อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ในที่นี้ เป็นการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษา ของประเทศไทย โดยหน่วยงานของไทยเอง และนิตยสารของต่างประเทศ
สำหรับหน่วยงานของไทย ในปี พ.ศ. 2549 นี้ ทางกระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดให้มีการจัดลำดับมหาวิทยาลัยรัฐ ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดย 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
สำหรับในต่างประเทศได้มีการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกจากทั้ง นิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ นิตยสารเอเชียวีก บริษัท แควกเควเรลลี ไซมอนด์ส จำกัด , CWTS, CWUR ฯลฯ รวมทั้งการจัดอันดับความเป็นอิเล็กทรอนิกส์และการเข้าถึงเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยจากเว็บไซต์เว็บโอเมตริกซ์ โดยมหาวิทยาลัยในประเทศไทยบางส่วนได้ถูกเสนอชื่อเข้าไปในนั้น ในขณะที่บางลำดับเช่นจาก มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวถง ไม่มีรายชื่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยแต่อย่างใด
จุดประสงค์ในการจัดอันดับ
จุดประสงค์ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยแตกต่างกันไปตามหน่วยงานหรือนิตยสารที่จัด โดยทาง สกอ. ให้เหตุผลว่าจัดเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจให้กับนักเรียนที่จะใช้ในการเลือกสอบเข้าเรียนในสถาบันต่างๆ ขณะที่ สมศ. ให้เหตุผลว่าจัดเพื่อในการประเมินตนเองและประกันคุณภาพ ในขณะที่เว็บไซต์เว็บโอเมตริกซ์มีจุดประสงค์เพื่อการประเมินตนเองในด้านการเข้าถึงอย่างเปิดกว้าง ของข้อมูล (Open Access) ของสถาบันอุดมศึกษา โดยไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย
เช่นเดียวกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศทั่วไป นิตยสารได้มีจุดขายในการโฆษณาหนังสือของตนเอง ขณะที่มีการให้ความรู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยแก่นักเรียน นักศึกษา รวมถึงทางบริษัทที่จะจ้างงานบุคคลจากมหาวิทยาลัยนั้น
การจัดอันดับระดับชาติ
การจัดอันดับโดย สกอ. (พ.ศ. 2549)
การจัดอันดับโดย สกอ. ได้มีการจัดทำเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ในการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยรัฐ โดยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 50 มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่เข้าร่วมแต่เสนอว่าไม่ต้องการอยู่ในอันดับ และมหาวิทยาลัยเอกชน ไม่ได้ร่วมด้วยเนื่องจากสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย แจ้งว่ายังไม่ให้ข้อมูลในปีนั้น
การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยโดย สกว.
ผลการประเมิน
การจัดอันดับระดับนานาชาติ
การจัดอันดับโดย Quacquarelli Symonds (QS)
Quacquarelli Symonds (QS) ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาคเอเชีย และระดับโลก แบ่งเป็นโดยภาพรวม และจัดแยกสาขาออกเป็น 5 สาขา (สาขาละ 100 อันดับ) ได้แก่ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และชีวการแพทย์ สาขาศิลปศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และสาขาสังคมศาสตร์ โดยสถาบันอุดมศึกษาไทยได้รับการจัดอันดับ ดังนี้
ระดับภูมิภาคเอเชีย
ดัชนีชี้วัด
ดัชนีชี้วัดสำหรับการจัดอันดับของ QS Asia university ranking[ 2] ได้แก่
ชื่อเสียงทางวิชาการ (30%)
ทัศนคติของผู้จ้างงานบัณฑิต (10%)
สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษา (20%)
สัดส่วนจำนวนการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ (15%)
สัดส่วนจำนวนงานวิจัยต่อจำนวนอาจารย์ (15%)
สัดส่วนนักศึกษาต่างชาติ (2.5%)
สัดส่วนอาจารย์ต่างชาติ (2.5%)
จำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่มาจากต่างประเทศ (2.5%)
จำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่ไปต่างประเทศ (2.5%)
ภาพรวม
การจัดอันดับแบบแยกสาขาวิชา
ระดับโลก
ดัชนีชี้วัด
ดัชนีชี้วัดสำหรับการจัดอันดับของ QS world university ranking[ 16] ได้แก่
ชื่อเสียงทางวิชาการ : สำรวจจากอาจารย์ทั่วโลก (40%)
ทัศนคติของผู้จ้างงานบัณฑิต : สำรวจจากผู้จ้างงานทั่วโลก (10%)
สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษา : ชี้วัดคุณภาพการสอน (20%)
สัดส่วนจำนวนการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ : ชี้วัดคุณภาพการวิจัย (20%)
สัดส่วนนักศึกษาต่างชาติ : วัดความเป็นนานาชาติของนักศึกษา (5%)
สัดส่วนอาจารย์ต่างชาติ : วัดความเป็นนานาชาติของอาจารย์ (5%)
อันดับมหาวิทยาลัย
หมายเหตุ : การจัดอันดับระหว่างปี ค.ศ. 2004 - ค.ศ. 2009 เป็นการจัดร่วมกันระหว่าง THES และ QS ส่วนปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นไป เป็นการจัดอันดับเฉพาะของ QS เท่านั้น
การจัดอันดับโดยนิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์
ไทมส์ไฮเออร์ ไทมส์ไฮเออร์
นิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ (THES) ได้จัดทำอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก โดยแบ่งเป็นโดยภาพรวม และจัดแยกสาขาออกเป็น 5 สาขา ได้แก่ สาขาเทคโนโลยี (วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ) สาขาเวชชีวศาสตร์ สาขาศิลปศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาสังคมศาสตร์ โดยมีชื่อมหาวิทยาลัยไทยอยู่ในอันดับ ตามปี และสาขาต่อไปนี้
THES-QS (ค.ศ. 2004 - ค.ศ. 2009)
ไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ร่วมมือกับ Quacquarelli Symonds ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกระหว่างปี ค.ศ. 2004 - ค.ศ. 2009 โดยดูผลการจัดอันดับดังกล่าวได้ที่ THES-QS
THES-Thomson Reuters (ค.ศ. 2010 - ปัจจุบัน)
ดัชนีชี้วัด
การจัดอันดับของ THES-Thomson Reuters ใช้ดัชนีชี้วัด ดังนี้[ 36]
การสอน : สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ (30%)
การวิจัย : ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียง (30%)
การอ้างอิง : การนำไปใช้อ้างอิง (30%)
รายได้ทางอุตสาหกรรม : นวัตนกรรมใหม่ (2.5%)
ความเป็นนานาชาติ : เจ้าหน้าที่, นักศึกษา และงานวิจัย (7.5%)
ระดับโลก
ระดับเอเชีย
ระดับกลุ่มประเทศ BRICS & Emerging Economies
Round University Rankings[ 47]
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก Round University Rankings 2016 โดย RUR Rankings Agency ของประเทศรัสเซีย เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (a ranking of leading world universities) ในปี ค.ศ. 2016 มีเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับโดยการพิจารณาตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยใน ระดับสากล 4 ด้าน 20 ตัวชี้วัด คือด้านการสอน (Teaching) 5 ตัวชี้วัด คิดเป็น 40% การวิจัย (Research) 5 ตัวชี้วัด 40% ด้านความเป็นนานาชาติ (International Diversity) 5 ตัวชี้วัด 10% และด้านความยั่งยืนทางการเงิน (Financial Sustainability) 5 ตัวชี้วัด 10%[ 48]
University Ranking by Academic Performance หรือ “URAP” เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกที่ก่อตั้งขึ้นโดยสถาบันสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเทคนิคตะวันออกกลาง (Informatics Institute of Middle East Technical University) ประเทศตุรกี ในปี ค.ศ.2009 โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ต้องการที่จะพัฒนาระบบการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง เป็นต้น โดยเริ่มทำการเผยแพร่งานวิจัยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา
การจัดอันดับโดย U.S. News & World Report
U.S. News & World Report นิตยสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากที่สุดของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกล่าสุด “2016 Best Global Universities Rankings” จากการสำรวจมหาวิทยาลัย 60 ประเทศทั่วโลก และมีเกณฑ์จัดอันดับหลายด้าน เช่น ชื่อเสียงการวิจัยในระดับโลก และระดับภูมิภาค สื่อสิ่งพิมพ์ การถูกนำไปอ้างอิง ความร่วมมือระหว่างประเทศ จำนวนบุคลากรระดับปริญญาเอก เป็นต้น โดยมีมหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับเพียง 2 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การจัดอันดับโดย SCImago Institutions Ranking (SIR)
SCImago Institutions Ranking (SIR) เป็น การจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งจะไม่ใด้นับเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่จะนับสถาบันเฉพาะทางด้วย เช่น สถาบันเทคโนโลยี วิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น
อันดับของสถาบันในประเทศไทยจากการจัดอันดับสถาบันทั่วโลก ได้แก่
การจัดอันดับโดย Webometrics
การจัดอันดับของ Webometrics จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวน Link ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บนั้นๆจากเว็บภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วยSearch Engine และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในกลุ่มของไฟล์ .pdf .ps .ppt และ .doc และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citation) แบบออนไลน์ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) โดยจะจัดอันดับปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ เดือนมกราคม และ เดือนกรกฎาคม
อันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทย 10 อันดับแรกของประเทศ ได้แก่
สถาบัน
อันดับในประเทศ (ในวงเล็บคืออันดับโลก)
2015
2014
2013
2012
2011
2010
2009
2008
2007
ก.ค.
ม.ค.
ก.ค.
ม.ค.[ 62]
ก.ค.[ 63]
ม.ค.
ก.ค.[ 64]
ม.ค.[ 65]
ก.ค.[ 66]
ม.ค.[ 67]
ก.ค.[ 68]
ม.ค.[ 69]
ก.ค.[ 70]
ม.ค.[ 71]
ก.ค.[ 72]
ม.ค.[ 73]
ก.ค.[ 74]
ม.ค.[ 75]
ม.เกษตรศาสตร์
1 (213)
2 (340)
7 (459)
4 (412)
3 (299)
1 (167)
1 (140)
1 (316)
3 (440)
1 (310)
1 (229)
3 (346)
3 (418)
3 (542)
3 (477)
1 (516)
2 (577)
ม.มหิดล
2 (308)
1 (273)
2 (294)
3 (288)
2 (246)
2 (202)
3 (202)
3 (443)
4 (499)
4 (481)
3 (381)
4 (411)
4 (548)
4 (739)
5 (802)
9 (916)
7 (909)
จุฬาฯ
3 (482)
3 (433)
3 (339)
1 (217)
1 (169)
3 (209)
2 (173)
2 (334)
2 (418)
2 (388)
4 (398)
2 (320)
2 (369)
2 (442)
2 (443)
2 (527)
1 (505)
ม.เชียงใหม่
4 (505)
4 (502)
1 (280)
2 (281)
4 (383)
4 (232)
6 (236)
5 (510)
5 (606)
5 (505)
5 (478)
6 (587)
5 (633)
7 (877)
7 (841)
5 (805)
4 (861)
ม.ขอนแก่น
5 (578)
7 (630)
5 (416)
7 (481)
5 (436)
5 (236)
5 (233)
6 (580)
7 (766)
6 (619)
6 (567)
7 (664)
7 (680)
9 (837)
9 (883)
8 (887)
8 (1,009)
ม.สงขลานครินทร์
6 (668)
6 (593)
4 (341)
6 (462)
6 (499)
6 (298)
4 (228)
4 (448)
1 (324)
3 (392)
2 (338)
1 (175)
1 (295)
1 (384)
1 (309)
3 (672)
6 (896)
ม.เทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี
7 (838)
5 (527)
12 (752)
8 (546)
8 (596)
7 (482)
7 (576)
8 (771)
8 (933)
10 (982)
9 (822)
8 (789)
9 (868)
11 (1,383)
10 (1,256)
11 (1,666)
10 (1,419)
ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
8 (845)
22 (2,032)
11 (497)
-
-
12 (806)
15 (1,388)
16 (1,244)
10 (1,025)
13 (1,190)
-
14 (1,124)
11 (1,171)
20 (1,943)
20 (1,984)
22 (2,338)
22 (2,204)
ม.เทคโนโลยี สุรนารี
9 (900)
8 (724)
10 (731)
-
10 (725)
13 (817)
11 (764)
12 (1,073)
9 (958)
14 (1,232)
13 (1,101)
9 (985)
15 (1,271)
12 (1,579)
12 (1,421)
12 (1,675)
12 (1,735)
ม.ธรรมศาสตร์
10 (917)
10 (822)
8 (524)
10 (677)
7 (514)
8 (605)
8 (638)
7 (617)
6 (656)
7 (752)
7 (700)
5 (505)
6 (675)
6 (850)
6 (806)
6 (866)
5 (894)
( - ) หมายถึง ไม่มีข้อมูล
Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies (CWTS) หรือ CWTS Leiden University[ 76]
เป็นการจัดอันดับโดยอาศัยข้อมูลจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวรสารที่มีอยู่ในฐานข้อมูลของ Web of Science ซึ่งเป็นฐานข้อมูลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลก รวมทั้งหมด 842 มหาวิทยาลัย จาก 53 ประเทศทั่วโลก
การจัดอันดับโดย Center for World University Rankings (CWUR)
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ CWUR พิจารณาจากคุณภาพการศึกษา การมีงานทำของบัณฑิต ผลงานของคณาจารย์ที่ได้รับรางวัล การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของคณาจารย์ ฯลฯ โดยเริ่มจัดอันดับตั้งแต่ปี 2012
โดยในปี 2012 และปี 2013 จะจัดอันดับ 100 อันดับมหาวิทยาลัยของโลก และตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา จะจัดอันดับ 1,000 อันดับ
โดยมีมหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับ 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่
Nature Index
Nature Index จัดโดยวารสารในเครือ Nature Publishing Group ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก โดยการนับจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ต่อปีในวารสารที่ในเครือ Nature Publishing Group
UI GreenMetric World University Ranking[ 82]
เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวและมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ใช้ดัชนีชี้วัดดังนี้[ 83]
Setting And Infrastructure (ที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐาน) 15%
Energy and Climate Change (การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) 21%
Waste management (การจัดการของเสีย) 18%
Water usage (การจัดการน้ำ) 10%
Transportation (การขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) 18%
Education (ความสามารถในการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน) 18%
อ้างอิง
↑ "สกว.ประเมินครั้งที่ 3 พ.ศ. 2554" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-09-28. สืบค้นเมื่อ 2013-04-26 .
↑ "QS Asia University Rankings: Indicators" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-06-06. สืบค้นเมื่อ 2014-10-02 .
↑ QS University Rankings: Asia 2016
↑ QS University Rankings: Asia 2015
↑ QS University Rankings: Asia 2014
↑ Top 50 universities in Asia for arts & humanities, 2014
↑ Top 50 Universities in Asia for Arts & Humanities
↑ Top 50 universities in Asia for life sciences & medicine, 2014
↑ Top 50 Universities in Asia for Life Sciences & Medicine
↑ Top universities in Asia for natural sciences, 2014
↑ Top 10 Universities in Asia for Natural Sciences
↑ universities in Asia for social sciences and management, 2014
↑ Top 10 Universities in Asia for Social Sciences & Management
↑ Top 50 universities in Asia for engineering & technology, 2014
↑ Top 50 Universities in Asia for Engineering & Technology
↑ QS World University Rankings: Methodology
↑ QS World University Rankings® 2014/15
↑ QS World University Rankings 2013
↑ QS World University Rankings Results 2012
↑ QS World University Rankings Results 2011
↑ QS World University Rankings Results 2010
↑ "THES - QS World University Rankings 2009" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-01-25. สืบค้นเมื่อ 2009-10-09 .
↑ THES - QS World University Rankings 2008
↑ THES - QS World University Rankings 2007
↑ THES - QS World University Rankings 2006
↑ THES - QS World University Rankings 2005
↑ 27.0 27.1 27.2 27.3 27.4 27.5 Topuniversities:Chulalongkorn University
↑ 28.0 28.1 28.2 28.3 Topuniversities:Mahidol University
↑ 29.0 29.1 Topuniversities:Chaing Mai university
↑ 30.0 30.1 [1]
↑ 31.0 31.1 KASETSART UNIVERSITY RANKINGS
↑ KHON KAEN UNIVERSITY RANKINGS
↑ King Mongkut's University of Technology Thonburi
↑ PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY RANKINGS
↑ Topuniversities:KMUTT
↑ World University Rankings 2014-2015 methodology
↑ [2]
↑ THES: THE World University Rankings 2014-2015
↑ THES: THE World University Rankings 2013-2014
↑ THES: THE World University Rankings 2012-2013
↑ THES: THE World University Rankings 2011-2012
↑ THE:Asia University Rankings 2015 Top 100
↑ THE:Asia University Rankings 2014 Top 100
↑ THE:Asia University Rankings 2013 Top 100
↑ THE:BRICS & Emerging Economies 2015 Top 100
↑ THE:BRICS & Emerging Economies 2014 Top 100
↑ http://roundranking.com/
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-10-21. สืบค้นเมื่อ 2016-09-28 .
↑ http://roundranking.com/ranking.html
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-08-18. สืบค้นเมื่อ 2015-07-22 .
↑ http://www.urapcenter.org/2013/country.php?ccode=TH&rank=all เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ]
↑ http://www.urapcenter.org/2012/country.php?ccode=TH&rank=all [ลิงก์เสีย ]
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-07-22 .
↑ http://www.urapcenter.org/2010/country.php?ccode=TH&rank=all [ลิงก์เสีย ]
↑ http://www.usnews.com/education/best-global-universities/rankings
↑ "SIR World Report 2014" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-09-16 .
↑ SIR World Report 2013 [ลิงก์เสีย ]
↑ "SIR World Report 2012" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2013-03-06. สืบค้นเมื่อ 2012-08-19 .
↑ "SIR World Report 2011" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2011-10-07. สืบค้นเมื่อ 2011-10-04 .
↑ "SIR World Report 2010" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2010-11-21. สืบค้นเมื่อ 2010-11-08 .
↑ "SIR World Report 2009" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 2011-01-12 .
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-03-16. สืบค้นเมื่อ 2016-09-28 .
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-08-29. สืบค้นเมื่อ 2016-09-19 .
↑ Webometrics:Ranking Web Universities: July 12 [ลิงก์เสีย ] , Mahidol University, เข้าถึงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-06-30. สืบค้นเมื่อ 2016-09-28 .
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-08-29. สืบค้นเมื่อ 2016-09-28 .
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-06-30. สืบค้นเมื่อ 2016-09-19 .
↑ Webometrics:Ranking Web Universities: July 10 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , Mahidol University, เข้าถึงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-08-29. สืบค้นเมื่อ 2016-09-28 .
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-08-29. สืบค้นเมื่อ 2016-09-28 .
↑ Webometrics:Ranking Web Universities: Jan 09 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , Mahidol University, เข้าถึงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558
↑ Webometrics:Ranking Web Universities: July 08 เก็บถาวร 2009-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , Mahidol University, เข้าถึงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558
↑ Webometrics:Ranking Web Universities: Jan 08 เก็บถาวร 2009-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , Mahidol University, เข้าถึงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558
↑ Webometrics:Ranking Web Universities: July 07 เก็บถาวร 2009-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , Mahidol University, เข้าถึงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558
↑ Webometrics:Ranking Web Universities: Jan 07 เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , Mahidol University, เข้าถึงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558
↑ http://www.leidenranking.com/
↑ http://www.leidenranking.com/ranking/2016/list
↑ http://cwur.org/2016.php#
↑ http://cwur.org/2015.php
↑ http://cwur.org/2014.php
↑ http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/institution/academic/all/countries-Thailand
↑ http://greenmetric.ui.ac.id/
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-10-12. สืบค้นเมื่อ 2016-09-28 .
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-10-27. สืบค้นเมื่อ 2016-09-28 .
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
มหาวิทยาลัย สถาบัน วิทยาลัย
มหาวิทยาลัย สถาบัน วิทยาลัย