การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518
|
|
|
ทั้งหมด 269 ที่นั่งในรัฐสภาไทย ต้องการ 135 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก |
---|
ผู้ใช้สิทธิ | 47.5% |
---|
|
First party
|
Second party
|
Third party
|
|
|
|
|
ผู้นำ
|
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
|
ทวิช กลิ่นประทุม
|
ประมาณ อดิเรกสาร
|
พรรค
|
ประชาธิปัตย์
|
ธรรมสังคม
|
ชาติไทย
|
เขตของผู้นำ
|
22 เมษายน 2511
ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 6
|
20 พฤศจิกายน 2517
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
|
19 พฤศจิกายน 2517
ส.ส.สระบุรี
|
เลือกตั้งล่าสุด
|
57
|
ไม่ได้ลงเลือกตั้ง
|
ไม่ได้ลงเลือกตั้ง
|
ที่นั่งที่ชนะ
|
72
|
45
|
28
|
ที่นั่งเปลี่ยน
|
17
|
45
|
28
|
คะแนนเสียง
|
3,176,398
|
2,669,736
|
2,220,897
|
%
|
17.2%
|
14.5%
|
12.1%
|
|
|
Fourth party
|
Fifth party
|
Sixth party
|
|
|
|
|
ผู้นำ
|
เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์
|
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
|
ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์
|
พรรค
|
เกษตรสังคม
|
กิจสังคม
|
สังคมชาตินิยม
|
เขตของผู้นำ
|
14 พฤศจิกายน 2517
ส.ส.ระยอง
|
4 พฤศจิกายน 2517
ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 1
|
19 พฤศจิกายน 2517
ส.ส.ฉะเชิงเทรา
|
เลือกตั้งล่าสุด
|
ไม่ได้ลงเลือกตั้ง
|
ไม่ได้ลงเลือกตั้ง
|
ไม่ได้ลงเลือกตั้ง
|
ที่นั่งที่ชนะ
|
19
|
18
|
16
|
ที่นั่งเปลี่ยน
|
19
|
18
|
16
|
คะแนนเสียง
|
1,982,168
|
1,387,451
|
1,299,613
|
%
|
10.8%
|
7.5%
|
7.0%
|
|
|
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 เป็น การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 10[1] ในประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 ผลเป็นชัยชนะของพรรคประชาธิปัตย์ที่จดทะเบียนขึ้นใหม่ โดยได้ 72 ที่นั่งจากทั้งหมด 269 ที่นั่ง แต่ยังไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภาที่ 135 ที่นั่ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคิดเป็น 47.2%[2]
โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ที่ถูกร่างขึ้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกด้วยที่เปลี่ยนจากการเลือกเป็นเขตจังหวัด เป็นหลายอำเภอรวมกันเป็นหนึ่งเขตเลือกตั้ง และมีจำนวน ส.ส. ได้เขตละ 3 คน [3]
ผลการเลือกตั้ง
การจัดตั้งรัฐบาล
หลังการเลือกตั้ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 โดยมติของสภาผู้แทนราษฎรด้วยคะแนนเสียง 133 ต่อ 52 เสียง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2518 โดยมีหม่อมราชวงศ์เสนีย์เป็นผู้นำรัฐบาลเสียงข้างน้อย
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 6 มีนาคม สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจด้วยคะแนนเสียง 152 ต่อ 111 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง หลังจากที่หม่อมราชวงศ์เสนีย์แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎร หม่อมราชวงศ์เสนีย์จึงประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช น้องชายของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคกิจสังคมซึ่งมี ส.ส. 18 คนในสภาสามารถรวบรวมเสียงในสภาผู้แทนราษฎรได้จึงได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ด้วยคะแนนเสียง 135 ต่อ 59 เสียง งดออกเสียง 75 เสียง
แต่ความเป็นรัฐบาลต้องเผชิญกับแรงกดดันต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะเสถียรภาพรัฐบาล ที่มีจำนวน ส.ส.ในสภาแบบก้ำกึ่ง ในที่สุด ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ต้องตัดสินใจยุบสภา เนื่องจาก ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลหันไปเข้าร่วมกับฝ่ายค้าน เสนอญัตติขอร่วมเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล รวมเวลาที่บริหารประเทศได้ประมาณ 1 ปี 1 เดือน
หลังจากยุบสภามีการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่คือ การเลือกตั้ง วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519[5] [6][7]
เชิงอรรถ
- ↑ เป็นคนละพรรคกับ พรรคแผ่นดินไทย ที่ถูกยุบพรรคในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549
- ↑ เป็นคนละพรรคกับ พรรคพลังประชาชน ที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2541
อ้างอิง
- ↑ การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2539. ศูนย์บริการข้อมูลและกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 1996. pp. 5–7.
- ↑ Dieter Nohlen, Florian Grotz & Christof Hartmann (2001) Elections in Asia: A data handbook, Volume II, p284 ISBN 0-19-924959-8
- ↑ "วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 22 04 58". ยูทิวบ์. 22 April 2015. สืบค้นเมื่อ 23 April 2015.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนพิเศษที่ 193ง วันที่ 18 กันยายน 2518
- ↑ คึกฤทธิ์ เป็นนายกฯ แทนพี่ชาย, หน้า 149. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3
- ↑ Nohlen, D, Grotz, F & Hartmann, C (2001) Elections in Asia: A data handbook, Volume II, p284 ISBN 0-19-924959-8
- ↑ Sangchai, Somporn (1979), "Some Observations on the Elections and Coalition Formation in Thailand, 1976", Modern Thai Politics (Transaction Publishers): p. 378,
|
---|
ลำดับเหตุการณ์กราฟิก พ.ศ. 2475–2516 |
---|
|
|
ลำดับเหตุการณ์กราฟิก พ.ศ. 2516–2544 |
---|
|
|
ลำดับเหตุการณ์กราฟิก พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน |
---|
ลำดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การเมืองไทย พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน แถวแรก: = รัฐประหาร (คลิกเพื่อดูบทความ), การเลือกตั้งทั่วไป (คลิกเพื่อดูบทความ); แถวสอง: รายชื่อนายกรัฐมนตรี; แถวสาม: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่)
นายกรัฐมนตรีจากรัฐประหาร |
|
|
---|
| | ตัวเอียง หมายถึง ฉบับชั่วคราว |
|
|
|
เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง |
---|
|
|