Share to:

 

เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา

เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
วัดโสธรวรารามวรวิหาร
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
ตรา
สมญา: 
เมืองแปดริ้ว
ทม.ฉะเชิงเทราตั้งอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา
ทม.ฉะเชิงเทรา
ทม.ฉะเชิงเทรา
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
ทม.ฉะเชิงเทราตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.ฉะเชิงเทรา
ทม.ฉะเชิงเทรา
ทม.ฉะเชิงเทรา (ประเทศไทย)
พิกัด: 13°41′25″N 101°04′13″E / 13.69028°N 101.07028°E / 13.69028; 101.07028
ประเทศ ไทย
จังหวัดฉะเชิงเทรา
อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
จัดตั้งเป็นสุขาภิบาล พ.ศ. 2474
เป็นเทศบาลเมือง พ.ศ. 2478
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีกลยุทธ ฉายแสง
พื้นที่
 • ทั้งหมด12.76 ตร.กม. (4.93 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)[1]
 • ทั้งหมด39,233 คน
 • ความหนาแน่น3,074.69 คน/ตร.กม. (7,963.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04240102
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 1 ถนนจุลละนันทน์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000
เว็บไซต์www.tbmccs.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงในอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหน้าเมืองทั้งตำบล

ประวัติ

เทศบาลเมืองฉะเชิงเทราเดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลเมืองฉะเชิงเทรา จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 โดยให้ยกฐานะตำบลหน้าเมือง ที่ตั้งอำเภอเมืองขึ้นเป็น "สุขาภิบาลเมืองฉะเชิงเทรา มณฑลปราจีน"[2] มีกรรมการสุขาภิบาลชุดแรก ประกอบด้วย พระยาสิทธิสินสาทร ข้าหลวงประจำจังหวัดในสมัยนั้นเป็นประธาน นายอำเภอและกรรมการอื่นอีกรวม 8 ท่าน เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็น "เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 หน้า 1645 ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 [3] มีเนื้อที่ 5.52 ตารางกิโลเมตร โดยมีพระยาพิพัฒน์ภูมิพิเศษ เป็นนายกเทศมนตรี มีสมาชิกสภาเทศบาลชุดเริ่มการ จำนวน 39 ท่าน และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองจะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2516 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 90 ตอนที่ 180 ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2516 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลจากเติมออกไปอีกรวมเป็นเนื้อที่เขตเทศบาลทั้งสิ้น 12.76 ตารางกิโลเมตร[4]

อาณาเขต[5]

ด้านเหนือ

ตั้งแต่หลักเชตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่วิมคลองลาวฝั่งใต้ ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่มดินหมายเลข 304 ตอนมีนบุรี - ฉะเชิงเทรา ฟากตะวันตกตามแนวเส้นตั้งฉากระยะ 200 เมตร เสียบตามริมคลองลาวและคลองท่าไข่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ปลายถนนศุภกิจ ริมคลองท่าไข่

จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบ้านใหม่ฝังตะวันตก ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3200 ฉะเชิงเทรา - บางน้ำเปรี้ยว วัดตามแนวคลองบ้านใหม่ ระยะ 400 เมตร

จากหลักเขตที่ 3 เลียบตามริมคลองบ้านใหม่ฝั่งตะวันตกไปทางทิตเหนือ ระยะ 1,000 เมตร ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบ้านใหม่

จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตั้งจากกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3200 ฉะเชิงเทรา - บางน้ำเปรี้ยว ไปทางทิศตะวันออก ข้ามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3200 ฉะเชิงเทรา - บางน้ำเปรี้ยว ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข 3200 ฉะเชิงเทรา - บางน้ำเปรี้ยว ตามแนวเส้นตั้งลาก ระยะ 200 เมตร

ด้านตะวันออก

จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นขนานกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3200 ฉะเชิงเทรา - บางน้ำเปรี้ยว ไปทางหิศใต้ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกงฝั่งเหนือ

จากหลักเขตที่ 6 เลียบตามแม่น้ำบางปะกงฝั่งเหนือไปทางทิศตะวันตกเถียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากสะพาน ข้ามแม่น้ำบางปะกงฟากตะวันออก ตามแนวเส้นตั้งจาก ระยะ 200 เมตร

จากหลักเขตที่ 7 เป็นเส้นขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ตอนฉะเชิงเทรา - พนมสารตาม ไปทางทิศตะวันออกเถียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ตอนฉะเชิงเทรา - พนมสารคาม ฟากเหนือตรงสามแยกตัตกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315 ตอนพนัสนิคม - ฉะเชิงเทรา

ด้านใต้

จากหลักเขตที่ 8 เป็นเส้นตรงเลียบตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ตอนฉะเชิงเทรา - พนมสารคามไปทางทิศตะวันตก ข้ามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ตอนฉะเชิงเทรา - พนมสารคาม แล้วหักเป็นเส้นตรง ถึงหลักเขตที่ 9 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ตอนฉะเชิงเทรา - พนมสารคาม ฟากตะวันตก ตามแนวเส้นตั้งฉาก ระยะ 200 เมตร

จากหลักเขตที่ 9 เป็นเส้นขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ตอนฉะเชิงเทรา - พนมสารคาม ไปทางทิศตะวันตกเสียงเหนือข้ามแม่น้ำบางปะกง ถึงหลักเขตที่ 10 ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกงฝั่งเหนือ

จากหลักเขตที่ 10 เสียบตามริมแม่น้ำบางปะกงฝั่งเหมือไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ 11 ซึ่งตั้งอยู่ริมปากคลองศรีโสธร ฝั่งใต้ที่บรรจบกับแม่น้ำบางปะกง

จากหลักเขตที่ 11 เลียบตามริมคลองศรีโสธร ไปทางทิศตะวันตกเยงใต้ แล้วหักขนานกับถนนเข้าวัดโสธรฟากใต้ ตามแนวเส้นตั้งฉาก ระยะ 200 เมตร ถึงหลักเขตที่ 12 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 365 บางปะกง - ฉะเชิงเทรา ฟากตะวันออก

จากหลักเขตที่ 12 เป็นเส้นตั้งจากกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 314 (ถนนสิริโสธร) บางปะกง - ฉะเชิงเทรา ไปทางทิศตะวันตก ถึงหลักเขตที่ 13 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 314 บางปะกง - ฉะเชิงเทรา ฟากตะวันตก ตามแนวเส้นตั้งฉาก ระยะ 200 เมตร

ด้านตะวันตก

จากหลักเขตที่ 13 เป็นเส้นขนานกับทางหลวงแผ่นตินหมายเลข 314 บางปะกง - ฉะเชิงเทรา ไปทางทิศเหนือ ถึงหลักเขตที่ 14 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนยักลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ตอนมีนบุรี - ฉะเชิงเทรา ฟากใต้ ตามแนวเส้นตั้งฉาก ระยะ 200 เมตร

จากหลักเขตที่ 14 เป็นเส้นขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ตอนมีนบุรี - ฉะเชิงเทรา ไปทางทิศตะวันตก แล้ววกไปทางทิศเหนือบรรจบกับหลักเขตที่ 1

เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ จดคลองลาวและคลองบ้านใหม่

ทิศใต้ ขนานกับถนนศุขประยูรในรัศมี 200 เมตร และแม่น้ำบางปะกง

ทิศตะวันออก จดแม่น้ำบางปะกงและขนานกับถนนศุขประยูรในรัศมี 200 เมตร

ทิศตะวันตก ขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 314 บางปะกง - ฉะเชิงเทรา ในรัศมี 200 เมตร

สภาพทางภูมิศาสตร์[5]

เทศบาลเมืองฉะเชิงเหรา มีพื้นที่ 12.76 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำบางปะกงไหลผ่านกลางเขตเทศบาล จากแนวเขตเทศบาลด้านทิศใต้ไปจดแนวเชตเทศบาลด้านทิศเหนือ

เขตการปกครอง[5]

เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา มีเขตการปกครองครอบคลุมตำบลหน้าเมือง มีพื้นที่ 12.76 ตารางกิโลเมตร

ตราสัญลักษณ์

ตราประจำเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา เป็นตรารูปวงกลมซ้อนกัน 2 ชั้น วงกลมชั้นในประกอบด้วยตรานกยูงรำแพน ซึ่งเป็นตราประจำมณฑลปราจิณบุรี และปรากฏบนธงประจำกองลูกเสือมณฑลปราจีนบุรี วงกลมชั้นนอกเบื้องบนมีข้อความว่า "เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา" เบื้องล่างมีข้อความว่า "จังหวัดฉะเชิงเทรา" มีดอกประจำยามคั่นระหว่างข้อความ

การคมนาคม

รถไฟ

เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ประกอบไปด้วยระบบขนส่งมวลชนทางรางคือสถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา เป็นสถานีชุมทางสำหรับทางรถไฟสายตะวันออก และทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก นอกจากนี้ยังมีป้ายหยุดรถอีก 1 แห่งในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราคือ ที่หยุดรถไฟแปดริ้ว[6]

รถโดยสาร

เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ประกอบไปด้วยสถานีขนส่งผู้โดยสารจำนวน 1 สถานี ชื่อว่า สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่บริเวณถนนสิริโสธร[7]

ทางหลวงท้องถิ่น

เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ประกอบไปด้วยทางหลวงท้องถิ่นที่ได้ขึ้นทะเบียนในระบบ (ทถ.6) และได้รับการกำหนดรหัสสายทางแล้ว จำนวน 6 สาย คือ

  • ถนนศรีโสธรตัดใหม่ (ทางหลวงท้องถิ่น ฉช.ถ 2-0001) ระยะทางประมาณ 2.156 กิโลเมตร
  • ถนนศุภกิจ (ทางหลวงท้องถิ่น ฉช.ถ 2-0002) ระยะทางประมาณ 1.06 กิโลเมตร
  • ถนนเทพคุณากร (ทางหลวงท้องถิ่น ฉช.ถ 2-0003) ระยะทางประมาณ 2.359 กิโลเมตร
  • ฉช.ถ 2-0004 ถนนหมู่บ้านวนาแลนด์ (ทางหลวงท้องถิ่น ฉช.ถ 2-0004) ระยะทางประมาณ 0.78 กิโลเมตร
  • ฉช.ถ 2-0005 ถนนเลียบทางรถไฟ (ทางหลวงท้องถิ่น ฉช.ถ 2-0005) ระยะทางประมาณ 1.025 กิโลเมตร

สถานที่ท่องเที่ยว

วัดโสธรวรารามวรวิหาร

วัดโสธรวรารามวรวิหาร

วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตั้งอยู่ถนนเทพคุณากร แต่เดิมมีชื่อว่า วัดหงษ์ ได้สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมีหลวงพ่อพุทธโสธรซึ่งเป็นพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถหลังใหม่ ซึ่งออกแบบพิเศษเฉพาะรัชกาลที่ 9 โดยมีลักษณะเป็นอาคารมีหลังคาแบบจตุรมุขอย่างปราสาทไทย มีความกว้าง 44.50 เมตร ความยาว 123.50 เมตร และตรงส่วนกลางพระอุโบสถมียอดมณฑปสูงถึง 85 เมตร ยอดมณฑปนั้นมีลักษณะเป็นฉัตร 5 ชั้น มีความสูง 4.90 เมตร และยอดฉัตรเป็นทองคำ น้ำหนัก 77 กิโลกรัม เมื่อก่อสร้างเสร็จจะเป็นพระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่และสวยงามที่สุดในโลก

ตลาดบ้านใหม่

ตลาดบ้านใหม่ตั้งอยู่บนถนนศุภกิจภายในเมืองฉะเชิงเทรา เป็นตลาดริมแม่น้ำบางปะกงมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5[ต้องการอ้างอิง] สมัยก่อนมีชาวจีนหลายเชื้อสาย ทั้งจีนฮกเกี้ยน จีนแต้จิ๋ว และจีนแคะ อาศัยอยู่จำนวนมาก เนื่องจากถนนหนทางยังมีไม่ทั่วถึงมากนัก การเดินทางของผู้คนส่วนใหญ่ที่อาศัยในสวนจึงจำเป็นต้องพึ่งพาแม่น้ำบางปะกงเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ตลอดทั้งวันจะเห็นเรือพาย เรือแจว และเรือโดยสารประจำทางแล่นขวักไขว่ไปมา ผู้คนที่อาศัยอยู่ในสวนฝั่งตรงข้ามจะพายเรือข้ามฝั่งมาขึ้นที่ท่าเรือหรือโป๊ะของร้านค้าและอาศัยฝากเรือ ผู้คนที่อยู่ไกลออกไปก็มักนั่งเรือประจำทางมายังตลาดบ้านใหม่เพื่อจับจ่ายใช้สอยซื้อของที่ตลาดแห่งนี้ เดิมที่นี่เคยมีโรงสี โรงรำ ร้านค้าข้าว ค้ารำ ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำและขนส่งสินค้าทางน้ำ ปัจจุบันไม่มีโรงสีและโรงรำต่าง ๆ แล้ว

ปัจจุบันที่นี่เป็นแหล่งการค้าขายของที่ระลึก ของเล่นโบราณ ไอศกรีมโบราณ และอื่น ๆ เป็นย่านชุมชนค้าขายของเก่า โดยเฉพาะอาหาร เช่น อาหารจีน อาหารไทย และอาหารประจำจังหวัด ร้านขายก๋วยเตี๋ยวแบบโบราณ ร้านกาแฟโบราณ เป็นต้น เป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวแปดริ้วและต่างจังหวัด

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ฉะเชิงเทรา

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ฉะเชิงเทรา เป็นสวนที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองรายล้อมไปด้วยอาคารที่ทำการของรัฐ โดยแต่ละหน่วยงานมีสวนของตนเองที่จัดแต่งให้สอดคล้องกับสวนใหญ่ ทางเข้าสวนมีหลายทาง แต่ละทางมีซุ้มประตูทางเข้าที่สวยงาม ถนนเดิมที่ผ่านกลางสวนมีคูน้ำขนาดใหญ่ที่มีน้ำสะอาดคู่ขนานไป ริมน้ำปลูกต้รนนทรีและปาล์มเรยงรายตามคูน้ำ ถนนแบ่งสวนออกเป็นสองฝั่ง ฝั่งด้านตรงข้ามศาลากลางจังหวัดมีอาคารทรงไทยซึ่งเป็นศาลาที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เมื่อครั้งสเด็จมาเป็นประธานพิธีเปิดสวน ปัจจุบันใช้ในกิจกรรมหลายด้าน หน้าศาลามีต้นเฟื่องฟ้าทรงปลูกในวันสเด็จ

อีกฝั่งหนึ่งของถนนมีสนามฟุตบอล ติดกับสนามฟุตบอลเป็นที่ตั้งของ "สวนเกษม" มีรั้วกั้นและมีสวนที่ออกแบบสวยงามประกอบด้วยบึงที่มีน้ำใสสะอาด มีพรรณไม้ต่างๆ ปลูกตามริมน้ำ โดยเฉพาะปาล์มชนิดต่างๆ มีไม้ตัดแต่งพุ่มเป็นลวดลายและสีสันที่หลากหลาย รวมทั้งแปลงไม้ดอกจำนวนมาก บริเวณริมน้ำมีศาลาขนาดเล็กใหญ่และม้านั่งสบายเรียงรายเพื่อการนั่งพักผ่อน สวนแห่งนี้ยังมีสนามเด็กเล่นพร้อมเครื่องเล่นหลากหลายชนิด จึงมีประชาชนมาใช้พักผ่อนออกกำลังกายตั้งแต่เช้าตรู่ถึงตอนค่ำซึ่งจะมีไฟแสงสว่างเปิดรับกับแสงไฟประดับน้ำพุ

ศาลหลักเมืองฉะเชิงเทรา

ศาลหลักเมืองฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ถนนมรุพงษ์ อยู่ข้างโรงพยาบาลพุทธโสธร เป็นศาลหลักเมืองที่ก่อสร้างขึ้นมาใหม่ ภายในบริเวณศาลหลักเมืองมีศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตั้งอยู่ จะเป็นศิลปะแบบจีน และภายในศาลหลักเมือง มีเสาหลักอีก 2 เสา เสาแรกสร้างเมื่อ พ.ศ. 2377 ส่วนเสาที่สองสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2438

อ้างอิง

  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 48 ตอนที่ 38 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474
  3. ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 หน้า 1645 ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2478
  4. ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 90 ตอนที่ 180 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2516
  5. 5.0 5.1 5.2 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-29. สืบค้นเมื่อ 2021-08-26.
  6. "การเดินทางด้วยรถไฟ – ILove8Riew". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-21. สืบค้นเมื่อ 2023-06-21.
  7. "กรมการขนส่งทางบก". cco.dlt.go.th.
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya