Share to:

 

เทศบาลเมืองตาคลี

เทศบาลเมืองตาคลี
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองตาคลี
ตรา
ทม.ตาคลีตั้งอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์
ทม.ตาคลี
ทม.ตาคลี
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองตาคลี
พิกัด: 15°14′01″N 100°21′22″E / 15.23361°N 100.35611°E / 15.23361; 100.35611
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครสวรรค์
อำเภอตาคลี
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีเพลินพิศ ศรีภพ
พื้นที่
 • ทั้งหมด16.00 ตร.กม. (6.18 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด23,901 คน
 • ความหนาแน่น1,493.81 คน/ตร.กม. (3,869.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04600701
โทรศัพท์0 5626 1340
โทรสาร0 5626 1340
เว็บไซต์www.takhlicity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองตาคลี เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่บางส่วนของตำบลตาคลี เป็นเทศบาลเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครสวรรค์ และเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดนครสวรรค์ รองจาก เทศบาลนครนครสวรรค์ ที่อยู่ใน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

ประวัติ

เทศบาลเมืองตาคลี จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2524 อยู่ในท้องที่อำเภอตาคลีโดยยกฐานะจากสุขาภิบาลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ขึ้นเป็นเทศบาลตำบลตาคลี ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2524[2] ต่อมาเทศบาลตำบลตาคลีได้ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองตาคลี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2548[3]

ชุมชน

ชุมชนภายในเขตเทศบาล มีจำนวน 23 ชุมชน ประกอบด้วย

  • ชุมชนสามล
  • ชุมชนรจนา
  • ชุมชนหัวเขาตาคลี
  • ชุมชนสว่างวงษ์
  • ชุมชนตาคลีพัฒนา
  • ชุมชนตีคลี
  • ชุมชนทิพย์พิมาน
  • ชุมชนตาคลีใหญ่
  • ชุมชนบ้านใหม่โพนทอง
  • ชุมชนพญานาค
  • ชุมชนโพธิ์งาม
  • ชุมชนวิลาวัลย์
  • ชุมชนยศวิมล
  • ชุมชนศรีเทพ
  • ชุมชนสังข์ทอง
  • ชุมชนศรีสวัสดิ์
  • ชุมชนเขาใบไม้
  • ชุมชนวัดพุทธนิมิต
  • ชุมชนรวมใจ
  • ชุมชนตลาดโพนทอง
  • ชุมชนสารภี
  • ชุมชนจันทร์เทวี
  • ชุมชนมาลัย

ประชากร

ประชากรในเขตเทศบาลเมืองตาคลีมีทั้งหมด 23,901 คน จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2560[1] ประชากรส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนประกอบอาชีพค้าขาย เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการพาณิชยกรรม กิจกรรมการค้าตั้งอยู่หนาแน่นบริเวณถนนตาคลีพัฒนา และตลาดศรีเทพ

การขนส่ง

  • ถนนพหลโยธิน จะตัดผ่านตัวเมือง โดยมีช่องการเดินรถไป-กลับอย่างละ 4 ช่องจราจร
  • ถนนตาคลีพัฒนา เป็นศูนย์รวมสินค้าต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์เทคโนโลยี ห้างสรรพสินค้า ธนาคาร ร้านสะดวกซื้อ ร้างทอง ตลาด โรงแรม ร้านเสื้อผ้า ร้านหนังสือ เป็นต้น
  • ถนนพระสังข์ อยู่ติดทางรถไฟ ส่วนใหญ่จะมีร้านขายเสื้อผ้า อาหาร
  • ถนนศรีเทพ 1, 2 จะเป็นถนนที่รวมทุกอย่าง เช่น ร้านการเกษตร ร้านหนังสือ ร้านขายยา ร้านส่ง ธนาคาร เป็นต้น
  • รถไฟ จะตัดผ่านตัวเมือง มีสถานีบ้านตาคลีอยู่บริเวณวงเวียนพระสังข์ของถนนตาคลีพัฒนา

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองตาคลี". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2524 [จัดตั้งสุขาภิบาลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ขึ้นเป็นเทศบาลตำบล]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (101 ก): 19–24. 24 มิถุนายน 2524.
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นเทศบาลเมืองตาคลี

แหล่งข้อมูลอื่น

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya