Share to:

 

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง
Princess Chulabhorn's Science High School, Trang
ปญฺญา ยตฺถํ วิปสฺสติ
คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา
ที่ตั้ง
แผนที่
196 หมู่ที่ 4 ตำบลบางรัก อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92000
ข้อมูล
ชื่ออื่นจุฬาภรณ์ ตรัง, จภ.ตง., PCSHSTRG
ประเภทโรงเรียนรัฐ
คติพจน์รักศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ
สถาปนา4 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
ผู้ก่อตั้งสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1004920104
ผู้อำนวยการขนิษฐา อำนักมณี
ระดับปีที่จัดการศึกษาสอนระดับ ม.1-ม.6 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
วิทยาเขตตรัง
สี  น้ำเงิน
  แสด
เพลงมาร์ชจุฬาภรณฯ, เรารักจุฬาภรณฯตรัง
เว็บไซต์www.pcshstrg.ac.th

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง (อังกฤษ: Princess Chulaborn Science High School Trang) เป็นหนึ่งใน 12 กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ให้การศึกษาในระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เป็นโรงเรียนสหศึกษา จัดการเรียนการสอนในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์

ประวัติ

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง เป็น 1 ใน 12 โรงเรียนที่กรมสามัญศึกษาจัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณที่ทรงมีต่องาน ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อสนองตามพระราชประสงค์ที่ทรงมุ่งมั่นส่งเสริมคุณภาพชีวิตใน ด้านความเป็นอยู่และการศึกษาของประชาชนโดยเฉพาะใน ท้องถิ่นห่างไกลโดยให้โอกาสแก่เยาวชนที่มีความสนใจและมีความสามารถด้านนี้ตั้งแต่เยาว์วัย โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งดังนี้

  • เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุ ครบ 3 รอบ
  • เพื่อเป็นสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่ฝึกทักษะความรู้ความสามารถของนักเรียนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่วัยเยาว์ ซึ่งเป็นการเตรียมบุคลากรไว้รองรับโครงการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
  • เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่เรียนดี มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีโอกาสเพิ่มมากขึ้น ในการเข้าเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาและได้พัฒนา ความรู้พื้นฐานในด้านนี้อย่างเข้มข้น นำไปสู่การแก้ปัญหาและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ได้ผลอย่างแท้จริง
  • เพื่อเป็นสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตัวอย่าง ในด้าน การฝึกอบรมนักเรียน ให้เป็นกุลบุตรกุลสตรี ที่เพียบพร้อมด้วยจริยธรรมสามารถพึ่งพาตนเองได้และเป็นประโยชน์ต่อสังคม

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง เริ่มรับนักเรียนเข้าเรียนเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2537 โดยรับนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 ชั้นละ 2 ห้อง และเปิดทำการเรียนการสอนในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2537[1] โดยในช่วงระยะเวลา 2 ปีแรกที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง เปิดทำการเรียนการสอนนั้นยังไม่มีอาคารเรียน จึงได้อาศัยขอใช้พื้นที่ของวิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดตรัง ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอย่านตาขาว เป็นสถานที่ดำเนินการเรียนการสอน ชั่วคราวระหว่างดำเนินการสร้างอาคาร สถานที่ จนกระทั่งปีการศึกษา 2539 จึงได้ย้ายมาใช้สถานที่ใหม่ คือบริเวณตำบลบางรัก อำเภอเมือง และยังคงมีการก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมจนแล้วเสร็จทั้งหมดในปีการศึกษา 2541 อย่างไรก็ดียังมีการเรียนการสอนบางวิชาที่ดำเนินการนอกโรงเรียน เช่น วิชาพลศึกษา:การว่ายน้ำ เป็นต้น

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทนักเรียนประจำ และ ไป-กลับ สังกัดกรมสามัญศึกษา โดยมีวิสัยทัศน์คือ “ มุ่งพัฒนาให้นักเรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม มีความรู้ และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม มีพื้นฐานทางด้านภาษา นิยมไทย และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ” ทั้งนี้การเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีเฉพาะสายวิทยาศาสตร์เท่านั้น

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

ดังนั้น จุฬาภรณราชวิทยาลัย หมายถึง สถาบันการศึกษาขั้นสูงอันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ ทางโรงเรียนได้ใช้พระนามเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา

  • ตราประจำโรงเรียน ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ประกอบด้วย[2]
    • พระจุลมงกุฎสีเหลืองทอง
    • อักษร สีแสด และ สีน้ำเงิน อยู่ภายใต้พระจุลมงกุฎ โดย จภ มาจากพระนามาภิไธยย่อของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
    • แพรแถบด้านล่างตรา สีน้ำเงินตัดขอบสีเหลืองทอง มีข้อความชื่อโรงเรียนสีเหลืองทอง
    • ลายกระหนกสีเหลืองทอง ขนาบข้างอักษร จภ ทั้งสองข้าง
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียน ได้แก่ แคแสด[3]
  • สีประจำโรงเรียน ได้แก่    สีน้ำเงิน-แสด[3] โดย
    • สีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ ความแข็งแรง มั่นคง และความเคร่งครัดในระเบียบวินัย
    • สีแสด หมายถึง เป็นสีประจำวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500

ทำเนียบผู้อำนวยการ

1.นายสมพงษ์ แคนยุกต์ (พ.ศ. 2537 - 2544)
2.นายจบ แก้วพิบูลย์ (พ.ศ. 2544 - 2555)
3.นายพงษ์พิศักดิ์ เก้าเอี้ยน

นายยุทธนา แก้วรักษ์

(พ.ศ. 2555 - 2560)

รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารบุคคล(ณ ขณะนั้น) รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ

4.นางสุวณี อึ่งวรากร (พ.ศ. 2560 - 2565)
5.นางสาวขนิษฐา อำนักมณี (พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน)

คณะผู้บริหาร

ลำดับที่ ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง หมายเหตุ
1 นางสาวขนิษฐา อำนักมณี ผู้อำนวยการโรงเรียน
2 นางกานดา ก้าวสัมพันธ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียน
3 นายบัณฑิต หมื่นบาล
4 นายพิฐิพงศ์ ยวงใย
5 นางสาวสุธารัตน์ ชำนาญเหนาะ รองผูอำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารกิจการหอพัก ครูปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายพิเศษ

โครงการพิเศษ

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง เป็นโรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งคือ ส่งเสริมนักเรียนที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นโรงเรียนจึงมีโครงการ ดังนี้

  1. โครงการร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมวางแผนและสนับสนุน เรื่องการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนร่วมวางแผนการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรม ค่ายวิชาต่าง ๆ สถาบันที่ให้ความร่วมมือในขณะนี้ คือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นต้น
  2. โครงการโรงเรียนคู่แฝด เป็นโครงการร่วมมือระหว่างโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช และโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล กับโรงเรียนมัธยมวิทยาศาสตร์ในประเทศมาเลเซียเพื่อแลกเปลี่ยนด้านวิชาการ และด้านวัฒนธรรม เช่น การจัดค่ายวิชาการ การศึกษาดูงาน และ โครง การแลกเปลี่ยนนักเรียน เป็นต้น
  3. โครงการส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เช่น การสนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียน ทำโครงงานคณิตศาสตร์โครงงานวิทยาศาสตร์และโครงงานคอมพิวเตอร์ หรือกิจกรรมการเข้าค่ายอัจฉริยภาพต่างๆ เป็นต้น
  4. การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง โรงเรียนได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและเริ่มใช้กับนักเรียนชั้น ม. 1 และ ม.4 ในปีการศึกษา 2545 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่พัฒนานักเรียนตามศักยภาพของผู้เรียน

อ้างอิง

  1. "ข้อมูลวันเปิดรับนักเรียนและเปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกของโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-23. สืบค้นเมื่อ 2010-01-26.
  2. สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร. โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2560‎.

แหล่งข้อมูลอื่น

7°33′10″N 99°33′28″E / 7.552676°N 99.557912°E / 7.552676; 99.557912

Kembali kehalaman sebelumnya