พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากระษัตรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากระษัตรี (พ.ศ. 2338 - พ.ศ. 2359) (พระนามเดิม:พระองค์เจ้าหญิงกระษัตรี) พระราชธิดาพระองค์ที่ 38 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานวม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากระษัตรี ประสูติเมื่อปีมะโรง อัฐศก จ.ศ. 1158 พ.ศ. 2338 ได้ทำราชการในรัชกาลที่ 2 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 เมื่อปีชวด อัฐศก จ.ศ. 1178 พ.ศ. 2359 พระชันษา 22 ปี[1] ต้องพระอาญาในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้เกิดเหตุพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ทิ้งบัตรสนเท่ห์จนต้องพระอาญาแผ่นดิน ถูกประหาร หลังจากชำระความกรมหมื่นศรีสุเรนทร์แล้ว เกิดมีผู้ทิ้งหนังสือในพระบรมมหาราชวัง หยาบช้าถึงองค์พระเจ้าแผ่นดิน ความในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 2 ว่า "ครั้นชำระความกรมหมื่นศรีสุเรนทร์แล้ว ก็มีผู้ทิ้งหนังสือหยาบช้าในพระราชวัง โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นตระลาการพิจารณาให้ค้นลายมือเจ้า แลเจ้าจอมทุกเรือนเอามาสอบกับหนังสือทิ้ง ก็ถูกลายมือพระองค์เจ้ากระษัตรี ซึ่งเป็นภคินีของพระองค์เจ้าสุริยวงศ์ ได้ไล่เลียงไต่ถามพระองค์เจ้ากระษัตรีก็ยังหารับไม่ จึงมีพระราชดำรัสให้ลงพระราชอาญา จำไว้ที่หลังห้องพระสุคนธ์ พระองค์เจ้ากระษัตรีได้ให้โขลนที่คุมนั้นไปซื้อกระดาษดินสอมาให้ ได้เขียนหนังสือที่นั่น แล้วใช้ให้คล้าย บุตรีพระสิริโรท เอาไปทิ้งที่ท้องพระโรงอีกครั้งหนึ่ง คล้ายคนนี้เป็นคนรำ แต่ได้พระราชทานให้เป็นบุตรของพระองค์เจ้ากระษัตรี จึงได้มาเยี่ยมเยือนพระองค์เจ้ากระษัตรี ตระลาการถามก็รับทั้งสองคน" จากการค้นทุกตำหนักทุกเรือนเมื่อเกิดความหนังสือทิ้งของพระองค์เจ้ากระษัตรี เลยจับเพลงยาวนายช้อยได้ที่เรือน หม่อมเจ้าองุ่น ในกรมหลวงนรินทรรณเรศร์ (สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทรรณเรศร์ เป็นพระโอรสพระองค์ที่ 3 ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี สมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ ในรัชกาลที่ 1 เป็นต้นราชสกุลนรินทรางกูร) หม่อมเจ้าองุ่นทิ้งหนังสือหยาบช้าซ้ำอีก ครั้งนั้นจับเรื่องชู้สาวในพระราชวัง ผิดกฎมณเฑียรบาลได้อีกหลายราย โปรดเกล้าฯให้ลงพระราชอาญาประหารชีวิต ตั้งแต่พระองค์เจ้ากระษัตรี หม่อมเจ้าองุ่น และหญิงชายอีก 8 คน เฉพาะพระองค์เจ้ากระษัตรี นั้น ให้ทุบด้วยท่อนจันทน์ตามราชประเพณี พระอิสริยยศ
พงศาวลี
อ้างอิง
|