โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ |
---|
Nawamintrachinuthit Satriwittaya 2 School |
ที่ตั้ง |
---|
|
ข้อมูล |
---|
ชื่ออื่น | นมร.สว.๒ |
---|
ประเภท | สหศึกษาของรัฐบาล สังกัด สพฐ. |
---|
สถาปนา | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2535 |
---|
ผู้อำนวยการ | ดร.สมศักดิ์ แสวงการ |
---|
สี | แดง ขาว |
---|
คำขวัญ | เรียนเด่น เล่นดี มีวินัย |
---|
เว็บไซต์ | https://www.nmrsw2.ac.th |
---|
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ หรือ โรงเรียนสตรีวิทยา 4 เป็นโรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติ
ในกลุ่มโรงเรียน 9 นวมินทราชินูทิศ
ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2535 บนที่ดินซึ่งนางทองสุข สุขทุม และนายเกษม คงสามสี คหบดีสองพี่น้อง มอบให้แก่กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 10 เมษายน ปีนั้น เพื่อเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของเยาวชนในย่านมีนบุรีและคลองสามวาโดยเฉพาะ ซึ่งภายหลังสถาปนาอาคารต่าง ๆ แล้ว กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งเป็นโรงเรียนสหศึกษา ชื่อ "โรงเรียนสตรีวิทยา 4" สังกัดกรมสามัญศึกษา โดยมอบให้โรงเรียนสตรีวิทยา 2 เป็นพี่เลี้ยง และให้นางสาวสมภาพ คมสัน ผู้อำนวยโรงเรียนสตรีวิทยา 2 รักษาการตำแหน่งผู้อำนวยโรงเรียนไปพลางก่อน
ต่อมา วันที่ 10 สิงหาคม ปีเดียวกัน กรมสามัญศึกษาประกาศเปลี่ยนชื่อโรงเรียนตามที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต และเพื่อให้สอดคล้องกับโรงเรียนพี่เลี้ยง เป็น "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 มีนบุรี" อักษรย่อว่า "นมร.ส.ว.2" และวันที่ 15 มิถุนายน ปีนั้นเอง กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้นางวิลาวัณย์ สิทธิ์วงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยโรงเรียนสตรีวิทยา 2 เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน นมร.ส.ว.2 พร้อมได้อนุมัติงบประมาณ 95.3 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 6 ชั้น 3 อาคารติดต่อกัน และอาคารอเนกประสงค์อีก 1 หลัง ใช้เวลาก่อสร้าง 680 วันจึงแล้วเสร็จ
ครั้นปีการศึกษา 2539 กรุงเทพมหานครได้แบ่งเขตการปกครองใหม่ โดยได้แบ่งเขตมีนบุรีออกเป็น 2 เขต คือ เขตมีนบุรี และเขตคลองสามวา ซึ่งเดิมที่ตั้งของโรงเรียนเดิมอยู่ในเขตมีนบุรีจึงได้ชื่อ "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 มีนบุรี" แต่เมื่อแบ่งเขตใหม่แล้ว ไปอยู่ในเขตคลองสามวาแทน จึงได้ชื่อใหม่เป็น "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2"
ปัจจุบัน อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขตที่ 2
สัญลักษณ์
- ตรา รูปพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ประดับมงกุฎขัตติยราชนารี
- คำขวัญ ลูกนมร.สว.2 ต้องมีจิตใจงาม ความรู้ดี
- ปรัชญา มีคุณธรรม เลิศล้ำปัญญา ใฝ่หาอาชีพสุจริต
- เพลงประจำสถาบัน มาร์ชพิกุลแก้ว
- สี ขาว แดง
- ต้นไม้ พิกุล
- ธง สีแดงและขาว มีตราโรงเรียนประดับกลาง
- พระพุทธรูป พระพุทธรัชมงคลปัญญา
- ผู้มีพระคุณ
- 1.นางทองสุข สุขทุม
- 2.นายเกษม คงสามสี
สิ่งสักการะ
- พระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประดิษฐาน ณ หอสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ขณะทรงประทับนั่งบนพระเก้าอี้พระพักตร์ทรงหันไปด้านซ้าย ฉลองพระองค์ชุดผ้าไหมไทยประยุกต์ ลักษณะพระบรมฉายาลักษณ์ติดกับแท่นสำหรับถวายพระพรซึ่งได้แก่ แท่นวางกรวยถวายพระพร และพานพุ่ม ด้านบนประดับพระนามาภิไธยย่อ สก
- มงกุฎขัตติยราชนารี ประดิษฐาน ณ หอสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 เป็นมงกุฎประจำองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งโรงเรียนได้รับพระราชทานพร้อมกับตราโรงเรียน ลักษณะองค์มงกุฎประกอบด้วยกรรเจียกจร, พระเกี้ยว 3 ชั้น และยี่ก่าด้านขวา ประกอบแท่นวางพระมงกุฎผ้าพื้นสีฟ้า ประดับตราพระนามาภิไธยย่อ สก บนผ้า ประทับบนหมอนสีทองสี่มุม แต่ละมุมมีพู่สีทองห้อยอยู่ และอยู่บนพานหนึ่งชั้น
ความหมายของชื่อโรงเรียน
- โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ พร้อมกันนี้ พระองค์ได้พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อโรงเรียนมัธยมศึกษาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ว่า "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ" และเนื่องจากในระยะเริ่มต้นของการก่อตั้งโรงเรียนนั้น กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ เป็นโรงเรียนพี่เลี้ยง และผู้ประสานงานการจัดตั้งโรงเรียน โดยความหมายของชื่อโรงเรียนนั้น สามารถแยกออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
- นวมินทราชินูทิศ ซึ่งเกิดจากการสนธิของคำต่าง ๆ ดังนี้
- นวม แปลว่า ลำดับที่เก้า
- อินทร์ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่
- ราชินี แปลว่า พระมเหสี
- อุทิศ แปลว่า ทำเพื่อ หรือ สละให้อย่างเจาะจง
- สตรีวิทยา ๒ เป็นชื่อของโรงเรียนพี่เลี้ยง ในช่วงการก่อตั้งโรงเรียน
คณะสี
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ มีทั้งหมดคณะ 5 สีดังนี้
- คณะนวมินทร์ (สีเหลือง)
- คณะปิ่นประทาน (สีชมพู)
- คณะเมืองมีน (สีเขียว)
- คณะถิ่นทอง (สีแสด)
- คณะผองพิกุล (สีฟ้า)
ทำเนียบผู้บริหาร
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2
|
รายชื่อ
|
ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
|
1. นางสาวสมภาพ คมสัน
|
พ.ศ. 2535
|
2. นางวิลาวัณย์ สิทธิวงศ์
|
พ.ศ. 2535 — พ.ศ. 2540
|
3. นางอนันต์ เธียรรักษ์วิชา
|
พ.ศ. 2540 — พ.ศ. 2546
|
4. นายบัณทิต เกตุช้าง
|
พ.ศ. 2546 — พ.ศ. 2551
|
5. นางพรพิมล พรชนะรักษ์
|
พ.ศ. 2551— พ.ศ. 2556
|
6.นายบรรลือชัย ผิวสานต์
|
พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2561
|
7.ว่าที่ร้อยตรีณรงค์ ประจวบวัน
|
พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2564
|
8.นายประทีป ไชยเมือง
|
พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2566
|
9.นายสมศักดิ์ แสวงการ
|
พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน
|
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
กลุ่มโรงเรียนสตรีวิทยา
ลำดับที่
|
โรงเรียน
|
อักษรย่อ
|
จังหวัด
|
สถาปนา
|
หมายเหตุ
|
1
|
โรงเรียนสตรีวิทยา
|
ส.ว. / SW
|
กรุงเทพมหานคร
|
3 สิงหาคม พ.ศ. 2443; 124 ปีก่อน (2443-08-03)
|
|
2
|
โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ
|
ส.ว.๒ / SW2
|
กรุงเทพมหานคร
|
7 ธันวาคม พ.ศ. 2516; 51 ปีก่อน (2516-12-07)
|
|
3
|
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
|
นมร.ส.ว. / NMR.S.W
|
กรุงเทพมหานคร
|
10 สิงหาคม พ.ศ. 2535; 32 ปีก่อน (2535-08-10)
|
เป็นที่รู้จักกันในนาม "โรงเรียนสตรีวิทยา 3" นอกจากนี้ยังเป็นสถานศึกษาในเครือข่ายโรงเรียนนวมินทราชินูทิศร่วมกับอีก 8 โรงเรียน
|
4
|
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒
|
นมร.สว.๒ / NMR.S.W2
|
กรุงเทพมหานคร
|
10 สิงหาคม พ.ศ. 2535; 32 ปีก่อน (2535-08-10)
|
เป็นที่รู้จักกันในนาม "โรงเรียนสตรีวิทยา 4" เมื่อแรกตั้งใช้ชื่อว่า "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ มีนบุรี" ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นสถานศึกษาในเครือข่ายโรงเรียนนวมินทราชินูทิศร่วมกับอีก 8 โรงเรียน
|
–
|
โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ มัธยมศึกษาตอนต้น
|
|
กรุงเทพมหานคร
|
พ.ศ. 2538 ถึง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544
|
แยกออกมาจากโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ก่อนที่จะยุบรวมเข้ากับโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ อีกครั้ง
|
แหล่งข้อมูลอื่น
13°54′09″N 100°44′27″E / 13.902638°N 100.740860°E / 13.902638; 100.740860
กลุ่มโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ |
---|
กรุงเทพ | | |
---|
ปริมณฑล | |
---|
|