Share to:

 

พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล

พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล
พรทิวา ในปี พ.ศ. 2552
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(2 ปี 232 วัน)
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าไชยา สะสมทรัพย์
ถัดไปกิตติรัตน์ ณ ระนอง
เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย
ดำรงตำแหน่ง
5 มีนาคม พ.ศ. 2552 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555
(3 ปี 223 วัน)
ก่อนหน้ามงคล ศรีอ่อน
ถัดไปศักดิ์สยาม ชิดชอบ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 มิถุนายน พ.ศ. 2504 (63 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองมัชฌิมาธิปไตย (2550–2551)
ภูมิใจไทย (2551–2556)
เพื่อไทย (2556–2561)
คู่สมรสอนุชา นาคาศัย (2531–2557)

พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล หรือ พรทิวา นาคาศัย[1][2]หรือ พรทิวา นิพาริน[3] (เกิด 6 มิถุนายน พ.ศ. 2504) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยนาท อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[4] และ อดีตเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ปัจจุบันเป็นนายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ[5]

ประวัติ

พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล เป็นบุตรสาวของนายสุรินทร์ ศักดิ์ศิริเวทย์กุล เจ้าของสถานบริการอาบอบนวด "โพไซดอน" ย่านรัชดาฯ และนางบุญเรือน ศักดิ์ศิริเวทย์กุล นางพรทิวามีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คนดังนี้

  1. นางพรทิพย์ ศักดิ์ศิริเวทย์กุล
  2. นายสมชาย ศักดิ์ศิริเวทย์กุล
  3. นายขจรศักดิ์ ศักดิ์ศิริเวทย์กุล
  4. นายสุชัย ศักดิ์ศิริเวทย์กุล

พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล สมรสแล้วกับ นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยนาท พรรคไทยรักไทย ปัจจุบันได้หย่ากับอนุชา นาคาศัย แล้ว[1]

การศึกษา

พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล สำเร็จการศึกษาม.ปลายจาก โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ปริญญาตรี 2 หลักสูตร คือ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภูมิศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ร่วมรุ่นกับ สาทิตย์ วงศ์หนองเตย) เมื่อปีการศึกษา พ.ศ. 2525 และศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ (การปกครอง) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จบการศึกษาปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารจัดการสาธารณะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า

การทำงาน

พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล เคยทำงานเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ก่อนจะเข้ามาทำงานการเมืองติดตามมากับนายอนุชา นาคาศัย เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดชัยนาท[6] และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยนาท เป็นเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นช่วงที่กระทรวงพาณิชย์ ต้องมีภารกิจในการแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์มราคาแพง และปัญหาสินค้าอื่นๆ ขึ้นราคา รวมถึงการถูกโจมตีจากฝ่ายค้าน และนายวัชระ เพชรทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 เบื้องหลัง ไร้เงา ‘พรทิวา’ ในวัน ‘เสี่ยแฮงค์-อนุชา’ พบบิ๊กตู่
  2. ประวัติ พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล[ลิงก์เสีย]
  3. "ประวัติสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-26. สืบค้นเมื่อ 2020-10-22.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
  5. "รายนามคณะกรรมการสมาคมฯ วาระปี 2562 - 2564 สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-26. สืบค้นเมื่อ 2020-10-22.
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  7. "มาร์ค"สั่ง"สุเทพ"ให้คุมปาก"วัชระ เพชรทอง" หลัง"พรทิวา"โวยใน ครม.อย่าพูดจาให้เสียหาย
  8. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๒๙, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
ก่อนหน้า พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล ถัดไป
นายไชยา สะสมทรัพย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ครม. 59)
(20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง
Kembali kehalaman sebelumnya