Share to:

 

เจริญจิตต์ ณ สงขลา

เจริญจิตต์ ณ สงขลา
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
10 มิถุนายน – 22 กันยายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ดำรงตำแหน่ง
6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473
อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
เสียชีวิต12 ตุลาคม พ.ศ. 2567 (93 ปี)
โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
คู่สมรสปราณี ณ สงขลา

เจริญจิตต์ ณ สงขลา (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 – 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตสมาชิกวุฒิสภา

ประวัติ

เจริญจิตต์ เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 ที่ จังหวัดสงขลา เป็นบุตรหลวงจรูญบูรกิจ (จรูญ ณ สงขลา) ด้านครอบครัวสมรสกับนางปราณี ณ สงขลา (สกุลเดิม: ระนองธานี)

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 27 ได้รับปริญญารัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตตมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยทักษิณ

การทำงาน

เจริญจิตต์ เริ่มรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี อำเภอเมืองสงขลา เป็นนายอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ จังหวัดสงขลา เป็นผู้อำนวยการ ศอ.บต. (คนแรก) เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2534 และอดีตปลัดจังหวัดสงขลา

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ ซึ่งแต่งตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ[1] และเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย[2] ต่อมาได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในปีพุทธศักราช 2534-2535 ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาในปีพุทธศักราช 2535-2539 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ดำเนินการวิจัยผู้อพยพ กระทรวงมหาดไทย ผู้ช่วยผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในแห่งราชอาณาจักร ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนภาคใต้ ในปีพุทธศักราช 2531 นอกจากนั้นยังเป็นอาจารย์บรรยายหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรและบรรยายวิชาปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้แก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล อานันท์ ปันยารชุน (ครม.47, 49)[3][4]

ถึงแก่อนิจกรรม

เจริญจิตต์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อช่วงค่ำ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ณ โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ ตำบลจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ด้วยโรคชรา สิริอายุ 93 ปี มีการประกอบพิธีทางศาสนาที่วัดโสมนัสราชวรวิหาร แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2567

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๗ (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติและคณะที่ปรึกษา)
  2. ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๑ (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการรับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (แต่งตั้งให้ นายเจริญจิตต์ ณ สงขลา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (สมัย นายอานันท์ ปันยารชุน))
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 26 ราย)
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย (๕ ธันวาคม ๒๕๓๐) เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ หน้า ๑
  6. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย) เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๑๐๐ ตอน ๒๐๗ ฉบับพิเศษ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๖


Kembali kehalaman sebelumnya