Share to:

 

อำนวย ยศสุข

อำนวย ยศสุข
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
28 พฤษภาคม – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าว่าที่ร้อยตรีไพโรจน์ สุวรรณฉวี
ถัดไปเฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย
สมพร อัศวเหม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
26 สิงหาคม – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
15 มกราคม – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 15 มกราคม พ.ศ. 2529
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
19 ธันวาคม พ.ศ. 2524 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 มิถุนายน พ.ศ. 2480 (87 ปี)
อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
พรรคการเมืองมัชฌิมาธิปไตย
คู่สมรสสุมล ยศสุข (เสียชีวิต)

อำนวย ยศสุข เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์[1] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 7 สมัย อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ

อำนวย ยศสุข เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2480 ที่ตำบลหางดง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของนายทองดี และนางเรือน ยศสุข [2] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2504 ระดับปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์การเกษตร จากมหาวิทยาลัยอริโซนา สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2511 และระดับปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเศรษฐศาสตร์การเกษตร จากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ในปี พ.ศ. 2526[3]

การทำงาน

อำนวย ยศสุข เริ่มรับราชการในตำแหน่งเศรษฐกรตรี กองแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2505 จนถึงปี พ.ศ. 2518

อำนวย ยศสุข เริ่มเข้าสู่การเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคกิจสังคม ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ได้เข้าร่วมกับพรรคนำไทย[4] จนกระทั่งปี พ.ศ. 2539 จึงย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่[5] จนกระทั่งได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ในปี พ.ศ. 2543 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวม 7 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการหลายกระทรวง ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง[6] และกระทรวงสาธารณสุข[7] และตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคความหวังใหม่ แต่ได้คะแนนเพียงอันดับที่ 3 รองจากนางผณินทรา ภัคเกษม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ภรรยานายส่งสุข ภัคเกษม) จากพรรคไทยรักไทย และนายขุนทอง อินทร์ไทย จากพรรคประชาธิปัตย์[8][9]

ในปี พ.ศ. 2549 อำนวย ยศสุข ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดเชียงใหม่ ได้คะแนน 50,313 คะแนน เป็นลำดับที่ 5[10] ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้เข้าร่วมงานทางการเมืองกับพรรคมัชฌิมาธิปไตย[11] และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ในนามพรรคมัชฌิมาธิปไตย[12] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

อำนวย ยศสุข ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน[13][14][15][16]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายบดี จุณณานนท์ นายเสริมศักดิ์ การุญ นายอำนวย วีรวรรณ นายจรัส พั้วช่วย นายพีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธ์ นายอำนวย ยศสุข นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ นายบุญช
  2. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-20. สืบค้นเมื่อ 2010-05-01.
  3. "วุฒิฯ"เลือก“อำนวย ยศสุข-ไพรัช วรปาณิ”เป็น กก.อสส.แล้ว
  4. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคนำไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอน 56ง 13 กรกฎาคม 2538
  5. "จากเว็บไซต์รายงานผลการเลือกตั้งกรมการปกครอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-09-28. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (ลาออกจากตำแหน่ง จำนวน ๘ ราย และแต่งตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๑๓ ราย)
  8. "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-07.
  9. http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
  10. "ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-28. สืบค้นเมื่อ 2018-04-24.
  11. ฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมือง จากเว็บไซต์ กกต.
  12. รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
  13. “ดร.อำนวย ยศสุข” นายกสภา ม.แม่โจ้ เปิดใจอยู่กับ ม.แม่โจ้ มากว่า 60 ปี เพิ่งมาเจอเหตุการณ์แปลกๆในปีนี้
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (จำนวน ๑๐ ราย ๑. นายอำนวย ยศสุขฯ)
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ [จำนวน ๑๐ ราย ๑. นายอำนวย ยศสุขฯ]
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (จำนวน ๑๐ ราย ๑. นายอำนวย ยศสุข ฯ)
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya