Share to:

 

เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด
ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
ตรา
คำขวัญ: 
ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก ฟูมฟักตำนานเมือง ลือเลื่องประเพณี วัฒนธรรม งามล้ำแหล่งท่องเที่ยว
แผนที่
ทม.ร้อยเอ็ดตั้งอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด
ทม.ร้อยเอ็ด
ทม.ร้อยเอ็ด
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
ทม.ร้อยเอ็ดตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทม.ร้อยเอ็ด
ทม.ร้อยเอ็ด
ทม.ร้อยเอ็ด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ทม.ร้อยเอ็ดตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.ร้อยเอ็ด
ทม.ร้อยเอ็ด
ทม.ร้อยเอ็ด (ประเทศไทย)
พิกัด: 16°3′11″N 103°39′4″E / 16.05306°N 103.65111°E / 16.05306; 103.65111
ประเทศ ไทย
จังหวัดร้อยเอ็ด
อำเภอเมืองร้อยเอ็ด
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีบรรจง โฆษิตจิรนันท์
พื้นที่
 • ทั้งหมด11.63 ตร.กม. (4.49 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด35,671 คน
 • ความหนาแน่น3,067.15 คน/ตร.กม. (7,943.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04450102
ทางหลวง
โทรศัพท์043511222
โทรสาร043513394
เว็บไซต์www.roietmunicipal.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลในเมืองทั้งตำบล ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการบริหาร สถานศึกษา สถานพยาบาลและสาธารณสุข ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดร้อยเอ็ด และห้างสรรพสินค้ามากมายโรงแรมชั้นนำ

ประวัติ

เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 มีพื้นที่เขตเทศบาล 4.5 ตารางกิโลเมตร โดยมีสำนักงานเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูงตั้งอยู่บนศาลาจตุรมุขในเกาะกลางบึงพลาญชัย ต่อมาปี พ.ศ. 2499 ได้ก่อสร้างสำนักงานแห่งใหม่ เป็นอาคารคอนกรีตสองชั้นตามแบบแปลนการก่อสร้างสำนักงานเทศบาลทั่วประเทศ ตั้งอยู่ที่ถนนเทวาภิบาล บนเนื้อที่ 4 ไร่เศษ ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นและชุมชนหนาแน่นมากขึ้น จึงได้ทำการขยายเขตเทศบาลออกไปเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2509 ทำให้มีพื้นที่ 11.63 ตารางกิโลเมตร (พระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 23 ตอนที่ 21 วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2509) และเพื่อพัฒนาและรองรับการบริหารและบริการประชาชนให้มีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดได้ก่อสร้างอาคารสำนักงานเพิ่มเติมอีก 1 หลัง เป็นอาคารคอนกรีต 3 ชั้น ต่อมาเชื่อมด้านหลังของอาคารหลังเดิม ในปี พ.ศ. 2542 และในปี พ.ศ. 2553 ได้ก่อสร้างอารคารศูนย์บริการร่วมเบ็ดเสร็จ เปิดใช้บริการเกี่ยวกับการให้บริการประชาชน โดยเปิดบริการเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553[2] (ข้อมูลจากเอกสาร: แผนพัฒนาสามปี เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด พ.ศ. 2557-2559)

ภูมิศาสตร์

เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียง ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลเหนือเมือง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลเหนือเมือง ตำบลรอบเมือง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลรอบเมือง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลรอบเมือง ตำบลดงลาน

ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป มีฝนเฉลี่ยประมาณ 1,400 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิเฉลี่ย ต่ำสุดประมาณ 14.4 องศาเซลเซียส และสูงสุดประมาณ 40.5 องศาเซลเซียส

ประชากรและชุมชน

ประชากรเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดแบ่งตามปี
ปีประชากร±%
2552 34,412—    
2553 34,557+0.4%
2554 34,464−0.3%
2555 34,554+0.3%
2556 34,926+1.1%
2557 35,219+0.8%
2558 35,313+0.3%
2559 35,461+0.4%
2560 35,671+0.6%
อ้างอิง: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ในปี พ.ศ. 2560 เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดมีประชากรทั้งหมด 35,671 คน แบ่งเป็นชาย 16,864 คน หญิง 18,807 คน มีจำนวนบ้าน 16,259 หลังคาเรือน[1] แบ่งการปกครองเป็นชุมชนจำนวน 20 ชุมชน ดังนี้

การศึกษา

เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ได้จัดตั้งโรงเรียนในสังกัด จำนวน 8 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง ดังนี้

  • โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง
  • โรงเรียนเทศบาลวัดบูรพาภิราม
  • โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ
  • โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร
  • โรงเรียนเทศบาลหนองหญ้าม้า (โรงเรียนกีฬาท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด)
  • โรงเรียนเทศบาลวัดเวฬุวัน
  • โรงเรียนเทศบาลวัดราษฎรอุทิศ
  • โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหนองหญ้าม้า

ประเพณีและเทศกาลที่สำคัญ

งานประเพณีและเทศกาลท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่

  • งานประเพณีบุญผะเหวด (บุญมหาชาติ) จัดขึ้นในวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคม ของทุกปี
  • งานประเพณีสงกรานต์ จัดขึ้นในวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี
  • งานเลี้ยงสักการะเจ้าพ่อมเหศักดานุภาพ จัดขึ้นในพุธแรก เดือน 6 ของทุกปี
  • งานเลี้ยงสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง จัดขึ้นในวันพุธแรก เดือน 7 ของทุกปี
  • งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (จัดขึ้นก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน)
  • งานประเพณีกวนข้าวทิพย์ออกพรรษา จัดขึ้นในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี (จัดขึ้นก่อนวันออกพรรษา 1 วัน)
  • งานกฐิน 101 กอง จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 3 หลังงานประเพณีออกพรรษา
  • งานประเพณี "สมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป" จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี

วัด

  • วัดบูรพาภิราม
  • วัดบึงพระลานชัย
  • วัดกลางมิ่งเมือง
  • วัดสระทอง
  • วัดสระแก้ว
  • วัดเหนือ
  • วัดป่าเรไร
  • วัดเวฬุวัน
  • วัดราษฎร์ศิริ
  • วัดคุ้มวนาราม
  • วัดสว่างอารมณ์
  • วัดราษฎรอุทิศ
  • วัดท่านคร
  • วัดบ้านหนองหญ้าม้า

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. "เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-11. สืบค้นเมื่อ 2013-11-01.

แหล่งข้อมูลอื่น

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya