การุณ โหสกุล
การุณ โหสกุล (เกิด 4 ธันวาคม พ.ศ. 2510) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 10 สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประวัติการุณ โหสกุล มีชื่อเล่นว่า "เก่ง" เกิดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ที่ตำบลขั้นไดใหญ่ อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ จังหวัดยโสธร)[1] เป็นบุตรของนายสมพรรษา โหสกุล และนางสุบรรณ ถนัดทาง มีพี่ชาย 1 คน คือ สุริยา โหสกุล ซึ่งเป็น ส.ก.เขตดอนเมือง มีพี่สาว 1 คน หย่าขาดกับอดีตภรรยา รัชดาวรรณ เกตุสะอาด อดีต ส.ก.เขตดอนเมือง มีบุตร 2 คน ก่อนจะกลับมาจดทะเบียนสมรสรอบสองกับคนเดิม โดยนางรัชดาวรรณ เกตุสะอาด ได้เปลี่ยนชื่อเป็น นางพิมพ์ชนา โหสกุล ซึ่งปัจจุบันมีตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตดอนเมือง การุณเคยเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตดอนเมือง สังกัดพรรคชาติไทย และได้ลาออกไปสมัครเข้าพรรคไทยรักไทย ทำให้ทางพรรคชาติไทยส่ง นางสาวจณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ ลงสมัคร ส.ส.แทน และเป็น น.ส.จณิสตาที่ได้รับการเลือกตั้งไป ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 การุณได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในเขต 5 กรุงเทพมหานคร (บางเขน, ดอนเมือง และสายไหม) ในสังกัดพรรคพลังประชาชน แต่ต่อมาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชน การุณจึงย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย โดยลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 และสามารถเอาชนะ แทนคุณ จิตต์อิสระ จากพรรคประชาธิปัตย์ไปได้ ต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร แต่ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ได้ถูกมติเสียงข้างมากของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ใบแดงและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง เนื่องจากการหาเสียงในการเลือกตั้งที่ผ่านมา การุณมีพฤติกรรมใส่ร้ายแทนคุณหลายต่อหลายครั้ง[2] และเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ศาลฎีกาฯ ได้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี และสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ คดีความเลี่ยงภาษีสินค้านำเข้าวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 พนักงานอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 1 ได้ยืนฟ้องต่อศาลชั้นต้นว่า การุณซึ่งเป็นพนักงานบริษัท เอฟไพร ออริทิเฟรทา จำกัด ได้ร่วมกับบริษัทเอฟไพร ฯ และห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยจูนาฮา ลักลอบนำจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมพร้อมอุปกรณ์จำนวน 91 หีบห่อ ราคา 7,156,688 บาท เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจะส่งออกไปยังประเทศโปแลนด์ โดยหลบเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรจำนวน 406,825 บาท ต่อมาวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2596 มาตรา 27 ให้ปรับเป็นเงินจำนวน 30,254,052 บาท ต่อมาการุณจึงยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษา [3] วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ศาลอาญารัชดานัดอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ แต่การุณไม่ได้เดินทางมาฟังคำพิพากษา ดังนั้นศาลจึงมีคำสั่งให้เลื่อนนัดอ่านคำพิพากษาไปเป็นวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2548 พร้อมทั้งมีคำสั่งให้ออกหมายจับ ต่อมาการุณได้เดินทางมารายงานตัวหลังศาลออกหมายจับไปแล้ว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และการุณถูกนำตัวไปควบคุมที่ห้องขัง หลังจากนั้นญาติของการุณได้ยื่นหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดินย่านดอนเมืองราคาประเมิน 4,800,000 บาท ขอประกันตัวออกไป [3][4] ทะเลาะวิวาทในสภาเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2551 ที่อาคารรัฐสภาได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่ง นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้ถูกการุณ ทำร้ายร่างกายโดยการกระทืบ และจากเหตุการณ์ดังกล่าว ศาลจังหวัดดุสิตพิพากษาการุณให้จำคุก 1 ปี และปรับ 1,000 บาท ฐานทำร้ายร่างกาย และปรับ 10,000 บาท ฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี ต่อมาในปี 2556 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกฟ้องนายการุณในคดีนี้ [5] เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ที่อาคารรัฐสภาได้มีการประชุมร่วมรัฐสภา ซึ่งนางสาวรสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา ได้ถูกนายการุณข่มขู่ทำร้ายร่างกาย ด้วยถ้อยคำเดี๋ยวจะมาเตะ ส.ว.[6] ทะเลาะวิวาทนอกสภาการุณได้มีคดีความเรื่องการยกพวกไปรุมทำร้ายร่างกายและใช้อาวุธปืนข่มขู่ผู้อื่นหลายครั้ง แม้กระทั่งภายในพื้นที่หน่วยเลือกตั้ง รวมถึงการทำร้ายร่างกายอดีตภรรยาด้วยการจิกผมและตบหน้าอย่างอุกอาจกลางสถานที่สาธารณะเช่นท่าอากาศยานกรุงเทพ
เหตุการณ์ในข่าววุฒิการศึกษาปลอมปี 2548 ศาลฎีกา มีคำสั่งให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้ง ของการุณ ด้วยเหตุผลว่า สถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชของการุณถูกถอน อันเนื่องจากวุฒิการศึกษาระดับปวส.ของการุณเป็นเท็จ ดังนั้นแม้จะมีวุฒิปริญญาโทแล้ว แต่ก็ถือว่าตกคุณสมบัติไปตามกัน แต่โรงเรียนเทคนิคธุรกิจบัณฑิต ยังคงยืนยันวุฒิการศึกษาระดับ ปวส. โดยมิได้มีการเพิกถอนวุฒิการศึกษาแต่อย่างใด [10] อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ไม่กำหนดระดับการศึกษาขั้นต่ำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้การุณยังคงมีคุณสมบัติเป็น ส.ส. เหตุการณ์กับอดีตผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554 การุณ ถูก นางสาวมัลลิกา บุญมีตระกูล ถีบระหว่างไปสังเกตการณ์การบรรจุทรายใส่กระสอบและให้กำลังใจประชาชนที่ประสบอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 แต่การุณ ได้ปฏิเสธเหตุการณ์ดังกล่าว ส่วนนางสาวมัลลิกา ยืนยันว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องจริง[11]สาเหตุเนื่องจากนางสาวมัลลิกา บันดาลโทสะที่นายการุณใช้ตัวและก้นมากระแทกอย่างแรง[12] และไม่ให้เกียรติผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร พังคันกั้นน้ำคลองประปาในช่วงที่เกิดอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 วิสิทธิ์ พวงเพชร นายอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้รับรายงานเมื่อกลางดึกวันที่ 20 ตุลาคมว่า การุณพร้อมกับชาวบ้านเขตดอนเมืองจำนวนหนึ่ง นำรถแบ็คโฮเข้ารื้อทำลายแนวคันดินที่สร้างแนวป้องกันน้ำท่วมริมคลองประปาในฝั่งอำเภอปากเกร็ด จนได้รับความเสียหายเป็นระยะทางยาวกว่า 1 กิโลเมตร ทั้ง ๆ ที่เมื่อวานนี้ (19 ตุลาคม) ในช่วงเย็น มีการเจรจาระหว่างการุณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย ตัวแทนฝั่งเขตดอนเมือง กับ มนตรี ตั้งเจริญถาวร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี พรรคเพื่อไทย ตัวแทนฝั่งอำเภอปากเกร็ด โดยมียงยุทธ วิชัยดิษฐ์ เป็นสักขีพยาน ได้ข้อสรุปว่าจะยินยอมให้ทางเทศบาลนครปากเกร็ดสร้างแนวคันดินกันน้ำได้ต่อไป แต่จะต้องสร้างแนวคันดินในฝั่งของเขตดอนเมืองให้ด้วย [13][14] ทำร้ายร่างกายตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550 พันตำรวจโท บัญชา คล้ายน้อย ถูกทำร้ายร่างกายขณะปฏิบัติหน้าที่จับกุมนักพนันในบ่อน โดยนาย การุณ โหสกุล อดีตผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตดอนเมือง พรรคไทยรักไทย เข้ามากระชากคอเสื้อ และได้ใช้ศีรษะโขกเข้าที่โหนกแก้มของพันตำรวจโท บัญชา จนแตกมีเลือดไหลและทำให้ไม่สามารถทรงตัวได้และได้ล้มลงไปนอนกับพื้นเหตุเกิดที่สนามชนไก่ คลองห้า หมู่ 14 ตำบลบึงคำพรอย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี พันตำรวจโท บัญชาได้ออกหมายจับในเวลาต่อมา[15] ถูกทำร้ายร่างกายวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 นายการุณ โหสกุล ถูกทำร้ายร่างกายในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง โดยสาเหตุเกิดจากนายการุณ ขับเจ็ตสกีสวนกับเรือของชาวบ้านเป็นเหตุให้เรือของชาวบ้านล่ม และนายการุณขับเจ็ตสกีวนกลับมาดู ทำให้นายการุณถูกทำร้ายร่างโดยชาวบ้านที่ไม่พอใจ นายการุณได้รับบาดเจ็บที่ปากต้องเย็บ 5 เข็ม ทั้งนี้นายการุณ ได้แจ้งความไว้ที่ สน.ดอนเมืองแล้ว[16] ส่วนคู่กรณี ได้รับการเปิดเผยจากเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ผู้ที่ลงมือทำร้ายร่างกายนายการุณ ได้ให้การรับสารภาพว่าทำร้ายร่างกายนายการุณจริงเพราะไม่พอใจที่นายการุณขับเจ็ตสกีมาด้วยความเร็ว จนเกิดคลื่นลูกใหญ่ปะทะเข้าที่เรือที่ตนเองและพวกอีกสามคน จนเรือล่มทำให้พวกตนตกลงไปในน้ำเน่า จากนั้นนายการุณขับเจ็ตสกีสวนกลับมาและมีปากเสียงกันจนทนไม่ไหวและเกิดเหตุดังกล่าว[17] ให้ร้ายผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554 นายแทนคุณ จิตต์อิสระผู้สมัคร ส.ส.ดอนเมือง พรรคประชาธิปัตย์ ได้ฟ้องร้องทางแพ่งเรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาทกรณีปราศัยด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ[18] ร่ำรวยผิดปกติเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 นายวรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการ [19] สำนักงาน ป.ป.ช.ได้สั่งให้สำนักตรวจสอบทรัพย์สิน สำนักงาน ป.ป.ช.ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีปรากฏเป็นข่าวนายการุณ โหสกุล ส.ส.กรุงเทพฯ เขตดอนเมือง พรรคเพื่อไทย มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 108,355,943.54 บาท[20]ภายในระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
"เก่ง การุณ" เยี่ยม 6 แกนนำ ลั่นพร้อมประกันตัวทันทีเมื่อเวลา 10.54 น. วันที่ 18 ต.ค.63 ที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 1 ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย นายสมคิด เชื้อคง สส.อุบลราชธานี นางสาวอรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย และนายการุณ โหสกุล สส.พรรคเพื่อไทย ได้เดินทางมาเพื่อติดต่อขอเข้าเยี่ยมแกนนำทั้ง 6 คนที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมมาเมื่อวานนี้ โดยมี กรกช แสงเย็นถาวร,วสันต์ กล่ำถาวร,สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ, ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา, ณัฐชนน พยัฆพันธ์ และ นายภาณุพงศ์ จาดนอก นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในวันนี้ ทางเราพร้อม โดย สส. เราเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะประกันได้ทันที จริงๆเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ที่ต้องได้ประกันตัว ซึ่งในตอนนี้เราได้เตรียม สส. ไว้ทั้งพรรคเลยที่เตรียมหนังสือรับร้อง เพื่อที่จะช่วยเหลือกลุ่มผู้ชุมนุมที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัว ของเราทำไว้หลายที่ โดยเมื่อเช้าก็ที่จังหวัดอุบลราชธานี จริงๆนักศึกษา และพี่น้องประชาชน ที่ไปชุมนุมนะครับ เขามีเวลาไปเวลามาชัดเจน สิ่งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือรัฐบาลทำนั้นมันเกินกว่าเหตุ โดยครั้งนี้มีหญิงสูงวัยได้มายืนถือป้ายมีข้อความว่า ไมค์สู้สู้ เสรีภาพ พร้อมกับชู 3 นิ้ว ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปีเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2554 และ วันที่ 12 มิถุนายน 2554 นายการุณ ได้ปราศรัยหาเสียงเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 กับประชาชนที่ตลาดบุญอนันต์ และตลาดนัดโกสุมรวมใจ ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ใส่ร้ายนายแทนคุณ จิตต์อิสระ ผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตดอนเมือง พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อจูงใจให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตดอนเมืองเข้าใจผิด รวมทั้งไม่ลงคะแนนให้นายแทนคุณ อันเป็นการกระทำผิด พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง นายการุณ โหสกุล เป็นเวลา 5 ปี และให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ ต่อมาวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ศาลฏีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองได้อ่านคดีความตามหมายเลขดำ ลต.16/2555 ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของ นายการุณ โหสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (ดอนเมือง) พรรคเพื่อไทย ศาลได้เห็นพ้องและมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิทางการเมืองนายการุณ โหสกุลเป็นเวลา 5 ปี[21] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|