กรณ์ จาติกวณิช
กรณ์ จาติกวณิช (เกิด 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507) ชื่อเล่น ดอน เป็นประธานกรรมการและกรรมการอิสระ บริษัท หลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนฟินโนมีนา จำกัด นักการเมืองชาวไทย อดีตหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า อดีตหัวหน้าพรรคกล้า อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 5 สมัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประวัติกรณ์ จาติกวณิช เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 ที่โรงพยาบาลปริ๊นเซสเบียทริซ ถนนบรอมพ์ตัน ประเทศอังกฤษ มีชื่อเล่นว่า "ดอน" เป็นบุตรคนกลางของ ไกรศรี จาติกวณิช อดีตอธิบดีกรมศุลกากร อดีตผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กับ นางรัมภา จาติกวณิช (นามสกุลเดิม พรหโมบล บุตรี พระยาบุเรศผดุงกิจ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ) ต้นตระกูลทางฝ่ายบิดาของ กรณ์ จาติกวณิช เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนที่มาตั้งรกรากในประเทศสยาม นามสกุล "จาติกวณิช" หรือ "Chatikavanij" เป็นนามสกุลพระราชทานสมัยรัชกาลที่ 6 ลำดับที่ 1211 ที่พระราชทานแก่ พระอธิกรณประกาศ (หลุย) เจ้ากรมกองตระเวนในขณะนั้น โดยระบุว่าพระอธิกรณประกาศมีปู่คือ พระอภัยวานิช (จาด) และเนื่องจากเป็นสกุลพ่อค้า จีงมีคำว่า "วณิช" ในนามสกุล[1] โดยปู่คือ พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช หรือ ซอเทียนหลุย) ได้เข้ารับราชการและดำรงตำแหน่งเป็น อธิบดีกรมตำรวจ คนที่ 2 ของไทย และได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น องคมนตรี ในสภากรรมการองคมนตรี สมัยรัชกาลที่ 7 ฝ่ายมารดา มีคุณตาคือ พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ คนที่ 3 สืบเชื้อสายโดยตรงจาก เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ กรณ์ จาติกวณิช สมรสกับวรกร จาติกวณิช (สกุลเดิม: สูตะบุตร) มีบุตรธิดาด้วยกัน คือ กานต์ จาติกวณิช (แจม) และไกรสิริ จาติกวณิช (จอม) นอกจากนี้วรกรยังมีลูกจากการสมรสครั้งก่อนอีก 2 คน คือ พงศกร มหาเปารยะ (แต๊ง) และพันธมิตร มหาเปารยะ (ติ๊ง) การศึกษากรณ์ จาติกวณิช เข้าเรียนชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนสมถวิล ราชดำริ เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน และมัธยมศึกษาที่ วินเชสเตอร์ คอลเลจ (Winchester College) ประเทศอังกฤษ จนจบปริญญาตรี สาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยม) ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (University of Oxford) ประเทศอังกฤษ
การทำงานกรณ์ จาติกวณิช เริ่มงานด้วยตำแหน่งผู้จัดการกองทุน บริษัท เอส จี วอร์เบิร์ก (S.G. Warburg & Co.) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ (พ.ศ. 2528-2530) เขากลับประเทศไทย ร่วมก่อตั้งและเป็นประธาน บริษัทหลักทรัพย์ เจเอฟ ธนาคม จำกัด ด้วยวัย 24 ปี (พ.ศ. 2531-2535) และเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ เจเอฟ ธนาคม จำกัด (พ.ศ. 2535-2543) เขาได้ขายหุ้น เจเอฟ ธนาคม ในมือทั้งหมดให้กับ JP Morgan Chase และรับข้อเสนอเป็นประธาน บริษัทเจพี มอร์แกน ประเทศไทย โดยทำงานในฐานะผู้บริหารมืออาชีพแบบเต็มตัว (พ.ศ. 2544-2548) จนกระทั่งลาออกจาก JP Morgan เพื่อเข้าสู่วงการเมืองในปึ 2548 บทบาททางการเมืองพรรคประชาธิปัตย์กรณ์ จาติกวณิช เข้าสู่วงการการเมืองจากการชักชวนของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อนนักเรียนเมื่อครั้งเรียนอยู่ที่อังกฤษ โดยชนะเลือกตั้งได้เป็น ส.ส. เขต 7 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย เขตยานนาวาของพรรคประชาธิปัตย์ จากการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ด้วยคะแนนเสียง 36,010 คะแนน เป็น 1 ใน 4 ของ ส.ส.กรุงเทพมหานครของพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากนั้นนายกรณ์ ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อเนื่องอีก 4 สมัย (2548, 2550, 2554, 2562) กรณ์ จาติกวณิช เคยได้รับเลือกให้ทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเงา ในการติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ทางด้านการทำงานในสภาผู้แทนราษฎร กรณ์ จาติกวณิช ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมาธิการการเงินการคลังและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย กรณ์ จาติกวณิช ดำรงตำแหน่งเป็น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[2] กรณ์ จาติกวณิช ดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อปลายปี 2551 ในช่วงที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกแฮมเบอร์เกอร์ จนเมื่อปลายปี 2553 มาตรการ "ไทยเข้มแข็ง" ที่นายกรณ์ ริเริ่มไว้ส่งผลจนประสบความสำเร็จจนนายกรณ์ ได้รับตำแหน่ง "รัฐมนตรีคลังโลก" คนแรกของประเทศไทย ปลายปี พ.ศ. 2553 สื่อมวลชนประจำทำเนียบได้ตั้งฉายารัฐบาลและรัฐมนตรี โดยกรณ์ ได้รับฉายาว่า "โย่งคาเฟ่" จากผลงานการแสดงบทบาทพันตรีประจักษ์ คู่กับทักษอร ภักดิ์สุขเจริญในภาพยนตร์โฆษณา และการเปิดผับเชียร์ฟุตบอล[3] พรรคกล้าในปี พ.ศ. 2563 เขาลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์แล้วไปตั้งพรรคกล้า ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์[4] โดยเขาเป็นหัวหน้าพรรค และอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เป็นเลขาธิการพรรค[5] จนกระทั่งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 เขาแถลงข่าวไปทำงานร่วมกับสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ที่ทำหน้าที่เป็นประธานพรรคชาติพัฒนา พรรคชาติพัฒนากล้าในปี พ.ศ. 2565 เขาได้ย้ายมาร่วมงานกับสุวัจน์ ลิปตพัลลภ และพรรคชาติพัฒนา จึงมีการเปลี่ยนชื่อพรรคเป็นพรรคชาติพัฒนากล้า เมื่อนายกรณ์ จาติกวณิช เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารพรรค [6] ต่อมา 16 ตุลาคม พ.ศ. 2565 กรณ์ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า โดยเทวัญ ลิปตพัลลภ ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคแทน โดยนายกรณ์ กล่าวกลางที่ประชุมว่า จะนำพาพรรคชาติพัฒนากล้า มุ่งเน้นการทำงานเพื่อเศรษฐกิจปากท้องด้วยการเมืองสร้างสรรค์พร้อมสู้ศึกการเลือกตั้งครั้งต่อไป [7] ภายหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 พรรคชาติพัฒนากล้า ได้รับเลือกตั้งเพียง 2 ที่นั่ง จนในที่สุดเดือนมิถุนายน กรณ์ได้ประกาศลาออกหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า[8][9] ก่อนจะลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน โดยให้มีผลทันที[10] ซึ่งคาดว่าสาเหตุมาจากการย้ายเข้ามาสังกัดพรรคชาติพัฒนากล้าในวันเดียวกันของนายวุฒิพงษ์ ทองเหลา หรือ แจ้ ส.ส. ปราจีนบุรี ซึ่งถูกพรรคก้าวไกลขับออกจากพรรคจากกรณีคุกคามทางเพศ[11] การดำรงตำแหน่งอื่น
รางวัลเกียรติยศทางสังคมเปรียว อวอร์ดกรณ์ จาติกวณิช ได้รับรางวัล "เปรียว อวอร์ด 2005" [12] ที่นิตยสารเปรียวมอบให้ 10 บุคคลคุณภาพแห่งปี ซึ่งประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และเป็นที่รู้จักในแวดวงสังคมไทย โดยมีการเชิญบุคคลที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จ จากหลากหลายวิชาชีพมาทำหน้าที่เป็น คณะกรรมการคัดเลือก และตัดสิน ภายใต้หลักเกณฑ์สำคัญคือ จะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติพร้อม ทั้งเรื่องบุคลิกภาพ, สัมพันธภาพ, ความฉลาด, ความสง่างาม และมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับในสังคม รัฐมนตรีคลังโลกเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553 นิตยสาร The Banker นิตยสารชั้นนำของประเทศอังกฤษ คัดเลือกให้กรณ์ จาติกวณิช เป็น "รัฐมนตรีคลังโลก ปี 2010" และ "รัฐมนตรีคลังเอเชียแห่งปี 2010" โดยคัดเลือกจากรัฐมนตรีคลังในประเทศต่างๆ ทั่วโลก 5 ภูมิภาค ได้แก่ อเมริกา ยุโรป เอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง[13] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
หมายเหตุอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|