ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์
ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ (เกิด 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2522) ชื่อเล่น อิ่ม เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2567[1][2] และประธานศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัยและดินโคลนถล่ม ส่วนหน้า ในรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย ธีรรัตน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 และชนะเลือกตั้งอีกสองครั้งใน พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2566 ซึ่งในครั้ง พ.ศ. 2566 นี้ เธอเป็นสมาชิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครที่สังกัดพรรคเพื่อไทยเพียงคนเดียวของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 ประวัติธีรรัตน์ เกิดวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายวิบูล สำเร็จวาณิชย์ อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตลาดกระบัง (พ.ศ. 2518) (ถึงแก่กรรม) และนางทองดี สำเร็จวาณิชย์ มีพี่น้อง 8 คน สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยวูลลองกอง (University of Wollongong), Master of International Business และปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยเซนทรัลควีนส์แลนด์ (Central Queensland University), Professional Doctorate สาขา Education (Transdisciplinary Studies) เครือรัฐออสเตรเลีย[3] งานการเมืองก่อนเข้าสู่วงการการเมือง เธอเคยทำงานอยู่แผนกพัฒนาบุคลากร ฝ่ายยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้แก่ผู้บริหารระดับสูง ธนาคารกสิกรไทย ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย ในเขตเลือกตั้งที่ 20 (เขตลาดกระบัง) อันเป็นฐานเสียงของครอบครัว โดยสามารถเอาชนะนางสลวยเลิศ กิมสูนจันทร์ ภรรยานายมงคล กิมสูนจันทร์ อดีต สส. และสมาชิกบ้านเลขที่ 109 จากพรรคประชาธิปัตย์ไปได้ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 ธีรรัตน์ลงสมัครรับเลือกตั้งและชนะการเลือกตั้ง โดยได้รับคะแนนเสียง 34,749 คะแนน เอาชนะนายชุมพล หลักคำ ผู้สมัครจากพรรคก้าวไกลเพียง 4 คะแนน ธีรรัตน์จึงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครเพียงคนเดียวของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 ที่สังกัดพรรคเพื่อไทย ขณะที่ สส. กทม. คนอื่น ๆ ในสภาชุดนี้ มาจากพรรคก้าวไกลทั้งหมด[4] ต่อมาเธอได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)[5], ประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ของสภาผู้แทนราษฎร[6], กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย[7] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร[8] ตามลำดับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเธอเคยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|