พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย
มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย พระนามเดิม หม่อมเจ้าไตรทศประพันธ์ เทวกุล (11 สิงหาคม พ.ศ. 2426 - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486) อดีตเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ องคมนตรี และอภิรัฐมนตรี
พระประวัติ
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ประสูติแต่หม่อมลม้าย เทวกุล ณ อยุธยา เดิมมีพระสกุลยศเป็นหม่อมเจ้าไตรทศประพันธ์
ในปี พ.ศ. 2457 - พ.ศ. 2461 ทรงดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสยาม ประจำราชอาณาจักรเดนมาร์ก และดำรงตำแหน่งอัครราชทูต ประจำ ประเทศเยอรมนี ในระหว่างปี พ.ศ. 2456 - พ.ศ. 2460
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 โปรดให้สถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์[1] เมื่อพระบิดาซึ่งเป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศสิ้นพระชนม์ลง จึงได้รับโปรดเกล้าให้เป็นผู้แทนเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2466[2] ได้รับพระราชทานตราบัวแก้วประจำตำแหน่งเสนาบดีเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม[3] แล้วได้รับโปรดเกล้าให้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2466[4] ต่อมาในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย ทรงศักดินา 11000[5] และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นอภิรัฐมนตรีในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2474[6]
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 (พ.ศ. 2462) ทรงเป็นผู้แทนสยาม ลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ครั้งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร และพ้นจากตำแหน่งเสนบดีกระทรวง หลังเกิดการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ต่อมาในปี 2485 ประชวรด้วยพระโรคไข้จับสั่นและสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคเส้นพระโลหิตในพระมัตถลุงค์แตก เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2486 รวมพระชันษา 59 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2486[7]
โอรสธิดา
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย เสกสมรสกับหม่อมเพี้ยน เทวกุล ณ อยุธยา ท.จ.ว. มีโอรส-ธิดา 12 คน คือ[8]
- หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ เทวกุล สมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต
- หม่อมราชวงศ์ทวยเทพ เทวกุล
- หม่อมราชวงศ์เทวไทย เทวกุล
- หม่อมราชวงศ์จันทรรัตน์ เทวกุล
- หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล
- หม่อมราชวงศ์เฉลิมวิมาน เทวกุล สมรสกับ หม่อมราชวงศ์จิตติน เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์จิตรคุปต์ เทวกุล
- หม่อมราชวงศ์ศุภกันต์ เทวกุล
- หม่อมราชวงศ์ยันต์เทพ เทวกุล
- หม่อมราชวงศ์ภัทราตรีทศ สวัสดิวัตน์ เสกสมรสกับหม่อมเจ้ายุธิษเฐียร สวัสดิวัตน์
- หม่อมราชวงศ์ฉันทัศตรีทศ เทวกุล
- หม่อมราชวงศ์พัฒนาตรีทศ เทวกุล
พระเกียรติยศ
พระอิสริยยศ
- หม่อมเจ้าไตรทศประพันธ์ เทวกุล (11 สิงหาคม พ.ศ. 2426 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465)
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472)
- พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 - ปัจจุบัน)
ธรรมเนียมพระยศของ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย |
---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
---|
การแทนตน | เกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน |
---|
การขานรับ | เกล้ากระหม่อม/เพคะ |
---|
พระยศ
พระยศพลเรือน
- มหาอำมาตย์เอก[9]
- มหาอำมาตย์โท
- มหาอำมาตย์ตรี[10]
พระยศกองเสือป่า
- นายหมู่ตรี
- นายหมวดตรี[11]
ตำแหน่ง
- 4 เมษายน 2463 – องคมนตรี[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
พงศาวลี
พงศาวลีของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย
|
|
อ้างอิง
- เชิงอรรถ
- ↑ "ประกาศเลื่อนกรมตั้งพระองค์เจ้าและตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 313–317. 19 พฤศจิกายน 2465. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-11. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้แทนเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศและเปลี่ยนตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 41–42. 1 กรกฎาคม 2466. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561.
- ↑ "พระราชทานตราตำแหน่งเสนาบดี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (ง): 1084. 8 กรกฎาคม 2466. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือและเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 1–2. 1 เมษายน 2467. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้าและเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 185–188. 10 พฤศจิกายน 2472. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งอภิรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ก): 366. 25 ตุลาคม 2474. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561.
- ↑ พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, หน้า 197
- ↑ "ชมรมสายสกุลบุนนาค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-06. สืบค้นเมื่อ 2006-11-30.
- ↑ พระราชทานยศมหาอำมาตย์เอก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๐๐, ๖ มกราคม ๒๔๖๐
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานตราตั้งองคมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่ง มหาจักรีบรมราชวงศ์, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๒๘, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๔๗, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๙๗, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๔๘, ๑๙ มกราคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๓, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๐, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๗๙, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๒๑, ๖ กรกฎาคม ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๕, ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๖๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๕๔, ๒๐ ธันวาคม ๒๔๖๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๘๔, ๑๗ มกราคม ๒๔๖๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๒๗, ๒ มกราคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๗๗, ๑๓ มีนาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๔๒๒, ๑๒ สิงหาคม ๒๔๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑๐๓, ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๕๑, ๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๘๘, ๖ มกราคม ๒๔๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๒๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘๑๒, ๑๖ มิถุนายน ๒๔๗๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๐๘, ๙ มิถุนายน ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๐๙, ๙ มิถุนายน ๒๔๗๘
- บรรณานุกรม
- ศุภวัฒย์ เกษมศรี พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 197. ISBN 974-221-818-8
- พระประวัติและงานของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย, กรุงเทพฯ, บริษัทคราฟแมนเพรส จำกัด, 2526.
|
---|
เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ |
---|
|
| | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ |
---|
|
|
|
---|
สมเด็จพระ / กรมสมเด็จพระ | | |
---|
กรมพระยา | |
---|
กรมพระ | |
---|
กรมหลวง | |
---|
กรมขุน | |
---|
กรมหมื่น | |
---|
- = สืบราชสมบัติ
- = สยามมกุฎราชกุมาร
- * = กรมพระราชวังบวร
- ตัวเอียง = ฝ่ายใน
- ตัวหนา = ยังทรงพระชนม์
- † = หลังสิ้นพระชนม์
- X = ถอดจากฐานันดรศักดิ์
| |
|