Share to:

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
Nakhon Si Thammarat Rajabhat University
ตราพระราชลัญจกร
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อเดิมสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช
ชื่อย่อมรภ.นศ. / NSTRU
คติพจน์ประทีปถิ่น ประเทืองไทย
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-06-15)
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ502,760,600 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
นายกสภาฯรองศาสตราจารย์ วิชัย แหวนเพชร
อธิการบดีสมปอง รักษาธรรม (รักษาการแทน)
อาจารย์386 คน (พ.ศ. 2567)
บุคลากรทั้งหมด845 คน (พ.ศ. 2567)
ผู้ศึกษา47,611 คน (พ.ศ. 2558)[2]
ที่ตั้ง
เพลงมาร์ชราชภัฏนครศรีธรรมราช
ต้นไม้นาคบุตร
สี
  •   สีเหลือง
      สีแดง
มาสคอต
เขามหาชัย
เว็บไซต์เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (อังกฤษ: Nakhon Si Thammarat Rajabhat University; อักษรย่อ: มรภ.นศ.) หรือเรียกว่า ราชภัฏนครฯ เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ก่อตั้งในชื่อ "โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช" เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2500 ตั้งอยู่ที่ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชจัดการศึกษาครอบคลุมทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบไปด้วย 5 คณะ 1 วิทยาลัย 1 สถาบัน จำนวนหลักสูตรทุกระดับจำนวนทั้งสิ้น 53 หลักสูตร เป็นระดับปริญญาตรี 43 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 หลักสูตร ปริญญาโท 8 หลักสูตร และปริญญาเอก 2 หลักสูตร นอกจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เป็นอันดับที่ 69 ของประเทศไทย อันดับที่ 7050 ของโลก จาก Webometrics ในปี พ.ศ. 2561 อีกด้วย

ประวัติ

โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช

เมื่อปี พ.ศ. 2498 น้อม อุปรมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลให้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูในภาค 8 (นครศรีธรรมราช)[3] กระทั่ง โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช ได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 โดยอิทธิพลทางการเมืองเพราะได้ยุบโรงเรียนฝึกหัดครูตรัง ซึ่งย้ายครู อาจารย์ และทรัพย์สินมาสังกัดโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช และได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) โดยเปิดทำการสอนชั่วคราวที่ห้องสมุดประชาชนจัหวัดนครศรีธรรมราช (สนามหน้าเมือง) จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่ออาคารเรียน และหอนอนก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2502 จึงเปิดสอนเป็นการถาวรบริเวณเชิงเขามหาชัย

การจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราชใน พ.ศ. 2500 มิใช่เป็นการจัดตั้งครั้งแรก เพราะก่อนหน้านี้ 52 ปี กล่าวคือ พ.ศ. 2448 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นมาก่อนแล้ว โดยใช้กุฏิของพระวัดท่าโพธิ์เป็นสถานที่เรียนมีนักเรียนฝึกหัดครูรุ่นแรก จำนวน 22 คน การจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราชขึ้นใน พ.ศ. 2500 เป็นการเจริญรอยตามนโยบายจัดการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช

ป้ายหน้าวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช

เมื่อ โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช เปิดสอนมาครบ 12 ปี กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศยกระดับฐานะเป็น วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 และเปิดสอนถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.ชั้นสูง) โดยช่วงเวลาดังกล่าวกระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายเร่งรัดการผลิตครู จึงได้เปิดสอนภาคนอกเวลาแก่บุคคลภายนอกในหลักสูตร ป.กศ. และป.กศ.ชั้นสูงด้วยโครงการดังกล่าวดำเนินการเรื่อยมาและสิ้นสุดโครงการเมื่อ พ.ศ. 2519

พ.ศ. 2517 วิทยาลัยครูสังกัดกรมการฝึกหัดครูรวม 17 วิทยาลัย ได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิต หลักสูตร 2 ปี ซึ่งรับผู้สำเร็จ ป.กศ.ชั้นสูง หรือสำเร็จประโยคครูมัธยม (พ.ม.) โดยวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชเป็น 1 ใน 17 ของวิทยาลัยครูที่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีดังกล่าว สำหรับในปีแรกเปิดสอนวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไปเพียงวิชาเดียว และปีการศึกษา 2518 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พุทธศักราช 2518 วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชจึงได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยมีหน้าที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พุทธศักราช 2518 ดังนี้มาตรา 5 ให้วิทยาลัยครูเป็นสถาบันการศึกษาและการวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา วิชาการ และผลิตครูถึงระดับปริญญาตรี ทำการวิจัย ส่งเสริมวิชาชีพและฐานะขวิทยองครูอาจารย์และเจ้าหน้าที่บริหารการศึกษา ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม

พ.ศ. 2527 วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชเป็นวิทยาลัยหนึ่งที่ได้รับการประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นวิทยาลัยชุมชนในวิทยาลัยครูตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่กระจายโอกาสทางการศึกษาระดับสูงออกสู่ประชาชน และเร่งรัดการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาและสร้างกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาชีพต่างๆ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชจึงเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคการอาชีพ (ป.ทอ.) เนื่องจากพระราชบัญญัติวรที่กระจายโอกาสทางการศึกษาระดับสูงออกสู่ประชาชนและเร่งรัดการจัดการที่กระจายโอกาศ พุทธศักราช 2527 ได้กำหนดให้วิทยาลัยครูสามารถจัดการศึกษาสาขาวิชาการอื่นในระดับปริญญาตรีได้ตามความต้องการของท้องถิ่นนอกเหนือจากสาขาวิชาชีพครู จึงได้ปรับรายวิชาหลักสูตรของประกาศนียบัตรเทคนิคการอาชีพ (ป.ทอ.) เข้าเป็นหลักสูตรอนุปริญญาวิชาเอกพืชศาสตร์ และวิชาเอกก่อสร้าง

สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช

ป้ายหน้าสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช

เมื่อ พ.ศ. 2538 ได้มีพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พุทธศักราช 2538 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 แล้ว วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช จึงได้รับการยกระดับฐานะเป็น สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พุทธศักราช 2538 เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่พัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์คือให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง เปิดสอนในระดับสูงกว่าปริญญาตรี และมีหน้าที่ทำการวิจัยให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู

พ.ศ. 2538 สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้ทำหน้าที่กว้างไกลตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพ และคุณวุฒิของคนในท้องถิ่นให้สูงขึ้นให้สามารถประกอบอาชีพอยู่ในสังคม หรืออยู่ในท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพ สถาบันจึงมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามปณิธานที่ว่าแต่งบ้านให้น่าอยู่ แต่งภูมิรู้ให้แตกฉานสืบสานวัฒนธรรมนำชุมชนพัฒนา และปรับแต่งบรรยากาศด้านกายภาพของสถาบันให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง

พ.ศ. 2542 สถาบันได้ดำเนินภารกิจต่างๆ ขยายขอบเขตมากขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏตามร่างพระราชบัญญัติที่กำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการนิติบัญญัติ และการปฏิรูประบบราชการ กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร การปรับระบบงบประมาณ การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหาร การเปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตศึกษา การร่วมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน การวิจัยทุกรูปแบบ และการประกันคุณภาพการศึกษา โดยสถาบันได้รับการตรวจเยี่ยมของคณะกรรมการประเมินคุณภาพภาย นอกจากสำนักงานคณะกรรมการรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้รับการยกฐานะเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2547 โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พุทธศักราช 2547 โดยให้มหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่งเป็นนิติบุคคล และเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้เรียกชื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏตามชื่อของสถาบันราชภัฏเดิม สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช จึงเปลี่ยนเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยเปิดสอนใน 5 คณะ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และเมื่อ พ.ศ. 2557 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชได้เห็นชอบให้จัดตั้ง บัณฑิตวิทยาลัยเป็นหน่วยงานภายใน

สัญลักษณ์

ตรามหาวิทยาลัย

ตราประจำมหาวิทยาลัย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาล ให้สถาบันราชภัฏได้อัญเชิญมาเป็นตราสัญลักษณ์ ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 ต่อมาเมื่อสถาบันราชภัฏได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยก็ยังคงตรานี้เป็นสัญลักษณ์สืบมา โดยตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชมีลักษณะเป็นตราห้าสี ด้านบนของตรามีอักษรข้อความว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช” ด้านล่างของตรามีอักษรข้อความว่า “Nakhon Si Thammarat Rajabhat University” ซึ่งความหมายของสีทั้งห้ามีดังนี้

  • ██สีน้ำเงิน” แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิดและพระราชทานนาม “ราชภัฏ”
  • ██สีเขียว” แทนค่าแหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งนี้ ซึ่งอยู่ในพื้นที่สีเขียวและแวดล้อมด้วยธรรมชาติอันขจี
  • ██สีทอง” แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางปัญญาซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏใฝ่ฝันและมุ่งมั่นไปให้ถึง
  • ██สีส้ม” แทนค่าความรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกล ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏปฏิบัติการทำนุบำรุง ส่งเสริมเผยแพร่ และอนุรักษ์มาโดยตลอด
  •  สีขาว” แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชา
พระพุทธสิหิงค์มิ่งมหาชัย บริเวณเชิงเขามหาชัยในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

สีประจำมหาวิทยาลัย

 สีเหลือง” หมายถึง พระพุทธศาสนา คือ ความเลื่อมใสศรัทธา และพร้อมจะปฏิบัติตามหลักธรรม

 สีแดง” หมายถึง ความกล้าหาญ คือ กล้าคิด กล้านำ และกล้าทำ

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ “ต้นนาคบุตร” (Iron Wood) เป็นพรรณไม้ยืนต้น ผิวลำต้นสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ลำต้นเป็นพูเป็นเหลี่ยม ลำต้นมีความสูงประมาณ 15-25 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะรูปไข่เรียวยาวแคบ ขอบใบเรียบ มีสีเขียวท้องใบมีสีเทาคล้ายใบมะปราง ขนาดใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุกมีประมาณ 2-3 ดอก ขนาดดอกเท่ากับดอกสารภี มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบนอกจะแข็ง และหนา ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม กลางดอกมีเกสรเป็นฝอย สีเหลือง ลักษณะผลเป็นรูปไข่ และแข็งมีขนาดเล็ก

คำขวัญประจำมหาวิทยาลัย

  • ปรัชญาประจำมหาวิทยาลัย คือ ประทีปถิ่น ประเทืองไทย
  • เอกลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เป็นมหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิต พัฒนาครู การจัดการศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ยั่งยืน
  • อัตลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย คือ บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เป็นบัณฑิตนักคิด นักปฏิบัติ มีจิตสาธารณะ
  • ค่านิยมประจำมหาวิทยาลัย คือ NSTRU หมายถึง จิตวิญญาณชาวราชภัฏนครศรีธรรมราช
    • N = New Idea หมายถึง การคิดใหม่คิดชอบ คิดถูกต้อง กล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่ชอบและถูกต้อง
    • S = Service Mind หมายถึง การบริการด้วยใจ บริการอย่างฉันท์มิตร ด้วยจิตสาธารณะ
    • T = Teamwork หมายถึง การทำงานเป็นทีม ร่วมมือในการทำงาน
    • R = Responsibility หมายถึง ความรับผิดชอบพร้อมรับการตรวจสอบทั้งในระดับองค์กร ท้องถิ่นและสังคม
    • U = Universal หมายถึง สู่ความเป็นสากล

คณะและหน่วยงาน

หลักสูตร

หลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
สำนักวิชา ปริญญาตรี บัณฑิตวิทยาลัย (The Graduate School) TGS เก็บถาวร 2019-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หมายเหตุ
ปริญญาโท ปริญญาเอก
คณะครุศาสตร์
(Faculty of Education)
  • หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)
  • • สาขาการศึกษาปฐมวัย
  • • สาขาคณิตศาสตร์
  • • สาขาดนตรีศึกษา
  • • สาขาพลศึกษา
  • • สาขาฟิสิกส์
  • • สาขาภาษาไทย
  • • สาขาภาษาอังกฤษ
  • • สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • • สาขาศิลปศึกษา
  • • สาขาสังคมศึกษา
  • • สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
  • • สาขาคอมพิวเตอร์
  • • สาขานาฏศิลป์
  • หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
  • • สาขาการบริหารการศึกษา
  • • สาขานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
  • • สาขาการจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • • สาขาการบริหารการศึกษา
  • • สาขาการจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
ED-NSTRU
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
(Faculty of Industrial Technology)
  • หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (คอ.บ.)
  • • สาขาอุตสาหกรรมศิลป์
  • หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
  • • สาขาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์
  • • สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
  • • สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอุตสาหกรรมดิจิทัล
  • หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.)
  • • สาขาเทคโนโลยีโยธา
  • • สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
  • • สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • หลักสูตรเทคโนโลยีมหาบัณฑิต (ทล.ม.)
  • • สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • • สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
IT-NSTRU
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
(Faculty of Humanities and Social Sciences)
  • หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
  • • สาขานิติศาสตร์
  • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)
  • • สาขารัฐประศาสนศาสตร์
  • หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.)
  • • สาขาการปกครองท้องถิ่น
  • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.)
  • • สาขาออกแบบนิเทศศิลป์
  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
  • • สาขาการจัดการวัฒนธรรมเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  • • สาขาการจัดการสารสนเทศ
  • • สาขาการท่องเที่ยว
  • • สาขาการพัฒนาชุมชน
  • • สาขาภาษาไทย
  • • สาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ
HS-NSTRU
คณะวิทยาการจัดการ
(Faculty of Management Sciences)
  • หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.)
  • • สาขานิเทศศาสตร์
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)
  • • สาขาการจัดการ
  • • สาขาการจัดการอุตสาหกรรมบริการ
  • • สาขาการตลาด
  • • สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • • สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • • สาขาธุรกิจค้าปลีก
  • หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)
  • • สาขาบัญชี
  • หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)
  • • สาขาเศรษฐศาสตร์
MS-NSTRU
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(Faculty of Science and Technology)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
  • • สาขาเกษตรศาสตร์
  • • สาขาคณิตศาสตร์
  • • สาขาเคมี
  • • สาขาชีววิทยา
  • • สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • • สาขานวัตกรรมชีวภาพ
  • • สาขาฟิสิกส์
  • • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • • สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • • สาขาสาธารณสุขศาสตร์
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
  • • สาขานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • • สาขานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์
ST-NSTRU
วิทยาลัยศิลปะและวัฒนธรรม
(College of Arts and Culture)
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
  • • สาขาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมสร้างสรรค์
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • • สาขาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมสร้างสรรค์
AC-NSTRU เก็บถาวร 2022-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

นายกสภามหาวิทยาลัย

ทำเนียบนายกสภา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ลำดับ รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1. ศ.ดร.เวคิน นพนิตย์ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2538 2 ตุลาคม พ.ศ. 2542
2. ดร.ถนอม อินทรกำเนิด 3 ตุลาคม พ.ศ. 2542 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544
3. พล.ต.อ.ดรุณ โสตถิพันธุ์ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2544 19 มกราคม พ.ศ. 2548 [4]
20 มกราคม พ.ศ. 2548 7 กันยายน พ.ศ. 2549 [5]
4. นายพลากร สุวรรณรัฐ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 [6]
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 15 มีนาคม พ.ศ. 2555 [7]
5. ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 [8]
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 [9]
6. ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 17 มกราคม พ.ศ. 2563 [10]
7. รศ.ดร.วิชัย แหวนเพชร 18 มกราคม พ.ศ. 2563 ปัจจุบัน [11]

อธิการบดี

ทำเนียบอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ลำดับ รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1. ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2547 5 มีนาคม พ.ศ. 2552
6 มีนาคม พ.ศ. 2552 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 [12]
2. รศ.วิมล ดำศรี 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 [13]
3. ผศ.ดร.ฆนัท ธาตุทอง 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 15 เมษายน พ.ศ. 2561 รักษาราชการ
16 เมษายน 2561 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 [14]
ดร.สมปอง รักษาธรรม 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 15 มกราคม พ.ศ. 2564 รักษาราชการ[15]
ผศ.ดร.วิชิต สุขทร 16 มกราคม พ.ศ. 2564 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 รักษาราชการ[16]
ผศ.สุรศักดิ์ แก้วอ่อน 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 10 มกราคม พ.ศ. 2565 รักษาราชการ[17]
ผศ.ดร.วิชิต สุขทร 11 มกราคม พ.ศ. 2565 11 เมษายน พ.ศ. 2565 รักษาราชการ[18]
ดร.สมปอง รักษาธรรม 12 เมษายน พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน รักษาราชการ[19]

โครงการจัดตั้ง

  • คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์
  • วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการโรงแรม
  • วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
  • วิทยาลัยนานาชาติ
  • ศูนย์การเรียนรู้ป่าสนสร้อย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช วิทยาเขตสิชล

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๒๔, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. จำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2558. [1]. ข้อมูลล่าสุดพ.ศ. 2558
  3. กระทู้ถามที่ ว. ๔๕/๒๔๙๘ ของนายน้อม อุปรมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่อง การตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูในภาค ๘
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (พลตำรวจโทดรุณ โสตถิพันธุ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-17. สืบค้นเมื่อ 2018-02-26.
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (พลตำรวจโทดรุณ โสตถิพันธุ์)
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายพลากร สุวรรณรัฐ)
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายพลากร สุวรรณรัฐ)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์)
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์)
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายโกวิทย์ พวงงาม)
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายวิชัย แหวนเพชร)
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายฉัตรชัย ศุกระกาญจน์)
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายวิมล ดำศรี)
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายฆนัท ธาตุทอง)
  15. คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ที่ 13/2563 เรื่อง แต่งตั้งรักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายสมปอง รักษาธรรม)
  16. คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ที่ 1/2564 เรื่อง แต่งตั้งรักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายวิชิต สุขทร)
  17. คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ที่ 17/2564 เรื่อง แต่งตั้งรักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายสุรศักดิ์ แก้วอ่อน)
  18. คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ที่ 1/2565 เรื่อง แต่งตั้งรักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายวิชิต สุขทร)
  19. คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ที่ 9/2565 เรื่อง แต่งตั้งรักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายสมปอง รักษาธรรม)

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya