กระบี่ เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดกระบี่ เป็นศูนย์กลางของจังหวัด ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำกระบี่ ซึ่งไหลออกสู่อ่าวพังงา เมืองกระบี่มีประชากรในปี พ.ศ. 2561 จำนวน 32,350 คน[1] มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลต่าง ๆ ในอำเภอเมืองกระบี่ ได้แก่ ตำบลปากน้ำทั้งตำบล และตำบลกระบี่ใหญ่ทั้งตำบล และแบ่งหน่วยการปกครองย่อยเป็นชุมชนทั้งหมด 10 ชุมชน
ประวัติ
เทศบาลเมืองกระบี่ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 หน้า 802 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 โดยการยกฐานะท้องที่ตำบลปากน้ำเป็นเทศบาลเมืองกระบี่ มีพื้นที่ 2.65 ตารางกิโลเมตร ต่อมาในได้ทำการขยายเขตเทศบาลเมืองกระบี่ ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2509 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 83 หน้า 109 โดยครอบคลุมพื้นที่ในตำบลปากน้ำ และตำบลกระบี่ใหญ่ รวมพื้นที่ทั้งหมด 19 ตารางกิโลเมตร[2]
อาณาเขต
เขตเทศบาลเมืองกระบี่มีอาณาเขตติดต่อหน่วยการปกครองต่าง ๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่ที่ 1 ตำบลกระบี่น้อย และหมู่ที่ 8 ตำบลทับปริก
- ทิศใต้ ติดต่อกับหมู่ที่ 7 ตำบลไสไทย อำเภอเมืองกระบี่
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแม่น้ำกระบี่
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับหมู่ที่ 3 ตำบลไสไทย อำเภอเมืองกระบี่
ภูมิอากาศ
ตัวเมืองกระบี่ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลอันดามันเช่นเดียวกับจังหวัดภูเก็ต มีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน และมีฤดูฝนยาวถึง 10 เดือนในระหว่างเดือนมีนาคมถึงธันวาคม โดยในช่วงมรสุมจะมีฝนตกหนักเป็นเวลาหลายวัน[3] อุณหภูมิสูงสุดเท่าที่มีการบันทึกอยู่ที่ 39.1 °C (102.4 °F) ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2541[4] อุณหภูมิต่ำสุดเท่าที่มีการบันทึกอยู่ที่ 15.3 °C (59.5 °F) ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552[5]
ข้อมูลภูมิอากาศของกระบี่ (พ.ศ. 2524–2553)
|
เดือน
|
ม.ค.
|
ก.พ.
|
มี.ค.
|
เม.ย.
|
พ.ค.
|
มิ.ย.
|
ก.ค.
|
ส.ค.
|
ก.ย.
|
ต.ค.
|
พ.ย.
|
ธ.ค.
|
ทั้งปี
|
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F)
|
36.3 (97.3)
|
38.0 (100.4)
|
39.1 (102.4)
|
38.9 (102)
|
38.8 (101.8)
|
35.0 (95)
|
34.5 (94.1)
|
35.1 (95.2)
|
34.0 (93.2)
|
34.0 (93.2)
|
34.2 (93.6)
|
34.3 (93.7)
|
39.1 (102.4)
|
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)
|
32.9 (91.2)
|
34.2 (93.6)
|
34.3 (93.7)
|
34.1 (93.4)
|
32.9 (91.2)
|
31.9 (89.4)
|
31.5 (88.7)
|
31.4 (88.5)
|
31.2 (88.2)
|
31.3 (88.3)
|
31.1 (88)
|
31.4 (88.5)
|
32.4 (90.3)
|
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F)
|
26.6 (79.9)
|
27.5 (81.5)
|
27.6 (81.7)
|
27.9 (82.2)
|
27.6 (81.7)
|
27.2 (81)
|
26.8 (80.2)
|
26.9 (80.4)
|
26.6 (79.9)
|
26.2 (79.2)
|
26.2 (79.2)
|
26.2 (79.2)
|
26.9 (80.4)
|
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)
|
21.6 (70.9)
|
22.0 (71.6)
|
23.0 (73.4)
|
23.6 (74.5)
|
23.7 (74.7)
|
23.3 (73.9)
|
23.0 (73.4)
|
22.9 (73.2)
|
22.9 (73.2)
|
22.4 (72.3)
|
22.5 (72.5)
|
21.7 (71.1)
|
22.7 (72.9)
|
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F)
|
15.3 (59.5)
|
16.3 (61.3)
|
18.0 (64.4)
|
19.5 (67.1)
|
19.2 (66.6)
|
19.0 (66.2)
|
18.2 (64.8)
|
18.0 (64.4)
|
19.0 (66.2)
|
18.6 (65.5)
|
17.7 (63.9)
|
18.5 (65.3)
|
15.3 (59.5)
|
ปริมาณฝน มม (นิ้ว)
|
32.0 (1.26)
|
43.4 (1.709)
|
98.3 (3.87)
|
147.2 (5.795)
|
171.6 (6.756)
|
192.7 (7.587)
|
201.1 (7.917)
|
266.3 (10.484)
|
275.2 (10.835)
|
323.5 (12.736)
|
179.7 (7.075)
|
67.8 (2.669)
|
1,998.8 (78.693)
|
ความชื้นร้อยละ
|
77
|
73
|
79
|
82
|
85
|
86
|
87
|
85
|
87
|
88
|
86
|
83
|
83
|
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย
|
5.3
|
4.5
|
8.7
|
11.7
|
15.9
|
15.8
|
18.3
|
18.0
|
18.5
|
21.5
|
17.6
|
10.1
|
165.9
|
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด
|
198.4
|
214.7
|
201.5
|
183.0
|
155.0
|
150.0
|
155.0
|
151.9
|
144.0
|
108.5
|
138.0
|
179.8
|
1,979.8
|
แหล่งที่มา 1: กรมอุตุนิยมวิทยา[6]
|
แหล่งที่มา 2: สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน (แดดและความชื้น)[7]
|
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น