เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา (กรุงเทพมหานคร)
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 (กรุงเทพมหานคร ) ตั้งอยู่ที่เลขที่ 170 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แบบสหศึกษา เป็นหนึ่งใน 281 โรงเรียนมัธยมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดให้เป็นโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง และเป็นหนึ่งใน 40 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประวัติ
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เดิมคือ โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์ ซึ่งเคยเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดจังหวัดพระนคร เปิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2504 รับนักเรียนชั้นประถมศึกษามาโดยตลอด และได้พัฒนามาเป็นลำดับ
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้โอนไปสังกัดกองการประถมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ได้เปลี่ยนจากโรงเรียนระดับประถมศึกษาเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยความริเริ่มของอาจารย์ใหญ่ขณะนั้น คือ นายทับทิม บุญยพัชรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ แต่มีความสามารถที่จะเรียนให้มีโอกาสเรียนต่อในระดับชั้น มัธยมศึกษา และค่อย ๆ ยุบเลิกชั้นประถมศึกษาไปในที่สุด
วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2521 ได้โอนไปสังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้ขยายเปิดชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในปี พ.ศ. 2522
ปี พ.ศ. 2527 เป็นปีแห่งการพัฒนาของโรงเรียนในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านอาคารสถานที่ ด้านระเบียบวินัยของโรงเรียน ด้านงานวิชาการ ระบบระเบียบวินัยของข้าราชครู และด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน จนทำให้โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานกระทรวงศึกษาธิการ และรางวัลโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่นถึง 3 ปีซ้อน คือในปีพุทธศักราช 2527, 2528, 2529 ภายใต้การบริหารงานของ คุณหญิงพรรณี กาญจนะวสิด ผู้อำนวยการโรงเรียนในขณะนั้น
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติการเปลี่ยนชื่อจาก โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์ มาเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา โดยการริเริ่มของ นายสมพงษ์ พลสูงเนิน ผู้อำนวยการโรงเรียน ในขณะนั้น
[ 2]
ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศา หรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเรขา (สัญลักษณ์) ประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ "จุฬาลงกรณ์" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ "มงกุฎ" อีกทั้ง พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีหมายความว่า "พระจอมเกล้าน้อย" อีกด้วย
เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความหมายว่าพระเกี้ยว หรือจุลมงกุฎ จึงได้ใช้พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎวางบนเบาะ เป็นพิจิตรเรขาประจำรัชกาลของพระองค์
เนื่องจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เป็นโรงเรียนในเครืออัษฎเตรียมพัฒน์ จึงได้รับพระบรมราชานุญาตจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้ใช้ พระเกี้ยว เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน
ทำเนียบผู้บริหาร
ผู้อำนวยการโรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์
ลำดับ
รายนามผู้อำนวยการ
วาระการดำรงตำแหน่ง
อ้างอิง
1
นายประกาศ แสงเพชร
16 ตุลาคม พ.ศ. 2504 - 23 กันยายน พ.ศ. 2509
2
นายทับทิม บุญยพัชรินทร์
24 กันยายน พ.ศ. 2509 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2519
3
นายระงับ ศรีรุ่งเรือง
19 กรกฎาคมพ.ศ. 2519 - 23 มิถุนายน พ.ศ. 2523
4
นายเลิศ สดแสงจันทร์
23 มิถุนายน พ.ศ. 2523 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
5
คุณหญิงพรรณี กาญจนะวสิด
1 มิถุนายน พ.ศ. 2526 - 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528
6
นางภิญญพร วัฒนเจริญ
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530
7
นายมาโนช ปานโต
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2531
8
นายอดิศร ใสสุก
10 มิถุนายน พ.ศ. 2531 - 18 มกราคม พ.ศ. 2534
9
นายสุรินทร์ ต่อเนื่อง
19 มกราคม พ.ศ. 2534 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534
10
นายศิริ สุงคาสิทธิ์
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537
11
นายบรรจบ เสริมทอง
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 - 30 กันยายน พ.ศ. 2542
12
นายธงชาติ วงษ์สวรรค์
9 ธันวาคม พ.ศ. 2542 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2544
13
นายสมพงษ์ พลสูงเนิน
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
ลำดับ
รายนามผู้อำนวยการ
วาระการดำรงตำแหน่ง
อ้างอิง
1
นายสมพงษ์ พลสูงเนิน
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
2
นายโกศล พละกลาง
4 ธันวาคม พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2552
3
นายนคร เดชพันธ์
7 มกราคม พ.ศ. 2553 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555
4
ดร.เลิศศิลป์ รัตนมุสิก
24 สิงหาคม พ.ศ. 2555 – 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
5
ดร.สันต์ธวัช ศรีคำแท้
5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566
6
นางสาวกรรณิกา ไผทฉันท์
1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน
อาคารสถานที่ภายในโรงเรียน
อาคาร 1
เป็นอาคารเรียน 7 ชั้น มีลิฟต์ ขึ้นและลงอาคารเรียน บริเวณชั้นล่างสุดของตัวอาคารเป็นห้องโถงกว้างขนาดใหญ่มีเวที เครื่องเสียง พัดลม และระบบไฟฟ้า ซึ่งปกติจะใช้สำหรับเป็นสถานที่สำหรับฝึกสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับพละศึกษา เช่น กีฬาเทเบิลเทนนิส เป็นต้น นอกจากนั้นยังใช้เป็นสถานที่สำหรับการประชุมระดับของนักเรียนในบางช่วงชั้น เป็นสถานที่จัดและชมการแสดงต่าง ๆ เป็นสถานที่ทำกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ และเป็นสถานที่ในการจัดแสดงผลงานทางวิชาการหรือนิทรรศการต่าง ๆ ในวันสำคัญต่าง ๆ ได้อีกด้วย
นอกจากนั้นบริเวณห้องโถงยังเป็นที่ตั้งของห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา และที่ตั้งของร้านบริการถ่ายเอกสารของโรงเรียน ส่วนชั้นบน เป็นห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น ห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ, ห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, ห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์, นาฏศิลป์), ห้องพักครูของกลุ่มพัฒนาผู้เรียน (แนะแนว), ห้องศูนย์การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ, ห้องศูนย์การเรียนรู้ภาษาจีน, ห้องศูนย์การเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่น, ห้องศูนย์การเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศส, ห้องปฏิบัติการทางภาษาอื่น ๆ, ห้องคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ, ห้องจริยธรรม, ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก (ศูนย์วิทยบริการ), ห้องศูนย์แนะแนว, ห้องพยาบาล, ห้องนาฏศิลป์, ห้องน้ำบนอาคารเรียน (มีทุกชั้น)
นอกจากนั้นบริเวณชั้น 4, 5, 6, 7 ยังเป็นห้องเรียนของนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ, ห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ ห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, 5, 6 ในบางแผนการเรียน อีกด้วย
อาคาร 2
เป็นอาคารเรียน 4 ชั้นพิเศษ โดยชั้นล่างสุดแต่เดิมเป็นห้องโถงใช้สำหรับฝึกสอนในรายวิชาพละศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้มีการปรับปรุงให้เป็นห้องประชุมอเนกประสงค์ มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เครื่องฉายมัลติมีเดียโปรเจคเตอร์ LCD ระบบเครื่องเสียง และการตกแต่งภายในต่าง ๆ เพื่อให้เป็นห้องประชุมอเนกประสงค์ โดยมีการตั้งชื่อว่า “ห้องประชุมอเนกประสงค์ศูนย์เรียนรวม อาคาร 2” และย้ายสถานที่สำหรับการเรียนการสอนในรายวิชาพละศึกษามาอยู่บริเวณใต้อาคาร 1 แทน ส่วนชั้นบน เป็นห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์, ห้องศูนย์อัจฉริยะคณิตศาสตร์, ห้องน้ำบนอาคารเรียน (มีทุกชั้น) นอกจากนั้นบริเวณชั้น 2, 3, 4 ยังเป็นห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
อาคาร 3
เป็นอาคารเรียน 4 ชั้นพิเศษ โดยชั้นล่างสุดเป็นห้องของกลุ่มบริหารงานต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่น ห้องกลุ่มบริหารงานวิชาการ, ห้องกลุ่มบริหารงานงบประมาณ, ห้องรองผู้อำนวยการโรงเรียน (กลุ่มบริหารงานวิชาการ, กลุ่มบริหารงานงบประมาณ, กลุ่มบริหารงานทั่วไป), ห้องวิจัยและประเมินผลการศึกษา, ห้องงานนโยบายและแผน, ห้องทะเบียนและวัดผล, ห้องโรเนียว, ห้องกลุ่มบริหารงานทั่วไป, ห้องสำนักงานผู้อำนวยการโรงเรียน, ห้องประชุมสมาคมผู้ปกครองและครู, ห้องสำนักงานโครงการห้องเรียนพิเศษ และห้องประชุมรัชดา (ห้องประชุมเล็ก) ส่วนชั้นบน เป็นห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์, โสตทัศนศึกษา), ห้องคอมพิวเตอร์, ห้องเรียนดิจิตอล, ห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย, ห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ห้องศูนย์อัจฉริยะภาษาไทย, ห้องศูนย์อัจฉริยะสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ห้องน้ำบนอาคารเรียน (มีทุกชั้น) และบริเวณชั้น 3, 4 ยังเป็นห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, 5, 6 ในบางแผนการเรียน
อาคาร 4 (ตึกวิทยาศาสตร์)
เป็นอาคารเรียน 4 ชั้น โดยชั้นล่างสุดเป็นห้องของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เช่น ห้องคหกรรม, ห้องงานประดิษฐ์, ห้องธุรกิจ, ห้องงานบ้าน, ห้องศูนย์สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (ธุรกิจ, อุตสาหกรรม, เกษตร) ส่วนชั้นบน เป็นห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์, ห้องศูนย์อัจฉริยะวิทยาศาสตร์, ห้องศูนย์การเรียนรู้พลังงานและสิ่งแวดล้อม, ห้องอัจฉริยะทางวิทยาศาสตร์, ห้องทดลองและปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน, ห้องทดลองและปฏิบัติการทางฟิสิกส์, ห้องทดลองและปฏิบัติการทางเคมี, ห้องทดลองและปฏิบัติการทางชีววิทยา, ห้องน้ำบนอาคารเรียน (มีทุกชั้น) และเป็นห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ทั้ง 3 ชั้นเรียน คือ ห้องเรียนของนักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, 5 และ 6 อีกทั้งยังเป็นห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในบางแผนการเรียน นอกจากนั้นบริเวณชั้นบนของตัวอาคารเรียนยังมีรูปปั้นของนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงทั้งไทยและต่างประเทศ ประดับอยู่ตามแนวทางเดินและตามแนวบันไดทางขึ้น-ลง ของตัวอาคารเรียนอีกด้วย
อาคาร 5 (อาคารโรงฝึกงาน)
เป็นอาคารเรียน 3 ชั้นพิเศษ โดยชั้นล่างสุดเป็นห้องของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เช่น ห้องเกษตร, ห้องอุตสาหกรรม เป็นต้น ส่วนชั้นบน เป็นห้องของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เช่น ห้องดนตรีไทย, ห้องดนตรีสากล, ห้องทัศนศิลป์, ห้องลีลาศ
อาคารประชาสัมพันธ์-ห้องเกียรติยศ
เป็นอาคารชั้นเดียว ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าสุดของโรงเรียน แบ่งเป็น 3 ห้อง ห้องแรกเป็นห้องเกียรติยศของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระเกี้ยว ประจำโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา นอกจากนั้นยังมีเหรียญรางวัลและถ้วยรางวัล พระราชทานต่าง ๆ เก็บรักษาอยู่ ณ ภายในห้องเกียรติยศนี้ด้วย ห้องที่ 2 เป็นห้องประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา และห้องที่ 3 เป็นห้องของกลุ่มบริหารงานบุคคล (ห้องปกครอง) และห้องรองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงานบุคคล
อาคารหอประชุมโรงเรียน-โรงอาหาร
เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่าง เป็นห้องโถงกว้างขนาดใหญ่ มีการต่อเติมเพื่อให้รองรับคนได้มากขึ้น ใช้เป็นโรงอาหารของโรงเรียน ภายในประกอบด้วย ร้านค้าสวัสดิการของโรงเรียน, ร้านขายอาหาร, เครื่องเสียง, โทรทัศน์สีจอแบน LCD, พัดลม, ห้องล้างจาน, เครื่องล้างจาน และเครื่องอบจานอัตโนมัติ และห้องรับประทานอาหารของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน ปี พ.ศ. 2559 เพื่อเป็นการลดความแอดอัดในการใช้โรงอาหารของโรงเรียน ทางโรงเรียนจึงได้มีการปรับปรุง ต่อเติมและขยายโรงอาหารออกไปยังบริเวณพื้นที่ด้านข้างเพิ่มเติมอีก รวมทั้งมีการต่อเติมและตกแต่งภายในเพิ่มเติม เพื่อให้มีความสวยงาม สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น และได้มีการติดตั้งตาข่ายเหล็กถาวรขึ้น เพื่อล้อมรอบโรงอาหารทั้ง 4 ด้าน ส่วนชั้นบนเป็นหอประชุมขนาดใหญ่ของโรงเรียน ภายในติดตั้งเครื่องปรับอากาศระบบท่อ, เวที, เครื่องฉายมัลติมีเดียโปรเจคเตอร์ LCD, ระบบเครื่องเสียง, โทรทัศน์สีจอแบน LCD และบริเวณด้านหลังของหอประชุมยังมีห้องน้ำ จำนวน 2 ห้อง สำหรับอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่เข้าร่วมประชุม โดยที่ผู้เข้าร่วมประชุมไม่จำเป็นที่จะต้องเดินลงบันไดมาด้านล่างเพื่อเข้าห้องน้ำ
ห้องสำนักงานธนาคารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
เป็นอาคารที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นมาใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2556 เพื่อสำหรับใช้เป็นอาคารสำนักงานธนาคารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ซึ่งเป็นส่วนต่อเติมออกมาจากอาคาร 1 แต่เดิมอาคารนี้เป็นที่ตั้งของร้านบริการถ่ายเอกสารของโรงเรียน ต่อมาเมื่อมีความต้องการที่จะใช้เป็นอาคารสำนักงานธนาคารโรงเรียนจึงได้มีการย้ายร้านบริการถ่ายเอกสารไปอยู่สถานที่อื่นแทนและได้มีการขยายต่อเติมและปรับปรุงขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้เป็นอาคารสำนักงานธนาคารโรงเรียน
T.U.P.R. Coffee
เป็นอาคารชั้นเดียวที่ได้รับการก่อสร้างขึ้นมาใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2560 อยู่บริเวณด้านหน้าของอาคาร 5 เพื่อใช้สำหรับเป็นคาเฟ่ เพื่อบริการเครื่องดื่ม ประเภทกาแฟ น้ำปั่น และเครื่องดื่มอื่น ๆ รวมทั้งเบเกอรี่ เพิ่มเติมในการบริการให้แก่นักเรียน คณะครูและบุคลากรของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา รวมทั้งผู้ปกครองนักเรียน [ 3]
สนามอเนกประสงค์
เป็นลานขนาดใหญ่ อยู่บริเวณกลางโรงเรียน ใช้เป็นสถานที่เข้าแถวของนักเรียน และเป็นสถานที่ในการเรียนวิชาพละศึกษาและใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน ภายในสนามกีฬาอเนกประสงค์ ประกอบไปด้วยสนามย่อย 3 สนาม คือ สนามฟุตซอล 1 สนาม, สนามสนามวอลเลย์บอล 1 สนาม และสนามตะกร้อ 2 สนาม เรียงต่อกัน แต่เดิมสนามกีฬาอเนกประสงค์ เป็นสนามที่มีลักษณะโล่ง และบริเวณโดยรอบสนามมีการใช้ตาข่ายล้อมสนามทั้ง 2 ด้านสำหรับป้องกันลูกบอลกระเด็นออกนอกสนามและกระเด็นถูกรถยนต์ หรือ บุคคลที่เดินไปมา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2551 ได้มีการสร้างหลังคาโดมขึ้น และเมื่อปี พ.ศ. 2556 ได้มีการสร้างตาข่ายเหล็กเป็นการถาวรขึ้น เพื่อล้อมรอบสนาม ทั้ง 2 ด้าน คือบริเวณด้านที่ติดกับถนนภายในโรงเรียน และบริเวณที่ติดกับโดมทางเดินเชื่อมต่อระหว่างอาคาร 1 และ อาคาร 3 เพื่อป้องกันลูกบอลกระเด็นออกนอกสนามและกระเด็นถูกรถยนต์หรือ บุคคลที่เดินไปมาเป็นการถาวร
สนามบาสเกตบอล
เป็นสนามที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของอาคารหอประชุมโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา แต่เดิมสนามบาสเกตบอล เป็นสนามโล่ง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2556 ได้มีการสร้างหลังคาโดมขึ้น เพื่อป้องกันแสงแดดและฝนในขณะที่มีการฝึกสอนวิชาบาสเกตบอล และได้มีการสร้างตาข่ายเหล็กเป็นการถาวรขึ้นล้อมรอบ ทั้ง 2 ด้าน
แฟลตพักภารโรง
เป็นอาคาร 2 ชั้น จำนวน 2 หลัง เรียงต่อกัน มีทั้งหมด 18 ห้อง ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของโรงเรียน เป็นห้องพักสำหรับลูกจ้างประจำ-ลูกจ้างชั่วคราวของโรงเรียน และบางห้องถูกจัดให้เป็นห้องพักสำหรับนักเรียนโครงการแลกเปลี่ยนที่เรียนของโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
บ้านพักครู
เป็นบ้านพัก 2 หลัง ใช้เป็นบ้านพักของคณะครูบางท่านของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
ห้องส้วมชาย
เป็นห้องส้วมที่อยู่บริเวณด้านหลังอาคาร 5 มีทั้งสิ้น 3 หลัง จำนวน 29 ห้อง เรียงต่อกัน
ห้องส้วมหญิง
เป็นห้องส้วมที่อยู่บริเวณด้านหลังอาคาร 2 มีทั้งสิ้น 1 หลัง จำนวน 17 ห้อง
แปลงเกษตร
อยู่บริเวณด้านข้างของอาคาร 4 ด้านหน้าแฟลตพักภารโรง เป็นแปลงเกษตรล้อมรอบด้วยบ่อปูน และโรงเรือนเกษตรระบบปิดจำนวน 2 โรงเรือน ใช้เป็นสถานที่เรียนภาคปฏิบัติของวิชาเกษตร
การเดินทางมายังโรงเรียน
สถานที่ใกล้เคียงกับโรงเรียน
เดอะสตรีท รัชดา
บิ๊กซี เพลส สาขารัชดา
อาคารฟอร์ม ทาวเวอร์
วันสำคัญที่เกี่ยวกับโรงเรียน
ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตรงกับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
การศึกษา
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ช่วงชั้นที่ 3-4) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรมาตรฐานสากล นอกจากนั้นยังจัดโครงการพิเศษนอกเหนือไปจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้สอดคล้องกับความหลากหลายทางสมรรถภาพของผู้เรียน
ปัจจุบัน องค์กรหลักของสถานศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ รวม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 กลุ่มงานพัฒนาผู้เรียน คือ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
งานภาษาอังกฤษ
งานภาษาจีน
งานภาษาฝรั่งเศส
งานภาษาญี่ปุ่น
ครูต่างชาติ
ครูโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ MEP ,IEDP
ครูสอนสนทนาภาษาอังกฤษ (Conversation Program)
ครูภาษาจีน
ครูภาษาญี่ปุ่น
ครูภาษาฝรั่งเศส (ครูพิเศษจากภายนอก)
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
งานดนตรีสากล
งานดนตรีไทย
งานทัศนศิลป์
งานนาฏศิลป์
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
งานเกษตร
งานคหกรรม
งานคอมพิวเตอร์
งานโสตทัศนศึกษา
งานธุรกิจ
งานอุตสาหกรรม
กลุ่มพัฒนาผู้เรียน
การเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ม.1-3
ระดับชั้นละ 10 ห้องเรียน
ห้องเรียนพิเศษหลักสูตร English Program (EP)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
ห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Science and Mathematics Program : GSMP)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
การเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4-6
แบ่งออกเป็น 9 แผนการเรียน และ 2 ห้องเรียนพิเศษ
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ (กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ (กลุ่มวิชาวิศวกรรมศาสตร์)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ (กลุ่มวิชาเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
แผนการเรียนคณิตศาสตร์ – ภาษาอังกฤษ (กลุ่มวิชานิเทศศิลป์)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
แผนการเรียนคณิตศาสตร์ – ภาษาอังกฤษ (กลุ่มวิชาบริหารธุรกิจ)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
แผนการเรียนภาษาอังกฤษ – ภาษาฝรั่งเศส (กลุ่มวิชาการสื่อสารภาษาฝรั่งเศส)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
แผนการเรียนภาษาอังกฤษ – ภาษาจีน (กลุ่มวิชาการสื่อสารภาษาจีน)
ระดับชั้นละ 2 ห้องเรียน
แผนการเรียนภาษาอังกฤษ – ภาษาญี่ปุ่น (กลุ่มวิชาการสื่อสารภาษาญี่ปุ่น)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
แผนการเรียนภาษาไทย – สังคมศึกษา (กล่มุ่วิชาทรัพยากรมนุษย์)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
ห้องเรียนพิเศษ Intensive English Program (IEP)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
ห้องเรียนพิเศษ
หลักสูตร English Program (EP)
เป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยจะเรียนกับคุณครูชาวต่างประเทศผู้เป็นเจ้าของภาษาทั้งวิชา วิชาคณิตศาสตร์, วิชาคอมพิวเตอร์, วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาวิทยาศาสตร์ โดยจะเรียนเป็นภาษาไทยกับคุณครูชาวไทยเพียงแค่ 5 รายวิชาคือ วิชาภาษาไทย, วิชาพลศึกษาและสุขศึกษา, วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, วิชาการงานอาชีพ และวิชาศิลปะ นอกจากนั้นจะเรียนเป็นภาษาต่างประเทศกับคุณครูชาวต่างประเทศทั้งหมด ปัจจุบันโรงเรียนเปิดทำการสอนในหลักสูตร English Program (EP) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น [ 4]
หลักสูตร Intensive English Program (IEP)
เป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเหมือนห้องเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ห้องเรียนปกติ (เรียนเป็นภาษาไทยกับอาจารย์ชาวไทย) แต่จะมีการเพิ่มชั่วโมงวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น เป็นห้องเรียนภาษาอังกฤษแบบเข้ม (เรียนกับคุณครูชาวต่างประเทศผู้เป็นเจ้าของภาษา) โดยหลักสูตร Intensive English Program (IEP) ทางโรงเรียนจะเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดแผนการเรียนวิทยาศาตร์ – คณิตศาสตร์ (IEP) โดยเริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2562 เป็นปีแรก โดยทางโรงเรียนได้ทำการยุบแผนการเรียนคณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ (MEP) ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเดิม แล้วเปลี่ยนมาเปิดเป็นแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (IEP) แทน[ 5] [ 6]
หลักสูตรวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Science and Mathematics Program : GSMP)
เปิดสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2565 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นไปในรายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โดยจะเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษแบบเข้มข้น เพื่อมุ่งพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ [ 7]
หลักสูตรวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI)
เปิดสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2565 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นไปในรายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ แบบเข้มข้น โดยจะเรียนในรายในวิชาคณิตศาสตร์, วิชาวิทยาศาสตร์, วิชาภาษาไทย, วิชาพลศึกษาและสุขศึกษา, วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, วิชาการงานอาชีพ และวิชาศิลปะ เป็นครูชาวไทย และเรียนวิชาภาษาอังกฤษกับครูชาวต่างประเทศผู้เป็นเจ้าของภาษา [ 8]
ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของห้องเรียนพิเศษ
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา โครงการห้องเรียนพิเศษ MEP ได้จัดส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทักษะภาษาอังกฤษ โซน A โครงการ EP/MEP ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในวันที่ 4-8 กรกฎาคม 2559 ซึ่งได้รับรางวัลรายการต่าง ๆ ดังนี้
ประเภทรางวัล
ระดับรางวัลที่ได้รับ
Story telling
เหรียญทอง
Singing contest
เหรียญเงิน
Science project
เหรียญเงิน
Speliing bee
เหรียญทองแดง
Math project
เหรียญทองแดง
Impromptu speech
เหรียญทองแดง
มิติด้านวิชาการ
โครงการความร่วมมือทางวิชาการ (MOU)
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ได้มีโครงการความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับสถาบันระดับอุดมศึกษา เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนักเรียนผู้ที่มีความรู้ความสามารถให้ได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามากขึ้น อาทิเช่น
โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
Even still now I can't see all pictures that I took in my exchange year.
I really miss everything.
I still can't believe that I don't go to triamudomsuksapattanakarn Ratchada school.
When I thinking about all of my friends or Thailand I can't stop crying na
I love too much and it's hurting me
I can't believe that today was my last day of school. I didn't think it will be so hard to leave this school and also my friends. Thank you TriamudomSuksaPattanakarnRatchada for welcome me in this school because if I wasn't in this school I will never meet this amazing person. It was the best year of my life and I don't want to imagine that in one month I'm gonna leave this beautiful country ( the country of smile). This year at this school taught me what is the meaning of life and also what is the real meaning of friendship. I want to thankful also my friends for taught me your wonderful thai language. I love you so much and hope to see you soon na. I will never forget you and all this memories will stay in my heart for the rest of life ฉันจะคิดถึงคุณมากๆๆนะและฉันรักคุณนะ
นักเรียนทุนต่างประเทศ
รายชื่อนักเรียนของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ที่สอบได้ทุนต่างประเทศ
ปี
จำนวนนักเรียนที่สอบได้ (คน)
ประเภทของทุน
รายละเอียดของทุน
หน่วยงานที่จัด
ประเทศที่ไปศึกษา
2557
2 คน
ทุนการศึกษา
เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้านการบิน ที่ Japan Aviation Academy ประเทศญี่ปุ่น
โรงเรียนการบินญี่ปุ่น (Japan Aviation Academy) ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน [ 10]
ประเทศญี่ปุ่น
2557
2 คน
ทุนนักเรียนแลกเปลี่ยน (Exchage student)
เป็นเยาวชนแลกเปลี่ยน ณ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ตั้งแต่ปี 2013-2014[ 11]
โครงการเยาวชนเอเอฟเอสเพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ โครงการระยะ 1 ปี รุ่นที่ 52
สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล
2558
1 คน
ทุนเยาวชนแลกเปลี่ยน
เป็นเยาวชนแลกเปลี่ยน ณ ประเทศญี่ปุ่น เมืองโตเกียว และเมืองไอชิ ระหว่างวันที่ 12 – 20 มกราคม พ.ศ. 2558
โครงการ Jenesys 2.0 หัวข้อ “Japanese Language 12th Batch” องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Jice) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประเทศญี่ปุ่น
2560
1 คน
ทุนการศึกษา
เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยหมิงฉวน ประเทศไต้หวัน ระยะเวลา 1 ปี
ภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต[ 12]
ประเทศไต้หวัน
2560
1 คน
ทุนนักเรียนแลกเปลี่ยน
เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ Grade 10, Burnt River School, Unity, Oregon, United States ตั้งแต่ปี 2017-2018 [ 13]
โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมสหรัฐอเมริกา AYP (High School Academic Year Program in America)
สหรัฐอเมริกา
2560
1 คน
ทุนนักเรียนแลกเปลี่ยน
เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ Grade 10, Burnt River School, Unity, Oregon, United States ตั้งแต่ปี 2017-2018 [ 14]
โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมสหรัฐอเมริกา AYP (High School Academic Year Program in America)
สหรัฐอเมริกา
2560
1 คน
ทุนเยาวชนแลกเปลี่ยน
เป็นเยาวชนแลกเปลี่ยน ณ จังหวัดฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 20 - 29 ตุลาคม 2560
โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย – ญี่ปุ่น ปีการศึกษา 2560 จัดโดยชมรมเยาวชนแลกเปลี่ยนไทย – ญี่ปุ่น TJYEC (Thailand – Japan Youth Exchange Club) ร่วมกับ ศูนย์ภาษาญี่ปุ่น กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [ 15]
ประเทศญี่ปุ่น
2560
5 คน
ทุนการศึกษา
เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเอกภาษาจีน ณ.มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเสฉวน (Sichuan International Studies University) นครฉงชิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน[ 16]
มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเสฉวน (Sichuan International Studies University)
สาธารณรัฐประชาชนจีน
2561
3 คน
ทุนการศึกษา
เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเอกภาษาจีน ณ.มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเสฉวน (Sichuan International Studies University) นครฉงชิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน[ 17]
มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเสฉวน (Sichuan International Studies University)
สาธารณรัฐประชาชนจีน
2561
1 คน
ทุนการศึกษาและค่าที่พัก
เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยหมิงฉวน ประเทศไต้หวัน ระยะเวลา 1 ปี
ภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต[ 18]
ประเทศไต้หวัน
2561
1 คน
ทุนเยาวชนแลกเปลี่ยน
เป็นเยาวชนแลกเปลี่ยนในโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชน JENESYS 2018
ชนะเลิศการแข่งขันประกวดสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่น ครั้งที่ 45 ระดับประเทศ จึงได้เข้าร่วมโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนเยาวชน JENESYS 2018 ณ ประเทศญี่ปุ่น[ 19]
ประเทศญี่ปุ่น
2564
1 คน
นักเรียนแลกเปลี่ยน
เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ณ ประเทศเบลเยี่ยม ระยะเวลา 1 ปี[ 20]
โครงการเยาวชน AFS เพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ ระยะ 1 ปี รุ่นที่ 61 (พ.ศ. 2565 – 2566) ประเทศเบลเยี่ยม แฟลนเดอร์ / เหนือ
ประเทศเบลเยี่ยม
2565
1 คน
ทุนการศึกษา
เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีคณะภาษาและวรรณคดีจีน, มหาวิทยาลัย Shanxi Normal University, สาธารณรัฐประชาชนจีน[ 21]
โครงการทุนเรียนต่อประเทศจีน Jinbu study in China
สาธารณรัฐประชาชนจีน
2565
1 คน
นักเรียนแลกเปลี่ยน
เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ระยะเวลา 1 ปี[ 22]
โครงการเยาวชน AFS เพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ ระยะ 1 ปี รุ่นที่ 62 (พ.ศ. 2566 – 2567) สาธารณรัฐประชาชนจีน
สาธารณรัฐประชาชนจีน
2566
1 คน
นักเรียนแลกเปลี่ยน
เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ณ Grade 12 Terry fox secondary school, รัฐ British Columbia, ประเทศแคนาดา ระยะเวลา 1 ปี [ 23]
โครงการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม Engenius International รุ่นที่ 7 ประจำปี 2567-2568
ประเทศแคนาดา
2566
2 คน
ทุนการศึกษา
เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีคณะการสอนภาษาจีนเพื่อชาวต่างชาติ, มหาวิทยาลัยครูฝูเจี้ยน, สาธารณรัฐประชาชนจีน[ 24] [ 25]
ทุน fujian government scholarship
สาธารณรัฐประชาชนจีน
กิจกรรมส่งเสริมทางวิชาการของโรงเรียน
ค่ายพัฒนาศักยภาพคณิตศาสตร์ (Math Camp)
ค่ายคณิตศาสตร์ (Math Day Camp)
ค่ายภาษาฝรั่งเศส
ค่ายภาษาอังกฤษ (English Day Camp)
ค่ายคอมพิวเตอร์ตามแนวทางแบบ STEM
ค่ายพัฒนาศักยภาพภาษาไทย-สังคมศึกษา
ค่ายพัฒนาศักยภาพภาษาอังกฤษ (MEP English Camp)
ค่ายภาษาญี่ปุ่น
ค่ายภาษาจีน
ค่ายพัฒนาศักยภาพวิทยาศาสตร์ (Science Camp)
ค่ายวิทยาศาสตร์ (Science Day Camp)
ค่ายอาเซียนร่วมใจ
การแข่งขันทักษะคณิตศาสตร์
การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์แบบ STEM
การแข่งขันตอบปัญหาการแพทย์
การทำโครงงานภาษาอังกฤษ
การแข่งขันทักษะภาษาไทย
การแข่งขันทักษะภาษาต่างประเทศที่ 2
การแข่งขันทักษะภาษาอังกฤษของห้องเรียนพิเศษ MEP
การแข่งขันทักษะภาษาอังกฤษ
การแข่งขันจรวดขวดน้ำ
การแข่งขันโครงการ สอวน.
กิจกรรมติวเสริมศักยภาพนักเรียนห้องเรียนพิเศษ
กิจกรรมติว O-Net สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
กิจกรรมติว A-Level ภาษาจีน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
กิจกรรมติว A-Level ภาษาฝรั่งเศส สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
กิจกรรมติว A-Level ภาษาญี่ปุ่น สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
กิจกรรมติว PAT 7.3 ภาษาญี่ปุ่น
กิจกรรมติว PAT 7.4 ภาษาจีน
กิจกรรมติว TGAT ภาษาอังกฤษ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
กิจกรรมติว TGAT เชื่อมโยง สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
กิจกรรมติวทักษะภาษาต่างประเทศที่ 2
กิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่ PISA
การสอบ Pre-ONET ประจำปี
การสอบ Pre-Admission ประจำปี
การสอบ Pre-ม.ต้น ประจำปี
การสอบธรรมศึกษาสนามหลวง ประจำปี
การสอบวัดความรู้ภาษาต่างประเทศที่ 2
การสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ โครงการห้องเรียนพิเศษ MEP
การสอบวัดและประเมินผล " การรู้เรื่องการอ่าน (Read Literacy) ตามแนวทางการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA "
กิจกรรมการเรียนปรับพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 ที่เข้าเรียนใหม่
กิจกรรมการเรียนเสริมพิเศษวันเสาร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
กิจกรรม Ajinomoto Cooking clup
กิจกรรม one class one project
กิจกรรมงานสัปดาห์ห้องสมุดและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
กิจกรรมการศึกษาโลกดวงดาวและอวกาศ
กิจกรรมนักเรียนทัศนศึกษาต่างประเทศ
กิจกรรมทัศนศึกษาภายในประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
กิจกรรมอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
มิติด้านกิจกรรม
วันสถาปนาโรงเรียน
กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ
พิธีรับประกาศนียบัตร "วันเกียรติยศ"
พิธีไหว้ครู
กิจกรรมปฐมนิเทศและค่ายอัตลักษณ์
กิจกรรมพี่พบน้อง
ค่ายคุณธรรม
ค่ายวัยใส ต.อ.พ.ร. สร้างวินัย
ค่ายพัฒนาผู้นำนักเรียน
การประกวดวงดนตรีสตริง
การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง
การประกวดมารยาทไทย
การแข่งขันกีฬาลีลาศ T.U.P.R. DanceSport Challenge
การประกวดดาว - เดือน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
การประกวด Miss Tiffany's TUPR
กิจกรรม Big Cleaning Day
กิจกรรมการแข่งขันฟุตซอลลีก
พิธีหล่อเทียนพรรษาและแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
กิจกรรมนักข่าวน้อย MEP
กิจกรรมช่างไฟฟ้ารุ่นเยาว์
กิจกรรมนักธุรกิจน้อย
กิจกรรมสวดมนต์สุขใจ
การเลือกตั้งประธานนักเรียน
การแต่งตั้งและการส่งมอบงานคณะกรรมการนักเรียน
กิจกรรมนักเรียน-เพื่อนที่ปรึกษา YC
การอบรมมารยาทไทย
การอบรมบรรณารักษ์น้อย
การอบรมนักเรียนแกนนำการใช้ห้องศูนย์สาระการเรียนรู้
การอบรมเรื่อง โรคเอดส์
การอบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกันและระงับอัคคียภัย
การตรวจสุขสภาพประจำปี
กิจกรรมเนื่องในวันสำคัญต่าง ๆ
กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน
การนิเทศสัญจร กลุ่มสาระการเรียนรู้
การนิเทศติดตามศูนย์การเรียนรู้
การอบรมครูแกนนำวิจัยในชั้นเรียน
การอบรมเศรษฐกิจพอเพียง
การอบรมเชิงปฏิบัติการฯ เศรษฐกิจพอเพียง
การอบรมครู เรื่อง STEM Education
การอบรมเชิงปฏิบัติการ "การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21"
การอบรมสร้างความเข้าใจในงานประกันคุณภาพ
การอบรมครูที่ปรึกษา
การประเมินข้าราชการครูบรรจุใหม่
การพัฒนาวิชาชีพเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ
การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและลูกจ้างประจำ
การศึกษาดูงานตามโรงเรียนต่าง ๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ
การอบรมผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้เบื้องต้น (B.T.C.)
การอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ขั้นความรู้ขั้นสูง (A.T.C.)
การอบรมครู เรื่อง OBECQA
การอบรมครู เรื่องการใช้ Google App for Education
การอบรมครูแกนนำด้านการผลิตสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี
การจัดทำและประกวดผลงานวิจัยในชั้นเรียน
การอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปี
การอบรมครูด้านการเงินและพัสดุ
การประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเดือน
การประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษาของแต่ละกลุ่มงานและกลุ่มสาระการเรียนรู้
พิธีมอบรางวัลครูดีศรี ต.อ.พ.ร. (สำหรับครูผู้ไม่มีประวัติการขาด การลา การมาสายและการมาควบคุมแถว) [ 26]
พิธีมอบรางวัลเพชร ต.อ.พ.ร. (สำหรับครูที่มีผลงานดีเด่นและผ่านการประเมินพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 สู่กระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบของ STEM Education หรือครูที่มีผลงานดีเด่นทางด้านงานวิจัย)
วันครอบครัว ต.อ.พ.ร.
พิธีมุฑิตาคารวะครูเกษียณอายุราชการ
กิจกรรมสำคัญของโรงเรียน
พิธีประดับพระเกี้ยว เป็นพิธีการที่สำคัญของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เนื่องจากพระเกี้ยวเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน ดังนั้นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา จึงได้มีการอัญเชิญองค์พระเกี้ยวมาใช้สำหรับเป็นเข็ม สำหรับประดับที่หน้าอกเสื้อนักเรียนด้านขวา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา โดย
นักเรียนชาย จะประดับเข็มพระเกี้ยวสีทอง เหนืออักษรย่อ ต.อ.พ.ร.
นักเรียนหญิง จะประดับเข็มพระเกี้ยวสีเงิน เหนืออักษรย่อ ต.อ.พ.ร.
กิจกรรมของโรงเรียนที่ได้รับความสนใจจากบุคคลภายนอก
การแข่งขันกีฬาภายใน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา จะมีการจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาภายในสถาบันขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือน พฤศจิกายน ภายใต้ชื่อ "เตรียมพัฒน์ รัชดาเกมส์ " โดยจะมีการแบ่งนักเรียน ออกเป็น 5 คณะ ได้แก่
คณะอินทนิล
คณะปาริชาต
คณะการะเกด
คณะราชพฤกษ์
คณะกรรณิการ์
โดยเมื่อมีการจัดการแข่งขันทุกครั้ง จะได้รับความสนใจจากทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และบุคคลภายนอกเป็นจำนวนมาก
งานนิทรรศการวิชาการ และ กิจกรรม OPEN HOUSE เป็นกิจกรรมเพื่อการนำเสนอผลงานทางวิชาการของนักเรียนในรูปแบบโครงงานเชิงบูรณาการ อีกทั้งยังมีการสาธิตการให้ความรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้กับนักเรียนจากโรงเรียนและหน่วยงานภายนอกเข้าร่วมกิจกรรม อาทิเช่น การแข่งขันทักษะของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ การเข้าร่วมชมงานนิทรรศการ การเยี่ยมชมโรงเรียน การจัดซุ่มสำหรับแสดงผลงานและให้ความรู้ของสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ภายนอก ซึ่งงานนิทรรศการวิชาการ จะจัดขึ้นในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ เป็นประจำทุกปี[ 27]
กิจกรรมพิเศษของโรงเรียน
ธนาคารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
ธนาคารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 โดยมีท่านผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ในขณะนั้น ดร.เลิศศิลป์ รัตนมุสิก เป็นผู้ให้การสนับสนุน ได้ร่วมมือกับทางธนาคารออมสิน จัดทำโครงการธนาคารโรงเรียนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
เพื่อให้นักเรียนมีวินัยในการใช้จ่าย
เพื่อปลูกฝังนิสัยของนักเรียนให้รักการออม และการประหยัด
เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์และรู้จักเสียสละ เวลาเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เป็นโรงเรียนพอเพียง ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในปัจจุบันทางธนาคารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ได้ทำการเปิดทำการในวันจันทร์ – พุธ และวันศุกร์ ในเวลา 7.00 – 7.30 น. และเวลา 12.00 – 12.40 น.
กิจกรรมชุมนุม
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนภายในโรงเรียน ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความสามารถ ตลอดจนทักษะต่าง ๆ ในสิ่งที่ตนเองสนใจ โดยนักเรียนสามารถเลือกชุมนุมต่าง ๆ ได้ตามความสนใจและความสมัครใจของนักเรียนในช่วงต้นภาคเรียน ซึ่งโรงเรียนมีชุมนุมต่าง ๆ ให้เลือกมากกว่า 100 ชุมนุม โดยในแต่ละสัปดาห์หรือหลังเลิกเรียนนักเรียนจะต้องเข้าชุมนุมของตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ และความสามารถต่าง ๆ ของตนเองตามที่ตนเองสนใจ
โครงการเด็กดีศรีเตรียมพัฒน์ รัชดา
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา มีปรัชญาของโรงเรียน คือ “ความเป็นเลิศทาง วิชาการและคุณธรรม” ดังนั้น โรงเรียนจึงจัดทำโครงการ “เด็กดีศรีเตรียมพัฒน์ รัชดา” เพื่อเป็นการสนับสนุนและะส่งเสริมนักเรียนที่มีผลการเรียนดีเด่นและความประพฤติดีของโรงเรียน โดยรางวัลสำหรับโครงการ “เด็กดีศรีเตรียมพัฒน รัชดา” มี 4 รางวัล ได้แก่
โล่เชิดชูเกียรติ สำหรับเด็กดี ผู้มีความเป็นเลิศครบทั้ง 4 ด้าน
เข็มเชิดชูเกียรติของโครงการ
เกียรติบัตร
เผยแพร่ชื่อเสียงในเว็บโรงเรียน วารสารของโรงเรียน
โดยหลักเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดไว้ 4 ด้าน
ด้านวิชาการ
ด้านคุณธรรม จริยธรรม
ด้านกีฬา ศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์
ด้านผู้นำ
พิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ในชื่อโรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์ และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ดังนั้น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา จึงถือเอาวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 เป็นวันสถาปนาโรงเรียนและในวันดังกล่าวของทุก ๆ ปี จะมีการจัดงานและกิจกรรมต่าง ๆ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน เช่น การทำบุญเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน, การบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงเรียน, การบวงสรวงพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, การแจกเหรียญที่ระลึกเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน เป็นต้น
นอกจากนั้นยังมี พิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติ สำหรับศิษย์เก่าที่สร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียนในด้านต่าง ๆ เช่น นักเรียนที่มีผลคะแนนแอดมิชชั่นสูงสุดในแต่ละคณะ, นักเรียนที่สามารถสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของประเทศได้, นักเรียนที่ได้ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ, นักเรียนที่ได้ทุนการศึกษามหาวิทยาลัยในประเทศ, นักเรียนที่สามารถทำข้อสอบการทดสอบทางการศึกษาในระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในแต่ละรายวิชาได้คะแนนเต็ม, นักเรียนที่สามารถทำข้อสอบ GAT และ PAT ได้คะแนนเต็ม ตลอดจนศิษย์เก่าที่สร้างชื่อเสียง เกียรติยศ และทำคุณประโยชน์ให้แก่โรงเรียนในด้านต่าง ๆ นอกจากนั้นยังมีการมอบโล่เกียรติคุณให้แก่บุคคล คณะบุคคล ตลอดจนองค์กรต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา อย่างต่อเนื่องและด้วยดีเสมอมาในรอบปีต่าง ๆ ที่ผ่านมาด้วย นอกจากการมอบโล่เชิดชูเกียรติและโล่เกียรติคุณให้แก่ศิษย์เก่าที่สร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียนและคณะบุคคล หรือ องค์กรต่าง ๆ ที่สนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ด้วยดีเสมอมาแล้ว นอกจากนั้นยังมีการมอบเกียรติบัตรให้แก่นักเรียนปัจจุบันในระดับชั้นต่าง ๆ ที่สร้างชื่อเสียง และทำคุณประโยชน์ให้แก่โรงเรียนในด้านต่าง ๆ ในรอบปีต่าง ๆ ที่ผ่านมาด้วย
การรับน้องและการจับสายรหัส
การรับน้องและการจับสายรหัส เป็นกิจกรรมที่รุ่นพี่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นนักเรียนใหม่ได้ทำรู้จักกับรุ่นพี่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 และเพื่อให้รุ่นพี่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ได้ทำความรู้จักและช่วยเหลือรุ่นน้องนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นนักเรียนใหม่ โดยรูปแบบของกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นกิจกรรมในลักษณะนันทนาการมีการเล่นเกมส์ การแสดงความสามารถ และการจับสายรหัส รวมทั้งอาจจะมีการมอบของที่ระลึกจากรุ่นพี่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 เช่น หนังสือ, อุปกรณ์ทางการเรียน หรือสิ่งของอื่น ๆ ให้แก่รุ่นน้องนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมการรับน้องและการจับสายรหัสดังกล่าว เริ่มจัดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ก่อนจะแพร่ขยายไปยังแผนการเรียนอื่น ๆ ในเวลาต่อมา และมีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบเรื่อยมาตามยุคสมัยและการปรับเปลี่ยนแผนการเรียนของโรงเรียน แต่กิจกรรมการรับน้องและการจับสายรหัสดังกล่าวก็ยังมีการจัดขึ้นทุกปีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เพียงแต่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของกิจกรรมให้แตกต่างกันไปตามสถานการณ์ในแต่ละปีการศึกษา แต่รูปแบบหลัก ๆ ของกิจกรรม ยังคงไว้ซึ้งรูปแบบเดิม คือ มีการจับสายรหัสแยกกันไปในแต่ละแผนการเรียน เพื่อให้พี่รหัสได้น้องรหัสที่เรียนอยู่แผนการเรียนเดียวกันกับตนเอง เพื่อความสะดวกในการส่งมอบสิ่งของ, เอกสารและอุปกรณ์การเรียน รวมทั้งเพื่อความง่ายในการติดต่อสื่อสารและการทำความเข้าใจในเรื่องของเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียน
อันดับและมาตราฐานการศึกษาของโรงเรียน
การประเมินคุณภาพของโรงเรียน
การประเมินคุณภาพโรงเรียน โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ได้ผ่านการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ รอบ 3 เมื่อวันที่ 4, 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ผลปรากฏว่า โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งทางด้านผู้เรียน ด้านผู้บริหาร และด้านครู อยู่ในระดับดี[ 28]
การประเมินคุณภาพโรงเรียน โดยใช้ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา มีผลคะแนนเฉลี่ยการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ซึ่งจัดการสอบและให้การรับรองมาตรฐานโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ ซึ่งผลปรากฏว่า โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา มีผลคะแนนเฉลี่ยการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ทั้งในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
อันดับของโรงเรียน
จัดอันดับโดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ได้รับการจัดอันดับจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ ในปี พุทธศักราช 2553 ให้เป็นโรงเรียนมาตราฐานสากล (World Class Standard School) รุ่นที่ 1 เป็น 1 ใน 369 โรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งโรงเรียนมาตราฐานสากล (World Class Standard School) คือ โรงเรียนที่จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เทียบเคียงมาตรฐานสากล ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลเมื่องโลก (World Citizen, Global Citizen) เพื่อพัฒนายกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการจัดการด้วยระบบคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนเป็นมาตรฐานสากล เป็นการต่อยอดคุณลักษณะที่เป็นมาตรฐานชาติ [ 38]
จัดอันดับโดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ได้รับการจัดอันดับจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ ให้เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่ติดอันดับโรงเรียนมัธยมศึกษายอดนิยม และโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ของประเทศ มาตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2551 โดยที่
ปี พ.ศ. 2551
เป็น 1 ใน 369 โรงเรียนมัธยมศึกษายอดนิยมและโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงของประเทศ
ปี พ.ศ. 2552
เป็น 1 ใน 369 โรงเรียนมัธยมศึกษายอดนิยมและโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงของประเทศ
ปี พ.ศ. 2553
เป็น 1 ใน 365 โรงเรียนมัธยมศึกษายอดนิยมและโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงของประเทศ
ปี พ.ศ. 2554
เป็น 1 ใน 366 โรงเรียนมัธยมศึกษายอดนิยมและโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงของประเทศ
ปี พ.ศ. 2555
เป็น 1 ใน 273 โรงเรียนมัธยมศึกษายอดนิยมและโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงของประเทศ
ปี พ.ศ. 2556
เป็น 1 ใน 288 โรงเรียนมัธยมศึกษายอดนิยมและโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงของประเทศ
ปี พ.ศ. 2557
เป็น 1 ใน 293 โรงเรียนมัธยมศึกษายอดนิยมและโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงของประเทศ
ปี พ.ศ. 2558
เป็น 1 ใน 285 โรงเรียนมัธยมศึกษายอดนิยมและโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงของประเทศ [ 39]
ปี พ.ศ. 2559
เป็น 1 ใน 282 โรงเรียนมัธยมศึกษายอดนิยมและโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงของประเทศ [ 40]
ปี พ.ศ. 2560
เป็น 1 ใน 281 โรงเรียนมัธยมศึกษายอดนิยมและโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงของประเทศ [ 41]
ปี พ.ศ. 2561
เป็น 1 ใน 282 โรงเรียนมัธยมศึกษายอดนิยมและโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงของประเทศ [ 42]
เกียรติประวัติของโรงเรียน
รางวัลที่โรงเรียนได้รับ
ปี
เกียรติประวัติ
หน่วยงานที่ให้การยกย่อง
2527
รางวัลโรงเรียนพระราชทานกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ
รางวัลโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น (ครั้งที่ 1)
กรมสามัญศึกษา
2528
รางวัลโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น (ครั้งที่ 2)
รางวัลห้องสมุดดีเด่น
รางวัลบรรณารักษ์ดีเด่น
2529
รางวัลโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น (ครั้งที่ 3)
2530
รางวัลนักเรียนประพฤติดีและช่วยเหลือสังคม
2542
ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนสีขาว
กระทรวงศึกษาธิการ
2545
รางวัลเกียรติคุณสัญญา ธรรมศักดิ์ (ชมเชย) โครงการเชิดชูเกียรติสถานศึกษา การป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด เข้ารับพระราชทานรางวัลจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี [ 43]
มูลนิธิธารน้ำใจ
2553
ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล (World - Class Standard School) รุ่นที่ 1 เป็น 1 ใน 369 โรงเรียนทั่วประเทศ
กระทรวงศึกษาธิการ
ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงาน (Outstanding Energy Learning Center) ประเภท Joining the Campaign without evaluation[ 44]
การไฟฟ้านครหลวง ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
2554
ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบห้องสมุดมีชีวิต
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2556
ประกาศเกียรติคุณ องค์กรที่ให้ความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุน และประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ[ 45]
คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ[ 46]
กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
2557
ได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ประจำปี 2556[ 47]
กระทรวงศึกษาธิการ
(ประกาศเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2557 )
2559
ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
กระทรวงศึกษาธิการ
ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการ UniNet To School
สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุมดมศึกษา ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2562
ได้โล่และเกียรติบัตร รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ปี 2561 ระดับOBECQA[ 48]
กระทรวงศึกษาธิการ
รางวัลที่นักเรียนได้รับ
2556
2557
รางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การแข่งขันประกวดแต่งกลอนสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2557 (ระดับประเทศ) หัวข้อ “สารานุกรมไทย...ก้าวไกล ทันโลก” ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ณ สโมสรสนามเสือป่าและโรงละครพระราชวังดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ
2558
2560
2561
รางวัลชนะเลิศ ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การประกวดกลอนสด ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โครงการประกวดกลอนสด เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ครั้งที่ 14 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
รางวัลชนะเลิศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นชาย ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และทุนการศึกษา การแข่งขัน A-math เกมต่อเลขคำนวณ ในรายการ “อีซีซี ครอสเวิร์ดเกม เยาวชนนานาชาติ ครั้งที่ 30 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ระหว่างวันที่ 24 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ณ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา บางนา กรุงเทพมหานคร จัดโดยสมาคมครอสเวิร์ดเกม เอแม็ท คำคม และซูโดกุ แห่ง ประเทศไทย[ 49]
2562
2564
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
อ้างอิง
↑ https://data.bopp-obec.info/web/index_view_stu.php?School_ID=1010720084
↑ http://www.tupr.ac.th/images/History2555.pdf ประวัติโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เข้าชมเมื่อ 10 มิ.ย. 55
↑ http://www.tupr.ac.th/function/2560/60_299.pdf แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาผลประโยชน์อสังหาริมทรัพย์ ร้าน T.U.P.R. Coffee
↑ 65_02_14_ประกาศห้องเรียนพิเศษ ม.1 EP.pdf (tupr.ac.th) ประกาศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เรื่องการรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ English Program ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565
↑ http://www.tupr.ac.th/information/2562/62-02-20_IEP.pdf เก็บถาวร 2023-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประกาศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เรื่องการรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ Intensive English Program ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2562
↑ http://www.tupr.ac.th/information/2565/65_03_15_%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9_M4_%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A2.pdf ประกาศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เรื่องการรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ Intensive English Program ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565
↑ 65_02_14_ประกาศห้องเรียนพิเศษม.4 IEP.pdf (tupr.ac.th) ประกาศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เรื่องการรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565
↑ 65_02_14_ประกาศห้องเรียนพิเศษม.4 IEP.pdf (tupr.ac.th) ประกาศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เรื่องการรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565
↑ http://www.tupr.ac.th/guide/60-03-16_691-60.pdf โครงการเรียนล่วงหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รุ่นที่ 12 ปีการศึกษา 2560
↑ http://www.jaabkk.com/portfolios/testresult20140224/ เก็บถาวร 2016-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รายชื่อผู้สอบผ่านการคัดเลือก ทุนการศึกษาโรงเรียนการบินญี่ปุ่น ประจำปีการศึกษา 2557 ครั้งที่ 2
↑ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=640754072637334&set=t.100001082408980&type=3&theater การประชุมปัจฉิมนิเทศเยาวชนเอเอฟเอสเพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ
↑ https://web.facebook.com/photo.php?fbid=1281065245245723&set=a.1242393752446206&type=3&theater นักเรียนทุนไต้หวัน
↑ http://thaistudentexchange.com/more_program.php?id=17 เก็บถาวร 2020-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน นายภูศิษฐ์ เกียรติชัยเลิศนภา นักเรียนแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมสหรัฐอเมริกา AYP (High School Academic Year Program in America) ที่ Grade 10, Burnt River School, Unity, Oregon, America ตั้งแต่ปี 2017-2018
↑ http://thaistudentexchange.com/more_program.php?id=17 เก็บถาวร 2020-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน นายภูศิษฐ์ เกียรติชัยเลิศนภา นักเรียนแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมสหรัฐอเมริกา AYP (High School Academic Year Program in America) ที่ Grade 10, Burnt River School, Unity, Oregon, America ตั้งแต่ปี 2017-2018
↑ http://www.srv.ac.th/srv/documents/tjyec-namepass2560.pdf เก็บถาวร 2023-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผลการคัดเลือกนักเรียนไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย – ญี่ปุ่น ปีการศึกษา 2560 ณ จังหวัดฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น
↑ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=704887049695796&set=t.100000267784964&type=3&theater ภาพนักเรียนทุนด้านภาษาจีน มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเสฉวน (Sichuan International Studies University) สาธารณรัฐประชาชนจีน
↑ https://web.facebook.com/photo.php?fbid=2067634749922098&set=a.1822632324422343&type=3&theater ภาพนักเรียนทุนด้านภาษาจีน มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเสฉวน (Sichuan International Studies University) สาธารณรัฐประชาชนจีน
↑ https://drive.google.com/file/d/1LyrPXd-GQyJ7WmcHPKjB3migvSOsiSWi/view นักเรียนทุนไต้หวัน
↑ https://drive.google.com/file/d/1LyrPXd-GQyJ7WmcHPKjB3migvSOsiSWi/view หน้า 83 เยาวชนแลกเปลี่ยนในโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชน JENESYS 2018
↑ https://www.facebook.com/photo/?fbid=618240359215040&set=pcb.618240745881668 โครงการเยาวชน AFS เพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ ระยะ 1 ปี รุ่นที่ 61 (พ.ศ. 2565 – 2566) ประเทศเบลเยี่ยม แฟลนเดอร์ / เหนือ
↑ https://www.facebook.com/photo/?fbid=643486394549620&set=pcb.643486697882923 ทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะภาษาและวรรณคดีจีน, มหาวิทยาลัย Shanxi Normal University, สาธารณรัฐประชาชนจีน
↑ https://www.facebook.com/photo/?fbid=610888734476053&set=a.525031993061728 นักเรียนแลกเปลี่ยน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน โครงการเยาวชน AFS เพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ ระยะ 1 ปี รุ่นที่ 62 (พ.ศ. 2566 – 2567)
↑ https://www.facebook.com/photo/?fbid=709130311243383&set=a.48245412057767 โครงการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม Engenius International รุ่นที่ 7 ประจำปี 2567-2568
↑ https://www.facebook.com/photo/?fbid=582712870626973&set=a.525031996395061 ทุน fujian government scholarship 2566
↑ https://www.facebook.com/photo?fbid=582712153960378&set=a.525031996395061 ทุน fujian government scholarship 2566
↑ http://www.tupr.ac.th/function/2559/krudee-TUPR.pdf รายชื่อครูที่ได้รับรางวัล “ครูดีศรีเตรียมพัฒน์ รัชดา” รับรางวัลโล่เกียรติคุณเนื่องในวันครู ประจำปี 2560
↑ http://www.tupr.ac.th/download/vichakan/2559/59-01-21_well.pdf หนังสือเชิญเข้าร่วมและแข่งขันงานนิทรรศการวิชาการ
↑ https://drive.google.com/file/d/0B0RkNeXuHy2YUGZDMUxsMzZzZ3c/view สารสนเทศเพื่อการรายงาน ปีการศึกษา 2559
↑ http://www.tupr.ac.th/evaluate/58/57_onet/2_StatbySchool_2557_M3_1010022013.pdf ผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2557
↑ http://www.tupr.ac.th/evaluate/58/57_onet/2_StatbySchool_2557_M6_1010022013.pdf ผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2557
↑ http://www.tupr.ac.th/evaluate/59/58_onet/2StatbySchool_2558_M3_1010022013%20(1).pdf ผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ประจำปีการศึกษา 2558
↑ http://www.tupr.ac.th/evaluate/59/58_onet/2StatbySchool_2558_M6_1010022013 [1].pdf ผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2558
↑ https://drive.google.com/file/d/1Cmkpd00vlwfFTCYQODRgC3rW9tW7czX5/view ผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ประจำปีการศึกษา 2560
↑ https://drive.google.com/file/d/1e3MdHq7iBqDA0NIP6q38-HSYOC00qyCG/view ผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2560
↑ https://drive.google.com/file/d/1uT5QH8VN_JJhJf_Lej7YW7ayiQbYEVCV/view ผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน้า 15 และผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หน้า 16 ประจำปีการศึกษา 2561
↑ https://online.pubhtml5.com/dljb/uvgf/#p=32 ผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน้า 32 และผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หน้า 32 ประจำปีการศึกษา 2563
↑ https://drive.google.com/file/d/1P8mG2mlTpDme0c7MvucdppA25jVOh9ev/view ผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน้า 83 และผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หน้า 96 ประจำปีการศึกษา 2564
↑ https://sites.google.com/a/hi-supervisory10.net/www/-500 รายชื่อโรงเรียนมาตราฐานสากล รุ่นที่ 1
↑ http://www.mathayom9.go.th/webspm9/data/student58/student05.pdf เก็บถาวร 2019-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2558
↑ http://www.nmrsw2.ac.th/St2558/St2559/racing-matyom59.pdf เก็บถาวร 2016-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2559
↑ http://9choke.com/wp-content/uploads/2017/02/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87.pdf โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2560
↑ http://www.e-newsbkk2.org/bkk2/forum/data/13/pic/1507.pdf เก็บถาวร 2019-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2561
↑ http://www.tarnnamjai.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=539270297&Ntype=17รางวัลเกียรติคุณสัญญา เก็บถาวร 2023-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ธรรมศักดิ์ (ชมเชย) โครงการเชิดชูเกียรติสถานศึกษา การป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด ภายในสถานศึกษา
↑ http://www.energymindaward.com/2018/school_list.php?cid=13 โรงเรียนโครงการสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงาน (ลำดับที่ 141)
↑ https://5b7a113f-a-a467f165-s-sites.googlegroups.com/a/tupr.ac.th/sersthkic-phx-pheiyng/home/tupra.jpg?attachauth=ANoY7cprN3ad-nsYwJPl5lgMuM1vPYTnHq8bGIvi1POLUZCP561VUGhxtcYXlT6l-02D3le8i-6CUmjYf0qcJgUP2XWrVCYxfQJ71CtyKQJJVHNP72IcXYMVWgSZbSGleMfH6kT0r8Z3OxRiLEKcjISO_scEFvVWp5sjUnioW3Ht3HxuzIa8Ft42JTqmiFjcrgyjy6pgiMPrzG0Hj-NMYN4JlUUB9bqo0R2WcbPG_xFBotaMrJvbjVo%3D&attredirects=0 [ลิงก์เสีย ] ประกาศเกียรติคุณ องค์กรที่ให้ความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุน และประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ
↑ http://www.vitheebuddha.com/main.php?url=school รายชื่อโรงเรียนในโครงการโรงเรียนวิถีพุทธในกรุงเทพมหานคร
↑ https://suffecondotcom.files.wordpress.com/2015/12/e0b89be0b8a3e0b8b0e0b881e0b8b2e0b8a8_e0b8aae0b896e0b8b2e0b899e0b8a8e0b8b6e0b881e0b8a9e0b8b2e0b89ee0b8ade0b980e0b89ee0b8b5e0b8a2e0b887_14.pdf รายชื่อสถานศึกษาพอเพียง ประจำปี ๒๕๕๖
↑ https://www.facebook.com/media/set/?vanity=tupr.ac.th&set=a.2406235082997694 ได้โล่และเกียรติบัตร รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ปี 2561 ระดับOBECQA
↑ https://web.facebook.com/tupr.ac.th/photos/a.2196804967274041/2196804983940706/?type=3&theater ภาพการรับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการแข่งขัน A-math เกมต่อเลขคำนวณ “อีซีซี ครอสเวิร์ดเกม เยาวชนนานาชาติ ครั้งที่ 30” ระหว่างวันที่ 24 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ณ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา บางนา กรุงเทพมหานคร
↑ https://drive.google.com/file/d/1OKFrmt0n-IARnQBVFMj9OzyDiW4HL6tK/view การแข่งขันประกวดกลอนสดครั้งที่ 15 เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม 2562 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ มหาวิทยาลันรังสิต หน้า 23
↑ https://drive.google.com/file/d/1OKFrmt0n-IARnQBVFMj9OzyDiW4HL6tK/view การแข่งขันรายการ ACSPLOGIC GAMES ครั้งที่ 6 ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ณ โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการหน้า 26
↑ https://drive.google.com/file/d/1OKFrmt0n-IARnQBVFMj9OzyDiW4HL6tK/view การแข่งขันกีฬาลีลาศการกุศลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ณ โรงเรียนโสตศึกษา จ.ขอนแก่น วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2562 หน้า 74
↑ https://drive.google.com/file/d/1P8mG2mlTpDme0c7MvucdppA25jVOh9ev/view หน้า 24 รางวัลชนะเลิศ โล่พระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การแข่งขันแต่งคําประพันธ์ในรูปแบบของกวีวัจนะ "การประกวดร้อยกรองชิงโล่พระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีประจําปี 2564"
แหล่งข้อมูลอื่น
แขวง ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ
สังคม
การศึกษา สาธารณสุข ราชการ วัฒนธรรม