Share to:

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
Phuket Rajabhat University
ตราพระราชลัญจกร
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อเดิมสถาบันราชภัฏภูเก็ต
ชื่อย่อมรภ. / PKRU
คติพจน์สติ ปญฺญ ปริหรติ
สติเป็นเครื่องควบคุมการใช้ปัญญา
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-06-15)
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ424,659,500 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
นายกสภาฯศาสตราจารย์ สมบูรณ์ สุขสำราญ
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ หิรัญ ประสารการ
อาจารย์352 คน (พ.ศ. 2561)
บุคลากรทั้งหมด614 คน (พ.ศ. 2561)
ผู้ศึกษา7,655 คน (พ.ศ. 2564)
ที่ตั้ง
เลขที่ 21 หมู่ 6 ถนนเทพกระษัตรี ตำบลรัษฎา อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
เพลงมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ต้นไม้แคแสด
สี████ สีแสด สีดำ
เว็บไซต์เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (อังกฤษ: Phuket Rajabhat University) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ตั้งอยู่ในจังหวัดภูเก็ต ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 โดยจัดการศึกษาแบ่งเป็นภาคปกติ คือ ระดับปริญญาตรี (จันทร์ -ศุกร์) และระดับปริญาตรี (เสาร์ -อาทิตย์) และภาคพิเศษ ได้แก่ ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก

ประวัติ

เดิม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เป็น วิทยาลัยครูภูเก็ต สถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 ตั้งอยู่ ณ ต.รัษฎา อ.เมือง จังหวัดภูเก็ต บนที่ดินเนื้อที่ประมาณ 354 ไร่ 78 ตารางวา ซึ่งเดิมเป็นที่ดินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต 78 ไร่ ที่ดินที่ได้รับบริจาคจากขุนเลิศโภคารักษ์และทายาท 273 ไร่ และได้รับบริจาคจากนายโสภณ เอกวานิช 3 ไร่ 78 ตารางวา ซึ่งมีความเป็นมาดังนี้

  • พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - สถาปนาวิทยาลัยครูภูเก็ต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2514 ซึ่งตรงกับพระราชพิธีรัชดาภิเษก แต่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งวิทยาลัยครูภูเก็ตเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2514 ทำการเปิดสอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษากับประกาศนียบัตรวิชาการชั้นสูง และจัดการอบรมเพื่อส่งเสริมวิทยฐานะครูประจำการ ตามหลักสูตรครูมัธยม (พ.ม.) โดยมีนายฉลอง ภิรมย์รัตน์ เป็นผู้อำนวยการ
  • พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ มีโครงการจัดตั้งวิทยาลัยครูในส่วนภูมิภาคเพิ่มอีก 3 แห่ง (Higher Education Institution) ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดลำปาง เพื่อให้การผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 - 2519) ในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 วิทยาลัยครูภูเก็ตจึงได้ทำการเปิดสอนระดับปริญญาในสาขาวิชาการศึกษา ใช้ชื่อปริญญาครุศาสตรบัณฑิต ในแขนงวิชาเอกต่างๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยมีนายฉลอง ภิรมย์รัตน์ เป็นอธิการคนแรก
  • พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2527 วิทยาลัยครูภูเก็ตจึงได้ปรับเปลี่ยนระบบการจัดการศึกษาจากเดิม โดยเปิดสอนตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี ในสาขาวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และบริหารธุรกิจ เพิ่มเติมจากสาขาครุศาสตร์
  • พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามวิทยาลัยครูใหม่ว่า สถาบันราชภัฏ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  • พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูภูเก็ตจึงได้เปลี่ยนสถานะเป็น สถาบันราชภัฏภูเก็ต เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538 โดยสาระสำคัญของพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏนี้มุ่งเน้นให้สถาบันราชภัฏ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่ให้การศึกษาและวิชาชีพชั้นสูงได้หลายสาขาวิชา จนถึงระดับปริญญาเอก
  • พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 สถาบันราชภัฏภูเก็ตจึงได้เปลี่ยนสถานะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 โดยให้มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตเป็นนิติบุคคล และเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทั้งนี้โดยมี รศ.ดร.ชิรวัฒน์ นิจเนตร เป็นอธิการบดี และ ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยคนแรก
ดอกแคแสด ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย

รายนามหัวหน้าสถานศึกษา

ตั้งแต่เริ่มสถาปนาวิทยาลัยครูภูเก็ตในปี พ.ศ. 2514 จนถึงปัจจุบัน มีผู้บริหารสถานศึกษาในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ อธิการ และอธิการบดี ตามลำดับดังนี้

รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ฉลอง ภิรมรัตน์ พ.ศ. 2514 - 2528
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วินัย เพชรช่วย พ.ศ. 2528 - 2530
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุประดิษฐ์ สิบรัตนสกุล พ.ศ. 2530 - 2538
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภา กาหยี พ.ศ. 2538 - 2542
5. รองศาสตราจารย์ ดร.ชิรวัฒน์ นิจเนตร พ.ศ. 2542 - 2551
# ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภา กาหยี พ.ศ. 2552 - 2560
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หิรัญ ประสารการ พ.ศ. 2561 - 2565, 2566[2]-ปัจจุบัน

รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย

ตั้งแต่สถาปนามหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2514 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มีนายกสภามหาวิทยาลัย ตามลำดับดังนี้

รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ดร.อาทร ต้องวัฒนา พ.ศ. 2539 - 2546
2. นายศิวะ แสงมณี พ.ศ. 2547 - 2548
3. ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร พ.ศ. 2549 - 2555
4. ศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ สุขสำราญ พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน

หน่วยงานในสังกัด

คณะวิชา

  • คณะครุศาสตร์
  • คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  • คณะวิทยาการจัดการ
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

โรงเรียน

  • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

สำนักงาน

  • สำนักงานอธิการบดี
  • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
  • สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
  • สำนักงานบัณฑิตศึกษา
  • สำนักงานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
  • สำนักบริหารจัดการทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์
  • สำนักงานโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลทั่วไป

สถาบัน

  • สถาบันวิจัยและพัฒนา
  • สถาบันภาษาและกิจการต่างประเทศ

ศูนย์

  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • หอสมุด
  • ศูนย์ภาษา
  • ศูนย์อบรมไมโครติก
  • ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ
  • ศูนย์หนังสือ
  • ศูนย์ปฏิบัติการทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลอันดามัน

สภา

  • สภามหาวิทยาลัย
  • สภาคณาจารย์และข้าราชการ

กอง

  • กองพัฒนานักศึกษา
  • กองนโยบายและแผน
  • กองกลาง สำนักงานอธิการบดี

งาน

  • งานการเงิน
  • งานประชาสัมพันธ์
  • งานกิจการต่างประเทศ
  • งานประกันคุณภาพการศึกษา
  • งานจัดฝึกอบรม
  • งานนวัตกรรมทางการศึกษา
  • งานเลขานุการผู้บริหาร
  • หน่วยตรวจสอบภายใน
  • หน่วยปฏิบัติการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โครงการ

  • โครงการการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติ

หลักสูตรในระดับปริญญาตรี

  • ดูเรื่องการรับสมัครเข้าศึกษาต่อที่ระบบการคัดเลือกกลาง TCAS

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มี 11 หลักสูตร ดังนี้

ระดับบัณฑิตศึกษา

เป็นการศึกษาระดับปริญาโท (มหาบัณฑิต) และปริญญาเอก (ดุษฎีบัณฑิต)

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดตรัง และจังหวัดกระบี่

เป็นโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลทั่วไป ปรับปรุงจากโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลประจำการ (กศ.บป.) และโครงการให้การศึกษาและฝึกอมรบครูและบุคคลากรทางการศึกษาประจำการ (อคป.) ที่มีอยู่เดิม เปิดสอน 7 หลักสูตร ที่จังหวัดตรัง และจังหวัดกระบี่ ดังนี้

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๒๖, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (นายหิรัญ ประสารการ)
Kembali kehalaman sebelumnya