Share to:

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
Nakhon Sawan Rajabhat University
ชื่อเดิมสถาบันราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อย่อมร.นว. (NSRU)
คติพจน์การดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เป็นชีวิตที่ประเสริฐที่สุด
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-06-15)
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ656,850,200 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
นายกสภาฯสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี (รักษาราชการแทน จนกว่าจะมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง)
อาจารย์401 คน (พ.ศ. 2566)
บุคลากรทั้งหมด629 คน (พ.ศ. 2566)
ผู้ศึกษา11,354 คน (พ.ศ. 2566)
ที่ตั้ง
วิทยาเขตศูนย์การศึกษา
ต้นไม้พยอม
สี   เขียว-เหลือง
เว็บไซต์เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (อังกฤษ: Nakhon Sawan Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ สังกัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งอยู่ที่ ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เปิดทำการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

ประวัติ

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2465 โดยมีชื่อเดิมว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูมูลกสิกรรม" ประจำมณฑลนครสวรรค์ โดยรับนักเรียนที่จบชั้นประถมปีที่ 4 มาเรียน 2 ปี ตามหลักสูตรกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ ในปัจจุบัน) นักเรียนที่จบแล้วจะได้รับวุฒิครูมูล โดยมีนายสวัสดิ์ กัณหเนตร เป็นครูใหญ่ ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "ขุณกัณหเนตรศึกษากร"

ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการยุบไปรวมกับโรงเรียนฝึกหัดครูมูลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2477 ได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม ปี พ.ศ. 2498 จัดตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูนครสวรรค์

ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 ได้ยกฐานะเป็น "วิทยาลัยครูนครสวรรค์" พร้อมกับเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา และประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง และต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้ให้วิทยาลัยครูนครสวรรค์เปิดสอนได้จนถึงระดับปริญญาตรี ตาม พรบ.วิทยาลัยครู พ.ศ. 2518

ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานนาม "ราชภัฎ" จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และได้รับการยกฐานะเป็น "สถาบันราชภัฏนครสวรรค์" มีการเปิดสอนจนถึงระดับปริญญาโท

และในปี พ.ศ. 2547 ได้ยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์" และเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก

คณะ

คณะครุศาสตร์

  • หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.4 ปี) เปิดสอน 9 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
    • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
    • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
    • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
    • สาขาวิชาภาษาไทย
    • สาขาวิชาสังคมศึกษา
    • สาขาวิชาพลศึกษา
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
    • สาขาวิชาการประถมศึกษา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.4 ปี) เปิดสอน 10 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน
    • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
    • สาขาวิชาเคมี
    • สาขาวิชาชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ
    • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
    • สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
    • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและส่งเสริมสุขภาพ
    • สาขาวิชาการฟื้นฟูและการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
  • หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.4 ปี) เปิดสอน 2 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชาเคมี
    • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.4 ปี) เปิดสอน 5 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
    • สาขาวิชาภาษาไทย
    • สาขาวิชาพัฒนาสังคม
    • สาชาวิชาประวัติศาสตร์
    • สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
  • หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.4 ปี) เปิดสอน 2 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชาดนตรีศึกษา
    • สาขาวิชาศิลปศึกษา
  • หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.4 ปี) เปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
    • สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
    • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ
    • นิติศาสตร์
  • หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชาวิทยาการดนตรีและศิลปะการแสดง
  • หลักสูตรสำหรับชาวต่างประเทศ 外国人课程

คณะวิทยาการจัดการ

  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชาคือ
    • สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ
  • หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชานิเทศศาสตร์
  • หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.4 ปี) เปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชาการตลาด
    • สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
    • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชาบัญชี

คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.4 ปี) เปิดสอน 4 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช)
    • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์)
    • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (แขนงวิชาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ)
    • สาขาวิชาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
  • หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ
  • หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์และกราฟิก
  • หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.4 ปี) เปิดสอน 2 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (แขนงไฟฟ้าอุตสาหกรรม)
    • สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม (แขนงอิเล็กทรอนิกส์และหุ่นยนต์)
  • หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
  • หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.2 ปี) ต่อเนื่อง เปิดสอน 2 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม แขนงวิชาเทคโนโลยีกระบบราง
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.4 ปี) เปิดสอน 5 สาขาวิชา คือ
    • สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน แขนงวิชาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า
    • สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน แขนงวิชาวิศวกรรมพลังงาน
    • สาขาวิชาวิศวกรรมเรื่องกลและหุ่นยนต์
    • สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม แขนงวิชาวิศวกรรมการจัดการโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม
    • สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม แขนงวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม

บัณฑิตวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย ได้จัดการศึกษาที่สูงกว่าปริญญาตรี คือ ปริญญาเอก ปริญญาโท ประกาศนียบัตรบัณฑิต และ รวมทั้งสิ้น 4 สาขา

  • หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
    • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
    • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
    • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
    • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
    • สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา
  • หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต
    • สาขาวิชารัฐศาสตร์
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
    • สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
    • สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
    • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
    • สาขาวิชาชีพครู

พื้นที่การศึกษา

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตั้งอยู่เลขที่ 398 หมู่ 9 ถนนสวรรค์วิถี ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 108 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ยังมีศูนย์การศึกษาอีก 3 ศูนย์ ได้แก่

  • ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ โดยศูนย์ดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างอาคารต่างๆ หลายอาคาร ตามแผนแม่บทของมหาวิทยาลัยระยะเวลา 20 ปี เพื่อเตรียมการเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ
  • ศูนย์การศึกษาตำบลเขาแรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งปัจจุบันได้จัดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการเกษตร มีเนื้อที่ประมาณ 63 ไร่ 3 งาน 64 ตารางวา
  • ศูนย์การศึกษาตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 16 ไร่ มหาวิทยาลัยได้ใช้พื้นที่นี้เพื่อดำเนินการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ

สำนัก/สถาบัน

  • สำนักงานอธิการบดี
  • สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
  • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
  • สถาบันวิจัยและพัฒนา

หน่วยงานอื่นๆ

  • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • สำนักงานสภามหาวิทยาลัย
  • ศูนย์พยาบาลและส่งเสริมสุขภาพ
  • ศูนย์ภาษา
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์
  • ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
  • หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • โรงพยาบาลและวิทยาลัยการแพทย์ทางเลือกและบริบาลผู้สูงอายุ

ทำเนียบผู้บริหาร

  • พ.ศ. 2465 - พ.ศ. 2467 ขุนกัณหเนตรศึกษากร ตำแหน่ง ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2467 - พ.ศ. 2468 ขุนชิตพิทยากรรม ตำแหน่ง ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2475 นายเกษม พุ่มพวง ตำแหน่ง ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2486 นายจรูญ สุวรรณมาศ ตำแหน่ง ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2494 นายศิริ อาจละกะ ตำแหน่ง ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2498 นายศิริ ศุขกิจ ตำแหน่ง ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2503 นายพร้อม ปริงทอง ตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่
  • พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2508 นายเติม จันทะชุม ตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่
  • พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2518 นายประธาน จันทรเจริญ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ
  • พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2521 ดร.วิเชียร แสนโสภณ ตำแหน่ง อธิการ
  • พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2530 ดร.หอม คลายานนท์ ตำแหน่ง อธิการ
  • พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2536 รองศาสตราจารย์ วิทยา รุ่งอดุลพิศาล ตำแหน่ง อธิการ
  • พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2538 รองศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง ภูมิภัทราคม ตำแหน่ง อธิการ
  • พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2541 รองศาสตราจารย์ สุพล บุญทรง ตำแหน่ง อธิการบดี
  • พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2556 รองศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง ภูมิภัทราคม ตำแหน่ง อธิการบดี
  • พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2562 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ ชำนาญกิจ ตำแหน่ง อธิการบดี
  • พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2563 ศาสตราจารย์ ดร.สมยศ พลับเที่ยง ตำแหน่ง รักษาราชการแทนอธิการบดี
  • พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี ตำแหน่ง อธิการบดี
  • พ.ศ. 2567 ศาสตราจารย์ ดร.สมยศ พลับเที่ยง ตำแหน่ง รักษาราชการแทนอธิการบดี
  • พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี รักษาราชการแทนอธิการบดี (จนกว่าจะมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง)

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๒๔, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya