Share to:

 

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
กอร์ปศักดิ์ ใน พ.ศ. 2553
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 11 มกราคม พ.ศ. 2553
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
สนั่น ขจรประศาสน์
โอฬาร ไชยประวัติ
ถัดไปไตรรงค์ สุวรรณคีรี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
ไชยยศ สะสมทรัพย์
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
ฉัตรชัย เอียสกุล
ถัดไปไพโรจน์ สุวรรณฉวี
มนตรี ด่านไพบูลย์
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
12 มกราคม พ.ศ. 2553 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้านิพนธ์ พร้อมพันธุ์
ถัดไปอัญชลี วานิช เทพบุตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 มีนาคม พ.ศ. 2492 (75 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย (2529-2535)
กิจสังคม (2535)
ชาติพัฒนา (2535-2539)
ประชาธิปัตย์ (2539-2562)
กล้า (2565)
ชาติพัฒนากล้า (2565-ปัจจุบัน)
คู่สมรสชูศรี สภาวสุ

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ (เกิด 28 มีนาคม พ.ศ. 2492) เป็นประธานยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจพรรคชาติพัฒนากล้า อดีตประธานยุทธศาสตร์และนโยบายพรรคกล้า อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เกิดวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2492 เป็นบุตรของ นายประมวล สภาวสุ อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคุณหญิงศรีประพาฬ สภาวสุ นายกอร์ปศักดิ์เป็นบุตรคนโต มีพี่น้องอีก 4 คนคือ นางศิริณี สภาวสุ , นายกุมพล สภาวสุ , นางจารุวรรณ กัลยางกูร และนายประโภชณ์ สภาวสุ

นายกอร์ปศักดิ์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยม จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล เมื่อ พ.ศ. 2509 ระดับปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียโพลีเทคนิค ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2514 และได้รับ ประกาศนียบัตรการอบรมบริหารชั้นสูง จาก มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2534

นายกอร์ปศักดิ์ สมรสกับ นางชูศรี สภาวสุ มีบุตรชาย 2 คน คือ นายวุฒินันท์ สภาวสุ และ นายวรวัฒน์ สภาวสุ

งานการเมือง

นายกอร์ปศักดิ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครราชสีมาทั้งหมด 4 สมัย โดยเริ่มต้นจากสังกัดพรรคชาติไทย ในปี พ.ศ. 2529 และสังกัดพรรคกิจสังคม ต่อมาได้ย้ายไปพรรคชาติพัฒนา และพรรคประชาธิปัตย์ตามลำดับ

ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 นายกอร์ปศักดิ์ได้ลงในระบบบัญชีรายชื่อและได้เป็น ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อของพรรค และในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 นายกอร์ปศักดิ์ได้สมัคร ส.ส. ในพื้นที่เขตที่ 5 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วยด้วยเขตราชเทวี(บางส่วน)และเขตปทุมวัน แต่นายกอร์ปศักดิ์ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนายประจวบ อึ๊งภากรณ์จากพรรคไทยรักไทย หลังจากนั้น นายกอร์ปศักดิ์ได้เขียนหนังสือออกมาหลายเล่ม ซึ่งส่วนมากเป็นหนังสือเกี่ยวกับ การเปิดโปงการทุจริต ในวงการการเมืองหลายเล่ม เช่น ใครว่าคนรวยไม่โกง เป็นต้น

และเคยดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย

ในช่วงการรณรงค์เลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายกอร์ปศักดิ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็น ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนวาระประชาชน

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ตามข้อบังคับพรรค และ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

ในการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลงานด้านเศรษฐกิจ [1] ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ได้ถูกปรับให้เป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จากกรณีชุมชนพอเพียง แทนนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ที่ลาออกจากตำแหน่ง และในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน ได้ขอลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว เพื่อไปเตรียมการเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ที่คาดว่าจะมีการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2554[2]

24 มิถุนายน พ.ศ. 2562 กอร์ปศักดิ์ได้โพสต์ลงทวิตเตอร์ สาระสำคัญ คือ ลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และต่อมาได้เข้าร่วมกับ พรรคกล้า ของนายกรณ์ จาติกวณิช[3]

การทำงาน

  • ประธานกรรมการบริหาร บริษัทวิศวกรที่ปรึกษา
  • ประธานกรรมการบริหาร บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

การดำรงตำแหน่งทางการเมือง

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา 4 สมัย (พ.ศ. 2529-2538)
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2529-พ.ศ. 2531)
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พ.ศ. 2531-พ.ศ. 2533)
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (14 ธันวาคม พ.ศ. 2533-23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534)
  • ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการคลังการธนาคารและสถาบันการเงิน ของสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 25354-17 ธันวาคม พ.ศ. 2537)
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (17 ธันวาคม พ.ศ. 2537-20 กรกฎาคม พ.ศ. 2538)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (6 มกราคม พ.ศ. 2544-2548)
  • รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ (20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 11 มกราคม 2553)
  • เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (12 มกราคม 2553 - 31 ธันวาคม 2553)

การดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง

  • ผู้อำนวยการพรรคประชาธิปัตย์ (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2540-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
  • รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ (3 พฤษภาคม พ.ศ. 2542-7 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 )
  • เหรัญญิกและกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ( พ.ศ. 2548-2562)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
  2. นายกฯแจง'กอร์ปศักดิ์'ลาออกทำงานเตรียมเลือกตั้ง[ลิงก์เสีย]
  3. ปิดฉาก 20 กว่าปี "กอร์ปศักดิ์" รายล่าสุดยื่นไขก๊อกออกจากปชป.เรียบร้อย
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ถัดไป
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
สนั่น ขจรประศาสน์
โอฬาร ไชยประวัติ

รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 59)
(20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 11 มกราคม พ.ศ. 2553)
ไตรรงค์ สุวรรณคีรี
ฉัตรชัย เอียสกุล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ครม. 50)
(17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538)
ไพโรจน์ สุวรรณฉวี
นิพนธ์ พร้อมพันธุ์
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(11 มกราคม - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
อัญชลี วานิช เทพบุตร


Kembali kehalaman sebelumnya