จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 8 เมษายน พ.ศ. 2518) ชื่อเล่น หนิม เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ติดต่อกัน 5 สมัย และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ประวัติจุลพันธ์เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2518 เป็นบุตรชายของ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กับนางเพ็ชรี (เตชะไพบูลย์) อมรวิวัฒน์ จุลพันธ์สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโท ด้านการบริหารธุรกิจ (MBA.) จากมหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐ ชีวิตครอบครัว ได้สมรสกับนางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย พรรคเพื่อไทย บุตรสาวของนายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย 9 สมัย เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553[1] งานการเมืองนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 และได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภาเป็นครั้งแรก ในนามพรรคไทยรักไทย โดยสามารถเอาชนะยงยุทธ สุวภาพ จากพรรคประชาธิปัตย์[2] (ส.ส.คนเดียวของประชาธิปัตย์ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่) ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 เขาได้เข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ ที่บริเวณสนามโรงเรียนบ้านวังจ๊อม อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ [3] ในปี พ.ศ. 2562 จุลพันธ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในนามพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 4 และเขาได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[4] มีบทบาทสำคัญในการอภิปรายผลงานของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[5] ปีต่อมาเขาลงสมัคร ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่ และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 5 ทั้งนี้ เขาเป็นหนึ่งในสอง ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่ของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งนี้ (อีกคนคือ ศรีโสภา โกฏคำลือ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน[6] และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท[7][8] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วทั้งหมด 5 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|