เป็น สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอละอุ่นเดิมซึ่งยุบเลิกสำนักงานไป อำเภอเมืองระนองจากโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ เป็นที่วิทยาลัยชุมชนระนอง [2] บทบาทการพัฒนาท้องถิ่นวิทยาลัยชุมชนระนอง ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน พัฒนาท้องถิ่น ประกอบกับจังหวัดระนองเป็นจังหวัดที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่า เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้สนใจ วิทยาลัยฯ จึงเปิดทำการสอนหลักสูตรระยะสั้น 60 ชั่วโมง "ภาษาพม่าเพื่อการสื่อสารและธุรกิจ" ขึ้น [3] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |