ราชการส่วนภูมิภาค (ประเทศไทย)
ราชการส่วนภูมิภาค หมายถึงหน้าที่เดียวราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจากการบริหารส่วนกลาง การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง ลักษณะการแบ่งอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง การมอบอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไปประจำปฏิบัติงานในภูมิภาค เจ้าหน้าที่ในภูมิภาคให้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนและงบประมาณซึ่งเป็นผลให้ส่วนภูมิภาคอยู่ในการควบคุมตรวจสอบจากส่วนกลางและส่วนกลางอาจเรียกอำนาจกลับคืนเมื่อใดก็ได้ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคจังหวัดจังหวัดเป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ ในจังหวัดหนึ่ง ๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง และกรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ อาจจะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด มีคณะปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้นเรียกว่า คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณีและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง และทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้
อำเภออำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง ๆ ส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างราชการบริหารส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคส่วนราชการภูมิภาคสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวง/ทบวง
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคแบบเฉพาะส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมในส่วนภูมิภาคการบริหารราชการของ กระทรวงกลาโหมในส่วนภูมิภาค เป็นรูปแบบเฉพาะตามพระราชบัญญัติระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551[1] ซึ่งมิได้กำหนดให้กระทรวงกลาโหมต้องจัดการระเบียบการบริหารส่วนภูมิภาค แต่การจัดส่วนราชการใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ได้แบ่งส่วนราชการในภูมิภาคดังนี้ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา มีหน้าที่พิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับนโยบายวางแผน อำนวยการประสานงาน และดำเนินการ เกี่ยวกับการเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ ด้วยการพัฒนาประเทศ และสังคมจิตวิทยาของประเทศ ในท้องถิ่นทุรกันดาร ในพื้นที่กำหนดเพื่อป้องกันอธิปไตย และรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ รวมทั้งการพัฒนา กำลังพล สำหรับสนับสนุน การพัฒนาประเทศ ตลอดจน ปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งพื้นที่เป็น
กองทัพภาค มีหน้าที่ป้องกันอธิปไตย และรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ ในส่วนภูมิภาค โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น กองพลทหารม้า กองพลพัฒนา กรมทหารปืนใหญ่ หน่วยป้องกันชายแดนและภารกิจพิเศษในพื้นที่ และหน่วยขึ้นตรง เช่น มณฑลทหารบก จังหวัดทหารบก โดยแบ่งพื้นที่เป็น
กองทัพเรือภาค มีหน้าที่ป้องกันอธิปไตย และรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศทางทะเล ในส่วนภูมิภาค โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น หมวดเรือเฉพาะกิจ หมวดบินเฉพาะกิจ และชุดปฏิบัติการพิเศษ โดยแบ่งพื้นที่เป็น
ส่วนกำลังรบ มีหน้าที่ป้องกันอธิปไตย และรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศทางอากาศ โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น กองบิน กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ และหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน โดยกระจายพื้นที่ทั่วประเทศ ส่วนราชการของกระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาคการบริหารราชการของ กระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาค เป็นรูปแบบเฉพาะตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546[2] ที่กำหนดให้การจัดระเบียบการบริหารราชการแบ่งเป็น บริหารราชการในส่วนกลาง บริหารราชการในเขตพื้นที่การศึกษา และ บริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญา ที่เป็นนิติบุคคล บริหารราชการในเขตพื้นที่การศึกษา มีการจัดระเบียบการบริหารราชการดังนี้
แนวคิดปฏิรูปปัจจุบันมีหลายพรรคที่จะใช้ระบบการกระจายอำนาจมาใช้กับระดับจังหวัดแต่มีปัญหาอยู่มากเช่น 1.อาจการเป็นการผูกขาดทางอำนาจให้แก่ผู้มีอิทธิพลสังเกตจากนายกอบจ.ส่วนมากมีหน้าซ้ำๆหรือเครือเดียวกันทั้งๆที่ประชากรส่วนมากแทบไม่รู้จักเลย 2.มีการคดโกงเกิดขึ้นบ่อยจากกรณีอบจ.ลำพูน เนื่องจากระบบบริหารท้องถิ่นมีบางส่วนที่ลูกจ้างและข้าราชการที่เป็นคนเครือเดียวกันรู้จักกันทำให้ช่วยปกปิดได้ต่างจากระบบส่วนกลางที่มีการหมุนเวียนข้าราชการให้ไปหลายๆที่และการฟ้องร้องผู้ที่มีอิทธิพลต่อพื้นที่เป็นอะไรที่เสี่ยงมากๆ 3.ชาวบ้านอาจฟ้องร้องได้ยากเพราะถ้ามีปัญหากับเราผู้มีอิทธิพลอาจมีอันตรายซึ่งส่วนกลางไม่สามารถคุ้มครองได้ทันที 4.อาจมีการใช้กองกำลังท้องถิ่นในทางที่ผิดเช่น อส. ตร. แต่ระบบนี่มีข้อดี 1.ถ้าชาวบ้านได้นายกที่ดีจริงๆจะมีการช่วยเหลือที่ทันท่วงทีไม่ต้องผ่านระบบซับซ้อนของส่วนกลาง 2.จะมีการทราบปัญหาที่แท้จริงของชาวบ้านเพราะเนื่องจากคนในระบบนี่ส่วนใหญ่จะเป็นคนในพื้นที่(ซึ่งตอนนี้ระบบกลางก็มีการใช้อยู่เป็นการคละคนให้มีคนในพื้นที่และจากด้านนอก) 3.ชาวบ้านจะมีความกล้าในการติดต่อส่วนราชการเพราะมีคนในระบบท้องถิ่นนี่มีความเป็นกันเองกับข้าราชการเนื่องจากเป็นคนในพื้นที่จากที่แต่ก่อนชาวบ้านจะมองข้าราชการว่าเป็นสิ่งที่เข้าถึงยาก อ้างอิง
|