พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง (11 มกราคม พ.ศ. 2406 — 19 สิงหาคม พ.ศ. 2472) พระราชธิดาพระองค์ที่ 67 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กับพระองค์ที่ 8 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง
พระประวัติ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง
ประสูติวันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2406 เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 8 ใน 10 พระองค์ของเจ้าจอมมารดาเที่ยง (สกุลเดิม โรจนดิศ) มีพระเชษฐาและพระภคินีร่วมพระอุทรได้แก่ พระองค์เจ้าโสมาวดี, พระองค์เจ้าชายเสวตรวรลาภ, พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ, พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์, พระองค์เจ้ากนกวรรณเลขา, พระองค์เจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม, พระองค์เจ้าไชยานุชิต, พระองค์เจ้าชายจรูญฤทธิเดช และพระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์
พระบรมราชชนกได้เสด็จสวรรคตเมื่อพระองค์มีพระชันษาได้เพียง 5 ปี ทรงจำได้ว่าพระราชบิดารับสั่งเรียกพระองค์ว่า "ลูกแขจ๋า" แต่ทรงจำพระพักตร์พระราชบิดาไม่ได้ ทั้งนี้พระองค์มีศักดิ์เป็นพระญาติของเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยพระองค์สืบเชื้อสายมาจากนายจำปา ณ เวียงจันทน์ ซึ่งเป็นพระญาติของเจ้าจอมมารดาทองสุก พระราชธิดาของพระเจ้าอินทวงศ์แห่งเวียงจันทน์[1]
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร ทรงเรียกพระองค์ว่า "น้าแข"
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง สิ้นพระชนม์[2] วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2472 สิริพระชันษา 66 ปี 221 วัน มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2473 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง[3]ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง โดยสมควรแก่พระเกียติยศพระขัดติยราชวงศ์ และทรงพระราชทานพระโกศกุดั่นน้อยทรงพระศพ แทนที่พระโกศมณฑป ในคราวพระราชทานเพลิงพระศพ และในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง
พระเกียรติยศ
ธรรมเนียมพระยศของ พระองค์เจ้าแขไขดวง |
---|
ธงประจำพระอิสริยยศ |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
---|
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
---|
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
---|
พระอิสริยยศ
- 11 มกราคม พ.ศ. 2406 — 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง
- 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 — 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง
- 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 — 19 สิงหาคม พ.ศ. 2472 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พงศาวลี
พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง[1][9]
|
|
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - สายสกุลของท้าวมังสี (ขำ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-03. สืบค้นเมื่อ 2013-05-18.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2472/D/1682.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง, เล่ม 47, ตอน ง, 6 เมษายน พ.ศ. 2473, หน้า 29
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า และถวายบังคมพระบรมรูป เนื่องในวันคล้ายกับวันพระบรมราชาภิเษกครั้งหลัง ตามสุริยตคติ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๖, ตอน ๓๔, ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๒, หน้า ๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๕, ตอน ๓๙, ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๑, หน้า ๑๑๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายใน เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๐, ตอน ๐ ง, ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓, ตอน ๐ ง, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๙, หน้า ๓๑๑๔
- ↑ ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - ราชสกุลสายพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)
- ↑ ธงทอง จันทรางศุ. ในกำแพงแก้ว. กรุงเทพฯ : เอส.ซี.พริ้นท์แอนด์แพค, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2550, หน้า 113
|
---|
รัชกาลที่ 1 | | |
---|
รัชกาลที่ 2 | |
---|
รัชกาลที่ 3 | |
---|
รัชกาลที่ 4 | |
---|
รัชกาลที่ 5 | |
---|
รัชกาลที่ 6 | |
---|
รัชกาลที่ 7 | ไม่มีพระราชโอรส-ธิดา |
---|
รัชกาลที่ 8 | ไม่มีพระราชโอรส-ธิดา |
---|
รัชกาลที่ 9 | |
---|
รัชกาลที่ 10 | |
---|
* ถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์ ** ลาออกจากฐานันดรศักดิ์ |